นำมวลดอกไม้มาคลายเหงา
เอาดอกไม้มาคลายเหงา
พักนี้รู้สึกเหงาๆ ยังไงก็ไม่รู้ ได้ไปดูที่เครื่องคอมเก่า ไปพบภาพชุดนี้ที่ย่าทำไว้นานแล้วแต่ยังไม่เคยเอามานำเสนอ
จึงหยิบมาฝากเพื่อนๆห้องแกลลอรี่
เชิญชมค่ะ
-------------
กรดน้ำ ชื่อสามัญ : Macao Tea
Scoparia dulcis L.
วงศ์ SCROPHULARIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปี ลำต้นตั้งตรง สูง 30-80 ซม. แตกกิ่งมาก
ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปใบหอกแกมรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบจักฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ดอกเล็กสีขาว ออกเดี่ยวๆ ที่ง่ามใบ กลีบเลี้ยง
และกลีบดอกมีวงละ 4 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน ผลค่อนข้างกลม มีเมล็ดขนาดเล็ก
จำนวนมาก
การกระจายพันธุ์ : พรรณไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกาเขตร้อน พบทั่วไปในเขตร้อนชื้น
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ : วัชพืชในที่รกร้าง ป่าผลัดใบ และพื้นทรายริมฝั่งแม่น้ำ
https://www.rspg.thaigov.net/plants_data/plantdat/scrophul/sdulci_2.htm
ประโยชน์ : ใบและลำต้นมีสาร amellin ซึ่งในอินเดียใช้แก้โรคเบาหวานได้ ในฟิลิปปินส์
ดื่มน้ำต้มจากรากแก้ไข้และขัดเบา น้ำชงจากใบใช้ดื่มแก้อาการผิดปรกติของระบบลำไส้
ในมาเลเซียใช้แก้ไอ
https://www.rspg.thaigov.net/plants_data/plantdat/scrophul/sdulci_1.htm
ต้นนี้ดอกของมันเป็นสีขาวๆ น่ารักมาก ย่าเคยพบตอนดอกบาน
แต่ขณะนั้นเหมือนพบไม้งามเมื่อขวานบิ่น เพราะ ไม่มีเลนซ์macro จ้าน่าเสียดาย

ยี่โถดอกลา ชื่อสามัญ : Sweet oleandar, Oleander, Rose bay
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Nerium oleander L.
วงศ์ : APOCYNACEAE
ยี่โถเป็นไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก ต้นมียางสีขาวคล้ายน้ำนม ใบ เดี่ยว
รูปหอก โคนใบสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ สีเขียวเข้ม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว
8-14 ซม . ดอกช่อ ออกเป็นช่ออยู่ส่วนยอดของต้น ดอกเป็นรูปทรงกรวย มีทั้งชนิดลา
และซ้อน หลากหลายสี เช่น สีชมพูเข้ม ชมพู ขาว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ เมื่อแก่จะแตกเห็นเมล็ดภายในผล
ประโยชน์ ใบขนาดพอเหมาะ เป็นยาบำรุงหัวใจ ใบเป็นพิษ มีสารที่มีฤทธิ์แรง
มากในการใช้ปรุงยา ถ้าใช้เกินขนาดเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เป็นยาเบื่อหนู
และฆ่าแมลง ถิ่นกำเนิด เมดิเตอร์เรเนียน เคบเวอดี ญี่ปุ่น https://www.magcartoon.com/magcartoon.com/files/playground/viewtopic.php?t=1501&view=next&sid=95386487f275b988b116b3ce889d8ccb
เห็นเจ้าดอกนี้แล้วทำให้นึกถึง ไม้ไล่หนู มันก็คือกิ่งของดอกยี่โถนั่นเอง ดอกไม้ดอกนี้มีประวัติอันยาวนานน่าสนใจทีเดียว หากย่ามีเวลาจะรวบรวมนำมาเล่าให้ฟังภายหลัง

หางนกยูงไทย สีช๊อกกิ้งพิงค์ ส่วนใหญ่เราจะเห็นดอกสีเหลือง และสีแดงเป็นหลัก
ส่วนสีนี้ไม่ค่อยได้เห็นกัน อยากชมที่สวนสมเด็จมีปลูกไว้ค่ะสวยมากทีเดียว
ย่าถ่ายมาจากด้านที่ติดกับสวนรถไฟ ใกล้ๆสวนผีเสื้อค่ะ
ต้นนี้เป็นไม้พุ่มขนาดปานกลาง มีดอกทั้งปี นิยมปลูกประดับสวน
เพราะพุ่มต้นน่ารักมาก ดอกจะออกพรูต้องปลายพุ่มสวยมาก
การถ่ายดอกนี้ให้สวยนั้นไม่หมูเลย เพราะเกสรยาวย้วยเยี้ยของมัน
ทำให้จัดคอมโพสภาพได้ยากนัก กว่าจะได้ภาพถูกใจย่าก็เพียรถ่ายมานาน เพิ่งจะสมใจคราวนี้
------------
ชื่อสามัญ (Common Name) : Peacock flower, Pride of Barbados Peacock's crest
ชื่อพฤกษศาสตร์ (Scientific Name) : Caesalpinia pulcherrima Swartz.
ชื่อวงศ์ (Family name) : Leguminosae
ชื่ออื่นๆ (Other name) : ขวางยอย จำพอ ซาพอ ซมพอ พญาใบไม้ผุ ส้มผ่อ หนวดแมว
หางนกยูงไทยเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 6 - 8 ฟุต ใบเป็นใบรวมมีใบย่อยสีเขียว
อ่อนขาวนวล ยอดและกิ่งอ่อน มีสีขาวนวลเหมือนแป้ง ดอกออกเป็นช่อตั้งตามยอดและ
ปลายกิ่ง ดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ยาวยื่นพ้นดอก ฝักมีลักษณะแบนเล็ก
การขยายพันธุ์
ใช้วิธีเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางสมุนไพร
ราก ใช้เป็นยาขับโลหิต ระดูสตรี แก้บวม รักษาวัณโรค
https://www.skn.ac.th/skl/project/samun93/peacock.htm

กุหลาบแสนหวาน

หางนกยูงฝรั่งสีแดงFlame Tree
ชื่อ หางนกยูงฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Bojer Ex Hook.) Rafin
ชื่ออื่น นกยูง อินทรี (ภาคกลาง) สัมพอหลาง (ภาคเหนือ) หงอนยูง (ภาคใต้)
วงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 10-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม ผลัดใบ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาว ถึงสีน้ำตาลเข้ม
ใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนาน
ปลายกลมโคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบใกล้ปลาย
กิ่ง ดอกสีแดงแสดหรือเหลือง ผลเป็นฝักแบนโค้งรูปดาบ เมล็ดเรียงตามขวาง ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ออกดอก เดือนเมษายน -มิถุนายน
พบมากบนถนน ประชาร่วมใจ (826 ต้น) คลองสิบ-สิบสี่ (552 ต้น) มิตรไมตรี ( 405 ต้น) เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.bma.go.th/garden/tree/dereg/dereg.html

บัวสัตตบงกช ถ่ายจากขอบสระ ไม่รู้ใครไปพับดอกไว้
เดี๋ยวนี้จะเห็นตามวัด เด็ดเฉพาะดอก พับกลีบ ลอยน้ำในขันขนาดกลางๆ
บูชาพระ หรือจัดให้เป็นดอกไม้บูชาพระ สวยไปอีกแบบ
หลังจากที่ดอกเหี่ยวแล้ว ก็นำไปปลิดเกสรบัวเอาไว้ทำเครื่องหอม
จากเกสรทั้งห้า ได้อีกstep หนึ่งด้วย
----------
เกสรดอกไม้ ๕ ชนิด มี เกสรดอกพิกุล เกสรดอกบุนนาค เกสรดอกสา
เกสรดอกบัวหลวง เกสรดอกมะลิ.

บัวเคียงใบ
บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญยิ่ง โดยถือว่าเป็นราชินีแห่งพื้นน้ำที่มีความงาม
และประโยชน์นานัปการ นอกจากความสำคัญูทางพฤกษชาติแล้ว บัวหลวงยังมี
ความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งสัญลักษณ์และอามิสบูชา
ในทางพฤกษศาสตร์ บัวหลวงอยู่ในวงศ์ NYMPHAE- ACEAE มีชื่อทาง
วิทยาศาสตร์ว่าNELUMBO NUCI- FERA GAERIN หรือมีชื่อเรียกว่า SACRED LOTUS
มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน ตั้งแต่ดอกที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีกลีบซ้อนกัน
เล็กน้อย หรีอมีเกสรตัวผู้ที่มีรูปร่างดั่งกลีบซ้อนกันนับร้อย
บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก โดยทั่วไป
แล้วดอกบัวหลวงจะมีสีขาวหรือชมพู อาจจะอมส้ม หรืออมมวงบ้าง
กล่าวกันว่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง ออกดอกสีขาว แต่ไม่มี
หลักฐานยีนยันแน่นอน บัวหลวงสีขาวมีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูมีนามว่าปทุมปัทมา หรีอโกกระณต ส่วนพันธุ์ที่มีกลีบพร้อมทั้งมีเกสรดัวผู้บางส่วน ลักษณะคล้ายกลีบนับร้อย
สีชมพุอมม่วงเรียกว่า สัตตบงกช หรือบัวฉัตรชมพู ส่วนสีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ หรีอ
บัวฉัตรขาว นอกจากความงดงามที่ตรึงตาแลัวบัวหลวงยังมีกลิ่นหอมละมุน
มนุษย์ได้รู้จักคุณค่าอันมีประโยชน์และสรรพคุณด้านยาสมุนไพรของบัวหลวงมา
ช้านานแล้ว ในการประกอบอาหาร ส่วนของใบนำเป็นภาชนะ และสร้างกลิ่นหอมหวล
ให้กับอาทาร เช่น ข้าวห่อใบบัว ใบอ่อนรับประทาน เช่นผักชนิดหนึ่งกับเครื่องจิ้ม
เมล็ดจากฝักบัวทั้งสดและแห้ง นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ส่วนรากเหง้า
นำมาต้มเป็นเครื่องดื่ม
สรรพคุณด้านสมุนไพร เมล็ดบัวบำรุงรักษาประสาทและไต หรือแม้อาการท้องร่วง
หรือบิดเรื้อรัง ดีบัวหรือต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม ใช้เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณ
พบว่าตัวยามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทัวใจ เกสรตัวผู้เมื่อตากแห้ง
ใช้เป็นส่วนผสมของยาไทย-จีนหลายชนิด เช่น ยาลม ยาหอม หรือแม้แต่ยานัตถุ์ นอกจาก
นี้ยังนำมาต้มน้ำดี่ม ก้านใบและก้านดอกนำมาทำยาเเก้ท้องร่วง ส่วนของรากหรือเหง้านำมา
ต้มน้ำใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ พร้อมทั้งมีสรรพคุณห้ามเลีอด จึงเห็นได้ว่าประโยชน์ทางสมุน
ไพรของบัวหลวงมีอยู่มาก
นอกจากเป็นสมุนไพรแล้วบัวหลวงยังใช้ประโยชน์ในทางอี่น เช่น กลีบแห้งใช้มวนบุหรี่
ในอดีต เรียกว่า บุหรี่กลีบบัว ใบแก่นำมาตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุง เปลือกบัว
นำมาเป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่งเรียกว่า เห็ดบัว
ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า
๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจ
ธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ
รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้
ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวัน
ต่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ
กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความ
หมายรู้ในธรรมะได้
ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับ
การบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์
บัวหลวงจึงมีความสาคัญในแง่ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความรู้สึกทางจิตใจของมนุษย์มาช้านาน บัวหลวง, นันท์ บุรณศิริ, อนุสาร อสท., กันยายน ๒๕๔๐, หน้า ๗๒ - ๘๐.
บัวหลวงเมื่อบาน ปทุมชาติทั้งสีชมพูและขาว เมื่อบานจะมีฝักอ่อนรูปกรวยสีเหลือง ล้อมรอบ
ด้วยเกสรสีเหลือง ฝักเมื่อแก่จะมีรูพรุน คล้ายฟองน้ำ มีเมล็ดจำนวนมาก บรรจุอยู่ภายใน
เมล็ดทั้งแก่และอ่อนรับประทานได้ บัวหลวงเมื่อตูมและแรกแย้มพร้อมใบ ใบของบัวหลวงค่อนข้างกลม สีเขียว มีขนอ่อน ๆ ที่ผิวใบ
เมื่ออ่อนแผ่ราบที่ผิวน้ำ เมื่อแก่จะชูก้านเหนือน้ำ ทั้งก้านใบและก้านดอกมีปุ่มหนามโดยรอบ นิยมตัดดอกเมื่อตูมสำหรับใช้บูชาพระ บัวหลวง
บัวหลวง มีดอกแหลมเรียว สีขาวเรียกว่า บัวหลวงขาว หรือ บุณฑริก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera
วงศ์ : Nelumbonaceae
ชื่อสามัญ : Sacred Lotus
ชื่ออื่น ๆ : บัวหลวง, บุณฑริก, ปทุม, ปทุมมาลย์, สัตตบงกช, อุบล
ข้อมูลทั่วไปและประวัติ
บัวหลวงเป็นบัวในกลุ่มปทุมชาติ คือ บัวที่มีใบชูเหนือน้ำ เหมาะที่จะเป็นไม้ดอก ไม้ตัดดอก
เมล็ดในผลนำมารับประทานได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บัวหลวงเป็นไม้น้ำและไม้ล้มลุกหลายฤดู มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ผังตัวอยู่ในโคลนเลน ใบเป็น
เดี่ยว รียงสลับ แผ่นใบเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 20-50 ซม. ก้านใบแข็ง มีหนามเล็ก ๆ เมื่อ
หักเป็นสายใยและมีน้ำยางขาว ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีสีขาวและสีชมพู ก้านดอกแข็งมีหนามเล็ก ๆ
ชูเหนือน้ำ กลีบดอกจำนวนมาก เรียงซ้อนกันหลายชั้น ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เมื่อดอกบานเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 15-25 ซม. ดอกมีหลายรูปทรงและมีหลายสี เช่น สีขาว สีชมพู แล้วแต่พันธุ์
การขยายพันธุ์โดยเมล็ด โดยไหลซึ่งแตกจากเหง้าใต้ดิน ปลูกลงในบ่อในโคลนเลนโดยตรง
หรือ ปลูกในกระถางทรงแบนให้ตั้งตัวก่อน แล้วนำไปวางในโคลนเลนให้แตกไหลออกมาและ
เจริญต่อไป
https://www.search-thais.com/lotus2/bouluang.htm

คล้าน้ำช่อห้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thalia geniculata L. ชื่อวงศ์ : Marantaceae
ชื่อสามัญ : Water canna
ชื่อพื้นเมือง : -
ชนิดพืช [Plant Type] : พืชล้มลุกมีอายุหลายปี ขนาด [Size] : สูง 2.0 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีม่วงอ่อน
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : ตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : เร็ว
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นในดินเหนียวที่ชุ่มชื้น
และมีอินทรีย์วัตถุสูง จนถึงน้ำลึก 25-40 เซนติเมตร
ความชื้น [Moisture] : สูง
แสง [Light] : ปานกลาง
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ไม้ริมน้ำ ลำต้นเป็นเหง้าใต้ดินส่งกอใบ และดอกเจริญเหนือน้ำ
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับออกเป็นกระจุกจากโคนต้น ใบรูปรีถึงรูปไช่ กว้าง 20-25 เซนติเมตร
ยาว 50-65 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มและมี
นวลปกคลุมอยู่ทุกส่วน ก้านใบกลม เรียวยาว แข็ง ส่วนที่ติดกับฐานใบมีสีแดงโคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้ม
ประกบกันไว้
ดอก (Flower) : สีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงจากกอ ก้านช่อดอกกลม
เรียวยาวแข็ง ปลายก้านแตกแขนงย่อยหลายแขนงห้อยลง ช่อดอกยาว 20-25
เซนติเมตร โคนก้านช่อดอกมีใบประดับ ดอกย่อยไม่มี
ก้านดอก เกิดเป็นคู่ เรียงกันบนแขนงย่อย มีใบประดับ 2 ใบหุ้มดอกตอนอ่อน ดอกย่อยประกอบด้วยกลีบเลี้ยง3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ผล (Fruit) : ผลแห้งแตก รูปไข่ ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ดอกสวย ปลูกเป็นไม้ประดับริมสวนน้ำ หรือไม้กระถาง
ขอบคุณแหล่งข้อมูลคลิ๊กค่ะ
----------
นอกจากจะมีคล้าน้ำช่อห้อย แล้วยังมีคล้าน้ำช่อตั้งอีกชนิดหนึ่ง
แต่ย่าชอบถ่าย แบบช่อห้อยมากกว่า เพราะช่อดอกหยักเหมือนขั้นบันได
งามแปลกตาดี

บัวตูมของสัตตบงกช และหยดน้ำ

ดาวกระจาย ฉากหลังเขียวได้ใจดีจัง

ผึ้งที่ดอกดาวกระจาย

โพสแต่รูปแล้วกันนะอิอิ ข้อมูลชักขี้เกียจ พู่จอมพลดอกขาว

จะรีบไปเคลียงานแล้วค่า งานเข้าแล้ว
ปัตตาเวียสีชมพูอ่อน
รูปนี้ถ่ายแบบทดลอง
โฟกัสที่ดอก รอเด็กเดินผ่าน แล้วยิง

ย่านดาโอ๊ะ หรือใบไม้สีทอง เห็นทีไรนึกถึงสมเด็จราชินีของเราทุกทีค่ะ

ท่านส่งเสริมให้ปลูกใบไม้สีทอง จากพืชเฉพาะถิ่นเดี๋ยวนี้สามารถเห็นได้
ในหลายที่ ดอกสวยใบสวยมากๆ

กันภัยมหิดล ดอกไม้ที่คนมักจะสับสนเรื่องชื่อ กับดอกถั่วแปบช้าง

คอร์เดียกับแสงเงา

พลับพลึงตีนเป็ดSpider Lily,Giant Lily

พุดร้อยมาลัย หรือพุดจักร

แมลงปอเข็มที่ดอกบัว เห็นกันไหมเอ่ย

แววมยุราWishbone-Flower

สิรินธรวัลลี,สามสิบสองประดง
ลากันด้วยภาพนี้ค่ะ สวัสดี


สั่งซื้อสมุดมด
สั่งซื้อสมุดสร้างสุข

 
Create Date : 14 กรกฎาคม 2551 |
|
29 comments |
Last Update : 7 ธันวาคม 2560 14:07:01 น. |
Counter : 6924 Pageviews. |
|
 |
|
วันนี้ได้ดูทั้งดอกไม้สวยๆ และได้ความรู้เพียบเลยคะ