Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
โนเบล Peace Prize ปีนี้ประทับใจที่สุดเพราะ Muhammud Yunus ผู้ก่อตั้ง Grameen Bank ได้ไปค่ะ

คราวนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องหนังสือนะคะ แต่จขบ.ดีใจจัดซะจนต้องขอเขียนลงในบล็อก อาจจะไม่มีใครสนใจมากเท่าไหร่ แต่ถ้าใครได้อ่าน แม้จะแค่คนเดียว ก็ดีใจแล้วค่ะ เพราะเรื่องนี้ดีจริงๆนะ

ผลรางวัลโนเบลเพื่อสันติภาพของปีนี้ออกมาแล้วค่ะ คนได้คือศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส ชาวบังกลาเทศ วัย 66 ปี เจ้าของความคิดริเริ่ม microcredit หรือเงินกู้จำนวนน้อยๆ และเป็นผู้บุกเบิก Grameen Bank หรือธนาคารกรามีน กรามีนแปลว่าหมู่บ้านหรือชนบทค่ะ ธนาคารนี้เป็นแหล่งให้เงินกู้ที่ว่าด้วย เดี๋ยวเรามาคุยกันก่อนนะว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดียและข่าวจากสนพ.ต่างๆนะคะ

โมฮัมมัด ยูนุส เกิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1940 ในหมู่บ้านบาธัวในจิตตะกอง เขาเป็นคนเรียนดีตั้งแต่เล็กๆ และได้ทุนฟูลไบรท์ไปศึกษาปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแวนเดอบิลท์ในสหรัฐฯ ในปี 1969

ปี 1972 ยูนุสย้ายกลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยจิตตะกองและในช่วงของยุคอดอยากปี 1974 ในบังกลาเทศนี่เองที่เขาริเริ่มโครงการขจัดความยากจน โดยมีพื้นฐานความคิดที่ว่าเงินกู้ยืมจำนวนน้อยมากในสายตาธนาคารทั่วไปมีผลในการเปลี่ยนแปลงชีวิตคนยากจนอย่างใหญ่หลวง เงินก้อนแรกที่เขาให้กู้ยืมมีมูลค่าเพียง 27 ดอลล่าร์เท่านั้นเองค่ะ เขาให้ผู้หญิงในหมู่บ้านโจบร้าที่ทำเครื่องเรือนจากไม้ไผ่เอาไปซื้อไม้มาทำสินค้า งานนี้เป็นโครงการที่เขาศึกษา

ยูนุสทาบทามธนาคารอื่นๆในบังกลาเทศให้เริ่มโครงการ microcredit แต่ก็ไม่มีใครสนใจร่วมด้วย เพราะถือว่ามีความเสี่ยงว่าหนี้สูญสูง เขาเลยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยตั้งโครงการพัฒนาเศรษฐกินในชนบทขึ้นมาโดยใช้หลักการให้เงินกู้ที่ว่านี่ล่ะค่ะ โดยลองกับหมู่บ้านใกล้ๆก่อน ปรากฏว่าโครงการนี้ก็ประสบความสำเร็จมากแล้วก็ขยายสาขาออกไปมากมาย

ทะนี้ก็หัวใจของธนาคารกรามีนนะคะ การกู้ยืมเงินนี่จะใช้หลักเชื่อใจกัน หรือระบบ solidarity group ซึ่งก็คือเป็นการให้กู้กับคนกลุ่มย่อยที่ต่างคนต่างเป็นผู้ค้ำประกันกันเอง แล้วก็ถ้าคนใดคนหนึ่งในกลุ่มไม่สามารถชำระเงินกู้ก่อนที่จะขอกู้ก่อนใหม่ได้ ทางธนาคารก็จะยังไม่ให้กู้ค่ะ แล้วก็ยังมี incentives อื่นๆอีกด้วย เช่นการให้เงินกู้เพื่อระบบกสิกรรม ประปา บ้านเรือน และการซื้อหาอุปกรณ์สำหรับทำมาหากินอาชีพต่างๆ ฯลฯ ความสำคัญของหลักการของธนาคารก็คือเป็นการให้ทางออกแก่คนยากจนในบังกลาเทศที่ตามปกติต้องกู้ยืมเงินนอกระบบและเสียดอกเบี้ยงสูงลิบ เนื่องจากไม่สามารถกู้ยืมจากธนาคารปกติได้ และเป็นแหล่งเงินกู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงกู้เงินได้ ปรากฏว่าคนกู้เงินของที่นี่เป็นผู้หญิงกว่า 96 % เชียวนะคะ และที่สำคัญมากก็คืออัตราการใช้หนี้สูงถึงร้อยละ 98 ล้มล้างความเชื่อธนาคารทั้งหลายที่ว่าคนจนชอบชักดาบไปเลย

ปัจจุบัน แบบแผนและหลักการของธนาคารกรามีนเป็นที่ยอมรับนับถือและนำไปใช้ในกว่า 43 ประเทศทั่วโลก บังกลาเทศเองก็ขยับขึ้นมาเหนือเส้นวัดระดับความยากจนหรือ poverty line เพราะผู้หญิงที่กู้เงินไปมักจะใช้เงินไปกับครอบครัว การศึกษา อาหาร และสิ่งจำเป็นทั้งหลายด้วยค่ะ ปัจจุบัน ธนาคารกรามีนขยายงานออกจนครอบคลุมการทำแผงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โทรศัพท์หมู่บ้าน และเสื้อผ้ายี่ห้อ Grameen Check ค่ะ

รางวัลโนเบลสดุดีเกียรติคุณเขาว่าอย่างนี้ค่ะ

The Norwegian Nobel Committee has decided to award the Nobel Peace Prize for 2006, divided into two equal parts, to Muhammad Yunus and Grameen Bank for their efforts to create economic and social development from below. Lasting peace cannot be achieved unless large population groups find ways in which to break out of poverty. Micro-credit is one such means. Development from below also serves to advance democracy and human rights.

สุดท้าย รูปของยูนุสค่ะ



ต้องขอคารวะด้วยใจจริงค่ะ


Create Date : 31 ตุลาคม 2549
Last Update : 31 ตุลาคม 2549 23:27:58 น. 9 comments
Counter : 990 Pageviews.

 
เอ๊ะ เหมือนเคยอ่านบล็อกนี้ไปแล้ว เดฌาวูหรือว่าเป็นของคนอื่นเขียนกันนะ

คุณพัทวิเคราะห์ทีซิคะว่าหลักการอย่างนี้ทำไมเวลาเอามาใช่ในประัเทศอะไรขันๆ เนี่ยแล้วมันถึงไม่เวิร์คเคอะ

ปล. ชอบคำประกาศเกียรติืคุณ สั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความ ไม่หวานเลี่ยนหาสาระไม่เจอเหมือนคำประกาศรางวัลในประเทศอะไร...

เ่อ่อ พอเหอะ ไปดีกั่ว


โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat ) วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:1:42:29 น.  

 
ดีแล้วที่คนดีไม่ถูกมองข้าม เป็นคนเก่งดีถึงจะมาจากประเทศที่ยากจนแต่ก็ไม่หยุดที่จะดิ้นรนเพื่อสังคมส่วนรวม


โดย: nzmum วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:2:54:50 น.  

 
เพิ่งได้อ่านเรื่องนี้ที่เว็บคุณวินทร์เมื่ออาทิตย์ก่อน...

เรื่องดีๆ อ่านแล้วอ่านอีกก็ยังรู้สึกดีค่ะ


โดย: เงาตะวัน วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:4:44:37 น.  

 
อือม์ ซีเครียดๆ สมองรับไม่ด้ายยยย ..บึ้ม! 555

มีใครคิดจะเปิดเงินกู้เพื่อซื้อหนังสือไหมเนี่ย? จะรีบไปจองคิวคนแรกเลย (จ่ายคืนด้วยวิญญาณ อวัยวะ ตับไตไส้พุง 555)


โดย: ยาคูลท์ วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:6:56:57 น.  

 
กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

ดีใจจริงๆ เลยค่ะที่คุณลุงท่านนี้ได้

เคยได้ฟังสัมมนาของท่านครั้งหนึ่ง มาพูดที่เมืองไทยเนี่ยแหละค่ะ เล่าเกี่ยวกับว่า ทำไมถึงได้ตั้ง Grameen Bank

ตอนแรกๆ ลำบากยังไงบ้าง ไปหากี่แบงค์ๆ ก็ไม่ไ้ด้รับการสนับสนุน ตอนแรกคุณลุงท่านเลยลงทุนเอง ... ท่านบอกว่า คนจนน่ะ ไม่โกงหรอก เพราะต้องการมีเงินเอาไปลงทุนแค่พอมีพอกิน ไอ้รวยๆ น่ะ โกงสะบัด

ก็มีคนถามว่า มีปัญหาการใช้หนี้บ้างไหม ท่านบอกว่า น้อยมากๆ ส่วนใหญ่รีบใช้กันทั้งนั้น

อย่างที่รู้ๆ กันนะคะว่าบังคลาเทศมีภัยธรรมชาติบ่อยมาก หลายครั้งน้ำท่วม ไร่นาเสียหาย ... ไอซ์ก็ถามว่า สมมติว่าผู้กู้โดนภัยธรรมชาติ ไม่สามารถใช้เงินได้จะทำยังไง

ท่านตอบว่า ถ้าใช้ไม่ได้แบบนั้น ก็ให้ทิ้งหนี้เก่าไปเลย เริ่มให้กู้ใหม่ เพราะจะไปรีดเลือดจากคนที่ไม่มีเงิน ยังไงๆ ก็รีดไม่ได้หรอก

ประทับใจท่านมากๆๆๆๆๆ ค่ะ ท่านคุยสนุกมากๆ ตอบคำถามอย่างตั้งใจ

ดีใจกับรางวัลนี้จริงๆ ค่ะ

^_________________________________^


โดย: Clear Ice วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:7:36:53 น.  

 
มีความรู้มากๆ
แต่แอบคิดเหมือนคุณยาคูลท์เหมือนกัน


โดย: สายลมอิสระ (สายลมอิสระ ) วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:9:41:11 น.  

 
น่าจะแปลสดุดีเกียรติคุณ ที่เป็นภาษาอังกฤษด้วยนะ

แบบว่าภาษาอังกฤษไม่เก่ง จนต้องหนีไปเรียนภาษาสเปนแทน

ขอบคุณครับที่แวะไปฟังเพลง


โดย: สเตอร์ลิงค์ วันที่: 1 พฤศจิกายน 2549 เวลา:10:31:17 น.  

 
เคยอ่านที่คนชายขอบเขียนแนะนำไว้
ก็ชอบความคิดของเขาน่ะ

เห็นด้วยว่า คนจนไม่โกงหรอก
คนร่ำรวยและมีความรู้ต่างหาก
ที่โกงเอาๆ


โดย: grappa วันที่: 2 พฤศจิกายน 2549 เวลา:8:25:00 น.  

 
ผมก็ยินดีมากกับข่าวนี้
คุณยูนุสทำความดีมาตลอดชีวิต ถึงได้รางวัลนี้
ครั้งแรกที่อ่านบทความของคุณวินทร์ แล้วชอบมากเลย แนวคิดดี จุดประกายเจ๋ง (จากสาวสานตะกร้าไม้ไผ่จนเงิน แต่รวยน้ำใจ) หนึ่งชีวิตหากเราคิดและได้ทำเพื่อผู้อื่น ความสุขคงไม่ไปไหน
ผมรวมบทความเรื่องเขาไว้ที่ //www.pantip.com/cafe/silom/topic/B4828781/B4828781.html จะได้เห็นว่าหลายคนก็ชื่นชมเขาครับ
คุณยูนุส เขาเขียนหนังสือด้วย น่าจะหามาอ่านเหมือนกันนะ
โลกนี้อยู่ได้ด้วยคนดีครับ


โดย: คนขับช้า วันที่: 9 พฤศจิกายน 2549 เวลา:2:16:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Il Maze
Location :
Athens Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




Friends' blogs
[Add Il Maze's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.