JMaa
The 3rd Habit: Put First Things First ทำสิ่งที่สำคัญก่อน

นิสัยที่ 3. Put First Things First ทำสิ่งที่สำคัญก่อน

เป็นการจัดลำดับสิ่งที่ต้องทำและการบริหารเวลาของเราให้ได้ทำในสิ่งที่ต้องทำก่อนไม่ใช่ทำทีหลัง การทำสิ่งที่สำคัญก่อนนี้ยังรวมถึงการเรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัวของเราเองและทำให้เราเข้มแข็งในช่วงเวลาวิกฤตของชีวิตได้ นิสัยที่สองเป็นการตัดสินใจว่าอะไรควรมาก่อน

นิสัยที่สามจึงเป็นการทำสิ่งเหล่านั้นก่อนนั่นเอง

การบอกว่าจะนำสิ่งที่ตั้งใจไว้มาทำเป็นสิ่งที่ยาก จึงมีพลังสองตัวที่สำคัญในการขับเคลื่อนต่อม “การทำ” ของเราคือ

Will power ความตั้งใจจะทำ –คือความมุ่งมั่นและเข้มแข็งที่จะบอกว่า ใช่ สำหรับสิ่งที่สำคัญที่สุดของเรา

Won’t Power ความกล้าที่จะปฏิเสธที่จะทำ – คือความกล้าที่จะปฏิเสธว่าสิ่งนี้ไม่สำคัญหรือสำคัญน้อยลงมา

เรามักบอกใคร ๆ ว่า เราไม่มีเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนมีเวลาเท่ากัน เพียงแต่แต่ละคนมีการจัดสรรสิ่งสำคัญของตนเองและบริหารเวลาเพื่อใช้กับสิ่งสำคัญ ๆ เหล่านั้นก่อนหรือไม่เท่านั้น


คุณ Covey ได้แบ่งการบริหารเวลา 4 ประเภท คือ

ส่วนที่เร่งด่วน ส่วนที่ไม่เร่งด่วน


ส่วนที่สำคัญ (Q1) จอมผลัดวันประกันพรุ่ง (Q2)*** จอมจัดลำดับก่อนหลัง

ส่วนที่ไม่สำคัญ (Q3) จอมเออออห่อหมก (Q4) จอมเอ้อระเหย



Q1 คือ สิ่งที่เร่งด่วนและสำคัญ เราไม่สามารถควบคุมได้และต้องทำให้เสร็จไปทันที เช่น ช่วยเหลือเด็กที่ป่วย เราต้องทำงานสำคัญให้เสร็จแต่เราขี้เกียจทำจนถึงวันกำหนดส่ง เลยต้องมารีบทำจนเสร็จ ทำให้เรา สับสนชีวิต เครียด และอดนอน หมดไฟในการทำงานและไม่มีอะไรเก่งเป็นพิเศษ เพราะมัวแต่ทำงานด่วยและสำคัญ

Q3 เป็นสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ที่ดังขึ้น จำเป็นต้องรับทันที แต่บางทีเป็นเรื่องไร้สาระ ต่อผิดบ้าง โทรมาเม้าท์เพื่อนบ้าง ขายของบ้าง ชวนไปเที่ยวบ้าง เราต้องเลือกที่จะใช้ความกล้าที่จะปฏิเสธสิ่งที่เราคิดว่า ไม่สำคัญสำหรับเรา เพื่อทำสิ่งที่สำคัญก่อน หากเรามี Q3 มาก เราก็จะกลายเป็น นักเอาใจคนอื่น เพราะเกรงใจที่จะหฏิเสธใครต่อใคร ขาดวินัยในตนเองเพราะใช้เวลาไปกับเรื่องของคนอื่น ๆ และเป็นพรมเช็ดเท้าที่ใคร ๆ ก็ป้ายเพื่อเช็ดสิ่งสกปรก

Q4 เป็นกลุ่มที่เรียกว่าสูญเปล่าและเกินพอดี เพราะไม่ใช่สิ่งเร่งด่วนและไม่มีอะไรสำคัญเลย เช่น การดูละครน้ำเน่าในทีวีมากเกินไป การเดินเล่นเอ้อระเหยในห้างไปเรื่อย ๆ ท่องเว็บไซด์ไม่ลืมหูลืมตา (เอ๊ะ!!! ใครกัน คุ้น ๆ นะคะ) โทรศัพท์คุยกับเพื่อน
หูดับแบตฯหมด ผลจาก Q4 เยอะทำให้เราเป็น คนขาดความรับผิดชอบ รู้สึกผิดตลอดเวลา และเป็นคนผิดปรกติ เพราะมีพฤติกรรมประหลาดไม่เหมือนชาวบ้าน

Q2 สิ่งที่สำคัญแต่ไม่ด่วน เช่น การสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น การวางแผนการ.....ล่วงหน้า การทำการบ้านที่ตรงเวลา การพักผ่อนหย่อนใจ การออกกำลังกาย การทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตรงเวลา หากเราไม่ดองสิ่งสำคัญเหล่านี้เอาไว้จนกลายเป็น Q3 ผัดวันประกันพรุ่งแล้ว เราก็จะเป็นคนที่เป็นนักวางแผน เป็นจอมจัดลำดับก่อนหลัง รู้จักพินิจพิจารณาสิ่งที่เราต้องทำ ผลของการมีชีวิตที่ Q2 นี้ก็จะทำให้ เราควบคุมชีวิตเราได้ มีความสมดุลในขีวิต มีความสามารถในการทำงานและการจัดการชีวิตส่วนตัวได้ดี

โดยการ ตัดทอน Q1 ให้น้อยลง จนถึงเหลือน้อยที่สุด และตอบปฏิเสธที่จะทำกิจกรรมใน Q3 บ้างเพราะบางเรื่องก็ไร้สาระมากเกินไป ลดกิจกรรมเอ้อระเหยใน Q4 ให้น้อยที่สุด และพยายามหาเวลาในการวางแผนการใช้ Q2 สำหรับอาทิตย์ถัดไปให้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

วางแผนทุกสัปดาห์ ก่อนเริ่มสัปดาห์นั้น ๆ โดยการบันทึกตารางเวลา (Planner) โดยทำการ วางแผนก่อนเริ่มสัปดาห์ใหม่ทุกครั้ง ประมาณสักสิบห้านาที (อาจจะเป็นวันอาทิตย์ ยามว่าง ๆ)

หินก้อนใหญ่ (Big Rock)

หินก้อนใหญ่คือเรื่องที่ต้องทำที่สำคัญกับเป้าหมายในชีวิตเรา (ที่ระบุและกำหนดไว้จาก habit 2 Begin with the end in mind) เช่น อยากเป็นหมอ ต้องอ่านหนังสือ A, B, C ให้จบภายในสามเดือน หรือ อยากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับแม่สามีต้องหมั่นไปเยี่ยม เอาใจท่าน หรืออยากให้ลูก ๆ มี EQ ดีต้องหมั่นพาไปทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ เป็นต้น

ระบุว่าหินก้อนใหญ่ของเราที่สำคัญที่สุดในสัปดาห์นี้นั้นมีอะไรบ้าง เช่น สัปดาห์หน้า ต้องไปจ่ายค่างวดรถ ต้องไปรับสามีที่สนามบิน ต้องไปออกกำลังกายทุกเย็น ต้องพาเด็ก ๆ ไปตัดผม พาเด็กไปเที่ยว พาเด็กไปเยี่ยมพ่อแม่สามีที่บ้าน เป็นต้น
พอเราจดรายการหินก้อนใหญ่ ๆ ของเราได้แล้ว

ล็อคเวลาให้หินก้อนใหญ่ ๆ - เราก็เอามาลงในตารางเวลาของอาทิตย์หน้าว่าจะทำหินก้อนใดวันไหนบ้าง

จัดตารางเวลาให้สิ่งอื่น – แล้วเวลาที่เหลือก็ให้แบ่งจัดสรรไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น งานประจำวัน และนัดหมายอื่น ๆ ส่วนนี้เราทำการแทรกกรวดทรายลงไป (คือกิจกรรมใน Q อื่น ๆ ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งเราจะเรียกกิจกรรมใน Q อื่น ๆ ว่า กรวด ทราย เพราะไม่สำคัญบ้าง ไม่ด่วนบ้าง)

บางครั้งเรามีการวางแผนไว้อย่างดีแล้ว แต่บางครั้งอาจมีกิจกรรม Q1 มาแทรกทำให้ต้องปรับแผนของหินก้อนใหญ่ ๆ ไปบ้าง พอจบสัปดาห์เรามาลองเทียบดูการทำกับแผนพบว่า ทำได้จริงแค่สามก้อนใหญ่จากห้าก้อนใหญ่ก็ตาม แต่อย่างน้อยเราก็ได้ทำหินก้อนใหญ่ถึงสามก้อน หากเปรียบกับที่เราไม่ได้วางแผนไว้ อาจจะไม่มีหินก้อนใหญ่สักก้อนเลยที่ได้ทำ

การบริหารเวลานั้นไม่ใช่นิสัยทั้งหมดของนิสัยที่ 3 แต่เป็นเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น อีกครึ่งหนึ่งคือการเรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัวและแรงกดดันจากเพื่อน เราต้องใช้ความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวเพื่อที่จะจริงจังกับสิ่งที่สำคัญกับตัวเรา เช่น บางครั้งเราบอกว่าการงานที่ก้าวหน้ามีความสำคัญต่อเรา แต่เราไม่กล้าที่จะลาออกจากงานที่เราทำเพื่อให้ได้เงินเดือนแต่ไม่ก้าวหน้า เพราะกลัวว่าจะหางานใหม่ที่ก้าวหน้ากว่าเดิมไม่ได้ ทั้งที่งานเดิมไม่ก้าวหน้าเอามากมาก

การทำสิ่งที่สำคัญต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมาก (courage zone เช่น สิ่งที่อยากทำแต่ไม่เคยทำมาก่อน โอกาส สิ่งที่ยากลำบากขึ้น ที่ ๆ ไม่เคยไปมาก่อน ตำแหน่งที่สูงขึ้นรับผิดชอบมากขึ้น) เพื่อที่จะก้าวข้ามออกมาจากโซนที่สบาย (comfort zone เช่น งานที่คุ้นเคย สิ่งที่ชอบทำ การพักผ่อนหย่อนใจ ดูทีวี ความแน่นอน ไม่ต้องเสี่ยง) ให้ได้

“อย่ายอมให้ความกลัวตัดสินใจแทนเรา”

“ความกลัว” ที่จะริเริ่มทำอะไรก็ตามเป็น “ความเจ็บป่วย” ที่ร้ายแรงที่สุด

Private Victory มี 3 habits หากเราสามารถทำสามนิสัยและหลาย ๆ หลักการนี้ได้ เราก็จะสามารถเป็นบุคคลที่มีคุณภาพระดับที่พึ่งพาตนเองได้ ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และไม่เป็นปัญหาสังคม ในระยะยาวเราก็จะเป็นบุคคลที่มีความสุขจากความคิดเชิงบวก มีการกระทำแบบฝ่ายรุก และมีจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ว่าเราอยากจะไปไหนและไม่หลงทางค่ะ


ไปต่อที่ Public Victory ที่นี่ค่ะ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=joy2k&month=06-2008&date=23&group=2&gblog=8





Create Date : 23 มิถุนายน 2551
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 22:22:05 น. 0 comments
Counter : 3406 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

แม่น้องเอเอ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
23 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add แม่น้องเอเอ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.