Chinese & English Language Teacher

โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




งานเขียนทุกชิ้นใน Blog นี้ได้รับความคุ้มครองตามพรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามคัดลอก แก้ไข ดัดแปลง หรือกระทำการอื่นใดในลักษณะเดียวกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

A brief introduction about myself

Hi, everyone! My name is Joe, and I’ve created this blog in order to share my academic interests as well as personal life activities with whoever that comes across.

Strange as it may seem, my life is based on staying current with continuing education to keep my passion alive. Consequently, after earning my BA in English and MA in Translation and Interpretation, I decided to pursue my second master’s degree in Applied Linguistics (English Language Teaching). Upon the completion of my second MA studies, I intended to continue my education towards obtaining a PhD in the same field; afterwards, which would allow me to further refine my language teaching and research skills.

To become a better researcher in language studies, I’ve been actively concentrating on literature review related to my research interests. My main areas of interest include translation pedagogy, academic discourse analysis, and phonetics & pragmatics in second language acquisition. I’m also particularly interested in/ in love with English as a Lingua Franca, World Englishes, and English language teaching (ELT).

please don’t hesitate to contact me via Line ID: LFLCenter should you have any questions, ideas, or suggestions.
ติวเข้มภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร (พูด ฟัง อ่าน เขียน) + หลักสูตรการแปลอังกฤษ-ไทย/ไทย-อังกฤษ (ข่าวสารคดี วรรณกรรม ธุรกิจ กฎหมาย) + Academic Writing + เตรียมสอบ O-NET GAT PAT7.4 HSK CU-TEP TU-GET TOEIC TOEFL IELTS และเตรียมสอบป.โท ด้านการสอนภาษาอังกฤษและการแปล โดยล่ามสามภาษา + พี่ติวเตอร์ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ (การสอนภาษาอังกฤษ) + อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลและการล่าม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Line: LFLCenter (ทดลองเรียนฟรีทุกหลักสูตร!)
Group Blog
 
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add โจโฉ ณ ลาดปลาเค้า's blog to your web]
Links
 

 
ปรากฎการณ์เรื่องความสุภาพในภาษาจีนกลางปัจจุบัน

ช่วงนี้ร้อนวิชาทางวัจนปฏิบัติศาสตร์เล็กน้อยเลยลองเรียบเรียงบทความวิชาการของศาสตราจารย์ ดร.Gu Yueguo เอาไว้ในบล๊อกตัวเองซะเลย อิอิ

ปรากฎการณ์เรื่องความสุภาพในภาษาจีนกลางปัจจุบัน

เนื้อหาในบทความนี้ได้นำเสนอในเรื่องปรากฏการณ์ของความสุภาพในภาษาจีนกลางปัจจุบัน โดยกล่าวตั้งแต่ประวัติความเป็นมา และแนวคิดทฤษฎีเรื่องของความสุภาพในภาษาจีนกลาง และรวมไปถึงการเปรียบเทียบให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างเรื่องความสุภาพในวัฒนธรรมตะวันตกและความสุภาพในวัฒนธรรมจีน

คำว่า 礼貌 li3mao4 ถ้าแปลกันตามตัวอักษรจีนแล้วจะหมายถึง “ลักษณะที่แสดงถึงความสุภาพ” แต่ถ้าย้อนกลับไปในอดีตคำว่า 礼 นี้หาได้หมายถึงความสุภาพเหมือนความหมายในปัจจุบันไม่ แต่หากหมายถึง ระบบชนชั้นในสังคมหรือระบบเจ้าขุนมูลนายที่ทุกคนในสังคมต่างก็มีสถานภาพระหว่างบุคคลที่กำหนดพฤติกรรมระหว่างกันอย่างชัดเจนนั่นเอง เช่น คนรับใช้ในอดีตจะมีคำสรรพนามแทนตัวเองว่า 奴才nu2cai0 และเรียกเจ้านายตนเองว่า 大人 da4ren2 หรือ主人 zhu3ren2 เป็นต้น และถ้าหากผู้ที่มีฐานะต่ำกว่าฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางสถานภาพระหว่างบุคคลซึ่งถือเป็นเรื่องร้ายแรงมากในสมัยโบราณ ผู้ที่ฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษขั้นรุนแรงเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามความหมายในแก่นแท้ของคำว่า 礼貌 ที่ยังคงยึดถือกันมาจวบจนถึงยุคปัจจุบันกลับกลายเป็นเรื่องของ “การถ่อมตนโดยการแสดงการลดค่าของตนเองเพื่อเคารพความเป็นตัวตนของผู้อื่น” เสมอมา

ในสังคมจีนยุคใหม่อาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบของความสุภาพที่สำคัญนั้นมีปัจจัยหลักอยู่ทั้งหมด 4 ปัจจัยด้วยกัน นั้นคือ 1) ความเคารพนับถือ (Respectfulness) 2) ความถ่อมตน (Modesty) 3) การแสดงความอบอุ่นหรือเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ (Attitudinal warmth) และ 4) การแสดงพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับในสังคม (Refinement) นอกจากองค์ประกอบเรื่องความสุภาพแล้ว ยังมีเรื่องของหลักการในเรื่องความสุภาพซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประการนั่นคือ เรื่องความจริงใจ (Sincerity) และความต่อเนื่องในความสำพันธ์อันดีต่อกันในอนาคต (Balance)

ปรากฏการณ์ความสุภาพที่ GU (1990) ได้นำเสนอในบทความนี้เน้นให้เห็นถึงความขัดแย้งอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องปริบททางวัฒนธรรมซึ่งไม่มีทฤษฎีความสุภาพใดที่ครอบคลุมได้ทั้งหมด แม้แต่ทฤษฎีความสุภาพอันโด่งดังของบราวร์และเลอวินสัน (1987) ก็ไม่สามารถอธิบายหลักความสุภาพได้ทั้งหมดในปริบทในของสังคมจีน โดยหลักความสุภาพของบราวร์กับเลอวินสันได้พูดถึงความสุภาพในเชิงบวกและความสุภาพในเชิงลบหน้าเชิงลบ โดยความสุภาพทั้งสองตั้งอยู่บนพื้นฐานเรื่องของ “หน้า” โดยหน้าเชิงลบคือความต้องการที่จะมีอิสระที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาสกัดกั้นหรือขัดขวางความเป็นตัวเองของบุคคลนั้นๆ ส่วนหน้าเชิงบวกคือความต้องการที่จะได้รับการยอมรับสนับสนุน ความต้องการให้ผู้อื่นชอบและเคารพนับถือในตัวบุคคลนั้นๆ แต่ในสังคมจีนนั้นความหมายของความสุภาพเชิงลบของบราวร์กับเลอวินสันจะแตกต่างในแง่ของทัศนะและความรู้สึกต่อการใช้ภาษาของชาวจีนอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การใช้ภาษาในปริบทของการเสนอ เชิญชวนให้ไปรับประทานอาหารเย็นที่บ้าน โดยในสังคมจีนผู้ได้รับคำเชิญมักจะบ่ายเบี่ยงเพื่อแสดงความสุภาพ และเป็นหน้าที่ของผู้เชิญที่จะต้องแสดงถึงการเน้นย้ำในการเชิญหลายครั้ง จนผู้ถูกเชิญรู้สึกดีที่ผู้เชิญให้เกียรติและจะรู้ว่าถึงเวลาตอบรับเพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ แต่ในทางกลับกันในปริบทในสังคมตะวันตก หากผู้เชิญได้กล่าวการเชิญ แต่ผู้ถูกเชิญปฏิเสธ นั่นเป็นที่รู้กันว่ามีความหมายตามนั่น แต่ถ้าผู้เชิญยังคงย้ำเจตนาที่จะเชิญไปก็เท่ากับเป็นการคุกคามหน้าเชิงลบที่ไปขัดขวามอิสระภาพของผู้ถูกเชิญไปโดยปริยาย

ในขณะที่ทฤษฎีความสุภาพของลีช (1983) จะปรับเข้ากับหลักความสุภาพในสังคมจีนได้ดีกว่า นั่นคือหลักการที่ว่า ให้กล่าวถ้อยคำที่เชื่อว่าไม่สุภาพให้น้อยที่สุดและให้กล่าวถ้อยคำที่เชื่อว่าสุภาพให้มากที่สุด โดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ใช้ประโยชน์แก่ผู้อื่นมากกว่าที่จะให้ประโยชน์แก่ตนเอง โดยหลักการนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นกรอบทฤษฎีพื้นฐานในการวิเคราะห์เรื่องความสุภาพในบทความนี้

หลักเกณฑ์เรื่องความสุภาพ (Politeness maxims) ในภาษาจีนกลางสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทโดยปรับตามกรอบทฤษฎีของลีช นั้นคือ

1) หลักเกณฑ์เรื่องการลดค่าในตัวเอง (the Self-denigration Maxim) คือการแสดงออกซึ่งการความต่ำชั้นไม่สูงส่งหรือดีเท่า และการยกความสูงชั้นกว่าให้คู่สนทนา เช่น การใช้คำลดตัวว่าเป็นน้องและเรียกคู่สนทนาเป็นพี่ หรือการใช้คำเสริมในประโยคเพื่อยกคุณค่าให้คู่สนทนา เช่น 您贵姓 nin2gui4xing4 ซึ่งมีคำว่า 贵 ที่แปลว่าล้ำค่ามีค่าเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น

2) หลักเกณฑ์เรื่องการใช้คำเรียกขาน (the Address Maxim) คือการเรียกคู่สนทนาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามสถานภาพของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นการให้เกียรตินั่นเอง เช่น เรียกเจ้าของร้านอาหารว่า 老板 lao3ban3 เรียกคนที่เป็นคณุว่า 老师 lao3shi1 เป็นต้น

ส่วนหลักเกณฑ์ประเภทที่ 3 และ 4 นี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการสื่อสารที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมในสังคมจีน นั่นคือ

3) หลักเกณฑ์เรื่องการแสดงออกซึ่งความเหมาะสม (the Tact Maxim) คือการรู้ถึงการควรไม่ควรที่จะกระทำการใดๆที่จะเป็นการทำการระคายเคืองให้กับผู้สนทนา

4) หลักเกณฑ์เรื่องความเอื้อเฟือเผื่อแผ่ (the Generosity Maxim) คือการแสดงความมีน้ำใจ และเป็นมิตร โดยหลักเกณฑ์ 3 และ 4 นี้สามารถเห็นได้จากการที่ผู้พูดและผู้ฟังจะสังเกต the Tact Maxim และ the Generosity Maxim ของกันและกันเพื่อทำการสื่อสารจากบทสนทนาเชื้อเชิญที่แม่ยาย (A) ชวนลูกเขย (B)ไปรับประทานอาหารเย็นที่บ้าน ดังต่อไปนี้

A: 明来吃晚饭啊。พรุ่งนี้มาทานข้าวที่บ้านแม่นะ
B: 不来了太麻烦。ไม่ไปดีกว่า รบกวนเปล่าๆครับ
A: 麻烦什么呀。รบกวนอะไรกันเล่า มาเถอะนะ 菜都是现成的。ข้าวเย็นก็เป็นพวกของทำง่ายที่กินประจำอยู่แล้ว
B: 那也得烧哇。แต่นั้นก็ต้องลงมือทำอาหารกันอยู่ดีนะครับ
A: 你不来我们也得吃饭。ถึงลูกไม่มาพวกแม่ก็ต้องกินข้าวเย็นกันอยู่แล้ว 一定来啊,不来我可生气啦。ไม่รู้ละ ยังไงก็ต้องมา ไม่มาแม่โกรธจริงๆนะ
B: 好吧,就随便一点。เอางั้นก็ได้ครับ คงต้องขอรบกวนละ

ในบทสนทนานี้เราจะเห็นหลักเกณฑ์ข้อ 3 และ 4 ทำงานสอดคล้องกัน โดยถ้าดูผิวเผินแล้วอาจมองได้ว่าลูกเขยทำการปฏิเสธแบบไม่ได้ตั้งใจที่จะปฏิเสธจริงๆ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายแม่ภรรยาได้แสดงออกในเรื่องของความเหมาะสมและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในแบบของสังคมจีน ในขณะที่ฝ่ายตัวลูกเขยเองก็ได้แสดงหลักเกณฑ์ทั้งสองประเภทนี้เช่นกันโดยจะดูได้จากการที่แม่ภรรยาแสดงความสุภาพด้วยการเชิญลูกเขย แต่ลูกเขยได้ใช้คำพูดแสดงการปฏิเสธ โดยแม่ยายอาจมองได้ว่าที่ฝ่ายลูกเขยปฏิเสธนั่นเนื่องจาก 1. ลูกเขยต้องการแสดงว่าอยากไปทานอาหารตามคำเชิญ 2.ลูกเขยต้องการแสดงความสุภาพกลับคืนเช่นกัน 3. ลูกเขยต้องการรักษาหน้าของตัวเองไม่ให้ดูเหมือนคนโลภอยากกินของฟรี 4. ลูกเขยไม่ต้องการเป็นหนี้ที่ต้องเชิญแม่ยายทานข้าวเย็นกลับในวันหลัง

ในบทสนทนาในผลัดที่ 3-4 เป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริง กล่าวคือทั้งลูกเขยกับแม่ยายต่างก็รู้ว่าไม่ได้ลำบากอะไรในการเตรียมอาหาร ถ้าว่ากันตามเนื้อหาตามตัวภาษาไม่จำเป็นที่ต้องพูดขึ้นมาเลยก็ได้ แต่ส่วนสำคัญของผลัด 3-4 ก็คือเรื่องของ “ความสุภาพ” นั้นเอง แม่ภรรยาต้องการแสดงความจริงใจโดยการบอกว่าอาหารเตรียมง่าย ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกเขยได้ตอบรับคำเชิญได้ง่ายขึ้นนั้นเอง

ในการสนทนาผลัดที่ 4-5 ยังมีการแลกผลัดกันเกิดขึ้นต่อไปเพื่อบอกเหตุผลของกันและกันเพื่อเน้นความสุภาพ จนถึงขั้นที่แม่ยายทำการขู่ว่าจะโกรธถ้าลูกเขยไม่มากินข้าวเย็นในผลัดที่ 6 การสนทนาจึงเสร็จสิ้นลงโดยนการตอบรับคำเชิญของลูกเขย (ซึ่งถ้าเป็นปริบทเดียวกันในสังคมตะวันตกบทสนทนาจะสั้นมาก คือมีเพียงแค่ คำเชิญ และ ตอบรับหรือไม่รับ)

จากการวิเคราะห์ในเรื่องหน้า และความสุภาพ จะเห็นได้ว่าผู้เชื้อเชิญได้แสดงความสุภาพในเชิงบวกเพื่อให้ผู้ได้รับเชิญยอมรับและให้เกียรติ หรือที่กล่าวในภาษาจีนกลางว่า 给面子 (gei3mian4zi0) ในขณะที่ผู้ถูกเชิญก็เสี่ยงต่อการเสียหน้าเช่นเดียวกันถ้าถูกปฎิเสธ ดังนั้นบทบาทของกฎเกณฑ์ในเรื่อง the Tact Maxim และthe Generosity Maxim จึงช่วยประคองให้ทั้งฝ่ายเชิญและฝ่ายถูกเชิญได้รักษาหน้าของตัวเองและหน้าของฝ่ายตรงข้ามไว้

ในตอนท้ายของบทความนี้ ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงหลักการในเรื่องความสมดุล (Balance) ซึ่งหมายถึงความต่อเนื่องในการแสดงความสัมพันธ์ต่อกันในอนาคตนั่นเอง โดยสามารถมองถึงในเรื่องของการติดหนี้ทางการแสดงน้ำใจ 欠人情 (qian4ren2qing2) ซึ่งจากตัวอย่างก็อาจมองธรรมเนียมที่ผู้ได้รับเชิญจะต้องรู้สึกติดหนี้ทางน้ำใจ และจะต้องแสดงการตอบแทนหนี้โดยการเชิญผู้ที่เชิญในครั้งนี้ไปรับประทานอาหารที่บ้านของตนเองในอนาคตอันใกล้นั้นเอง ดังนั้นเราอาจสรุปได้ว่าการแสดงความสุภาพของสังคมจีนในครั้งหนึ่งไม่ได้หมายถึงการจบลงของการแสดงความสุภาพเป็นครั้งๆ แต่การแสดงความสุภาพนี้เป็นเหมือนกระบวนการลูกโซ่ทางความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคตนั่นเอง

Yueguo, Gu. (1990). Politeness phenomenon in modern Chinese. Journal of Pragmatics.14: 237-257.


Create Date : 13 มกราคม 2554
Last Update : 13 มกราคม 2554 20:40:41 น. 2 comments
Counter : 2048 Pageviews.

 
น่าสนใจจังเลย อยากทราบว่าคิดเห็นยังไงกับทฤษฎี self politeness ของ
Dr. Rong บ้างคะ อยากให้เอามารีวิวจังเลยค่ะ จะรอติดตาม


โดย: Keropi IP: 58.9.84.184 วันที่: 9 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:21:09 น.  

 
ของ Dr. Rong ผมเขียนสรุปไว้แล้วในงานวิจัยการแปล 55+ ไว้จะเอามาลงนะครับ


โดย: โจโฉ (joechou ) วันที่: 26 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:01:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.