Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
"การตั้งชมรมฟื้นฟูรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา" เป็นการผลักดันในรูปแบบที่ได้ผลอย่างคาดไม่ถึง


รูปที่ 1 : แสดงสถานีรถไฟสงขลาในอดีต


"การตั้งชมรมฟื้นฟูรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา" เป็นการผลักดันในรูปแบบที่ได้ผลอย่างคาดไม่ถึง


ว่ากันด้วยประวัติของรถไฟเส้นทางสายนี้ เส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา ถือเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกๆที่ก่อสร้างขึ้นในประเทศไทย และมีประวัติที่ยาวนาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนมาถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เส้นทางรถไฟสายนี้ มีผลต่อการสกัดกั้นการยกทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่น ในแผนการจะมีการระเบิด สะพานหลายแห่ง เช่นสะพานน้ำน้อย และมีการเตรียมกำลังพลไว้สกัดบริเวณ เนินภูเขาน้ำน้อย ซึ่งเป็นทางแคบ อีกทั้ง เส้นทางรถไฟสายนี้ ยังมีประวัติผูกพันธ์กับ คนหาดใหญ่-สงขลา มาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นเส้นทางรถไฟสายนี้ จึงเป็นเส้นทางสายประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน ไม่แพ้เส้นทางรถไฟ สายกาญจนบุรีเลยทีเดียว



รูปที่ 2 : แสดงเส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา ถูกบุกรุก ในเขต อ.เมืองสงขลา


แต่ปัจจุบัน เส้นทางรถไฟสายนี้ กลับถูกละเลย และถูกปิดไป เพราะเหตุผลทางการเมือง และผลประโยชน์บางอย่าง

เรื่องที่น่าเศร้าคือ เส้นทางรถไฟสายนี้ กำลังถูกบุกรุก อย่างหนัก เนื่องจากข้ออ้างที่ว่า ไม่มีรถไฟวิ่งแล้ว จะปล่อยพื้นที่ให้ว่างไว้ทำไม

และปัจจุบัน มีการพูดถึงเรื่องการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ แต่จะฟื้นฟูได้อย่างไร หากไม่มีรถไฟวิ่ง โอกาสในการถูกบุกรุกก็จะมากขึ้น จนยากที่จะแก้ไขได้ในอนาคต




รูปที่ 3 : แสดงเส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ที่ถูกรักษารางไว้ด้วย รถไฟขบวน 355 ซึ่งมีแค่ 2 โบกี้เท่านั้น


รูปที่ 4 : แสดงหัวรถลาก ที่อาจจะสามารถนำมาวิ่งในเชิงการ "รักษาราง" และต่อพ่วงด้วยโบกี้ ขนส่งสินค้า ขนส่งมวลชน และการท่องเที่ยวขนาดเล็กได้ อาจจะใช้ในกรณีที่ รฟท. อ้างว่าหัวรถจักรไม่พอ



รูปที่ 5 : แสดงระบบขับเครื่องของรถลากแบบนี้ จะเห็นได้ว่า สามารถเอารถบันทุกมาดัดแปลงได้ไม่ยากเลย



กรณีศึกษาในเรื่องนี้คือ เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี ที่แทบจะไม่สามารถ สู้กับถนนมอเตอร์เวย์ ที่ตัดตรงเข้าสู่ตัวจังหวัดสุพรรณบุรีได้เลย แต่ทว่า นายบรรหาร ศิลปะอาชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมณตรีในขณะนั้น ได้แล่งเห็นแล้วว่า หากไม่มีรถไฟวิ่ง พื้นที่ทางรถไฟจะถูกบุกรุกอย่างแน่นอน จึงได้เกิดโครงการ "รถไฟรักษาราง" ซึ่งวิ่งวันละเที่ยว และทำให้เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี รักษาตัวตนเอาไว้ได้ และในอนาคต เส้นทางนี้จะไปเชื่อมกับภาคเหนือ เป็นรถไฟเส้นทางเศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ หรือ เส้นทาง จีน-สิงคโปร์ โดยไม่ต้องวิ่งเข้ากรุงเทพฯ

จากตัวอย่าง เส้นทางรถไฟสายสุพรรณบุรี แสดงให้เห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว ว่า สามารถที่จะรักษารางได้ ดังนั้น คนหาดใหญ่-สงขลา จึงต้องคิดว่า ควรจะทำอย่างไร ให้เกิดรถไฟในรูปแบบ "รักษาราง" ให้เกิดขึ้นก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วการบุกรุกเส้นทางรถไฟสายนี้ จะมากขึ้นทุกวัน จนยากต่อการแก้ไขได้ในอนาคต

แต่รูปแบบที่จะทำให้เกิด "รถไฟรักษาราง" เกิดขึ้นนั้น มีหลายๆรูปแบบ เช่น รถไฟเชิงการท่องเที่ยว เพราะเป็นรถไฟสายประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลก เช่นเดียวกับ รถไฟสายกาญจนบุรี หรืออาจจะขนส่งมวลชนขนาดเล็ก หรือขนส่งสินค้าขนาดเล็ก (ตามรูปที่ 4 และ 5)



รูปที่ 6 : แสดงรถไฟ LRT ที่สามารถนำมาวิ่งขนส่งมวลชนบนรางขนาด 1.00 ม. ได้ทันที่


รูปที่ 7 : แสดงการขนส่งสินค้า หากมีการสร้างรางไปถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลา และสามารถใช้รางร่วมกับ LRT ได้

ซึ่งเมื่อเกิดรูปแบบ "รถไฟรักษาราง" เกิดมาขึ้นแล้ว ผลที่ได้คือ

1.จะไม่มีการบุกรุกเพิ่มเติมจนอยากต่อการแก้ไข (รูปที่ 2 )

2.สามารถที่จะพัฒนาต่อ จนกลายเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ หรือ รถไฟ LRT ของ หาดใหญ่-สงขลาได้ (รูปที่ 6)

3.และยังสามารถพัฒนาต่อจนกลายเป็น รถไฟขนส่งสินค้า เข้าท่าเรือน้ำลึก สงขลา ซึ่งจะเป็นแนวแลนด์บริจด์อีกแนวได้ (ในข้อนี้จะต้องมีการสร้างรางเพิ่มไปจนถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลา) (รูปที่ 7)

และจากที่อธิบายมาทั้งหมด คีย์เวริด์สำคัญ ก็คือ ต้องให้เกิดรถไฟในรูปแบบ "รถไฟรักษาราง" ให้ได้ก่อน



รูปที่ 8 : แสดงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน


แต่การจะทำให้เกิดรถไฟในรูปแบบรักษารางนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ง่ายนัก เพราะอย่างที่บอก มีทั้งคนได้ และคนเสีย อีกทั้ง หน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ในนาม สนข. ที่ศึกษา เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแนวโน้มว่า จะเลือก BRT ซึ่งก็คือรถเมล์ดีๆนี้เอง แต่เป็นรถเมล์ที่วิ่งในช่องทางพิเศษในถนน สาย 407 เท่านั้นเอง เรื่องนี้อาจมีผลประโยชน์ที่ซับซ้อน คงไม่สามารถลงรายละเอียดได้ เพราะมีเอกชนบางราย ผลักดัน BRT เต็มตัว และหากเกิด BRT ขึ้นจริงๆ เส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา ต้องใช้คำว่า "ตายสนิท" อย่างแน่นอน

และอย่างที่บอก คนหาดใหญ่-สงขลา แค่ไม่กี่คนที่รักเส้นทางรถไฟสายนี้ คงจะไม่สามารถต่อสู้กับหน่วยงานของรัฐ แบบ สนข. หรือกระทรวงคมนาคมได้ หากเราไม่รวมตัวกัน

ดังนั้น การรวมตัวกันผลักดันเส้นทางรถไฟสายนี้ จะสามารถทำให้เกิดพลังในการต่อรอง กับหน่วยงานใหญ่ๆได้ แต่ปัจจุบันนั้น การรวมตัวกันผลักดัน ค่อนข้างขนาดเอกภาพ ต่างคนต่างทำ จึงไม่เกิดพลัง สับสนกันไปหมด

รูปที่ 9 : แสดงการรวมตัวกันของภาคประชาชน โดยใช้สัญลักษณ์คือ ผ้าคาดผมสีเขียว

รูปที่ 10 : แสดงธงสัญลักษณ์ขององค์กรภาคประชาชนองค์กรหนึ่ง




ดังนั้น ควรจะรวมตัวกันและตั้งเป็น "ชมรมฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา" ตั้งเป็นชมรมขึ้นมา และจดทะเบียนเป็นองค์กรภาคประชาชน ต่อกระทรวงมหาดไทยให้ถูกต้อง จะทำให้มีกำลังต่อรองมากมายทีเดียว ซึ่งกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือแม้กระทั้งกลุ่ม NGO ได้พิสูทธิ์ มาแล้ว ว่าสามารถต่อรองกับรัฐได้

ในองค์กรจะต้องมีการตั้งเป้าหมาย ระยะสั้น กลาง ยาว อย่างเป็นระบบ มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน มีสัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น ป้าย ธง เสื้อ ตราสัญลักษณ์ ฯลฯ (รูปที่ 9 และ 10)



และจะต้องมีการขับเคลื่อนองค์กร หาแนวรวมทางความคิดเพิ่มเติม เช่นติดป้ายประกาศ จัดเวทีแสดงความคิดเห็น สร้างบอร์ดข่าว ติดต่อทางอินเตอร์เน็ต สร้างกิจกรรมต่างๆเช่น นำนักเรียนนักศึกษาไปถางหญ้า ริมทางรถไฟ เป็นต้น

องค์กรภาคประชาชนที่เข้มแข็ง มีพลังกว่าที่คิดมาก แค่ประชาชนรวมตัวกัน เอาจอบเอามีดไปคนละเล่มไปฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้กันเอง แค่นี้รัฐก็หนาวๆร้อนๆแล้ว แต่ต้องรวบรวมคนที่มีแนวคิดเหมืนกัน ในการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายนี้ ให้รวมเป็นกลุ่มก้อน หรือบางคนที่เข้าร่วมชมรมอาจจะมีตำแหน่งทางหน้าที่การงานใหญ่โต ก็จะทำให้ชมรมยิ่งมีพลังต่อรองเยอะขึ้นอีก และเมื่อมวลชนรวมกันได้ ภาคธุรกิจ ภาคการเมือง ก็จะเข้ามาสนับสนุนเอง

หากทำได้เส้นทางรถไฟสายนี้ จะเป็นของประชาชนโดยแท้จริง หาก รฟท.ไม่ยอมให้ใช้เส้นทาง พวกเราก็รวมตัวกันฟ้องศาลปกครอง งานนี้มีลุ้นแน่ แต่เหตุการณ์ ที่ว่า รฟท. ไม่ยอม คงเป็นไปได้ยาก เพราะรฟท. จะเก็บเส้นทางให้หญ้าขึ้นรกไปทำไม และจะมีเรื่องกับคน หาดใหญ่-สงขลา ไปทำไม

การจัดตั้งชมรมแบบนี้ มีรูปแบบที่สำคัญคือ

1.ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวาง

2.หาสัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น ธง เสื้อ ตราสัญลักษณ์ ฯลฯ

3.หากิจกรรมทำร่วมกันอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เช่นประชุมร่วมกัน สัปดาห์ละครั้ง


ถ้าเราไม่ช่วยกันเอง ใครจะมาช่วยเรา "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" สุภาษิตนี้ ยังใช้ได้ดีแม้เวลาจะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม



ผู้เขียนหวังว่า คงเกิด "ชมรมฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสาย หาดใหญ่-สงขลา" อย่างเป็นรูปธรรมในไม่ช้านี้


เครดิดรูปทั้งหมด : อยู่ในรูปแล้ว


ผมไม่ได้เข้ามาอ่านนานแล้ว เข้ามาอีกที่ก็มีคนสนใจชมรมนี้เยอะแฮะ

ตอนนี้ชมรมก็ขับเคลื่อนไปได้โดยมีการจัดตั้งบอร์ดแลกเปลี่ยนของมูลขอรถไฟสายนี้ ที่ บอร์ดกิมหยง

//gimyong.com/talung/index.php?board=17.0

เมื่อมีสมาชิกมากขึ้นก็จะมีการนัดกันทำกิจกรรม และสร้างแนวรวม เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ เอารถไฟกลับมาวิ่งให้ได้


ขั้นต่อไปอาจมีการล่ารายชื่อ ผู้สนับสนุนรถไฟสายนี้ ตอนนี้ต้องหาผู้นำหัวขบวนก่อน หรือคณะแกนนำ ที่ขับเคลื่อนกระบวนการ



Create Date : 01 ตุลาคม 2552
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2554 11:25:12 น. 18 comments
Counter : 9114 Pageviews.

 
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับที่จะให้เกิดกลุ่ม เพื่อนำทางรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่กลับมา


โดย: chy IP: 118.172.190.125 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:12:12 น.  

 
ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยเพราะตอนนี้ผมอายุ43ปีครับพ่อแม่ผมคนสทิ้งหม้อมารับราชการการรถไฟที่พัทลุงผมเลยมาเกิดที่พัทลุงในฐานะคนใต้มีอะไรแสดงถึงความรุ่งเรืองในอดีตเราคนไทยควรอนุรักษ์เอาไว้ให้ชนรุ่นหลังไว้ศึกษาและอธิบายให้ลูกหลานได้รับรู้ผมมีความคิดดีฯเยอะแต่ไม่มีปัจจัยด้านการเงินเพื่อจะทำอะไรได้หากทางกลุ่มได้รวมตัวเมื่อไรแจ้งผมด้วยนะครับอย่างน้อยผมจะช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รู้และช่วยกันรื้อฝื้นเราต้องออกกฎหมายเพื่อเอาที่โดนบุกรุกคืนโดยไม่ต้องเวณคืนเพราะจะทำให้นายทุนมาหาประโยชน์จากคนจนที่ไม่มีที่หรือแกล้งจนแล้วบุกรุกที่ทางรถไฟเพื่อจะได้รับค่าเวณคืนอย่างน้อยรถไฟวิ่งช่วงเช้าเย็นรับส่งนักเรียนจากหาดใหญ่ไปสงขลาไม่ต้องกลัวว่าฝนตกรถโพธิ์ทองจะพาลูกหลานเราถึงโรงเรียนหรือเปล่าผมจบเทคโนสงขลาตินเด็กได้นั่งคร้งเดียวก็ไม่มีรถไฟแล้วเพราะนายทุนที่หาดใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ตนเองผลดีหากมีรถไฟวิ่งไปสงขลาสงขลาจะคึกคักทันทีเพราะคนมาเลย์-สิงคโปร์จะนั่งรถไฟมาเที่ยวตลอดคึกคักแน่มาเที่ยวแหลมสมิหลาเช้ามาเย็นกลับยังได้เลยคนในพื้นที่ก็มีรายได้จากการนำสินค้าโอทอปมาขายที่ชายหาดสมิหลาจัดให้สวยเป็นระเบียบเงินเข้าเดือนหนึ่งผมว่าเป็นพันล้านเลือกผมเป็นนายกเทศมนตรีหาดใหญ่แล้วผมจะพลิกหาดใหญ่ให้ได้จากหน้ามือเป็นหลังมือ hotmail คุยกับผมได้ครับ man4463@hotmail.com


โดย: บรรจง อัมภา IP: 210.4.143.14 วันที่: 18 ตุลาคม 2553 เวลา:13:33:13 น.  

 
ผมต้องการติดต่อกับชมรมฟื้นฟูฯ นี้ครับ คิดว่ามีงานที่จะต้องทำร่วมกันครับ หมายเลขผมครับ 089-468-8404


โดย: ภัทร IP: 223.205.176.97 วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:15:30:13 น.  

 
ผมคนหนึ่งที่เคยใช้นั่งรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ ตั้งแต่สมัยยังใช้หัวรถจักรไอน้ำ คุณแม่พาไปบ้านญาติที่หาดใหญ่เป็นประจำ ตอนนั้นผมมีอายุซัก 4-5 ขวบ ยังพอจำความได้ ตอนนี้เวลาขับรถไปหาดใหญ่ตามถนนสายกาญจนวนิช พอผ่านถนนพาดรางรถไฟ สายตายังต้องชำเลืองดู (ร่องรอย) รางรถไฟ แล้วคิดถึงอดีตสมัยเด็ก ๆ ที่เคยนั่งรถไฟทุกครั้ง
ดีใจมากที่หลายคนพยายามจะทำให้อดีตหวนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง อย่างน้อยมันจะได้ไม่เป็นแค่ความความทรงจำที่เลือน ๆ อีกต่อไป


โดย: พรรัฐ ทองมี IP: 180.180.71.225 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:21:21:31 น.  

 
ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะผมคิดมานานแล้วว่าจะต้องเสนอเป็นโครงการนำเสนอเข้าสภา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาต่อไป กรุณาส่งขอมูลเพิ่มเติมได้ที่ Email...thanaphon.chai.gmail.com ขอขอบคุรมากครับ



โดย: สจ.ธนพล ศรีเนตร เขตอ.สะเดา IP: 118.175.2.146 วันที่: 13 กันยายน 2554 เวลา:10:35:05 น.  

 
ผมไม่ได้เข้ามาอ่านนานแล้ว เข้ามาอีกที่ก็มีคนสนใจชมรมนี้เยอะแฮะ

ตอนนี้ชมรมก็ขับเคลื่อนไปได้โดยมีการจัดตั้งบอร์ดแลกเปลี่ยนของมูลขอรถไฟสายนี้ ที่ บอร์ดกิมหยง //gimyong.com/talung/index.php?board=17.0

เมื่อมีสมาชิกมากขึ้นก็จะมีการนัดกันทำกิจกรรม และสร้างแนวรวม เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ เอารถไฟกลับมาวิ่งให้ได้


โดย: chuk007 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:22:33 น.  

 
เห็นด้วยครับ


โดย: สจ.ธนพล ศรีเนตร IP: 10.26.120.169, 202.28.66.5 วันที่: 7 มกราคม 2555 เวลา:15:43:29 น.  

 
ผมรู้สึกดีใจที่คนสงขลายังมีความผูกพันกับรถไฟ ผมทํางานรถไฟ จําได้ว่ารถไฟทดลองวิ่งหาดใหญ่ สงขลา ปี 2527 ใช้รถจักร hitachi 670 วิ่งได้3วันก็เลฺิกวิ่งผมคิดว่าหน้าจะมาจากมีทางตัดรถยนต์หลายจุดถ้าถนนรถยนต์สร้างสะพานลอยข้ามทางรถไฟในตอนสร้างทางในตอนแรกทางรถไฟสงขลาคงไม่ถูกทิ้ง

วันที่11 มกราคม 2555 เวลา 22;00


โดย: วิบูลย์ จุ้ยใจงาม IP: 223.204.44.43 วันที่: 11 มกราคม 2555 เวลา:21:57:06 น.  

 
อยากให้รถไฟสายสงขลาหาดใหญ่วิ่งครับ


โดย: สหชาติ โหรารัตน์ IP: 110.49.250.100 วันที่: 19 มกราคม 2555 เวลา:19:29:00 น.  

 
กฎกติกาการแข่งขันทำรถไฟจำลอง (ไทย)
ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๔
จัดทำโครงการโดย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
และ
หอเกียรติภูมิรถไฟ ,สวนจตุจักร


๑. ผู้เข้าแข่งขันมี ๒ ระดับ คือ
๑.๑. ระดับนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ ,ปวช. และปวส.
๑.๒. ระดับประชาชนทั่วไป (ไม่จำกัดระดับการศึกษา, เพศ, วัย และอายุ)
๒. กฎ-กติกา
๒.๑ ต้องสร้างรถไฟจำลองแบบที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเคยใช้มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (เฉพาะหัวรถจักรและรถประกอบเช่นรถขนฟืน) พร้อมกล่องบรรจุ จำนวน 1 ขบวน ให้ตรงตามแบบและเวลาที่กรรมการกำหนด
๒.๒. ด้วยจำนวนผู้เข้าแข่งขันตั้งแต่ ๑ คนถึงไม่เกิน ๓ คน (ไม่จำกัดจำนวนเพศ)
๒.๓. วิธีสมัคร ไม่ต้องสมัครล่วงหน้า แต่ขอให้มาลงทะเบียนและปฐมนิเทศ โดยพร้อมเพรียงกันในวันที่กรรมการกำหนด (วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) ณ หอเกียรติภูมิรถไฟ เวลา ๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. (พร้อมกันทั้งสองระดับ)
*** หมายเหตุ : ผู้เข้าแข่งขันระดับนักเรียน จะต้องแสดงบัตรนักเรียน และบัตรประชาชนประกอบการสมัคร

๒.๔. วันพฤหัสที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ - วันพุธที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๕ เวลา ๘.๐๐-๑๔.๐๐ น. เป็นช่วงเวลาที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถเข้าพบลุงตุ้ย (นายจุลศิริ วิรยศิริ) ผู้อำนวยการหอเกียรติภูมิรถไฟเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมและถ้ามีความประสงค์จะให้ลุงตุ้ย ตรวจสอบความถูกต้องก็สามารถทำได้ในช่วงไม่เกินเวลาที่กำหนด (ไม่มีการชี้แจงทางสื่ออื่นใด นอกจากเข้าพบเป็นการส่วนตัวที่หอเกียรติภูมิรถไฟเท่านั้น ข้อมูลอื่นใดนอกเหนือจากนี้ให้ค้นคว้าทางสื่ออื่นๆ)

๒.๕. วันพฤหัสที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันไปจัดหาอุปกรณ์
ในการแข่งขัน โดยมีข้อกำหนดในเรื่องอุปกรณ์ดังนี้
๒.๕.๑. อุปกรณ์ที่ใช้ในวันแข่งขัน ประกอบด้วย กระดาษ, สังกะสี, ไม้, พลาสติก
แผ่นเหล็ก (บาง ) ลวด, เชือก, แผ่นสติคเกอร์) สี, กาว, พู่กัน, กระดาษ, ปากกาดินสอ (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) และอาจนำเครื่องคอมพิวเตอร์ (Note Book) และ Printer เข้าร่วมเป็นอุปกรณ์เสริมได้ แต่ทั้งหมดต้องรายงานอุปกรณ์ทั้งหมดต่อกรรมการผู้ควบคุมการแข่งขัน และต้องไม่นำอุปกรณ์มาเพิ่มเติมขณะแข่งขัน (ห้ามทำอุปกรณ์ที่สำเร็จรูปมาจากบ้านเข้าบริเวณที่ทำการแข่งขัน และห้ามติดอุปกรณ์ Internet หรือใช้ข้อมูล Online ใน Internet ขณะแข่งขัน แต่สามารถหาข้อมูลล่วงหน้าได้จากสื่อทุกชนิด และอนุญาตให้พิมพ์หรือเขียนล่วงหน้าได้ในกระดาษหรือแผ่นสติกเกอร์ (แต่ห้ามติดเป็นชิ้นงาน) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่สะดวกในการนำคอมพิวเตอร์ หรือ Printer เข้าร่วมในเวลาแข่งขัน
๒.๖. วันศุกร์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นวันแข่งขันให้ผู้เข้าแข่งขันมาพร้อมกันที่
ลานกิจกรรม ชั้น 1 อาคารชินโสภณพนิช มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ก่อนเวลา ๘.๐๐ น.

๘.๐๐-๙.๐๐ น. ลงทะเบียน และตรวจสอบอุปกรณ์ ก่อนการแช่งขัน
๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. แข่งขันตามกติกาที่กำหนด หลังจากนั้นรับประทานอาหารร่วมกัน
๑๕.๐๐ น. ประกาศผล-มอบรางวัล

กติกาก่อนช่วงเวลาแข่งขัน

๑. ในวันปฐมนิเทศ ให้ผู้เข้าแข่งขันทุกท่านจับฉลากเลือกแบบของรถไฟไทย (คนละหรือ
กลุ่มละ ๑ แบบ อาจซ้ำแบบกันหรือไม่ซ้ำก็ได้) โดยผู้เข้าลงทะเบียนก่อนจะได้จับฉลาก
ก่อนหรือหลังตามลำดับของทะเบียน
๒. ผู้เข้าแข่งขันจะได้ฟังข้อมูลโดยสังเขปจากลุงตุ้ย เมื่อจบการบรรยายจะเปิดโอกาส
ให้ถามเฉพาะกติกาในการแข่งขัน (จะไม่ตอบข้อมูลใดๆก่อนวันเวลาที่เปิดโอกาสให้
เข้าพบเป็นการส่วนตัว และในวันที่ขอเข้าพบลุงตุ้ยจะไม่บอกข้อมูลใดๆเกินกว่าที่ผู้เข้า
แข่งขันถาม หรือจะไม่ตอบข้อมูลใดๆที่อาจทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกัน
และผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องเข้าพบลุงตุ้ยก็ได้ไม่บังคับ (จากวันปฐมนิเทศผู้เข้าแข่งขัน
อาจมาแข่งขันได้เลยในวันและเวลาที่กำหนด) ขณะแข่งขันภายใน ๑๒๐ นาที

กติกาในวันแข่งขัน (๑๒๐ นาที)

๑. ผู้เข้าแข่งขันต้องทำ ๔ ฐานคือ
๑.๑. สร้างหัวรถจักร ๑ หัว จากแบบที่จับฉลากได้ (ถ้าเป็นรถจักรไอน้ำต้องมีรถพ่วงขนฝืนประกอบ) ให้ได้สัดส่วนดังนี้ (ให้เลือก ๑ ใน ๓ ขนาด)
ขนาด N-Scale (ค่าวัสดุประมาณ ๑๐๐ บาท)
ขนาด Ho-Scale (ค่าวัสดุประมาณ ๒๐๐ บาท)
ขนาด G-Scale (ค่าวัสดุประมาณ ๕๐๐ บาท)
๒.๒. สร้างรางหรือฉากประกอบ (เสมือนจริงที่สุด)
๒.๓. สร้างกล่องบรรจุ (ต้องมีลวดลายที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ)
๒.๔. พิมพ์ข้อมูลของหัวรถจักรนั้น ตามจริงของประวัติรถไฟไทย
๒ ภาษา คือไทยและอังกฤษ (ในกระดาษไม่เกิน A4)
๒.๕. ติดตั้งหัวรถจักรบนรางและวิว (ฉากหลัง) แล้วใส่กล่องบรรจุพร้อมกระดาษ
ข้อมูล นำส่งกรรมการก่อนหมดเวลา

(สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายจุลศิริ วิรยศิริ 081-6155776)
***********************************************************************


โดย: การแข่งขันทำรถไฟจำลอง(ไทย) ครั้งที่ 1 ระดับ นักเรียนและบุคคลทั่วไป IP: 119.46.96.19 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:16:27:07 น.  

 
ไม่อยากเห็นแค่รางค่ะ อยากให้รถไฟสายนี้กลับมาวิ่งอีกครั้งและตลอดไป ค่ะ รักรถไฟมากค่ะ


โดย: tang IP: 171.5.104.202 วันที่: 14 มีนาคม 2556 เวลา:21:01:29 น.  

 
ที่ดินเราติดทางรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ยาวประมาณ 200กว่าเมตร..และอีกประมาณ 100 เมตรอีก 1 แปลง รักษาไว้ไม่ให้ใครบุกรุก..รอการกลับมาวิ่งใหม่อีกครั้งของรถไฟ บ้านเราอยู่ใกล้จุดหยุดรถบ้านบางดาน.ตอนเด็กขึ้นรถไฟไปโรงเรียนอนุบาลสงขลา.ใช้้ตั๋วเดือนๆละ 7.50 บาทหาดใหญ่-สงขลา 14 บาท..รถไฟหยุดวิ่งตอนเรียนมัธยม...ขอสนับสนุนอีก 1 เสียงให้รถไฟกลับมาอีกครั้ง...การท่องเที่ยวคงจะดีขึ้นอีกมาก..เพราะสงขลาอ.เมืองมีที่เที่ยวเยอะไม่น้อย...เช่น สวนสัตว์สงขลา หาดสมิหรา มีห้างใหญ่ถึง 2 ห้าง เกาะยอ...ห้างเปิดวันไหนรถจะติดมาก...ทุกวันนี้ก็ข้ามถนนยากมากรถเยอะ


โดย: อิงภู IP: 223.204.45.218 วันที่: 16 กันยายน 2556 เวลา:1:09:02 น.  

 
https://www.facebook.com/groups/245173895637626/
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2/589314441112079 กลุ่มฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา และ ชมรมฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ๋-สงขลา


โดย: นาย ชินพร มุ่งศิริ IP: 101.109.247.235 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2556 เวลา:14:02:39 น.  

 
อยากเห็นเป็นรูป




โดย: นายคนเมือง IP: 113.53.6.80 วันที่: 3 มิถุนายน 2557 เวลา:10:53:19 น.  

 
ถึงตัวผมจะเกิดไม่ทันยุคที่รถไฟสายนี้ยังวิ่งอยู่ แต่ผมก็อยากให้รถไฟสายนี้กลับมาวิ่งอีกครั้ง แต่ถ้าประเมินจากสถานการณ์ตอนนี้ คงจะบอกได้ว่ายาก เพราะการบุกรุกจากชาวบ้านและโรงงานต่างๆทำให้ปัญหาลุกลาม ซึ่งหากจะแก้ไขแล้วคงต้องใช้งบประมาณในการแก้ไขมากมายมหาศาลเลยทีเดียว


โดย: สุพีร์ IP: 180.183.174.88 วันที่: 14 กันยายน 2557 เวลา:17:25:41 น.  

 
ผมอยากจะให้รถไฟสายหาดใหญ่สงขลากลับมาวิ่งอีกครั้ง๑คับผมเป็นคนสงขลาผมอยากเห็นสงขลาเปลี่ยนเป็นรูปเศรษฐกิจถ้ารถไฟสายนี้วิ่งได้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวกันเยอะแนผมไม่รู้ว่าเขาหยุดเดินรถทำไมเมืองสงขลาของเราเป็นศูนย์การค้าแดนใต้และโรงงานอุสาหกรรมขนสินค้ากับรถไฟสุดยอดเลยเรามาพัฒนาสงขลาให้เจริญรุ่งเรื่องกันเถิดพี่น้องเอ่ย


โดย: ส อ ราเมศร์วรรณทอง IP: 49.230.66.16 วันที่: 7 มกราคม 2558 เวลา:23:33:06 น.  

 
ผมอยากเห็นจังหวัดสงขลาบ้านเกิดองค์คมนตรีเปรม ติณสุลานท์มีความเจริญด้านสังคมมนุษย์และทรัพยกรต่างๆผมชาวสงขลาทุกคนให้นึกรถไฟสายหาดใหญ่สงขลาทำอย่างไงให้ใช้ได้ตามปกติผมคนชอบเดินทางกลับรถไฟและก็ชอบมาหาความรู้เกี่ยวกับรถไฟไอน้ำผมเดินทางไปกาญจนบุรีเพื่อไปศึกษาสะพรานรถไฟมรณะที่มาของเขาคือสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ญีปุ่นจับเฉลยศึกมาและให้สร้างท5ทางรถไฟจากหนองปลาดุกไปถึงประเทศพม่าแต่ผลสุดท้ายทำได้ไปถึงน้ำตกไซโยคผลสุดท้ายทหารเฉลยก็ล่มตายกันมากหมายอดข้าวอดนนำ้ไข้มาเลเรียเป็นต้เครื่องบินสัสพันธมิตรเอาระเบิดมาทิ้งบนสะพรานข้ามแม่น้ำแคลวขอให้ได้รถไฟสายหาดใหญ่สงขลากลับมาตามปกตินะคับย้อนหลังเมือ30ปีที่แล้วคนสงขลายังไม่วันลืมรถไฟสายนี้


โดย: คนรักชาติ IP: 49.230.66.16 วันที่: 8 มกราคม 2558 เวลา:0:36:53 น.  

 
เห็นด้วยครับ บุกรุกที่ดินคือปัญหาหลัก ถ้ารัฐบาลจะทำจริงๆเรื่องที่น่าจะไม่ใช่ปัญหา ขอคืนซ้ายห้าขวาห้าก็ได้ (เฉพาะในเขตเมือง) ถนนในซอย4-5เมตรยังขับสวนกันได้ รถไฟทำไมจะไม่ได้ ทำแบบร่มหุบ สมุทรสงคราม แคบนิดเดียวเฉี่ยวไปเฉี่ยวมายังได้


โดย: สุกล พรหมรักษ์ IP: 113.53.173.96 วันที่: 4 ธันวาคม 2559 เวลา:21:42:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.