"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
18 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
เรียนรู้เรื่อง ศีล จากพระไตรปิฏก 1

อานิสงส์ของศีล (อ.ปุตตสูตร) เล่ม 45หน้า 456-459
ปาณาติปาตาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้คือ
ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ๑ ความถึงพร้อมด้วยส่วนสูงและส่วนกว้าง ๑
ความถึงพร้อมด้วยเชาว์ไวไหวพริบ ๑ ความเป็นผู้มีเท้าตั้งอยู่เหมาะสม ๑
ความสวยงาม ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑ ความสะอาด ๑ ความกล้าหาญ ๑
ความเป็นผู้มีกำลังมาก ๑ ความเป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย ๑
ความเป็นผู้น่ารัก น่าพอใจ ของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน ๑
ความเป็นผู้ไม่สะดุ้งหวาดเสียว ๑ ความเป็นผู้อันใคร ๆ กำจัดได้ยาก ๑
ความเป็นผู้ไม่ตายดับการปองร้ายของผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้มีบริวารมาก ๑
ความเป็นผู้มีผิวดังทอง ๑ ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม ๑
ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ ความเป็นผู้ไม่เศร้าโศก ๑
ความเป็นผู้ไม่พลัดพราก จากของรักของชอบใจ ๑ ความเป็นผู้มีอายุยืน ๑.

อทินนาทานา เวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ
ความเป็นผู้มีทรัพย์ และข้าวเปลือกมาก ๑ ความเป็นผู้มีโภคะ อเนุกอนันต์ ๑
ความเป็นผู้มีโภคะยั่งยืน ๑ การได้โภคทรัพย์ตามที่ต้องการอย่างฉับพลัน ๑
การมีโภคะไม่ทั่วไปกับพระราชาเป็นต้น ๑ ความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร ๑
ความเป็นหัวหน้าในที่นั้น ๆ ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักคำว่าไม่มี ๑
ความเป็นผู้อยู่อย่างสบาย ๑.

อพฺรหฺมจริยา เวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ
ความเป็นผู้ปราศจากข้าศึก๑ ความเป็นที่รักเป็นที่พอใจของสรรพสัตว์ ๑
ความเป็นผู้มีปกติได้ของต่าง ๆ เช่น ข้าว น้ำ ผ้า และวัตถุเครื่องปกปิด ๑
การนอนหลับสบาย ๑ การตื่นขึ้นมาสบาย ๑ การพ้นจากภัยในอบาย ๑
ความไม่ควรแก่การเกิดเป็นหญิง เป็นกะเทย ๑ ความเป็นผู้ไม่โกรธ ๑
ความเป็นผู้มีปกติทำจริง ๑ ความเป็นผู้ไม่เก้อเขิน ๑
ความเป็นผู้มีความสุขด้วยการรับเชิญ ๑ ความเป็นผู้มีอินทรีย์บริบูรณ์ ๑
ความเป็นผู้ปราศจากความระแวง ๑ ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ๑
ความเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุข ๑ ความเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ ๑
ความเป็นผู้ไม่มีการพลัดพรากจากของรัก ๑.

แม้ผลของการงด เว้นจากมิจฉาจาร ก็รวมอยู่ในผลของการงดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์

มุสาวาทาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ
ความเป็นผู้มีอินทรีย์ผ่องใส ๑ ความเป็นผู้มีปกติพูดด้วยคำสละสลวย อ่อนหวาน ๑
ความเป็นผู้มีฟันเรียบเสมอ ทั้งขาว ทั้งสะอาด ๑ ความเป็นผู้ไม่อ้วนจนเกินไป ๑
ความเป็นผู้ไม่ผอมจนเกินไป ๑ ความเป็นผู้ไม่ต่ำเกินไป ๑
ความเป็นผู้ไม่สูงเกินไป ๑ ความเป็นผู้มีสัมผัสเป็นสุข ๑
ความเป็นผู้มีกลิ่นปากหอมเหมือนกลิ่นดอกอุบล ๑ ความเป็นผู้มีบริษัท เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาท ๑
ความเป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้ ๑ ความเป็นผู้มีลิ้น อ่อน แดง และบางเหมือนกลีบดอกอุบล ๑
ความเป็นผู้ไม่หดหู่ ๑ ความเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ๑.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏานาเวรนณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ
ความเป็นผู้ไม่ประมาทในกิจและกรณียกิจ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน) ๑
ความเป็นผู้มีญาณ ๑ ความเป็นผู้มีสติปรากฏอยู่ทุกเมื่อ ๑
ความเป็นผู้มีปฏิภาณ เกิดขึ้นทุกสถาน ในเมื่อมีกิจและกรณียกิจเกิดขึ้น ๑
ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ๑ ความเป็นผู้ไม่โง่เขลา ๑
ความเป็นผู้ไม่บ้าใบ้ ๑ ความเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง ๑
ความเป็นผู้ไม่มีการแข็งดี ๑ ความเป็นผู้ไม่มีความริษยา ๑
ความเป็นผู้ไม่ตระหนี่ ๑ ความเป็นผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์ ๑
ความเป็นผู้มีปกติไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑
ความเป็นคนกตัญญู ๑ ความเป็นผู้มีกตเวที ๑ ความเป็นผู้มีโภคะ ๑
ความเป็นผู้มีศีล ๑ ความเป็นผู้ซื่อตรง) ๑ ความเป็นผู้ไม่โกรธ ๑
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตัปปะ ๑ ความเป็นผู้มีความเห็นตรง ๑
ความเป็นผู้มีใจใหญ่ ๑ ความเป็นผู้ฉลาด) ๑
ความเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสิ่งมิใช่ประโยชน์) ๑.

อานิสงส์ของการเรียนพระวินัย (วิเลขนสิกขาบทที่ ๒) เล่ม4หน้า 747
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในวินัยธรบุคคล (บุคคลผู้ทรงวินัย) มี ๕ เหล่านี้ คือ

สีลขันธ์ของตนเป็นอันคุ้มครองรักษาดีแล้ว ๑
เป็นที่พึงของพวกภิกษุผู้มักระแวงสงสัย ๑
เป็นผู้แกล้วกล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๑
ข่มเหล่าชนผู้เป็นข้าศึกได้ราบคาบดีโดยสหธรรม ๑
เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

อานิสงส์ของผู้มีศีลอันเป็นที่รัก (เจตนาสูตร) เล่ม 38หน้า 506-508
ว่าด้วยอานิสงส์ของผู้มีศีล

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า
ขอความปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความปราโมทย์ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเสวยสุขเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบแล้วเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่นเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็นจริงเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริงแล้วเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงคลายกำหนัดเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่ายแล้วคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรม ทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอันมิใช่ฝั่ง(คือสังสารวัฏ) ด้วยประการดังนี้แล.

จบเจตนาสูตรที่ ๒

ความแตกต่างในโทษของผู้ประพฤติผิดศีล5 (อ.สิกขาปทภิวังค์) เล่ม 78หน้า508-511
ว่าโดยสาวัชชะ (โทษ) ปาณาติบาตมีโทษน้อยก็มี มีโทษมากก็มี.
สิกขาบททั้งหลาย มีอทินนาทานเป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน.เหตุต่าง ๆ แห่ง
สิกขาบททั้ง ๕ นั้น ท่านแสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ปาณาติบาต มีโทษ ดังนี้
การฆ่าสัตว์แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นมดดำ ชื่อว่า มีโทษน้อย
ฆ่าสัตว์เช่นนั้นที่ใหญ่กว่า มีโทษมากกว่า
ฆ่าสัตว์ประเภทนับเนื่องด้วยนกใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทเลื้อยคลานใหญ่กว่านั้น มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทกระต่าย มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าสัตว์ประเภทเนื้อ มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าโค มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าม้า มีโทษมากกว่านั้น
ฆ่าช้าง มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้ทุศีล มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่ามนุษย์ผู้ถึงสรณะ (คือผู้ถึงพระไตรสรณคมน์) มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าผู้ตั้งอยู่ในสิกขาบท ๕ มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าสามเณร มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าภิกษุผู้เป็นปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
การฆ่าพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

อทินนาทาน มีโทษ ดังนี้
การถือเอาสิ่งของ ของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษน้อย
ถือเอาสิ่งของ ของผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของสามเณร มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของภิกษุปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ถือเอาสิ่งของ ของพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษ ดังนี้
แม้ประพฤติผิดก้าวล่วงหญิงผู้ทุศีล ก็มีโทษน้อย
ประพฤติผิดในบุคคล ผู้มีปกติประพฤติอย่างโค มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในบุคคลผู้ถึงสรณะ มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล ๕ มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในสามเณรี มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีปุถุชน มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระโสดาบัน มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระสกทาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระอนาคามี มีโทษมากกว่านั้น
ประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นพระขีณาสพ มีโทษมากยิ่งนัก.

มุสาวาท มีโทษ ดังนี้
มุสาวาท (พูดเท็จ) เพื่อต้องการทรัพย์มีประมาณกากณิกหนึ่ง ( คาว่า
กากณิกเป็นชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกากลืนกินได้)
มีโทษน้อยในเพราะคำพูดอันเป็นเท็จนั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งมาสก๑ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งมาสก มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ๕ มาสก มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ ครึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์ หนึ่งกหาปณะ มีโทษมากกว่านั้น
มุสาวาท เพื่อต้องการทรัพย์มีค่านับไม่ได้ มีโทษมากกว่านั้น
แต่มุสาวาท เพื่อทำสงฆ์ให้แตกจากกัน มีโทษมากยิ่งนัก.

การดื่มสุรา มีโทษ ดังนี้
การดื่มสุราประมาณฟายมือหนึ่ง มีโทษน้อย
การดื่มสุราประมาณกอบหนึ่ง มีโทษมากกว่า
แต่การดื่มสุรามากสามารถให้กายไหว แล้วทำการปล้นบ้าน ปล้นหมู่
บ้าน มีโทษหนักมาก.

จริงอยู่ ในปาณาติบาต การฆ่าพระขีณาสพก็ดี ในอทินนาทานการ
ถือเอาวัตถุสิ่งของของพระขีณาสพไปก็ดี ในกาเมสุมิจฉาจารการประพฤติผิดในภิกษุณีผู้เป็นขีณาสพก็ดี ในมุสาวาทการยังสงฆ์ให้แตกจากกันก็ดี ในการดื่มสุราอันสามารถให้กายเคลื่อนไหวไปปล้นบ้านปล้นหมู่บ้านก็ดี จัดว่ามีโทษมากทั้งนั้น แต่ว่าสังฆเภท โดยการกล่าวซึ่งมุสาวาทเท่านั้นจัดว่ามีโทษมากกว่าโทษเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เพราะว่าอกุศลอันมากนั้นสามารถเพื่อจะให้ไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.

๑. ๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท, ๔ บาท เท่ากับ ๑ กหาปณะ (บาท = เงินบาทของอินเดียโบราณ)

ว่าด้วยการขาดและการสมาทานศีล5 เล่ม 78หน้า 512
ว่าโดยขัณฑะ (ว่าโดยการขาด) คฤหัสถ์ทั้งหลาย ย่อมก้าวล่วงสิกขาบทใด ๆ สิกขาบทนั้น ๆ เท่านั้นย่อมขาด ย่อมแตก สิกขาบทที่เหลือย่อมไม่ขาด ไม่แตก.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลาย มิใช่เป็นผู้มีศีลประจำ เขาย่อมสามารถ
เพื่อรักษาสิกขาบทใด ๆ ก็ย่อมรักษาสิกขาบทนั้น ๆ นั่นแหละ.

ว่าโดยสมาทาน เมื่อคฤหัสถ์ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจักอธิษฐานศีล ๕ เองทีเดียว ดังนี้ก็ดี เมื่อสมาทานศีลนั้นโดยแยกแต่ละข้อก็ดี ย่อมชื่อว่า สมาทานแล้วทีเดียว คือว่าคฤหัสถ์นั้นนั่งในสำนักแห่งผู้ใดแล้วก็ถือเอาด้วยคำว่า
" ข้าพเจ้าจะสมาทานศีล ๕" ก็ดี "ขอสมาทานโดยแต่ละข้อก็ดี" ชื่อว่า ย่อม
สมาทานนั่นแหละ.

ศีล ๕ แม้ทั้งปวง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นสาหัตถิกปโยคะทั้งหมด (คือกระทำด้วยตนเองทั้งหมด).


วิธีการรักษาศีล8 (อุโบสถสูตร) เล่ม 34หน้า 382
ว่าด้วยอุโบสถ ๓ อย่าง

[๕๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ บุพพาราม ปราสาทของ (นางวิสาขา) มิคารมารดา กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นวันอุโบสถ นางวิสาขา มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งทักนางวิสาขา มิคารมารดา ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
เชิญ วิสาขา มาจากไหนแต่เช้า.

นางกราบทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้ารักษาอุโบสถ พระพุทธเจ้าข้า.

ตรัสพระธรรมเทศนาว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ

โคปาลกอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงโคบาล) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงนิครนถ์) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ).

โคปาลกอุโบสถ เป็นอุโบสถที่ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรื่องผลมาก ไม่แผ่ผลมาก

นิคัณฐอุโบสถ เป็นอุโบสถที่ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรืองผลมาก ไม่แผ่ผลมาก.

อริยอุโบสถเป็นอย่างไร?. วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างไร.

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงตถาคตว่า อิติปิ โส ภควา ฯ ภควา.
เมื่อเธอระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)แห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำศีรษะที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำศีรษะที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วย ความพยายามอย่างไร. ใช้ตะกรัน (น้ำผลไม้) ดินเหนียว และน้ำ กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำศีรษะที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้น เธอย่อมละได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาพรหมอุโบสถ
(อุโบสถเนื่องด้วยพระพรหม) อยู่ร่วมกับพระพรหม แลจิตของเธอปรารภ
พระพรหม ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างนี้แล

วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า สฺวากขาโต ฯลฯ วิญฺญูหิ
เมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิด
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำกาย ฯลฯ
ด้วยความพยายามอย่างไร. ใช้ฝุ่นหิน จุณ และน้ำ กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาธัมมอุโบสถ (อุโบสถเนื่องด้วยพระธรรม) อยู่ร่วมกับพระธรรม และจิตของเธอปรารภพระธรรม ย่อมผ่องใสปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างนี้แล

วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือใคร คู่แห่งบุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี่พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำผ้าที่สกปรกให้สะอาด ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำผ้า ฯลฯ
ด้วยความพยายามอย่างไร. ใช้ดินเค็ม ขี้เถ้า โคมัย และน้ำ กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำผ้า ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านี้เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกันอริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และจิตของเธอปรารภพระสงฆ์ย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม(อีกทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.

วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ
ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกปรามาส เป็นทางสมาธิ

เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิต เหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้น เธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำแว่นที่มัวให้ใส ย่อมมีได้ความพยายาม การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างไร. ใช้น้ำมัน ขี้เถ้า และแปรง กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาศีลอุโบสถ อยู่กับศีล จิตของเธอปรารภศีลย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม(อีกทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.

วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ
ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดา (และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา) ว่า มีอยู่เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา... เหล่าดาวดึงส์... เหล่ายามา... เหล่าดุสิต...เหล่านิมมานรดี... เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี... เหล่าพรหมกายิก... เหล่าที่สูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้น ๆ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาเช่นนั้น ของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน

เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนกับของเทวดาเหล่านั้นอยู่จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้

วิสาขา การทำทองที่หมองให้ผ่อง ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำทอง ฯลฯด้วยความพยายามอย่างไร ใช้เตา ดินเค็ม ดินเหลือง สูบและคีม
กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของช่าง(ประกอบกัน) การทำทอง ฯลฯ
ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาเทวดาอุโบสถ อยู่กับเทวดา จิตของเธอ ปรารภเทวดา ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้แล.

วิสาขา อริยสาวกนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศรัทธามีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีพ

แม้เราในวันนี้ ก็ละปาณาติบาต เว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์ตลอดคืน เครุ ดินสอแดง ยางไม้ ก็ว่า และวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่งและอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย เป็นผู้เป็นอยู่สะอาดตลอดชีพ

แม้เราในวันนี้ก็ละอทินนาทาน เว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย เป็นผู้เป็นอยู่สะอาดตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอพรหมจรรย์แล้ว เป็นพรหมจารี มีความประพฤติห่างไกล(จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้านตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ก็ละอพรหมจรรย์เป็นพรหมจารี มีความประพฤติห่างไกล (จากอพรหมจรรย์)เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้านตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง พูดจริงเสมอมีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลกตลอดชีพแม้เราในวันนี้ ก็ละมุสาวาทเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง พูดจริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลก ตลอดคืนและวันนี้ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จัก เป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็ละการดื่มน้ำเมา เป็นผู้เว้นจากการดื่มน้ำเมาตลอดคืนและวันนี้ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย บริโภคอาหารครั้งเดียว งดอาหารในราตรี เว้นจากการบริโภคผิดเวลาตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็บริโภคอาหารครั้งเดียว งดอาหารในราตรี เว้นจากการบริโภคผิดเวลา ตลอดคืนแต่วันนี้ ด้วยองค์นี้เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมดนตรีและดูการเล่น จากการประดับตกแต่งกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องทาผิว อันเป็นฐานแต่งตัวตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็เว้นจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่น จากการประดับ ตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องทาผิวอันเป็นฐานแต่งตัว ตลอดคืนและวันนี้ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว

พระอรหันต์ทั้งหลาย ละที่นอนสูงที่นอนใหญ่แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ใช้ที่นอนต่ำ บนเตียงบ้าง บนเครื่องลาดทำด้วยหญ้าบ้าง ตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ ก็ละที่นอนสูงที่นอนใหญ่แล้ว เป็นผู้เว้นจากที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ใช้ที่นอนต่ำ บนเตียงบ้าง บนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า บ้าง ตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว.

วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก มีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร.

วิสาขา ต่างว่า ใครคนหนึ่ง จะพึงได้ครอบครองราชัยไอศวรรยาธิปัตย์แห่งมหาชนบททั้ง ๑๖ อันมีรัตนะ ๗ ประการ เหลือหลายนี้ มหาชนบท ๑๖ คืออะไรบ้าง คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ ราชสมบัติของผู้นั้นก็หามีค่าเท่าส่วนที่ ๑๖ แห่งอุโบสถประกอบด้วย องค์ ๘ ไม่ นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์ เทียบกับทิพยสุขเข้าแล้ว เป็นของนิดหน่อย

วิสาขา ๕๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าจาตุ-
มหาราชิกาโดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นปี
โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา ดูก่อนวิสาขา ที่บุคคลลางคนในโลกนี้ สตรีหรือบุรุษก็ตาม รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว เพราะกายแตกตายไปจะพึงไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าจาตุมหาราซิกา ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เทียบกับทิพยสุขเข้าแล้ว เป็นของนิดหน่อย นั้นเรากล่าวหมายเอาข้อนี้แล

วิสาขา ๑๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าดาวดึงส์
โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒เดือนเป็นปี โดยปีนั้น ๑,๐๐๐ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าดาวดึงส์...........

วิสาขา ๒๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่ายามา
โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นปี โดยปีนั้น
๒,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่ายามา............

วิสาขา ๔๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าดุสิต
ฯลฯ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าดุสิต...........

วิสาขา ๘๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่านิมมานรดี ฯลฯ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่านิมมานรดี .........

วิสาขา ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ของเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า ปรนิมมิตวสวัตดี ดูก่อนวิสาขา ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี ที่ว่าราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ หมายเอาข้อนี้แล.

ไม่ฆ่าสัตว์ ๑
ไม่ถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ๑
ไม่พูดมุสา ๑
ไม่ดื่มน้ำเมา ๑
เว้นจากเมถุนอันมิใช่ความประพฤติดังพรหม ๑
ไม่บริโภคอาหารในราตรีและอาหารผิดเวลา ๑
ไม่ประดับดอกไม้ ไม่ใช่ของหอม ๑
นอนบนเตียง (ที่ได้ประมาณ) หรือเครื่องลาดบนพื้น ๑

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวอุโบสถมีองค์ ๘ นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้;

พระจันทร์และพระอาทิตย์ที่น่าดูทั้งสอง โคจรส่องแสงไปตลอดที่มีประมาณเท่าใด อนึ่ง พระจันทร์และพระอาทิตย์ขจัดมืดในอากาศส่องอยู่บนฟ้า
ทำให้รุ่งโรจน์ไปทั่วทิศ(ตลอดที่เพียงใด)ทรัพย์อันใดมีอยู่ในระหว่าง (ที่ๆ แสงส่องถึง)นั้น เช่นแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์อันงาม ทองสิงคี ทั้งทองกาญจนะ ทองที่เรียกว่าชาตรูปะ ทองหฏกะทรัพย์เหล่านั้น (มีค่า) ไม่ถึงแม้ส่วนที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ดุจหมู่ดาวทั้งหมด (สว่าง) ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์ฉะนั้น.

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com


Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2555 18:06:12 น. 0 comments
Counter : 656 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.