Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 ธันวาคม 2553
 
All Blogs
 
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2173&page=5

ถาม : ถ้าเราเป็นเจ้ากรรมนายเวรเขา แต่เราไม่อยากไปยุ่งกับเขา ?
ตอบ : ให้ตั้งใจอโหสิกรรมใหุุ้กับทุกคน

ถาม : ก็คือ อโหสิกรรมให้ฝั่งเราด้วย ฝั่งเขาด้วย ?
ตอบ : อโหสิกรรมเฉพาะฝั่งเรา เพราะเขาคงไม่รับรู้ด้วย แต่นี่เป็นการปลดตัวเราออกจากสิ่งนั้นมา เวรกรรมจะไม่สามารถเบียดเบียนเราในชาติต่อ ๆ ไปได้ ส่วนเขาจะจองเวรหรือให้อภัยก็แล้วแต่เขา
__________________
ถาม : สอนให้ลูกภาวนาพุทโธ บอกเขาว่าถ้าจำภาพได้ก็ให้จำไปด้วย ทีนีู้ลูกเขาฟังแล้วเข้าใจผิด จำแต่ภาพพระอย่างเดียวค่ะ
ตอบ :ไม่เป็นไร ขอให้ได้สักอย่างหนึ่งก็ใช้ได้

ถาม : หนูจึงไปเปลี่ยนเขาให้ภาวนาแทน ภาพพระเอาไว้ทีหลัง
ตอบ : อย่าลืมว่าภาพพระจำได้ยากกว่า

ถาม : หนูนึกว่าคำภาวนาสำคัญกว่า
ตอบ : จริง ๆ จะสำคัญก็ต่อเมื่อรู้จักเรื่องของสมาธิอย่างแท้จริง คำภาวนาเป็นเครื่องโยงจิตใจให้เป็นสมาธิที่แน่นขึ้นไป ระหว่างการจำภาพพระกับการจับลมหายใจ การจับภาพพระจะยากกว่ามาก

พระอาจารย์กล่าวว่า "ผู้หญิงพออายุมากแล้วจะขาดความมั่นใจในตัวเอง มีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ถ้าเราอยู่คนเดียว เกิดเป็นอะไรไปแล้วใครจะดูแล ก็เลยมีจำนวนมากกระโดดลงเหวไปอย่างเต็มใจ เพราะอยากได้คนดูแล ท้ายสุดก็ซวยหนักเข้าไปอีก เพราะต้องไปดูแลเขา

ฉะนั้น..ความรู้สึกที่กลัวว่าจะไม่มีคนดูแลนี่เลิกคิดไปเลย แต่ถ้าคิดว่า เดี๋ยวไม่มีใครเอาไว้ข่มเหงรังแกก็ว่าไปอย่าง ถ้ารู้สึกอย่างนั้นก็พยายามหามาสักคน จะได้ข่มเหงรังแกได้..!

จากที่กล่าวมา เรื่องสำคัญก็คือ กำลังใจยังไม่มั่นคง ก็เลยต้องการที่พึ่ง เราจึงต้องเร่งกำลังใจให้มั่นคง ถึงเวลาแล้วเราจะได้ไม่ต้องพึ่งใคร และจะได้ไม่ต้องไปกระโดดลงเหว"
__________________

ถาม : ปฏิบัติสมาธิแล้วเกิดการชา เหมือนเป็นจุด ๆ ตรงกลางหน้าผาก บางทีก็ไหลมาอยู่ตรงจมูก ถ้านั่งสมาธิแล้วเห็นเป็นกายของเรา พิจารณาไปว่ามันเป็นกาย ถ้ามีอาการเจ็บปวด ก็ตามดูเวทนา ดูที่จิต

เหมือนกับว่ามีแสงเหมือนสามเหลี่ยมตรงตัวผม พอจะรีบออกจากสมาธิ มันออกไม่ได้ มันมึนครับ

อีกข้อ ที่ปรารถนาอยู่ ถ้ายังโลเลอยู่ จะเป็นมิจฉาทิฐิหรือเปล่าครับ ?

ตอบ : จะเรียกว่ามิจฉาทิฐิก็ไม่ได้ เพียงแต่ว่าบารมียังไม่เข้มข้นพอ ตกลงทั้งหมดที่ว่ามามีคำถามนี้คำถามเดียว นอกนั้นเป็นคำบอกเล่าเฉย ๆ ไม่ถามก็ไม่เป็นไร แต่อาตมาอยากจะบอก

ในเรื่องของการปฏิบัตินั้น อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เขาไม่ให้ใส่ใจ เพราะถ้าใส่ใจสมาธิจะไม่ก้าวหน้า ต้องตัดสินใจว่าอะไรเกิดขึ้นกับเราก็ตามที ถึงจะตายลงไปตอนนั้นก็ตาม เรากำลังทำความดีอยู่ เราต้องไปดีแน่ ถ้าตัดใจได้ขณะนั้น ความก้าวหน้าในการปฏิบัติก็จะมี

พอเราเข้าถึงอุปจารสมาธิ ภาพและแสงสีต่าง ๆ ก็จะปรากฏ ถ้าเราไปให้ความสนใจ ความก้าวหน้าในสมาธิก็จะไม่มี จะติดอยู่แค่นั้น ถ้าเราไม่สนใจ ภาพนั้นจะยิ่งชัด เหมือนกับตั้งใจจะก่อกวนเรา เราจึงจำเป็นที่จะต้องสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น

ส่วนข้อสุดท้ายมีใครบอกไหมว่า คุณพูดเร็วฉิบหายเลย..!

ถาม : ใช่ครับ มีคนบอก
ตอบ : ระวังเอาไว้บ้าง คนแก่เขาจะฟังไม่ทัน
__________________
ถาม : หลังจากนั่งสมาธิ ถ้าเห็นเหมือนแสงเล็ก ๆ ตรงพระพุทธรูป ก็อย่าไปสนใจใช่ไหมครับ ?
ตอบ : ให้กำลังใจทั้งหมดของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออก ถ้ายังมีลมหายใจอยู่..กำหนดรู้ลม ถ้ายังมีคำภาวนาอยู่..กำหนดรู้คำภาวนา

ถ้าลมหายใจเบาลง คำภาวนาหายไป หรือลมหายใจหายไปด้วย เรากำหนดรู้อย่างเดียว อย่าอยากให้เป็นอย่างนั้น และอย่าอยากเลิกเป็นอย่างนั้น มีหน้าที่กำหนดรู้ไปเท่านั้นเอง

ถ้าหากเราไปดิ้นรนอยากให้เป็นอย่างอื่น หรืออยากให้หายจากอาการอย่างนั้น สมาธิจะถอยออกมา แล้วพอถึงสมาธิระดับนั้นก็จะเป็นอีก ทำให้เราไม่ก้าวหน้า ติดอยู่แค่นั้น

__________________
ถาม : ถ้าเวลาอธิษฐาน มีสิ่งเข้ามาแทรกแล้วเราตามรู้ไป ควรตั้งจิตอธิษฐานใหม่ แผ่เมตตาใหม่ หรือควรจะทำอย่างไรครับ ?
ตอบ : ช่างมัน เราทำกุศลอยู่ อกุศลก็พยายามขัดขวาง จิตของเราตั้งอยู่ในเรื่องไหนให้ตั้งในเรื่องนั้นต่อไป อย่างเช่น อธิษฐานปรารถนาโพธิญาณ อธิษฐานปรารถนานิพพานชาตินี้ หรือเกิดเมื่อไรขอให้รวยก็ว่าไป แล้วความตั้งใจของเราจะมีผลตามนั้น

แต่ถ้าหากจิตมั่นคง เหลืออยู่อารมณ์เดียว คำอธิษฐานนั้นจะได้ผลเร็วขึ้น เวลาที่อกุศลกรรมแทรก ไม่ได้หมายความว่าคำอธิษฐานจะไม่มีผล แต่ว่ามีช้าหน่อย ถ้าจิตใจมีคุณภาพ สมาธิทรงตัวตั้งมั่น ไม่เคลื่อนไปไหน คำอธิษฐานจะมีผลเร็วขึ้น โดยเฉพาะเร็วขึ้นอีกหลายชาติ..!

__________________
ถาม : น้องสาวของหนู ชอบนั่งสมาธิแล้วเขาจะเห็นเป็นวิญญาณ เห็นอยู่เรื่อย ๆ จนเขาไม่กล้านั่ง ไม่คิดจะนั่งต่อ
ตอบ : บอกเขาว่าทำต่อไป เริ่มดีแล้ว การที่เรารู้เห็นท่านทั้งหลายเหล่านั้น ให้ตั้งใจว่า ผลบุญที่เราทำในครั้งนี้หรือบุญจากกรรมฐาน ขอให้วิญญาณ ผี หรืออะไรที่เราเห็น ให้โมทนาบุญเราด้วย เราได้รับประโยชน์รับความสุขเท่าไร ขอให้เขาได้รับด้วย แล้วเขาก็จะไปเองจ้ะ
ส่วนใหญ่เขามาเพราะลำบาก เขาต้องการการช่วยเหลือ

ถาม : แล้วอีกอย่างที่เขาไม่กล้านั่ง เพราะเขารู้สึกว่าตัวเขายืดขยาย หายใจไม่ค่อยออก
ตอบ : เป็นอาการของปีติ ในส่วนของผรณาปีติ ไม่มีอะไรน่ากลัว

เราอาจจะสงสัยว่าปีติเป็นเรื่องดี แต่ทำไมจึงมีอาการแปลก ๆ โบราณเขาเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนกับพ่อแม่ ทิ้งลูกให้อยู่บ้าน ส่วนตัวเองไปตลาด ไปไร่ไปนาทั้งวัน พอกลับมาตอนเย็น เด็กก็คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ เห็นพ่อแม่กลับมาก็ดีใจกระโดดโลดเต้น บางคนก็ร้องไห้ดีใจ นั่นคือปีติ

การปฏิบัติก็เหมือนกัน จิตที่เริ่มเข้าถึงความสงบ สิ่งที่ในอดีตเราเคยคุ้นเคยมาก่อน เมื่อเข้าถึงจุดนั้น อาการปีติก็เลยเกิดขึ้น แต่คนเราไม่เข้าใจว่าปีติมีหลายอย่าง หลายรูปแบบด้วยกัน ต่อไปจะมีอาการมากกว่านั้นอีก ฉะนั้น..แรก ๆ ปล่อยให้เป็นไปเต็มที่ ไม่ต้องไปกลัว ถ้าขึ้นเต็มทีแล้วก็จะเลิกไปเอง

ถาม : เขาบอกว่าหายใจไม่ออก สมควรจะหยุดหรือนั่งต่อ ?
ตอบ : ปล่อยต่อไป ให้ตัดสินใจว่าเรากำลังทำความดีอยู่ ถึงตายไปตอนนี้เราก็ยอม เพราะอย่างไรเราไปดีแน่นอน ถ้าตัดใจอย่างนั้นได้ก็ก้าวข้ามไปเลย ถ้าตัดใจไม่ได้ ทำเมื่อไรก็จะติดอยู่แค่นั้นแหละ บอกว่าสู้ต่อไปไอ้มดแดง..!
__________________
ถาม : ถ้าตอนที่อารมณ์เราดีสุด ๆ เหมือนกับว่า กำลังทำความดี แล้วฟูมาก ๆ เราควรจะเอาอารมณ์ตอนนั้นไปทำอะไร ?
ตอบ : ตอนนั้นให้ระมัดระวังตัวให้สุดขีดเลยว่า มารจะแทรกได้ เพราะตอนที่เราฟูมาก ๆ จริง ๆ แล้วสมาธิเราตก ขึ้นไม่ถึงฌาน ปีติจึงเกิดได้ เท่ากับเปิดโอกาสให้ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เข้าได้มาก โดยเฉพาะการยินดีในอารมณ์นั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของราคะอยู่แล้ว

ช่วงนั้นมารจะแทรกได้ง่าย ถ้าเผลอเมื่อไรก็โดนจูงผิดทาง อย่างเช่นปีติมาก ๆ อาจจะทำบุญจนหมดตัว แล้วทำให้ครอบครัวเดือดร้อน หรือไม่ก็ปีติมาก ๆ ภาวนาไม่เลิก จนร่างกายทนไม่ไหว สติแตกไปอีก..!

ต้องระวังตัวสุดขีด..ไม่ใช่อารมณ์ฟูแล้วจะเอาไปทำอะไร แต่ต้องระวังสุดชีวิตเลย ถ้าถึงระดับนั้นแล้วจะทำอะไรต้องใช้สติสัมปชัญญะให้รอบคอบ พิจารณาแล้วว่าตนเองและคนรอบข้างไม่เดือดร้อนถึงทำ

หรือปฏิบัติธรรมไปแล้วก็ให้ตั้งเวลาไปเลย ว่าไม่เกิน ๑ ชั่วโมงเราจะพัก ไม่เกิน ๓ ชั่วโมงเราจะพัก ถ้าหากไม่มีอย่างนั้นแล้ว เดี๋ยวทำข้ามวันข้ามคืนไม่เลิก เพราะใจกำลังฟูอยู่ จะไม่รู้สึกเหนื่อยหรอก แต่ร่างกายจะอ่อนล้าสะสมไปเรื่อย พอถึงระดับที่ร่างกายทนไม่ได้ก็จะพัง..!

แต่สำหรับพวกเราคงไม่ต้องเตือนข้อนี้หรอก ขี้เกียจอยู่แล้วนี่..!
__________________
ถาม : แล้วการทรงฌานสี่ทั้งวัน ไม่ตึงเกินไปหรือครับ ?
ตอบ : ถ้าหากทำได้คล่องตัวจริง ๆ จะไม่เป็นไร ยกเว้นคนฝึกใหม่ ๆ จะรู้สึกตึงและเครียด เพราะสภาพจิตที่เคยดิ้นรน โดนกดนิ่งสนิทไป

จึงควรซ้อมการเข้า-ออก ขึ้น-ลงฌานต่าง ๆ ให้คล่องไว้ พอคล่องชนิดที่จะเข้าเมื่อไรก็ได้ ก็จะเกิดความเบาขึ้น พอคล่องตัวมากจริง ๆ ต้องการเมื่อไรก็จะมา ต้องการเมื่อไรก็จะเปลี่ยนระดับฌานได้ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นของเบา ไม่ใช่ของหนัก

คราวนี้ก็จะไม่ตึง ไม่เครียดแล้ว สามารถทรงได้เป็นเดือน เป็นปี สมัยอาตมาฝึกใหม่ ๆ ก็ปล้ำผีลุกปลุกผีนั่งอยู่กับฌาน จนกระทั่งสามารถทรงได้เป็นระยะเวลา ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือนต่อเนื่อง คิดว่าเราแน่...ที่ไหนได้..พลาดทีเดียว หายจ้อยไปเลย..!
__________________
ถาม : อย่างเมื่อก่อนเวลาหนูพยายามจะทรงฌานสี่ให้ได้ตลอดเวลา แต่พอไปนาน ๆ เรื่อย ๆ ก็เริ่มหนัก พอเริ่มหนักหนูก็ถอยให้เบาลง แต่ก็ยังรู้สึกว่าหนักอยู่ดี ก็ถอยให้เบาลงอีก ก็ยังหนักอยู่ดี จนกระทั่งสุดท้ายหนูเลยตัดสินใจว่า ไม่เอาอะไรแล้ว ไม่เอาแม้กระทั่งอารมณ์ในการปฏิบัติ คราวนี้ปรากฏว่าเบา โล่ง พอเราได้อารมณ์ที่เบาโล่งของเรา เราก็ล็อกตรงนั้นไว้ให้อยู่ลักษณะนั้นตลอด พอหนูคิดว่าอยากจะให้อารมณ์มากกว่านี้ ก็กลายเป็นเครียด หนักไป ก็เลยให้เหลืออารมณ์แค่นี้ หนูควรจะรักษาอารมณ์ลักษณะอย่างนี้ไปตลอดหรือเปล่าคะ ?
ตอบ : ถ้ารักษาไปตลอด โอกาสจะพลาดก็มี เพราะว่ายังเบาไป ต้องมีเวลาเฉพาะของเราสักเช้า ๑ ชั่วโมง เย็น ๑ ชั่วโมง ที่ตั้งอารมณ์สมาธิให้ทรงฌานเต็มที่ก่อน แล้วค่อยถอยออกมา

ถาม : แต่ในขณะที่เห็นว่าเบาลง เราก็เห็นว่าแม้กระทั่งอารมณ์การละ เมื่อก่อนเราจะแต่ละที เราจะต้องรวบรวมกำลังใจในลักษณะที่สูงมาก แต่ตอนนี้คือ ละก็เหมือนไม่ได้ละ จะเบาลง
ตอบ : ขอให้ปล่อยได้เท่านั้น จะหนักหรือเบาช่างมัน เคยบอกเอาไว้ว่า ถ้าทำถูกแล้วจะเบา ถ้าหากยังหนักอยู่ ยังไม่ถูกจริง ค่อยยังชั่วหน่อย มีคำถามเลย ป.๗ ไปบ้าง..!
__________________
ถาม : เวลาอ่านหนังสือที่หลวงพ่อสอน ท่านบอกให้ทรงอารมณ์แล้วก็ไล่ฌานสี่ ไล่พรหมวิหาร อ่านไปก็นึกตามไป รู้สึกตามไป สุดท้ายก็ไปจับอารมณ์พระนิพพาน อันนี้เป็นกำลังของมโนมยิทธิครึ่งกำลัง หรือว่าทรงอารมณ์ได้ตามที่หลวงพ่อสอนจริง ?
ตอบ : ตอนนั้นอย่างน้อยจิตของเราไม่มีกิเลส ในเมื่อไม่มีกิเลส การที่เราจะไล่ตามอารมณ์ โดยเฉพาะในอารมณ์ความเป็นพระอริยเจ้าที่หลวงพ่อท่านสอน สามารถที่จะเข้าถึงได้โดยง่าย

แต่สำคัญตรงที่ว่า เราเข้าถึงแล้ว เราทรงอยู่ได้หรือไม่ เพราะฉะนั้น..ตรงจุดนี้เราก็ต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง และหมั่นทำบ่อย ๆ หมั่นย้ำบ่อย ๆ จนกระทั่งกลายเป็นความเคยชินเฉพาะตัวว่า ทำเมื่อไรต้องให้ได้อารมณ์นี้เลย

ถาม : ไม่ต้องไล่ตามขั้นแล้ว
ตอบ : ไม่ต้อง แรก ๆ ก็เหมือนตีอวนเอาปลาทั้งทะเล ต่อไปพอเรารู้ว่าปลาตัวไหนดีที่สุด เราก็คว้าเอาปลาตัวนั้นตัวเดียว
แรก ๆ จะทำเยอะ แต่พอซักซ้อมจนคล่องตัวแล้วก็จะเหลือเพียงนิดเดียว

ถาม : อย่างนี้ถ้าเราตั้งอารมณ์เข้านิพพานอย่างเดียวก็จบเลยสิ ?
ตอบ : ถ้าทำได้จริง ๆ ก็จบ ระยะหลัง ๆ อาตมายังขี้เกียจไปกราบท่านปู่ท่านย่าเลย พอไปถึงนิพพานแล้วก็เชิญท่านขึ้นมากราบ

ตอนที่ยังไม่หายคัน ก็จะแวะนั่นแวะนี่ เที่ยวไปเรื่อย พอนาน ๆ เข้าก็จะเริ่มเบื่อ เหมือนโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะไม่เล่นซนอย่างเด็กแล้ว จะเหลือแค่ไม่กี่จุดที่เราจะไป

ถาม : แต่ก็ไม่เคยเห็นชัดจริง ๆ เลย อารมณ์พระนิพพานก็ไม่เห็นชัด
ตอบ : ไม่เป็นไร อย่าลืมว่าพระสุกขวิปัสสโกท่านไม่ได้เห็นอะไร แต่ขณะเดียวกันทำไมท่านถึงได้มั่นใจ ก็เพราะท่านเข้าถึงอารมณ์นั้นจริง ๆ
__________________





Create Date : 02 ธันวาคม 2553
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2557 15:53:49 น. 0 comments
Counter : 550 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.