Chinese & English Language Teacher

โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




งานเขียนทุกชิ้นใน Blog นี้ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

A brief introduction about myself

Hi, everyone! My name is Joe, and I’ve created this blog in order to share my academic interests as well as personal life activities with whoever that comes across.

Strange as it may seem, my life is based on staying current with continuing education to keep my passion alive. Consequently, after earning my BA in English and MA in Translation and Interpretation, I decided to pursue my second master’s degree in Applied Linguistics (English Language Teaching). Upon the completion of my second MA studies, I intended to continue my education towards obtaining a PhD in the same field; afterwards, which would allow me to further refine my language teaching and research skills.

To become a better researcher in language studies, I’ve been actively concentrating on literature review related to my research interests. My main areas of interest include translation pedagogy, academic discourse analysis, and phonetics & pragmatics in second language acquisition. I’m also particularly interested in/ in love with English as a Lingua Franca, World Englishes, and English language teaching (ELT).

please don’t hesitate to contact me via Line ID: LFLCenter should you have any questions, ideas, or suggestions.
ติวเข้มภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร (พูด ฟัง อ่าน เขียน) + หลักสูตรการแปลอังกฤษ-ไทย/ไทย-อังกฤษ (ข่าวสารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ กฎหมาย) + Academic Writing + เตรียมสอบ O-NET GAT PAT7.4 HSK CU-TEP TU-GET TOEIC TOEFL IELTS และเตรียมสอบป.โท ด้านการสอนภาษาอังกฤษและการแปล โดยล่ามสามภาษา + พี่ติวเตอร์ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (การสอนภาษาอังกฤษ) + อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลและการล่าม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Line: LFLCenter (ทดลองเรียนฟรีทุกหลักสูตร!)
Group Blog
 
 
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
2 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า's blog to your web]
Links
 

 
ความสำคัญบางประการของวากยสัมพันธ์ต่อการแปล

การแปลเป็นกระบวนการทางภาษาที่ซับซ้อน ผู้แปลต้องมีความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ความหมายแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นรูปภาษา (form) ที่แตกต่างจากต้นฉบับ โดยยังสามารถถ่ายทอดความหมายเดิมที่ถูกต้องครบถ้วน พร้อมทั้งรักษาความเป็นธรรมชาติ เพื่อส่งผลให้เกิดการเทียบเคียงหรือสมมูลภาพ (equivalence) ในภาษาฉบับแปล ดังนั้นการแปลจึงไม่ใช่การถอดคำแปลคำต่อคำโดยไม่คำนึงถึงโครงสร้างทางภาษา (ความสัมพันธ์ของคำในประโยค) และบริบทในการสื่อสารอันเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดความหมายที่แท้จริงซึ่งเป็นผลผลิตของกระบวนการแปล

จากกระบวนการแปลที่กล่าวมาในข้างต้น ความรู้ถึงระเบียบในภาษาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า “คำ” ซึ่งก็คือ “หน่วยวลีหรือประโยค” ในภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลจึงมีความสำคัญเป็นลำดับแรกสำหรับผู้แปลทุกคน เพราะความเข้าใจดังกล่าวจะนำไปสู่การวิเคราะห์ความหมายของภาษาต้นฉบับ และการถ่ายทอดรูปแบบภาษาฉบับแปลที่ถูกต้องเหมาะสมในลำดับต่อไป

ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของคำหรือที่เรียกว่าวากยสัมพันธ์ (syntax) นี้ไม่ได้หมายถึงความสัมพันธ์ของคำใดคำหนึ่งกับคำอื่นๆ เป็นคำๆไป แต่หมายถึงความสัมพันธ์ของแต่ละคำในฐานะที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะทางไวยากรณ์ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันในประโยค เช่นคำว่า “died” กับ “the man” ทำหน้าที่ทางไวยากรณ์ในประโยคแตกต่างกัน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ของคำในหมวดต่างๆ อันได้แก่ การเรียงลำดับของคำในประโยค (Linear order) และความสัมพันธ์ด้านการจับกลุ่มหรือความสัมพันธ์เป็นลำดับชั้น (Hierarchical Structure) แตกต่างกันไปด้วย คือเมื่อผูกประโยค(เรียงลำดับประโยค) ผู้แปลจะรู้ว่า “the man” ต้องมาก่อน “died” ขณะเดียวกันก็จะรู้ถึงการแบ่งกลุ่มคำสองคำนี้ในฐานะที่คำหนึ่งเป็นประธาน (subject) ของประโยค และอีกคำเป็นภาคแสดง (predicator) เป็นต้น

ความรู้ทางวากยสัมพันธ์จะช่วยให้ผู้แปลสามารถทำความเข้าใจรูปภาษาตั้งแต่คำชนิดต่างๆ วลี ประโยค ตลอดจนย่อหน้าหรือแม้แต่ตัวบททั้งหมดได้อย่างเป็นระบบ กล่าวคือ การเข้าใจส่วนประกอบของประโยคที่มาจากความสัมพธ์ของคำต่างๆ จะช่วยให้ผู้แปลเข้าใจความหมายของประโยคนั้นได้ดียิ่งขึ้น เช่น รู้ว่าใครหรือสิ่งใดเป็นประธาน ทำกริยาอะไร หรือเป็นอะไร มีส่วนขยาย หรือภาคแสดงอย่างไร เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้แปลมือใหม่ที่ยังไม่มีความชำนาญในการอ่านประโยคยาวๆที่มีการเกาะเกี่ยวความต่อเนื่องกันในตัวบท ทั้งนี้เพราะเมื่อประโยคมีความซับซ้อน ผู้แปลไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ย่อมทำให้เกิดความผิดลาดหรือคาดเคลื่อนทั้งในส่วนของการทำความเข้าใจตัวบทและการถ่ายทอดเป็นภาษาฉบับแปล

นอกจากนี้ความรู้ทางวากยสัมพันธ์ยังเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้ผู้แปลสามารถพิจารณาเปรียบเทียบไปได้ตลอดหลังจากการทำความเข้าใจความหมายที่สกัดออกมาจากรูปภาษาต้นฉบับในลำดับต่อไปว่า คำนี้ วลีนี้ ประโยคนี้ ย่อหน้านี้ หรือตัวบททั้งหมดนั้นเมื่อแปลเป็นภาษาฉบับแปลจะต้องใช้รูปภาษาตามลีลา และน้ำเสียงที่ซ่อนอยู่ในโครงสร้างของภาษาต้นฉบับอย่างไร ยกตัวอย่างประโยคที่ผู้หญิงคนหนึ่งเล่าให้เพื่อนหลังจากที่ไปสัมภาษณ์งาน เช่น

ST: “I didn’t realize I had so much competition”
TT: “โหย ไม่คิดเลยว่าจะมีคู่แข่งมากขนาดนี้นะเนี้ย” (The devil wears Prada)

จากความรู้ทางวากยสัมพันธ์ ผู้แปลจะทราบว่าใครเป็นประธาน มีภาคแสดง และส่วนขยายอย่างไรในเบื้องต้น จากนั้นจึงทำการเลือกสรรคำแปลให้เหมาะสมในภาษาปลายทางที่เหมาะสมเป็นธรรมชาติ แทนที่จะแปลแบบถอดความหมายแบบตรงตัวเป็น “ฉันไม่ทราบว่าฉันมีคู่แข่งเยอะมาก” ซึ่งเป็นคำแปลที่ค่อนข้างขาดความสละสลวยอย่างที่ควรจะเป็นในภาษาฉบับแปล

หนังสืออ้างอิง
คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาตร์. (2548) ภาษาศาสตร์เบื้องต้น ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มณีรัตน์ สวัสดิวัฒน์ ณ อยุธยา. (2548). การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนีโรชน์ กุลธำรง. (2552). ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล (จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


Create Date : 02 เมษายน 2555
Last Update : 2 เมษายน 2555 11:07:19 น. 0 comments
Counter : 7304 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.