The 6th Habit: Synergize ผนึกพลังผสานความต่าง
นิสัยที่ 6 Synergize ผนึกพลังผสานความต่าง
วิธีที่ เหนือกว่า
1+1 = 3 หรือมากกว่า
เราสามารถทำอะไรได้เพียงน้อยนิดโดยลำพัง แต่เราสามารถที่จะทำอะไรอีกมากมาย โดยการร่วมมือกัน เฮเลน เคลเลอร์
เราคงเคยเห็นฝูงห่านบินไปทางใต้ไม่ว่าจะในหนังหรือด้วยตามาบ้างแล้ว โดยมันจะบินเป็นฝูงตามกันเป็นรูปตัว V นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ถึงความมหัศจรรย์ที่ทำให้มันบินในลักษณะนี้ว่า
ด้วยการบินแบบมีแบบแผน ห่านทั้งฝูงจะบินได้ไกลขึ้น 71% ไกลกว่าที่บินเพียงลำพัง เพราะเมื่อห่านแต่ละตัวกระพือปีก มันจะช่วยทำให้เกิดกระแสลมบนให้กับห่านที่บินตามหลัง
เมื่อห่านที่นำฝูงเหนื่อย มันจะบินกลับมาอยู่ท้ายแถวของตัว V และยอมให้ห่านตัวอื่นรับตำแหน่งผู้นำต่อไป
ห่านตัวที่อยู่ข้างหลัง จะกู่ร้องให้กำลังใจห่านที่อยู่ข้างหน้า
เมื่อห่านตัวใดบินออกนอกแถว มันจะรู้สึกโดยทันทีที่จะบินได้ไม่ดี และจะบินกลับเข้าแถวทันที
เมื่อห่านตัวใดป่วยหรือบาดเจ็บหรือบินออกนอกแถว ห่านอีกสองตัวจะบินตามประกบมันไปเพื่อช่วยเหลือและคุ้มกัน ทันจะอยู่กับห่านที่ป่วยจนกระทั่งดีขึ้นหรือตายลง จากนั้นก็จะบินร่วมไปกับห่านฝูงอื่นต่อไป หรือสร้างแถวขึ้นมาใหม่เพื่อตามกลุ่มให้ทัน
ห่านเหล่านี้มีการรวมพลังผสานความต่างเพื่อให้เกิดอานุภาพที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นกว่าการทำเพียงลำพังตัวเดียว
การผนึกพลังประสานความต่าง ก็คือ คนสองคนหรือมากกว่า มาทำงานหรือทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อหาทางออกที่ดีกว่าที่จะทำโดยใครคนใดคนหนึ่งเพียงลำพัง มันจะไม่ใช่วิธีของฉันหรือวิธีของเธออีกต่อไป แต่มันจะเป็นวิธีของ เรา และมันจะเป็นวิธีที่เหนือกว่า
การผนึกพลังผสานความต่างนั้นเป็นรางวัล ในขณะที่เรามีชีวิตที่ดีขึ้นจากการฝึกฝนตนเองจากนิสัยอื่น ๆ แล้วโดยเฉพาะการคิดแบบชนะ/ชนะ และการเข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา การเรียนรู้ที่จะผนึกพลังเปรียบเสมือนการเรียนรู้ที่จะตั้งแถวรูปตัว V กับผู้อื่นแทนที่จะพยายามบินฝ่าชีวิตโดยลำพัง คุณจะรู้สึกประหลาดที่บินได้เร็วขึ้นและไกลขึ้นมากกว่าเดิมมากเพียงใด
การผนึกพลังคือ
การเฉลิมฉลองให้กับความแตกต่าง การทีมงานร่วมกันเป็นทีม (Team Work) การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การหาวิธีใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม
การผนึกพลังไม่ใช่ การทนทุกข์อยู่กับความแตกต่าง การต่างคนต่างทำ การคิดว่าตนเอง ถูกเสมอ การประนีประนอม
การผนึกพลังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ในวงดนตรี ในฝูงปลาว่ายน้ำ ในพืชต่าง ๆ การประสานเสียงในวงออเคสตร้า
เราควรยินดีกับความแตกต่าง
ทุกคนเกิดมาไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีส่วนดีส่วนด้อยที่แตกต่างกันออกไป แน่นอนเราไม่ได้ถูกโคลนนิ่งมาให้มีความเหมือนกัน ดังนั้นเราควรยินดีที่เรามีความแตกต่างกัน และควรขอบคุณสำหรับความหลากหลาย (diversity) ไม่ว่าจะเป็น สีผิว เชื้อชาติ เผ่าพรรณ ศาสนา ฯลฯ และมากกว่านั้น เรายังแตกต่างกันในเรื่อง รูปลักษณ์ การแต่งกาย ภาษา ความมั่งมี ครอบครัว ความเชื่อ ความเป็นอยู่ การศึกษา ความสนใจ อายุ ทักษะ สไตล์ และอื่น ๆ อีกมากมาย
เราจะรับมือกับความหลากหลายนี้ได้อย่างไร มีอยู่ 3 วิธีที่เราจะเลือกใช้ดังนี้
1. หลีกหนีต่อความหลากหลาย 2. ยอมทนต่อความหลากหลาย 3. เฉลิมฉลองและยินดีกับความหลากหลาย
ลองตรองดูว่า ตอนนี้เราเลือกที่จะใช้ชีวิตเราด้วยวิธีไหน และวิธีใดควรจะเป็นวิธีที่ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืนที่สุด
คนที่หลีกหนีมักจะกลัวกับความแตกต่าง และมักมีความคิดว่า สิ่งที่ตนเองยึดถือ หรือเป้นอยู่คือ ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด หรือ เป็นแค่วิธีเดียว และพอใจในการที่จะดูถูกผู้อื่นที่แตกต่างออกไป และมักจะรวมกลุ่มกันกลายเป็นกลุ่มที่มี พวกมากกว่า
คนที่ยอมทน จะมีความเชื่อว่า ทุกคนนั้นมีสิทธิที่จะแตกต่าง และไม่ได้หลีกหนีต่อความหลากหลาย แต่ก็ไม่ยินดีกับมันเช่นกัน มักจะเลือกที่จะต่างคนต่างอยู่เพื่อให้เกิดการกระทบกระทั่งน้อยที่สุด โดยไม่รบกวนกัน แม้จะอยู่ใกล้กันเพียงใดก็จะไม่ผสานพลังเพราะเห็นว่าความแตกต่างนั้นเป็นภาระ ไม่ใช่ความเข้มแข็งที่เกิดขึ้นได้
ผู้ที่เฉลิมฉลองและยินดีกับความต่าง ในสายตาของพวกเขา ความต่างคือความหลากหลาย = ประกายแห่งความสร้างสรรค์ = โอกาส
ความแตกต่างก่อให้เกิดความท้าทายซึ่งเป็นประตูไปสู่การค้นพบ ความแตกต่างคือความเข้มแข็งไม่ใช่ความอ่อนแอ เราพร้อมที่จะค้นหาวิธีที่เหนือกว่า
คำจำกัดความของคำว่า ทางสายกลาง ในศาสนาพุทธนั้นไม่ได้หมายถึงการประนีประนอม แต่หมายถึง ทางที่เหนือกว่า การประนีประนอม คือ 1+1=1.5 การร่วมมือ คือ 1+1=2 แต่การผนึกพลังประสานความต่างนั้นคือ 1+1=3 หรือมากกว่านั้น ซึ่งมันคือการร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์
แผนปฏิบัติของการผนึกพลังผสานความต่าง
ขั้นเริ่มต้น: ระบุปัญหาหรือโอกาส
วิธีของเขา: เข้าใจความคิดของผู้อื่นก่อน
วิธีของเรา: ให้ผู้อื่นเข้าใจเราด้วยการแสดงความคิด
ระดมความคิด: สร้างสรรค์ทางเลือกและความคิดใหม่
*** จงมีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ ใช้ความคิดเพื่อต่อความคิด วิธีที่เหนือกว่า: หาวิธีที่ดีที่สุด
แม้คุณจะได้เล่นในเกมที่เป็นที่สุดแห่งชีวิต ทว่าสิ่งที่คุณจะจำได้ก็คือความรู้สึกของการทำงานเป็นทีม คุณอาจจะลืมการเล่น ลืมลูกที่ทำแต้มได้ และลืมว่าได้คะแนนเท่าไร แต่คุณจะไม่มีวันลืมเพื่อนร่วมทีม
_________________________________________ เฮเลน เคลเลอร์ คือ นักเขียนและอาจารยืชาวอเมริกันที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง คศ. 1880-1968 ซึ่ง ตาบอดและหูหนวกตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ
ไปต่อที่ habit ที่ 7 เลยค่ะ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=joy2k&month=06-2008&date=23&group=2&gblog=4
Create Date : 23 มิถุนายน 2551 |
Last Update : 16 กรกฎาคม 2552 22:29:33 น. |
|
0 comments
|
Counter : 3498 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
|
|
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
|