โรครากสีน้ำตาล
โรครากน้ำตาล (Brown root disease) มักพบกับต้นยางที่หักโค่น อาการของต้นยางที่เป็นโรครากน้ำตาล ถ้าสังเกตจากทรงพุ่มจะมีลักษณะเหมือนกับโรครากขาวและโรครากแดง
สาเหตุของโรครากน้ำตาล

เกิดจากเชื้อรา Phellinus noxius (Comer) G.H. Cunn.
ลักษณะอาการของโรครากน้ำตาล

รากที่ถูกทำลาย จะปรากฏเส้นใยสีน้ำตาลปนเหลือง เป็นขุยเหมือนกำมะหยี่ ปกคลุมผิวรากและเกาะยึดดินทรายไว้ ทำให้รากมีลักษณะขรุขระ เส้นใยเมื่อแก่จะเป็นแผ่นสีน้ำตาลดำ เนื้อไม้ที่เป็นโรคในระยะแรกจะเป็นสีน้ำตาลซีด ต่อมาจะปรากฏเส้นสีน้ำตาลเป็นเส้นเดี่ยวลายสลับฟันปลาอยู่ในเนื้อไม้ รากที่เป็นโรคมานาน เมื่อตัดตามขวางจะเห็นสายเส้นใยที่แทรกในเนื้อไม้มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง เนื้อไม้จะเบาและแห้ง ดอกเห็ดจะเป็นแผ่นหนาและแข็ง ลักษณะครึ่งวงกลม ขนาดค่อนข้างเล็ก ผิวด้านบนเป็นรอยย่นเป็นวงสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านล่างเป็นสีเทา
การแพร่ระบาดของโรครากน้ำตาล

ระบาดรวดเร็วในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกชุก ความชื้นสูง
พืชอาศัยของเชื้อโรครากน้ำตาล

ทุเรียน มังคุด ลองกอง สละ สะเดาบ้าน มะฮอกกานี สัก ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ส้ม กาแฟ เงาะ
การป้องกันกำจัดโรครากน้ำตาล

เตรียมพื้นที่ปลูกให้ปลอดโรค โดยการขุดทำลายตอยางเก่า ซึ่งเป็นแหล่งสะสมโรคออกให้หมด
ในแหล่งที่มีโรคระบาด หลังการเตรียมดินควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินบางชนิดที่เป็นพิษต่อเชื้อราสาเหตุ โรคราก
หลังจากปลูกยางไปแล้ว 1 ปี ควรตรวจค้นหาต้นยางที่เป็นโรครากเป็นประจำ เมื่อพบต้นเป็นโรค ควรขุดทำลายและรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี
ต้นยางที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. ) เพื่อกั้นระหว่างต้นที่เป็นโรคและต้นปกติ ไม่ให้รากสัมผัสกัน
ไม่ควรปลูกพืชร่วม หรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยในพื้นที่ที่เป็นโรคราก
ใช้สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นข้างเคียงเพื่อป้องกันโรค โดยขุดร่องเล็กๆ รอบโคนต้นกว้าง 15-20 ซม. เทสารเคมีลงในร่องรอบโคนต้น ใช้สาร เคมีทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี สารเคมีที่แนะนำ คือ
ไตรเดอร์มอร์ฟ(tridemorph) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น คาลิกซิน 75% EC โดยใช้ในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 1-2 ลิตรต่อต้น

โรคลำต้นยางชำถุงเน่า (Twig rot of polybagrubber) พบระบาดในแปลงเพาะชำยางชำถุง โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก ทำให้ต้นยางชำถุงตายอย่างรวดเร็ว
สาเหตุของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

เกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianoe Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouse. P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

เชื้อราทำลายกิ่งแขนงที่แตกออกจากตาของยางพันธุ์ดี เกิดรอยแผลสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำช้ำเป็นรูปยาวรีไปตามความยาวของลำต้น และขยายลุกลามไปรอบต้น ทำให้กิ่งแขนงเหี่ยวแห้งตาย

การแพร่ระบาดของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

ระบาดรุนแรงในช่วงที่มีฝนตกชุก และมีความชื้นในอากาศสูง แปลงเพาะชำ ยางชำถุงที่มีการจัดวางถุงซ้อนกันหลายแถว หรือแปลงที่มีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ จะเกิดการะบาดของโรคได้ง่าย
การป้องกันกำจัดโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

ไม่ควรนำดินชำถุงหรือดินบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมาใช้ซ้ำ
ปรับสภาพเรือนเพาะชำยางชำถุงไม่ให้แน่นทึบเกินไป อากาศถ่ายเทสะดวก
ถ้าพบต้นยางเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกหรือแยกออกจากแปลงและทำลาย
กรณีพบโรคระบาดใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค
ไดเมโธมอร์ฟ(dimethomorph) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ฟอรัม 50% WP โดยใช้ในอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนต้นยางชำถุง ทุก 5-7 วัน
ไซมอกซานิล+แมนโคเชบ(cymoxanil+mancozeb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อ การค้า เช่น เคอร์เซท เอ็ม 72% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เมทาแลกซิล(metalaxyl) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เมทาแลกซิล 25% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

==========



Create Date : 01 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2554 1:24:05 น.
Counter : 995 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2554

 
 
7
9
10
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
 
 
1 พฤศจิกายน 2554
All Blog