Chinese & English Language Teacher

โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




งานเขียนทุกชิ้นใน Blog นี้ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

A brief introduction about myself

Hi, everyone! My name is Joe, and I’ve created this blog in order to share my academic interests as well as personal life activities with whoever that comes across.

Strange as it may seem, my life is based on staying current with continuing education to keep my passion alive. Consequently, after earning my BA in English and MA in Translation and Interpretation, I decided to pursue my second master’s degree in Applied Linguistics (English Language Teaching). Upon the completion of my second MA studies, I intended to continue my education towards obtaining a PhD in the same field; afterwards, which would allow me to further refine my language teaching and research skills.

To become a better researcher in language studies, I’ve been actively concentrating on literature review related to my research interests. My main areas of interest include translation pedagogy, academic discourse analysis, and phonetics & pragmatics in second language acquisition. I’m also particularly interested in/ in love with English as a Lingua Franca, World Englishes, and English language teaching (ELT).

please don’t hesitate to contact me via Line ID: LFLCenter should you have any questions, ideas, or suggestions.
ติวเข้มภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร (พูด ฟัง อ่าน เขียน) + หลักสูตรการแปลอังกฤษ-ไทย/ไทย-อังกฤษ (ข่าวสารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ กฎหมาย) + Academic Writing + เตรียมสอบ O-NET GAT PAT7.4 HSK CU-TEP TU-GET TOEIC TOEFL IELTS และเตรียมสอบป.โท ด้านการสอนภาษาอังกฤษและการแปล โดยล่ามสามภาษา + พี่ติวเตอร์ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (การสอนภาษาอังกฤษ) + อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลและการล่าม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Line: LFLCenter (ทดลองเรียนฟรีทุกหลักสูตร!)
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า's blog to your web]
Links
 

 
แนวคิดเรื่องการการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร

การสอนภาษาต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลายตามหลักแนวคิดพื้นฐาน และวิธีการสอนภาษาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ที่นักภาษาศาสตร์ประยุกต์คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการสอน หรือเพื่อปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การสอนภาษาอังกฤษตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1970 และได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศอังกฤษ เนื่องจากเป็นแนวทางการสอนที่เน้นในเรื่องการสื่อสารตามสถานการณ์ในการใช้ภาษาจริงๆมากกว่าการเน้นสอนเรื่องรูปแบบหรือโครงสร้างของภาษาเพียงอย่างเดียว

Widdowson (1978) อ้างใน Larsen-Freeman (2000:121) ได้กล่าวไว้ว่าในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงโดยการนำแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมาใช้นั้นมีเหตุผลมาจากการที่ผู้เรียนสามารถผลิตประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดีแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะนำความรู้ทางตัวภาษาที่ได้เรียนนั้นไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสมถูกต้องตามปริบท ที่เป็นเช่นนี้เนื่องมากจากการรู้ถึงกฎในตัวภาษาของผู้เรียนนั้นยังไม่เพียงพอแต่การใช้ภาษาในสถานการณ์จริงๆนั่นเอง

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางภาษาที่มีไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งนอกจากที่ผู้เรียนต้องมีความรู้ในเรื่องไวยากรณ์ภาษาแล้ว ผู้เรียนยังต้องมีความรู้ในสิ่งที่อยู่นอกเหนือตัวภาษา เช่น สถานภาพหรือความสัมพันธ์ของคู่สนทนาในสังคม อายุ เพศ การศึกษา ความสุภาพ ตลอดจนเจตนาทั้งทางตรงและทางอ้อมในการสื่อสาร เป็นต้น

Larsen-Freeman (2000:128-132) ได้กล่าวไว้ว่าเป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นคือการทำให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารในภาษาที่เรียนได้ โดยการจะทำเช่นนี้ได้จะต้องมีความรู้ในเรื่องของโครงสร้างทางภาษา ความรู้ในเรื่องความหมาย และความเข้าใจในเรื่องของหน้าที่ของภาษาที่ใช้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเลือกรูปแบบของภาษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร ปริบททางสังคม ตลอดจนบทบาททางสังคมของผู้ร่วมสนทนาด้วย นอกจากการสอนที่เน้นในเรื่องหน้าที่ของภาษามากกว่ารูปแบบทางภาษาแล้ว ผู้เรียนยังต้องเรียนทักษะทั้งสี่ คือพูด ฟัง อ่าน เขียน ไปพร้อมๆกันตั้งแต่เริ่มต้นอีกด้วย โดยสิ่งที่มีความโดดเด่นในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร คือเนื้อหาของการเรียนการสอนจะอยู่ภายใต้กระบวนการทางการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งสิ้น โดยการที่ผู้เรียนจะสามารถสื่อสารได้นั้นต้องมีองค์ประกอบหลักๆอยู่ 3 ประการด้วยกันคือ 1) ช่วงว่างระหว่างข้อมูล (Information gap) คือความต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันโดยเมื่อคู่สนทนาไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลไม่พอเพียง ทำให้ต่างฝ่ายต้องการที่จะทราบหรือให้ข้อมูลซึ่งกันและกัน 2) การเลือก (Choice) คือผู้เรียนมีโอกาสในการเลือกที่จะพูดหรือเขียน ตลอดจนรูปแบบในการสื่อสารความหมาย 3) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) คือ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้ทราบถึงผลของการสื่อสารที่ว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวจากปฎิกริยาของผู้ร่วมสนทนา นอกจากนี้แล้วการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารยังเน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฎิบัติกล่าวคือ ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาให้มากที่สุด การให้ผู้เรียนสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยให้เลือกใช้ภาษาตามต้องการและให้ประเมินการสื่อสารด้วยตนเองเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการสื่อสารจริงๆ ส่วนเรื่องข้อผิดพลาดที่ผู้เรียนมีขณะที่มีการเรียนการสอนนั้นไม่ใช้สิ่งที่ต้องการการแก้ไขเสมอ ทั้งนี้ข้อผิดพลาดจะถูกแก้ไขเฉพาะในส่วนที่สำคัญๆที่จะไปขัดขวางหรือสร้างความสับสนของความเข้าใจในการสื่อสารเท่านั้น มิฉะนั้นผู้เรียนอาจเกิดความไม่มั่นใจไม่กล้าที่จะใช้ภาษาในการทำกิจกรรมต่างๆได้

Wilkins (1976) ได้เสนอแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารไว้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารตั้งแต่เริ่มต้น แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยในเรื่องความสำคัญทางไวยากรณ์และสถานการณ์ในการใช้ภาษา การสอนภาษาตามแนวทางการสอนเพื่อการสื่อสารจะมีข้อดีกว่าแนวคิดการสอนที่เน้นไวยากรณ์คือ มีการฝึกฝนภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร และเมื่อผู้เรียนได้มีการฝึกฝนการใช้ภาษาได้ในสถานการณ์จริงแล้ว ยังช่วยให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้เรียนอีกด้วย

การสร้างความสามารถในการสื่อสาร (Communicative competence) ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามแนวคิดของ Savignon (1983: 36-38) ดังต่อไปนี้

1) ความสามารถด้านกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษา (Linguistic or Grammatical competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับเรื่องการออกเสียง ศัพท์ โครงสร้างหรือรูปแบบของประโยคเพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร

2) ความสามารถด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistic competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับการใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกฎเกณฑ์ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น คนรู้ว่าควรพูดอย่างไรในสถานการณ์ใด จุดประสงค์ของการสนทนา ตลอดจนคำนึงถึงบทบาททางสังคมของตนเองและผู้ร่วมสนทนา เป็นต้น

3) ความสามารถด้านความเข้าใจในระดับข้อความ (Discouse competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับการตีความวิเคราะห์ความสัมพันธ์กันของประโยคต่างๆ โดยสามารถเชื่อมโยงความหมายและโครงสร้างทางไวยากรณ์เพื่อพูดหรือเขียนสิ่งต่างๆได้ต่อเนื่องมีความหมายสัมพันธ์กัน เช่น การมีลำดับของการเล่าเรื่อง การเขียนจดหมายที่มีข้อความเป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกัน

4) ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (Pragmatic or Strategic competence) คือ ความสามารถที่ผู้เรียนต้องมีเกี่ยวกับ การถอดความ การพูดซ้ำ การพูดอ้อม การใช้ภาษาสุภาพ ตลอดจนการใช้น้ำเสียงแบบต่างๆเพื่อให้การสื่อสารมีความราบรื่นขึ้นหากเมื่อเกิดความเข้าใจผิด หรือการไม่เข้าใจในการสื่อสาร

จากแนวคิดข้างต้นสรุปได้ว่าการสอนภาษาตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นเน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์การใช้ภาษา อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาและความถูกต้องอีกด้วย ดังนั้นการเรียนการสอนแนวนี้จะต้องเน้นการทำกิจกรรมเพื่อการฝึกฝนการใช้ภาษาให้ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด เช่นมีการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบกันเป็นคู่ กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ มีการสวมบทบาท การเล่นเกมส์ เป็นต้น และการที่ผู้เรียนจะสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารนั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะความสามารถทั้ง 4 ด้าน นั่นคือความสามารถในด้านกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ ความสามารถด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม ความสามารถด้านความสัมพันธ์ของข้อความ และ ความสามารถด้านการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย

หนังสืออ้างอิง:
Larsen-Freeman, D.(2000). Techniques and Principles in Language Teaching. 2nd Ed. Oxford: OUP.

Savignon, Sandra J.(1983). Communicative Competence:Theory and Classroom Practice:Text & Contents in Second Language Learning. Reading Mass: Addison-Wesley Publishing Company.

Wilkins, D.A.(1976). National Syllabuses. London: Oxford University Press.


Create Date : 23 มกราคม 2554
Last Update : 24 มกราคม 2554 23:19:37 น. 9 comments
Counter : 9525 Pageviews.

 
ขอชมว่าเขียนภาษาไทยได้ดีมาก ขอให้ประสบแต่ความรุ่งเรืองในการเป็นนักภาษาตลอดไปครับ
จากใจจริง


โดย: อิสวาสุ IP: 71.114.49.147 วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:18:11:27 น.  

 
ชอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ มีความสุขมากๆนะคะ


โดย: มลน้อย วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:22:01:44 น.  

 
เรื่องภาษาเขียนผมยังคงต้องฝึกฝนต่อไปครับ ถ้าว่าดีมากอาจยังไม่เข้าขั้น แต่ยังไงก็ขอบคุณสำหรับคำชมและคำอวยพรนะครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมครับ


โดย: โจโฉ (joechou ) วันที่: 24 มกราคม 2554 เวลา:23:18:25 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: ฺBeau IP: 118.173.150.39 วันที่: 24 ตุลาคม 2554 เวลา:10:45:15 น.  

 
ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้ดีๆเช่นนี้ จะคอยติดตาม blog นะคะ


โดย: Kwan IP: 110.168.97.87 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2554 เวลา:14:05:26 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะกำลังหาอ้างอิงส่งชำนาญการพิเศษ ขอให้ได้บุญมากๆนะคะ ช่วยได้มากเลยค่ะ ขอบคุณอีกครั้ง


โดย: ครูอ้วน IP: 119.160.218.230 วันที่: 14 มกราคม 2555 เวลา:17:37:49 น.  

 
ดี นะค่ะ แต่ถ้าจะให้ดี พยามไม่ใช้ Secondary source นะคะบทความจะน่าอ่าน มากขึ้น


โดย: Apattarin Pholying IP: 101.51.105.149 วันที่: 7 สิงหาคม 2555 เวลา:11:34:12 น.  

 
กำลังหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์อยู่พอดี ขอบคุณมากๆ นะค่ะขออนิสงค์ที่ช่วยเหลือผู้อื่นในด้านปัญญาขอผลบุญให้คุณทั้งหมด


โดย: kruroong IP: 223.205.205.39 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:21:38:36 น.  

 
I've been absent for a while, but now I remember why I used to love this website. Thanks , I will try and check back more often. How frequently you update your web site?
Ray Ban Wayfare //www.packageone.com/


โดย: Ray Ban Wayfare IP: 94.23.252.21 วันที่: 3 สิงหาคม 2557 เวลา:21:13:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.