Chinese & English Language Teacher

โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




งานเขียนทุกชิ้นใน Blog นี้ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

A brief introduction about myself

Hi, everyone! My name is Joe, and I’ve created this blog in order to share my academic interests as well as personal life activities with whoever that comes across.

Strange as it may seem, my life is based on staying current with continuing education to keep my passion alive. Consequently, after earning my BA in English and MA in Translation and Interpretation, I decided to pursue my second master’s degree in Applied Linguistics (English Language Teaching). Upon the completion of my second MA studies, I intended to continue my education towards obtaining a PhD in the same field; afterwards, which would allow me to further refine my language teaching and research skills.

To become a better researcher in language studies, I’ve been actively concentrating on literature review related to my research interests. My main areas of interest include translation pedagogy, academic discourse analysis, and phonetics & pragmatics in second language acquisition. I’m also particularly interested in/ in love with English as a Lingua Franca, World Englishes, and English language teaching (ELT).

please don’t hesitate to contact me via Line ID: LFLCenter should you have any questions, ideas, or suggestions.
ติวเข้มภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร (พูด ฟัง อ่าน เขียน) + หลักสูตรการแปลอังกฤษ-ไทย/ไทย-อังกฤษ (ข่าวสารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ กฎหมาย) + Academic Writing + เตรียมสอบ O-NET GAT PAT7.4 HSK CU-TEP TU-GET TOEIC TOEFL IELTS และเตรียมสอบป.โท ด้านการสอนภาษาอังกฤษและการแปล โดยล่ามสามภาษา + พี่ติวเตอร์ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (การสอนภาษาอังกฤษ) + อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลและการล่าม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Line: LFLCenter (ทดลองเรียนฟรีทุกหลักสูตร!)
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า's blog to your web]
Links
 

 
ประเภทของวัฒนธรรมหลักที่มีผลต่อการกำหนดค่านิยมในการสื่อสาร

1. การมีวัฒนธรรมแบบเดี่ยวและวัฒนธรรมแบบหลากหลาย

การที่สังคมใดสังคมหนึ่งมีวัฒนธรรมเดี่ยว กล่าวคือ ใช้ภาษาร่วมกันภาษาเดียว มีทัศนะความคิดความเชื่อ และค่านิยมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่นในสังคมญี่ปุ่นซึ่งยึดถือความเป็นชาตินิยมสูง มีความรู้สึกที่ค่อนข้างมองคนชาติอื่นในแบบคนแปลกหน้า และมีความเชื่อในเรื่องการทำงานเป็นกลุ่มและมีความสามัคคีสูง ตรงกันข้ามกับสังคมที่ประกอบไปด้วยคนต่างเชื้อชาติเช่นใน สหัฐอเมริกาที่มีความแตกต่างหลายหลายสูง ทำให้คนเคยชินกับการอยู่ร่วมกัน ความรู้สึกว่าเป็นพวกเขาพวกเรา (Ingroup-Outgroup) มีน้อยกว่า แต่จะมีความมั่นใจถือเอาความเป็นปัจเจกบุคคล ต้องการทำงานเดี่ยมากกว่าเป็นกลุ่ม จึงทำให้คนที่มาจากวัฒนธรรมเดี่ยวอาจรู้สึกอึดอัดเมื่อต้องร่วมงานกับกับบุคคลที่มาจากสังคมที่มาจากวัฒนธรรมที่หลายหลาย

2.การมีวัฒนธรรมแบบอิงปริบทสูงและอิงปริบทต่ำ

วัฒนธรรมที่อิงปริบทสูง (high-context Culture) เชื่อว่าการอาศัยถ้อยคำเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะตีความหมายของสารได้ทั้งหมด จำเป็นต้องอาศัยท่าทางจากปริบทแวดล้อมต่างๆ เช่น สีหน้า ท่าทาง ประกอบ โดยประเทศในทวีปเอเซีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น จีน เกาหลี หรือในประเทศใกล้เคียงจัดเป็นสังคมที่มีการสื่อสารแบบอิงปริบทสูง คำพูดมักอ้อมค้อมเพื่อหลีกเลี่ยงการขัดแย้ง หรือกลัวการกระทบความสัมพันธ์ ส่วนสังคมที่อิงปริบทต่ำ (Low-context Culture) เช่น สังคมในกลุ่มชาวตะวันตกเช่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะใช้ถ้อยคำในการบอกความหมายอย่างชัดเจนเปิดเผย ตรงไปตรงมา สามารถสรุปความของสารหรือจากสิ่งที่พูดได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลที่มาจากสังคมที่ต่างกันทั้งสองต้องสื่อสารกันก็ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะสังคมที่มาจากปริบทต่ำมองว่าผู้พูดที่มาจากปริบทสูงพูดจาตรงมากเกินไปอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ในขณะที่ผู้พูดที่มาจากปริบทต่ำมองว่าผู้พูดที่มาจากปริบทสูงพูดจาอ้อมค้อม ขาดความจริงใจ

3. การมีวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นปัจเจกบุคลและการเน้นความเป็นกลุ่ม

สังคมที่มีวัฒนธรรมแบบเน้นความเป็นปัจเจกบุคคล (individualism) มีความรวมกลุ่มกันเพื่อทำงานอยู่ในระดับต่ำ บุคคลที่มาจากสังคมแบบนี้มักมาจากประเทศในตะวันตกเช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตเรีย อังกฤษ ฯลฯ ผู้คนมักมีความเชื่อมั่นในสิทธิส่วนบุคคลและเสรีภาพของตัวเอง มีอุดมการณ์สูง สังคมแบบนี้ไม่ให้ความสำคัญกับระบบพวกพ้อง แต่เน้นที่ความสามารถส่วนบุคคล ส่วนบุคคลที่มาจากสังคมที่เน้นความเป็นกลุ่ม (Collectivism) เช่นประเทศในเอเซีย และอเมริกาใต้ จะยึดถือระบบพวกพ้องเป็นหลัก จุดมุ่งหมายของกลุ่มเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของสมาชิก และจะมีการพึ่งพาอาศัยกันสูง จะมีการแบ่งปันและผูกพันภายในกลุ่มมาก และด้วยความให้ความสำคัญในกลุ่มนี้เองทำให้เกิดระบบอวุโสและลำดับชั้นขึ้นในสังคม

4. การมีวัฒนธรรมที่ยอมรับอำนาจของแต่ละบุคคลต่างกันในสังคม

ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับอำนาจสูง (High power distance) จะยอมรับว่าอำนาจนั้นเป็นส่วนหลักส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในสังคม มีการแบ่งอำนาจและบทบาทให้แต่ละคนไม่เท่าเทียมกัน เช่นในสังคมไทย หรือ อินเดีย ซึ่งจะมีลักษณะพอใจหรือยินยอมที่จะยอมรับสถานะภาพที่สูงของคนอื่นอันเนื่องมาจาก ฐานะทางการเงิน การเมือง เชื้อสาย ฯลฯ โดยเราจะสังเกตุได้จากการใช้ภาษาในหลายระดับต่อบุคคลที่มีอำนาจต่างกัน เช่นการใช้คำราชาศัพท์ คำสุภาพ คำนบน้อม เป็นต้น ซึ่งต่างจากสังคมที่มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับอำนาจต่ำ (Low power distance) เช่นในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาที่เชื่อว่าอำนาจที่มีนั้นจะอยู่ภายใต้กฎหมาย ทุกคนมีความเท่าเทียมกันตามสิทธิที่ควรพึงได้รับ ดังนั้นสังคมที่มีความแตกต่างทางอำนาจสูงมักจะมีการแสดงออกทางความคิดน้อยกว่าสังคมที่มีความแตกต่างทางอำนาจต่ำ คนจะไม่ค่อยชอบแสดงความคิดเห็นเช่นนักเรียนไม่กล้ายกมือถามครูเพราะถูกสอนให้เกรงกลัวห้ามเถียง ลูกน้องจะหลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับเจ้านาย ชาวบ้านจะกลัวและเกรงใจนักการเมืองในท้องที่ที่ตนอาศัยอยู่ ต่างจากสังคมที่มีความแตกต่างทางอำนาจต่ำ ที่จะไม่มีระดับภาษาซับซ้อน ผู้ใหญ่อาจทักผู้น้อยก่อนได้ไม่มีการแบ่งแยกเรื่องอายุหรือความอวุโส ลูกน้องเมื่อเห็นว่าเจ้านายทำไม่ถูกก็อาจพูดแย้งขึ้น นักเรียนสามารถอภิปรายโต้แย้งกับครูผู้สอนได้อย่างอิสระ

หนังสืออ้างอิง
Ronald B. Adler & George Rodman. Understanding Human Communication. Eighth Edition. Oxford University Press, 2003


Create Date : 14 มกราคม 2554
Last Update : 14 มกราคม 2554 21:36:58 น. 1 comments
Counter : 21970 Pageviews.

 
ขอโทษนะครับ ข้อ 2 มันผิดหรือเปล่าครับ ตรง
"เพราะสังคมที่มาจากปริบทต่ำมองว่าผู้พูดที่มาจากปริบทสูงพูดจาตรงมากเกินไปอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง"

"ในขณะที่ผู้พูดที่มาจากปริบทต่ำมองว่าผู้พูดที่มาจากปริบทสูงพูดจาอ้อมค้อม ขาดความจริงใจ"

ข้อล่างถูกแล้วครับ แต่ข้างบน มันต้องสังคมที่มาจากปริบทสูงมองว่าผู้พูดที่มาจากปริบทต่ำพูดจาตรงมากเกินไปไม่ใช่เหรอครับ ????


โดย: Panuwat IP: 202.28.12.190 วันที่: 2 กันยายน 2556 เวลา:10:04:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.