Chinese & English Language Teacher

โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




งานเขียนทุกชิ้นใน Blog นี้ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

A brief introduction about myself

Hi, everyone! My name is Joe, and I’ve created this blog in order to share my academic interests as well as personal life activities with whoever that comes across.

Strange as it may seem, my life is based on staying current with continuing education to keep my passion alive. Consequently, after earning my BA in English and MA in Translation and Interpretation, I decided to pursue my second master’s degree in Applied Linguistics (English Language Teaching). Upon the completion of my second MA studies, I intended to continue my education towards obtaining a PhD in the same field; afterwards, which would allow me to further refine my language teaching and research skills.

To become a better researcher in language studies, I’ve been actively concentrating on literature review related to my research interests. My main areas of interest include translation pedagogy, academic discourse analysis, and phonetics & pragmatics in second language acquisition. I’m also particularly interested in/ in love with English as a Lingua Franca, World Englishes, and English language teaching (ELT).

please don’t hesitate to contact me via Line ID: LFLCenter should you have any questions, ideas, or suggestions.
ติวเข้มภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร (พูด ฟัง อ่าน เขียน) + หลักสูตรการแปลอังกฤษ-ไทย/ไทย-อังกฤษ (ข่าวสารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ กฎหมาย) + Academic Writing + เตรียมสอบ O-NET GAT PAT7.4 HSK CU-TEP TU-GET TOEIC TOEFL IELTS และเตรียมสอบป.โท ด้านการสอนภาษาอังกฤษและการแปล โดยล่ามสามภาษา + พี่ติวเตอร์ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (การสอนภาษาอังกฤษ) + อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลและการล่าม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Line: LFLCenter (ทดลองเรียนฟรีทุกหลักสูตร!)
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
30 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า's blog to your web]
Links
 

 
แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ

ปัจจุบันหากกล่าวถึงภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดในโลกโดยเรียงห้าอันดับแรก อันได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ ภาษาสเปน ภาษาฮินดี และภาษาอาราบิกแล้ว จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาสากลที่มีความแพร่หลาย และมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง (McKay, 2002: 5) ในการติดต่อสื่อสารทำธุรกิจการค้า และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ตลอดจนเรียนรู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนต่างชาติต่างภาษามาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานหลายทศวรรษ

ด้วยเหตุผลที่สังคมโลกมีความต้องการในการพึ่งพา และใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางระหว่างกันดังกล่าว ทำให้ภาษาอังกฤษไม่เพียงมีสถานะภาพเป็นภาษาโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นภาษาของอำนาจที่ผลักดันให้เกิดช่องทาง และกลไกทางจักรวรรดินิยมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดระเบียบโลกผ่านศิลปะวิทยาการต่างๆของประเทศเจ้าของภาษา พร้อมทั้งปลูกฝังตั้งแต่ในเรื่องของความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนแนวทางในการใช้ชีวิตแบบเจ้าของภาษาให้แก่ผู้เรียนอย่างไม่รู้ตัว ดังที่เราจะเห็นได้จากแนวทางการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ (Teaching of English as a Foreign Language) หรือแนวทางการสอนภาษาอังกฤษให้แก่ผู้พูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา (Teaching English to Speakers of Other Languages) ซึ่งแนวทางกลวิธีในการการสอนภาษาเหล่านี้ล้วนแต่กำหนดให้มีเจ้าของภาษาเป็นแบบอย่างที่ผูกขาด เนื้อหาการเรียนการสอนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้ชีวิต และแนวคิดทางวัฒนธรรมอย่างของเจ้าของภาษา เป้าหมายสูงสุดในการเรียน คือ การมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาอังกฤษตามแบบอย่างมาตรฐานเจ้าของภาษาทุกประการ (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2551: 388-389) ถึงแม้ว่าผู้สอนจะเป็นเจ้าของภาษาหรือไม่ก็ตาม

อย่างไรก็ดี การกำหนดแนวทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่หรือภาษาราชการอย่างเช่นประเทศไทยกลับประสบความล้มเหลวในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก กล่าวคือผู้เรียนมีระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากจนไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้เมื่อจบการศึกษา จนทำให้เกิดการสูญเปล่าทั้งในเรื่องของเวลาและงบประมาณทางการศึกษามาโดยตลอด (สุมิตรา 2540: 14-15) สถานการณ์เช่นนี้สะท้อนถึงความไร้เสถียรภาพของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาและพัฒนาแนวทางในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้เรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อย่างแท้จริง

ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ (English as an International Language) มีแนวคิดทฤษฎีที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากการสอนที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับตัวเจ้าของภาษาเป็นหลัก กล่าวคือมีพื้นฐานความคิดที่ว่าเจ้าของภาษาอังกฤษที่แท้จริงหาใช่ผู้ที่เกิดและเติบโตในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่เท่านั้น แต่เป็นผู้ใดก็ตามที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างกันกับคนในโลก โดยผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันนั้นอาจมีภาษาแม่เป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษก็ได้ หรือพูดให้ชัดเจนก็คือ ในปัจจุบันจำนวนผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษที่มีภาษาอื่นเป็นภาษาแม่นั้นมีจำนวนมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่หลายเท่าตัว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากและฝืนธรรมชาติความเป็นจริงที่จะให้ผู้เรียนทั่วโลกสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เหมือนอย่างผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่โดยการเรียนอยู่ในประเทศของตน

อีกทั้งเมื่อพิจารณาแนวคิดตามทฤษฎีการรับภาษา (Language Acquisition) และภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics) การได้มาซึ่งภาษาหนึ่งๆนั้นย่อมต้องมีปัจจัยทางด้านสังคม ค่านิยม วัฒนธรรมเข้ามาแทรกอยู่อย่างแยกกันไม่ออก ดังนั้นการใช้ภาษาอังกฤษจึงไม่จำเป็นต้องผูกติดอยู่กับวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของคนในแต่ละชนชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัวตามท้องที่หรือถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นธรรมดา ส่งผลให้สามารถมีอิสระในการใช้ภาษาอังกฤษนำเสนอความเป็นตัวของตัวเอง และอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาหรือรับแบบอย่างการใช้ภาษาของผู้ที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ในทุกกระบวนการการเรียนรู้แต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการออกเสียงที่มีสำเนียงท้องที่เป็นตัวกำหนดความเป็นตัวตนของผู้ใช้ภาษาอังกฤษคนนั้นๆไม่มากก็น้อย แต่หาได้เป็นอุปสรรคในการเข้าใจซึ่งกันและกันแต่อย่างใด เช่น ในการประชุมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป

นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติยังพิจารณาถึงในสภาพความจริงที่ว่า โอกาสในการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารระหว่างกันนั้นมีแนวโน้นจะเกิดกับปริบทของผู้ที่ต่างฝ่ายต่างมีภาษาแม่ซึ่งไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ดังนั้นการใช้ภาษาอังกฤษที่มีศัพท์ สำนวนหรือการออกเสียงที่เร็วเกินไปอย่างผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่บางคนอาจทำให้การสื่อสารประสบปัญหาได้ เกี่ยวกับประเด็นนี้ยังมีการนำไปสู่การวิพากษ์ถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม ศักดิ์ศรี ตลอดจนการสร้างอัตลักษณ์ (Identity) ของผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษที่มีภาษาแม่เป็นภาษาอื่นโดยไม่ต้องรับการครอบงำจากผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่แต่อย่างใด ตราบใดที่ภาษาอังกฤษที่สื่อออกไปนั้นสามารถเข้าใจได้ตรงกันในเชิงของการสื่อสารเป็นหลัก สิ่งที่สำคัญ คือ การยอมรับและพร้อมที่จะเรียนรู้ความแตกต่างหลากหลายของภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่ทั่วโลก (The wide variety of English used worldwide) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันยิ่งๆขึ้นไป อันเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติเพื่อคนทั้งโลกอย่างแท้จริง (Campbell et al, 1983: 35; Kachru, 1996: 71-73; McKay, 2002: 81; Modiano, 2001: 342)

หนังสืออ้างอิง

สุมิตรา อังควัฒนากุล. (2540). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไซยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2551). ภาษากับการเมือง ความเป็นการเมือง. กรุงเทพมหานคร:

Campbell, D. et al. (1983). English in International Settings: Problems and Their Causes. In Reading in EIL. Larry E. Smith, ed. Oxford: Pergarnon.

Kachru, Braj B. and Nelson, C.L. (1996). World Englishes. in Sociolinguistics and Language Teaching. Sandra.L. Mckay and Nancy H. Hornberger, eds. Cambridge: Cambridge University Press.

McKay, Sandra L. (2002). Teaching English as an International Language: Rethinking Goals and Approaches. Oxford University Press.

Modiano, Marko. (2001). Linguistic Imperialism, Cultural Integrity, and EIL. ELT Journal. 55(4).


Create Date : 30 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 30 พฤศจิกายน 2553 14:40:01 น. 3 comments
Counter : 3782 Pageviews.

 
ที่ว่า
"เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันยิ่งๆขึ้นไป อันเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติเพื่อคนทั้งโลกอย่างแท้จริง"

ผมไม่ได้สนภาษาอังกฤษในแง่ที่ว่านั้นเลย แต่มองเห็นว่าในปัจจุบันถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษขั้นใช้การได้แล้วจะเสียเปรียบมาก โดยเฉพาะการอ่าน เพราะแหล่วความรู้ต่างๆอยู่บนอินเตอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดยเฉพาะสำหรับคนไทยที่ใช้ภาษาไทย

ทำอย่างไรละครับที่จะให้เด็กไทยสนใจภาษาอังกฤษจนใช้การได้โดยที่ไม่ต้องเรียนเมืองนอกเมืองนาหรอก


โดย: อิสวาสุ IP: 71.114.75.107 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:32:08 น.  

 
การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อยังประโยชน์อาจมองได้หลากหลายมุมมองครับ ในแง่อุดมคติก็เพื่อความเข้าใจกันและนำไปสู่สันติภาพคามสงบสุขของสังคมโลก ในแง่ของการเอาตัวรอดหรือการยังชีพตามความต้องการในโลกทุนนิยมโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือก็เป็นอีกความคิดหนึ่งที่มีมานานและเป็นแนวโน้มของคนส่วนใหญ่ครับ แต่จะเรียนเพื่ออะไรก็ดีทั้งนั้นครับเพราะการศึกษาก็คือการพัฒนาคน

ส่วนที่ว่าจะให้เด็กไทยหันมาสนใจภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องไปเรียนเมืองนอกนั้นคงต้องแยกแยะใหม่ว่าสถานการณ์จริงๆคือ กลุ่มเด็กไทยที่ไม่ชอบไม่เก่งภาษาอังกฤษและไม่มีโอกาสไปเรียน กับอีกกลุ่มที่ครอบครัวมีศักยภาพพอที่จะส่งลูกไปเรียนได้ (ได้ภาษาหรือไม่อีกเรื่อง) กลุ่มสองนี้คงไม่ต้องพูดถึงเพราะได้โอกาสไปถึงที่แล้วแต่ถ้าไม่เรียนเองก็เป็นปัญหาส่วนตัวของเด็กเอง

ปัญหาของเราคือเด็กกลุ่มแรกที่ผมมองว่าเป็นเหยื่อของความไม่เอาไหนของผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองที่ไม่สามารถจัดระบบการศึกษาที่ดีให้เขาได้(ไม่เฉพาะภาษาอังกฤษ) ดังนั้นฝันที่เป็นจริงได้ยากนี้จะเป็นไปได้ก็คงต้องยกระดับเน้นความสำคัญของการศึกษาที่พัฒนาทักษะในการใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นวาระของชาติโดยที่ตัวแกนคือ "รัฐ" ต้องลงแรงให้มากกว่านี้ ทั้งเรื่องของงบประมาณ และคุณภาพของครูนั้นแหละครับ เมื่อเด็กไทยเห็นความสำคัญของการศึกษา รักที่จะเรียน(ไม่เบื่อไม่เซ็งย่างทุกวันนี้) จะเรียนอะไรก็เก่งได้หมดครับไม่เฉพาะแค่ภาษาอังกฤษ


โดย: โจโฉ (joechou ) วันที่: 1 ธันวาคม 2553 เวลา:20:57:30 น.  

 
เห็นด้วยกับบทความนี้ และคุณโจโฉค่ะ
ขออนุญาตไปแชร์ในเฟสได้ป่าวคะ

ขอบคุณค่ะ


โดย: wonderfulgirl IP: 203.155.165.15 วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:12:47:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.