Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
10 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๓

เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๓

//www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2173&page=2
11-10-2010, 05:18 PM #28
ถาม : เวลาที่จะประคองพระให้ได้นาน ๆ ทั้งวันทำอย่างไรครับ ?
ตอบ : ควบกับลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่ยังรักษาลมหายใจเข้าออกอยู่ ตราบนั้นก็ยังรักษาภาพพระได้

ถาม :จับภาพขนาดไหนก็ได้ใช่ไหมครับ ?
ตอบ : เอาขนาดที่เราถนัด กำหนดได้กำลังสบาย จะใหญ่จะเล็กอยู่ที่เรา

ถาม : ผมพยายามประคองภาพพระให้ได้สององค์ ดีหรือไม่ หรือองค์เดียวก็พอ ?
ตอบ : ถ้ายิ่งหลายองค์ก็ต้องยิ่งใช้สมาธิสูง เพราะถ้าพลาดแล้วก็จะหายไป ฉะนั้น..อยู่ที่เรา ถ้าคล่องตัวหลาย ๆ องค์ก็ได้

ถาม : ส่วนคำภาวนานี่ไม่จำเป็นใช่ไหมครับ ? ให้อยู่กับลมหายใจตลอด
ตอบ : ถ้าจับลมหายใจได้ ไม่ต้องใช้คำภาวนาก็ได้จ้ะ

12-10-2010, 12:27 AM #32 เถรี ดูแลเว็บ

ถาม : ตอนนี้ลูกปฏิบัติสติปัฏฐานสี่แบบยุบหนอพองหนอ ลูกมีโอกาสอ่านหนังสือ เจอที่ท่านบอกว่าให้เอาจิตจับที่พระนิพพานเป็นหลัก อันไหนควรจะให้ความสำคัญสูงสุดกว่ากันคะ ?
ตอบ : ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เราทำ ถ้าเราทำมาทางยุบหนอพองหนอ เราก็ต้องกำหนดรู้ปัจจุบันไปด้วย แต่ให้อธิษฐานตั้งใจว่า ถ้าตายเราขอไปพระนิพพานเพิ่มเข้าไปหน่อย ของเก่าก็ใช้ได้อยู่แล้ว แต่ว่าเพิ่มต่อไปนิด

ถาม : หนูอ่านในเว็บเจอ ที่ท่านเมตตาสอนว่า ให้กำหนดจิตส่วนหนึ่งแบ่งเกาะอยู่ที่พระนิพพาน
ตอบ : ก็บอกแล้วว่าเป็นคนละวิธีกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราถนัดวิธีไหน ถ้าอย่างพวกนี้ (ชี้ไปที่คนในบ้านอนุสาวรีย์) เขามาทางด้านนี้นานแล้ว เขาจะสามารถปฏิบัติตามนั้นได้เลย

แต่เราต้องไปกำหนดพองยุบ กำหนดรู้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน นั่นเป็นคนละส่วนกัน แต่จะเรียกว่าส่วนเดียวกันก็ได้ แต่เราเปลี่ยนจากการรู้ปัจจุบันไปรู้นิพพานแทน แต่ถ้าไม่เคยชินเดี๋ยวเราก็จะไปกำหนดรู้หนอ ๆ แล้วนิพพานก็จะหล่นหายไปอีก

ถาม : แล้วถ้าหนูจะมาฝึกแนวนี้
ตอบ : เคยถนัดแบบไหนให้ทำแบบเดิมจ้ะ เพียงแต่เราตั้งใจว่า การปฏิบัติของเราทั้งหมดนี้ อานิสงส์ที่ต้องการทั้งหมดคือพระนิพพาน ถ้าหากเราตายไปเมื่อไร เราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว ให้ปิดท้ายอย่างนี้ไว้

ไม่อย่างนั้นสิ่งที่เราทำมาชำนาญแล้ว เมื่อเราไปเปลี่ยนเอาของใหม่ จิตใจเรายังไม่ยอมรับ เราเคยพองหนอยุบหนอ เราก็พองยุบไป เพียงแต่ว่าตบท้ายเกาะพระนิพพานเอาไว้ด้วย

ถาม : ที่ท่านบอกว่าให้รู้พระนิพพาน ให้รู้อย่างไรคะ ?
ตอบ : พวกนี้ส่วนใหญ่เขาเคยฝึกมโนมยิทธิมา เขาจะสามารถรู้เห็นพระนิพพานได้จ้ะ ในเมื่อรู้เห็นได้ก็กำหนดใจเกาะพระนิพพานได้

เรื่องของการฝึกจริง ๆ แล้ว ไม่ได้ขัดกันหรอกจ้ะ เพียงแต่ว่าเราถนัดอย่างไหน ถ้าหากว่าไปเปลี่ยนใหม่ เท่ากับเริ่มต้นใหม่ ความเคยชินเดิม ๆ อาจจะทำให้ใจของเราไม่ยอมรับแล้วก็ไปได้ช้า ก็เหลืออยู่อย่างเดียวว่า เอาของเดิมของเราแล้วไปต่อท้ายด้วยพระนิพพาน
__________________
ถาม : ถ้าหนูจะเริ่มมาฝึกแนวนี้ ไม่เข้าใจว่าจะต้องแบ่งความรู้สึกอย่างไร ?
ตอบ : เหมือนกับว่าตอนนี้เรานั่งคุยอยู่ที่นี่ แล้วแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งนึกถึงบ้านของเราไปพร้อม ๆ กัน ขณะที่คุยก็ให้รู้เรื่องด้วยและความรู้สึกที่เกาะบ้านก็ให้ชัดเจนด้วย จะเป็นในลักษณะอย่างนั้น

ทำสองอย่างไปพร้อมกัน เพียงแต่เราเปลี่ยนจากบ้านที่เรารู้จักมาเป็นภาพพระหรือเป็นพระนิพพาน ดังนั้น..ไม่ว่าเราจะ ยืน เดิน นั่ง นอน ดื่มกิน คิด พูด ทำ อะไรก็ตาม ให้อีกใจหนึ่งของเราแบ่งเกาะพระนิพพาน หรือเกาะภาพพระไว้เสมอ
ไม่ต้องชัดเจนหรอกจ้ะ แค่นึกถึงได้ก็ใช้ได้ พอทำไปนาน ๆ เดี๋ยวก็จะค่อย ๆ ชัดขึ้นมาเอง ถาม : ถ้าอย่างนั้นหนูกลับไปพองยุบ แต่ก็แบ่งใจ
ตอบ : ถ้ายังไม่ชำนาญเดี๋ยวได้ตีกันตาย พอเราไปส่งอารมณ์อาจารย์ก็จะบอกว่าไม่ใช่ ๆ ให้ทิ้งซะ..!

ถาม : ถ้าอย่างนั้น อารมณ์ที่เราไม่ได้จับพองยุบ ก็ไปจับตรงนั้นส่วนหนึ่งใช่ไหมคะ ?
ตอบ : ถนัดอันไหนทำอย่างนั้นจ้ะ เพียงแต่เพิ่มขึ้นมาหน่อย ปัจจุบันขณะของเราก็คือปัจจุบันที่เกาะพระนิพพานด้วย

__________________
ถาม : บางทีเราไปจับเวทนาที่ปวดมาก ๆ ก็ไม่ไหวค่ะ
ตอบ : จริง ๆ แล้วอยากจะบอกว่า สายพองหนอยุบหนอนั้น หลักการนั้นใช้ได้ แต่ตอนปฏิบัติไปกลับข้างกัน

อาตมาได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่ง ชื่อว่า "เมื่อข้าพเจ้าปฏิบัติสติปัฏฐานแบบพองหนอยุบหนอ" ซึ่งตอนนี้ยังออกไม่ได้ เพราะยังเป็นลูกศิษย์ที่ มจร. อยู่ ทางมหาวิทยาลัยเขาให้ปฏิบัติตามสายนี้ ถ้าหนังสือเล่มนี้ออกมา เท่ากับว่าไปโยนระเบิดใส่เขา..!

ในสายยุบหนอพองหนอ ท่านพูดถึงเรื่องการปรับอินทรีย์ ๕ ให้เสมอกัน อินทรีย์ ๕ นั้น ก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ซึ่งตัวสมาธิเขาจะให้ใช้แค่อุปจารสมาธิหรือไม่ก็เป็นขณิกสมาธิเท่านั้น โดยที่บอกว่าต้องปรับให้เสมอกับวิริยะ ค่อยเป็นค่อยไปทีละส่วน ทีละเล็กทีละน้อย

เขาบอกว่าถ้าหากสมาธิมากเกินไปจะทำให้ขี้เกียจ ก็คือจะนิ่งไปเฉย ๆ แต่ตรงจุดนี้เขาไม่เข้าใจว่า สมาธิเป็นตัวระงับกายสังขารและรัก โลภ โกรธ หลง ได้ดีที่สุด

อาตมาเองนั่งทำสมาธิ แล้วไปส่งอารมณ์สอบกับท่านอาจารย์ประเสริฐ สุมงฺคโล วัดเพลงวิปัสสนา ท่านอาจารย์ถามว่ามีเวทนาไหม ? อาตมาบอกว่าไม่มี แต่ท่านอาจารย์ไม่เชื่อ สั่งให้อาตมานั่งให้ดูเดี๋ยวนั้นเลย พออาตมานั่งไป ๔๕ นาที ท่านอาจารย์ก็เรียก พอท่านอาจารย์เรียกอาตมาลืมตาขึ้นมา ท่านก็สั่งให้ลุกเดินให้ดู

อาตมาก็เดินแล้วบอกกับท่านอาจารย์ไปว่า "ผมไม่เห็นมีเวทนาอะไรเลย" ท่านอาจารย์ถึงกับนั่งรำพึงว่า "เรื่องของสมาธิกำจัดเวทนาได้จริง ๆ" ท่านอาจารย์เข้าใจว่าอาตมานั่งนิ่งไปเฉย ๆ ไม่รับรู้อะไรข้างนอก แต่ท่านไม่รู้ว่าทุกอย่างที่คนอื่นทำตอนนั้น อาตมากำหนดรู้ได้ทั้งหมด
__________________
ก็เลยกลายเป็นจุดบอดตรงที่ว่า ในส่วนของกำลังใจ แทนที่จะต้องมากลัดกลุ้มในการต่อสู้กับเวทนา หรือไม่ก็อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามา ทำไมเราไม่ใช้สมาธิระงับเสีย

ในเมื่อคุณต้องการให้อินทรีย์ ๕ เสมอกันตามที่พระพุทธเจ้าสอนมา คุณก็ตั้งสมาธิสักร้อยหนึ่งแล้วก็ดึงตัวอื่นให้เป็นร้อยตามกันขึ้นไปสิ
ไม่ใช่คุณกดสมาธิเหลือแค่ ๓ หรือ ๕ และกดตัวอื่นลงตามไปด้วย แล้วอีกกี่ชาติจึงจะรู้เรื่อง ทำแบบนี้มีหวังถูกกิเลสตีตายก่อน..!

ท่านใช้คำอธิบายว่า การปฏิบัติโดยขณิกสมาธิเหมือนกับเราค่อยสะสมงาทีละเมล็ด ๆ นานไปก็จะมีงาจำนวนมากพอที่จะคั้นเอาน้ำมันมาใช้การได้ อาตมาก็ได้แต่สงสัยว่าในเมื่อเรามีงาเป็นเกวียนแล้ว ทำไมต้องไปเก็บทีละเมล็ดด้วย ?

ตรงจุดนี้บอกให้ฟังไว้เป็นข้อมูลเฉย ๆ นะจ๊ะ ว่าหลักการถูก แต่ตอนปฏิบัติน่าจะผิด เพราะไปทำกลับข้างกัน เรื่องของวิปัสสนาและเรื่องของสมถะต้องไปพร้อมกัน ถ้าเอาเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง โอกาสที่จะเอาดีได้นั้นยากมาก

ถ้าเราเอาวิปัสสนาอย่างเดียว ก็เหมือนกับคนที่มีอาวุธคมกล้ามาก แต่แรงไม่พอที่จะยกอาวุธไปตัดไปฟันอะไรได้ ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเอาสมถะอย่างเดียว เราก็เท่ากับเราเพาะกายจนร่างกายแข็งแรงชนิดแบกควายทั้งตัวได้ แต่เราดันไม่มีอาวุธที่จะเอาไปตัดไปฟันกิเลสอีก

เพราะฉะนั้น..ทั้งวิปัสสนาและสมถะ สองอย่างต้องทำไปด้วยกัน แต่ปัจจุบันสายพองหนอยุบหนอเขาเอาเฉพาะวิปัสสนาอย่างเดียว ในเมื่อเขาเอาวิปัสสนาอย่างเดียว กำลังจึงไม่พอที่จะตัดกิเลสเสียที

ตัวอย่างที่ท่านยกมาว่า หลวงปู่รูปหนึ่งปฏิบัติตั้งแต่เริ่มบวช ระยะเวลาผ่านไป ๖๐ ปี ท่านกำหนดพองหนอยุบหนอต่อเนื่องไป จนท่านอายุ ๘๐ ก็บรรลุมรรคผล

อาตมาคิดว่า ถ้าเราไม่มีเวลาถึง ๖๐ ปี ตายเสียก่อนแล้วเราจะได้บรรลุไหม ? เพราะฉะนั้น..ถึงแม้หนังสือเล่มนี้อาตมาจะเขียนในลักษณะเป็นกลาง คือ ตั้งเป็นข้อสังเกตเฉย ๆ ไม่ได้ระบุการถูกผิด แต่ก็แรงสำหรับการปฏิบัติสายนี้ ออกไปเมื่อไรยุทธจักรถล่มทลายแน่นอน จึงต้องเก็บเอาไว้ก่อน ทั้ง ๆ ที่เขียนเสร็จตั้งแต่ปี ๒๕๔๘
__________________
ถาม : ยังนั่งสมาธิไม่ค่อยดีครับ
ตอบ : ไม่ค่อยดีก็เพิ่มความพยายามเข้า สำคัญตรงที่ต้องเอาจริงเอาจัง ส่วนใหญ่แล้วพวกเราไม่ค่อยเอาจริงกัน พอลำบากก็ถอย โอกาสที่จะเอาดีจึงยาก การปฏิบัติต้องทุ่มเท ต้องแบ่งเวลาวันละอย่างน้อยเช้าชั่วโมง เย็นชั่วโมงหนึ่ง

ถาม : แล้วควรจะไปทางสายไหนดี ?
ตอบ : ขึ้นอยู่กับว่าคุณชอบทางไหน แต่พื้นฐานคืออานาปานสติ ลมหายใจเข้าออกจะทิ้งไม่ได้เลย หลังจากนั้นถ้าทรงตัวแล้วเราจะเลือกอะไรก็ได้
__________________



Create Date : 10 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2557 15:55:49 น. 1 comments
Counter : 565 Pageviews.

 


โดย: หน่อยอิง วันที่: 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:34:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.