ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
กระบวนการบันทึกของจิต....ความกระจ่างของการระลึกชาติได้

กระบวนการบันทึกของจิต
กระแสของการระลึกชาติกำลังมาแรง ไม่ใช่เป็นการดูถูก ประมาทหรือดูแคลนนะครับ แต่การระลึกชาติหรืออดีตชาติก็เป็นสิ่งที่หลายคนสงสัยอยู่ตลอดเวลา บ้างว่ามันเกิดได้จริงหรือไม่ บางกลุ่มที่เชื่อก็บอกว่ามันมีจริง กลุ่มที่ไม่เชื่อก็ค้านหัวชนฝามันเป็นไปไม่ได้ แล้วแต่บุคคล

ในทางพุทธศาสนาก็มีการอธิบายไว้ เช่น ในหนังสือ สมดุลโลก สมดุลใจ สมดุลธรรม(ผลบุญคือกำลังชีวิต) โดยพระภาสกร ภูริวฑฺฒโน(ภาวิไล) ได้กล่าวว่าจิตของมนุษย์นั้นมีการเกิดดับรับรู้รวดเร็วมาก มันจะรับรู้อารมณ์หนึ่งเสร็จไปแล้ว ความรู้หรืออารมณ์ใหม่ก็จะเข้าไปแทนที่ ทุกครั้งที่มีความรู้ใหม่เข้ามา มันจะบันทึกเป็นวิญญาณความรู้ใหม่ มันจะบันทึกเป็นวิญญาณความรู้ใหม่เข้ามาซ้อนทับกับวิญญาณความรู้เดิมที่มีอยู่ผลักดันความรู้เดิมเข้าไปในส่วนลึกของจิต แต่แปลกที่ขนาดของจิตไม่เคยจะเต็มเสียด้วย และจะเก็บไว้ตลอดการเวียนว่ายตายเกิดของจิตของคนนั้นๆ

ในขณะที่เรากำลังดำเนินชีวิตประจำวันอยู่นั้น การเกิดดับของจิตยังทำงานอยู่ โดยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส แล้วสิ่งที่ได้รับสัมผัสก็จะเข้าไปในจิตของเรา แต่เพียงว่าเราจะมีเจตนาที่จะสนใจหรือตั้งใจจดจำสิ่งต่างๆนั้นหรือไม่

สอดคล้องกับการวิจัยของต่างชาติที่วิจัยว่าเด็กสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ตั้งแต่เริ่มคลอดออกมา สิ่งที่เขาได้รับรู้ไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง รสชาติ กลิ่น และความรู้สึกร้อนเย็น สิ่งเหล่านี้มันซึมซับเข้าไปในจิตของทารกทุกวันๆ พอโตขึ้นมาทารกผู้นั้นก็จะมีความรู้ความสามารถที่จะเรียนรู้หรือระลึกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้เด็กมีความเก่งหรือเฉลียวฉลาดในด้านต่างๆ ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว พ่อแม่ก็ควรจะหาสิ่งกระตุ้นให้เด็กมีความรอบรู้ให้ได้หลายๆ ด้านหรือที่เขาเรียกว่า พหุปัญญา ก็น่าจะเป็นผลดี ตรงกันข้ามถ้าหากสิ่งที่ทารกได้รับรู้เป็นสิ่งไม่ดี สิ่งเลวร้ายก็คงจะส่งผลต่อไปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กลับมาว่ากันต่อเรื่องการเกิดดับของจิตกันครับ ในหนังสือได้กล่าวถึงกรณีที่พระพุทธเจ้าระลึกชาติได้นั้นหรือพระองค์ทรงปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณระลึกชาติได้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยระลึกมาจากใจของพระพุทธองค์นั่นเอง ตั้งแต่พระองค์ทรงเริ่มเวียนว่ายตายเกิดจนกระทั่งถึงวันตรัสรู้ พระองค์ทรงระลึกรู้ย้อนกลับหลังไปได้หมด

มนุษย์อย่างเราสิ แค่เพียงวันเดียวก็จะลืมไปเสียแล้ว อย่างนี้กระมังที่พระพุทธจึงส่งสั่งสอนให้เรามีสติทุกเมื่อ เพื่อจะได้รับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามาในร่างกายได้ตลอดเวลาจะเป็นผลส่งให้เราได้ยกระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อเข้าสู่ทางตรัสรู้ได้เช่นกับพระองค์

การระลึกชาติได้จึงเป็นกระบวนการที่เกิดจากการบันทึกของจิตแล้วเราระลึกออกมาภายหลัง หลังจากที่เรามีกำลังจิตสูงเพียงพอที่จะระลึกจิตเหล่านั้นออกมาได้ ต่อไปนี้จะกล่าวถึงกระบวนการบันทึกจิต ซึ่งกล่าวถึงเป็นข้อๆ ดังนี้

กระบวนการบันทึกของจิต
เมื่อเรารับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งจากประสาทสัมผัสแล้ว

1. เทียบหาบัญญัติ ว่ารูปนั้นตรงกับสิ่งที่มีบัญญัติเรียกว่าอะไร

2. เทียบหาคุณภาพ ว่ารูปนั้นดีงามทรามชั่วแค่ไหน มีประโยชน์หรือโทษต่อตนอย่างไร

3. เกิดการคิดนึกปรุงแต่งเจตนา เป็นบุญ-บาป ดี-ชั่ว กุศล-อกุศล ถ้าเจตนาในอารมณ์นั้นเป็นไปตาม "กุศลกรรมบถ 10" ก็จัดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นกรรมดี แต่ถ้าเจตนาในอารมณ์นั้นเป็นไปตาม "อกุศลกรรมบถ 10" ก็จัดเป็นบาป เป็นอกุศล เป็นกรรมชั่ว

4. ผลจากการคิดนึกปรุงแต่งตัดสินทางใจ ที่มีต่อรูปนั้นๆ จึงก่อให้เกิด เวทนา-ความรู้สึกทางใจ ที่มีต่อรูปนั้นๆว่า เห็นแล้วสุขใจหรือเห็นแล้วทุกข์ใจ หรือเฉยๆ

5. ถ้าชอบ ถ้าพอใจ ถ้าถูกใจ ก็ก่อให้เกิดความโลภ เป็น กามตัณหา-ความปรารถนาต้องการทะยานอยาก ในรูปนั้นๆ หรือ กามราคะ-ความกำหนัด ยินดี ติดใจ ในรูปนั้นๆ

6. ยิ่งมีการปรุงแต่งต่อไปในความปรารถนาต้องการ(กามตัณหา) หรือความกำหนัดยินดีติดใจ(กามราคะ)ในรูปนั้นๆ ก็ยิ่งจะเกิดความปรารถนาต้องการหรือกำหนัดยินดีที่ซับซ้อนขึ้นคือกลายเป็น ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากเกิดอยากมี อยากให้ยั่งยืนอยู่ตลอดไป แล้วภวตัณหาความอยากที่ซับซ้อนเช่นนี้เป็นไปเพื่ออะไร ก็เพื่อความเกื้อกูลและได้มาง่ายซึ่งรูปหรือสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งกามตัณหาหรือกามราคะนั่นเอง

7. แต่ถ้าเกิดไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ถูกใจมันก็พลิกเป็น วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น ความต้องการที่จะพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนไม่ชอบ ไม่พอใจ ไม่ถูกใจนั้นๆ

8. แต่ในเมื่อ ยังไม่สามารถที่จะพรากพ้นไปตามใจปรารถนาได้ ปฏิฆะ-ความกรุ่น ครุ่น ขุ่นข้องหมองใจ โทสะ-ความคิดประทุษร้าย ปรารถนาให้สิ่งนั้น ภพนั้น แตกหักทำลาย ดับสูญสลายไป โทมนัส-ความเสียใจ เป็นทุกข์ใจก็จะเกิดขึ้น

9. ถ้ายังไม่ได้มนสิการหรือใส่ใจ หรือตัดสินความรู้สึกทางใจที่มีต่อสิ่งนั้นรูปนั้น ก็จะมีเวทนาเป็นกลางๆ ที่บาลีเรียกว่า อทุกขมสุข ด้วยอำนาจ โมหะ-ความหลง ที่ยังไม่แจ้งในรูปนั้นๆ หรือจิตมีสมาธิสูง หนักแน่นมาก รูปที่มากระทบไม่สามารถทำให้เกิดการหวั่นไหวได้

10. แต่เมื่อใดที่มีการเข้าไปตัดสินด้วยปัญญา ที่เห็นความเป็นจริงแห่งสภาวะธรรม อันเป็นไปตาม กฎไตรลักษณ์ กฏแห่งกรรม อริยสัจ 4 หรือปฏิจจสมุปบาท จิตก็มีเวทนาเป็นกลางๆ จึงสามารถวางเฉยได้ด้วยอำนาจแห่งปัญญา เป็นการเพิ่ม สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ในอารมณ์นั้นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก หรือทุกๆ ขณะจิต ในหนังสือกล่าวว่าจิตเกิดดับในเวลา 1 วินาทีจะมีข้อมูลแปดล้านล้าน (8,000,000,000,000) เข้าสู่จิตของเรา เมื่อร่างกายเราสลายไปข้อมูลเหล่านี้จะยังอยู่ในจิตไปพร้อมกัน เพื่อไปหาแหล่งจุติใหม่ เขาจึงให้เราทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งเราได้ยินมาบ่อยครั้ง

ได้อ่านมาเช่นนี้แล้ว พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง

หากนำข้อเขียนไปลงเว็บหรือบล๊อกกรุณาอ้างที่มาให้ถูกต้องด้วยนะครับ ให้เกียรติกันและเคารพสิทธิของผู้เขียนตามระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ตครับผม


Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 11:34:22 น. 0 comments
Counter : 775 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.