Chinese & English Language Teacher

โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




งานเขียนทุกชิ้นใน Blog นี้ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

A brief introduction about myself

Hi, everyone! My name is Joe, and I’ve created this blog in order to share my academic interests as well as personal life activities with whoever that comes across.

Strange as it may seem, my life is based on staying current with continuing education to keep my passion alive. Consequently, after earning my BA in English and MA in Translation and Interpretation, I decided to pursue my second master’s degree in Applied Linguistics (English Language Teaching). Upon the completion of my second MA studies, I intended to continue my education towards obtaining a PhD in the same field; afterwards, which would allow me to further refine my language teaching and research skills.

To become a better researcher in language studies, I’ve been actively concentrating on literature review related to my research interests. My main areas of interest include translation pedagogy, academic discourse analysis, and phonetics & pragmatics in second language acquisition. I’m also particularly interested in/ in love with English as a Lingua Franca, World Englishes, and English language teaching (ELT).

please don’t hesitate to contact me via Line ID: LFLCenter should you have any questions, ideas, or suggestions.
ติวเข้มภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร (พูด ฟัง อ่าน เขียน) + หลักสูตรการแปลอังกฤษ-ไทย/ไทย-อังกฤษ (ข่าวสารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ กฎหมาย) + Academic Writing + เตรียมสอบ O-NET GAT PAT7.4 HSK CU-TEP TU-GET TOEIC TOEFL IELTS และเตรียมสอบป.โท ด้านการสอนภาษาอังกฤษและการแปล โดยล่ามสามภาษา + พี่ติวเตอร์ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (การสอนภาษาอังกฤษ) + อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลและการล่าม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Line: LFLCenter (ทดลองเรียนฟรีทุกหลักสูตร!)
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า's blog to your web]
Links
 

 
แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษาตามแนวทางแบบธรรมชาติ

การสอนภาษาตามแนวทางแบบธรรมชาติ(The Natural Approach (NA))เป็นผลผลิตจากการค้นคว้าของ สตีเฟน คราเชน (Stephen Krashen) นักภาษาศาสตร์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัย Southern California และเทรซี่ เทเรล อาจารย์สอนภาษาสเปนในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยทั้งสองได้พัฒนาแนวคิดวิธีการสอนแบบธรรมชาตินี้จากการศึกษาเรื่องการเรียนรู้ภาษาที่สองของคราเชน และประสบการณ์การสอนภาษาสเปนให้ชาวต่างชาติของเทเรลเอง

แนวคิดที่เป็นความเชื่อของทฤษฎีนี้คือ ผู้เรียนภาษาที่พ้นวัยเด็กมาแล้วยังคงมีความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษาที่สองได้เช่นเดียวกับการเรียนรู้ทักษะภาษาแม่ในวัยเด็ก ถึงแม้ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่มีความแตกต่างจากผู้เรียนที่เป็นเด็กในแง่ของการเรียนรู้ หรือเข้าใจรูปแบบภาษาที่เป็นนามธรรมตลอดจนกฎทางไวยากรณ์ของภาษาเป้าหมายอย่างรู้ตัว (conscious learning) ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่กล้าแสดงออกเท่าเด็กก็ตาม

คราเชน และเทเรล (Krashen and Terrell 1983) กล่าวว่า “การสื่อสารเป็นเป้าหมายหลักในการทำหน้าที่ของภาษา” ดังนั้นแกนหลักของการสอนแบบธรรมชาติอยู่ที่การสอนทักษะการสื่อสารนั้นเอง โดยภาพรวมหลักของการสอนภาษาและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะถูกเน้นไปที่ “ความหมาย” เป็นหลัก ซึ่งทั้งคราเชนและเทเรลได้เน้นในเรื่องของความหมายไว้ที่การเรียนคำศัพท์ และการนำภาษาที่เรียนไปใช้เพื่อการสื่อสาร และจากมุมมองของคราเชน การได้มาซึ่งภาษาคือ การหลอมรวมกฎของภาษาโดยผ่านการสื่อสาร กล่าวคือความสามารถทางภาษาของผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากการที่ใส่ข้อมูลที่มีความหมาย (Comprehensive Input) ภายใต้โครงสร้างทางไวยากรณ์ทางภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ให้กับระดับความสามารถของผู้เรียนที่มีอยู่ และใส่เนื้อหาทางภาษาใหม่เพิ่มเติมเข้าไปโดยเรียกว่าการเรียนแบบ I+1

นอกจากนี้แล้วแนวคิดการเรียนภาษาแบบธรรมชาติยังได้เน้นถึงเรื่องสมมุติฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของตัวผู้เรียนเอง (The Monitor Hypothesis) และสมมุติฐานในเรื่องตัวกรองอารมณ์ ( The Affective Filter Hypothesis) โดยที่ตลอดในช่วงระยะเวลาที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาโดยรู้สึกตัว (Consciously) นี้เมื่อความสามารถทางภาษาได้รับการพัฒนาขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกถึงสิ่งที่ตัวเองได้สื่อสารออกไปว่า “ถูก” หรือ “ผิด” และจะทำการแก้ไขเมื่อมีเวลาพอเพียง เช่น การใช้ภาษาในเวลาที่มีการทดสอบทางภาษา เป็นต้น ซึ่งการตรวจสอบนี้ เมื่อทำซ้ำนานเข้าก็จะทำให้ผู้เรียนมีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาตามมาในที่สุด และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ การรับข้อมูลและการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อสภาวะทางอารมณ์และความวิตกกังวลของผู้เรียนได้รับการควบคุมโดยการเสริมแรงในเรื่องบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเป็นกันเอง (Richards and Rodgers,2001 ,p181,183 )

References:

Krashen, S. 1981.Second Language Acquisition and Second Language Learning. Oxford: Pergamon Press.

Richards, J. and Rodgers, T. 1986. Approaches and Methods in Language Teaching.2nd ed. Cambridge: Cambridge Universitiy Press.


Create Date : 18 มกราคม 2554
Last Update : 18 มกราคม 2554 16:05:55 น. 2 comments
Counter : 5637 Pageviews.

 


สวัสดีปีใหม่

Happy New Year!





โดย: Elbereth วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:20:28:12 น.  

 
เป็นกระทู้ภาษาสเปน และแปลภาษาสเปนที่ดีมากๆครับ


โดย: ต้าโก่ว วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:18:29:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.