Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
21 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
อาการพองยุบรุนแรงมาก ยิ่งนั่งสมาธิยิ่งเป็น

//www.vipassanacm.com/th/view.aspx?id=425
อาการพองยุบรุนแรงมาก ยิ่งนั่งสมาธิยิ่งเป็น
โดยคุณ : กฤตศิริ จิตอารี เรียนอาจารย์ผมได้มาลองฝึกสมาธิที่บ้านพบว่าอาการพองยุบเกิดขึ้นรุนแรงมาก เพียงแค่หลับตาไม่กี่นาที บางครั้งตัวสั่นไปทั้งตัว แขนขาแกว่ง ลมหายใจซอยถีๆสลับยาว แต่ก็บังคับให้มันสงบได้ และบางครั้งเหมือนมีอะไรบางอย่างกดอยู่หน้าผากระหว่างคิ้วสองข้าง เหมือนอาการไมเกรนกำลังเกิดขึ้นเหนือคิ้วทั้งสอง แล้วก็หายไป มีความสงสัยว่าเวลานั่งสมาธิแล้วทำไมผมถึงติดอยู่ตรงนี้ ไม่ทราบว่าแบบนี้เรียกว่า ผิดปกติหรือป่าวคับ อยากทราบว่าถ้าไม่กำหนดอะไรเลยเพียงแต่อยู่นิ่งๆให้รู้ว่านั่งก็พอแบบนี้เป็นการปฏิบัตที่ถูกต้องหรือป่าวคับ


วันที่ : 25 ธ.ค. 52 11:16


ความเห็นที่ 2 วันที่ : 31 ธ.ค. 52 17:40 IP : 112.142.113.109
โดยคุณ : โยคีเลขา
สวัสดีค่ะคุณกฤตศิริ

คงพอจะจำได้ว่า อาจารย์จะย้ำเสมอว่า การกำหนดจะต้องมีองค์บริกรรมด้วยทุกครั้ง...

ซึ่งอาจารย์ท่านจะอธิบายอย่างละเอียดไว้ใน เรื่อง วิสุทธิ 7 ว่าทำไมต้องมีองค์บริกรรม...อันนี้ต้องรออาจารย์เข้ามาตอบเองค่ะ

แต่เท่าที่จำได้ การกำหนดนั้นจะต้องทำให้ครบองค์ 3 คือ กายมีอาการเคลื่อน ปากพูดถึงอาการเคลื่อนนั้น และมีใจเข้าไปรู้ในอาการเคลื่อนนั้น...

เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้นในขณะนั่งสมาธิก็ต้องกำหนดรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นตามความเป็นจริง เป็นปัจจุบัน และต้องมีองค์บริกรรมเสมอ...

เพราะตัวรู้ของเรา มันไม่ได้รู้อย่างที่หลวงปู่ทั้งหลายท่านอยู่กับตัวรู้...

แต่ตัวรู้ของเรา มันรู้แบบสันชาตญาณ ทุกวันนี้ถ้าถามว่าเราทำอะไร เรารู้ไหม เราก็ตอบว่าเราก็รู้...ไม่ใช่ไม่รู้..แต่มันรู้อย่างไร...

อาการที่เกิดขึ้นกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นอาการแขนขาแก่วง ตัวสั่น เหมือนมีอะไรมากดที่หน้าผาก มันก็คืออาการของปิตินั่นเอง...

ถ้าการกำหนดไม่มีคุณภาพ ไม่จับอารมณ์ นั่งๆ ไป ก็จะเกิดอาการของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง10 ได้...

ตอนนี้ให้รู้ว่ากำลังของสมาธินั้นมากเกินไป แต่กำลังสติอ่อน..


ถ้ายังติดอยู่แต่สภาวะอย่างนี้อย่างที่คุณบอก คุณต้องตรวจสอบคุณภาพของการกำหนดของคุณเอง ตั้งแต่การเดินจงกรม จนถึงการนั่งสมาธิ ว่าการกำหนดของเรามันรู้ชัดจริงๆ หรือเป็นแต่เพียงการท่อง...

วิธีการปฏิบัติที่ตามรู้อย่างเดียวนั้น พี่คิดว่ามันไม่ใช่วิธีการที่อาจารย์ท่านสอนเราอย่างแน่นอน เพราะวิธีการที่อาจารย์ท่านได้รับการถ่ายทอดมา และนำมาสอนพวกเรานั้น (หาฟังได้จากการบรรยายเรื่อง วิปัสสนาวงศ์ ค่ะ) จะต้องมีบริกรรมภาวนา...

เวลานั่งอย่านั่งนิ่งเฉยๆ ให้กำหนดด้วย ให้กำหนดรู้ในอาการพอง อาการยุบให้แนบแน่น พองยุบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรให้กำหนดรู้ในอาการนั้น ถ้าพองยุบมันแรง หรือเร็วจนเรียกไม่ถูกให้กำหนด เพียงว่า รู้หนอๆ อย่าทิ้งองค์บริกรรม

รายละเอียดต่างๆ รอให้อาจารย์ท่านกลัมาตอบอีกทีนะคะ

ขออนุโมทนาในความวิริยะพากเพียรของคุณกฤตศิริ ที่นำวิชานี้ไปฝึกฝนต่อค่ะ











ความเห็นที่ 3 วันที่ : 8 ม.ค. 53 17:13 IP : 112.142.3.28
โดยคุณ : Siporn
ขออนุโมทนา คุณกฤษศิริ

ที่หมั่นเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่อง

คงจำได้ในช่วงที่เข้าปฏิบัติ สภาวะของคุณก็มีอาการคล้ายคลึงกับสภาวะที่เล่ามา

ซึ่งก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับอินทรีย์ทั้ง 5 ที่ไม่สมส่วนกัน

โดยเฉพาะสติ คุณภาพการกำหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์ไม่จับอารมณ์ จึงทำให้เกิดอาการเหล่านั้น

วิธีแก้ไข เมื่อเกิดอาการตัวสั่น แขนขาแกว่ง ก็กำหนดเพียง รู้หนอ แล้วส่งจิตรู้ในอาการนั่ง โดยกำหนดว่านั่งหนอ และถูกหนอ (ก้นย้อยขวา) โดยไม่ต้องสนใจกับอาการเหล่านั้น

โดยกำหนดต่อ นั่งหนอถูกหนอ (ก้นย้อยซ้าย) ให้กำหนดอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง

หากคุณภาพการกำหนดของคุณ มีสติเข้มแข็งพอ สภาวะเหล่านั้น ก็จะหายไป

ที่สำคัญ ระวังที่ใจ หากเรายังชอบในสภาวะนั้น หรืออยากรู้ว่าต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

ถ้าจิตใต้สำนึก หรือตัวคุณ ชอบในสภาวะเหล่านั้น มันก็จะเกิดเรื่อยๆ

ต้องกำหนดตัด หรือกำหนดละ ไม่ใช่กำหนดเอาเข้า หรือเอาต่อ

ซึ่งคุณภาพการกำหนด ของแต่ละคนจะมีคุณภาพมากน้อยอย่างไร ขึ้นอยู่กับการฝึกและประสบการณ์ของแต่ละท่าน

ถ้าเราฝึกจนเกิดวสี คือควาชำนาญ ไม่ว่าสภาวะของปิติชนิดใดเกิดขึ้น โยคีสามารถใช้สติ กำหนดรู้ในสภาวะนั้นตามความเป็นจริงและผ่านสภาวะเหล่านั้นได้โดยง่าย

แต่สำหรับโยคีใหม่ ในจิตใต้สำนึกยังรู้สึกตื่นตาตื่นใจ ตื่นเต้นกับอาการเหล่านั้น การกำหนดก็ยากที่จะข้ามพ้นสภาวะเหล่านี้ไปได้

จำไว้ว่าต้องกำหนดละ สติจะต้องควบคุมบัลลังค์ ให้เป็นปกติ










Create Date : 21 กันยายน 2553
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2557 15:32:39 น. 0 comments
Counter : 530 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.