การสำรวจต้นยางพาราที่ได้ขนาดและวิธีเปิดกรีด
หลัง จากที่เราเพียรพยายามดูแล บำรุงรักษาสวนยางพาราของเรามาเป็นอย่างดีจนต้นยางของเรามีอายุได้ประมาณ 6-7 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานไม่ใช่น้อย เงินทุนที่ลงไปแต่ละปี ก็มากเอาการอยู่ ยิ่งเดี๋ยวนี้ปุ๋ยราคากระสอบละ 1,550 บาท หากใครทำสวนยางด้วยทุนเองทั้งหมด ก็หนักหน่อย แต่หากเป็นสวนยางที่ขอทุนกับทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง แม้จะต้องเพิ่มเติมเงินเองบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังพอยิ้มได้

วันเวลา แม้จะยาวนานแค่ไหน ก็ต้องไปถึงสักวัน วันที่เราพิจารณาแล้วว่าสวนยางพาราของเราน่าจะเปิดกรีดเพื่อเอาผลผลิตน้ำยางได้แล้ว เราจะพิจารณาและมีขั้นตอนการปฏิบัติในการจะเปิดกรีดสวนยางใหม่อย่างไรบ้าง (ในที่นี้จะอธิบายการเปิดกรีดแบบครึ่งต้น)

ระดับความสูงในการเปิดกรีด 150 ซม.หรือเท่าที่จะสามารถกรีดได้ตามถนัดทำการสำรวจต้นยางพาราที่ได้ขนาดที่จะเปิดกรีด
ต้น ยางพาราที่ได้ขนาดเหมาะสมที่จะเปิดกรีดคือต้นยางพาราที่มีความยาวเส้นรอบลำ ต้น ตั้งแต่ 50 เซ็นติเมตร ขึ้นไป โดยวัด ณ ระดับที่ความสูง 150 เซ็นติเมตร จากพื้นดิน เนื่องจากการเปิดกรีดยางควรทำการเปิดกรีดพร้อมกันทั้งแปลง ดังนั้น จำนวนต้นยางพาราที่ได้ขนาดจึงน่าจะมีสัก 70% ถึง 90% ของจำนวนต้นยางทั้งแปลง

ความยาวรอบลำต้นไม่ต่ำกว่า 50 ซม. จำนวนต้นยางที่ได้ขนาดมีมากถึง 70% - 90% จึงเปิดกรีดได้หลัง จากทดสอบวัดด้วยสายวัดหรือตลับเมตรสัก 2-3 ต้น เพื่อให้พอทราบว่าต้นยางขนาดไหนที่มีความยาวรอบลำต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซ็นติเมตร แล้ว ก็ให้ใช้สายตาและพิจารณา หากมั่นใจว่าจำนวนต้นยางที่ได้ขนาดมีมากถึง 70% - 90% ก็ตัดสินใจเตรียมการเปิดกรีดได้เลย
หากยังไม่ค่อยแน่ใจ ไม่ค่อยมั่นใจว่าจำนวนต้นที่ได้ขนาดจะมีมากถึง 70% หรือไม่ ก็อาจจะทำการวัดดูให้ทุกต้น ต้นไหนได้ขนาดก็อาจใช้ชอล์กทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นก็นับดูว่าต้นยางที่ได้ขนาดมีจำนวนเท่าใด ถ้าได้สัก 70% ขึ้นไป ก็เตรียมการเปิดกรีดได้เลย
ทำการถางสวนยางพาราให้เตียน พร้อมสำหรับการเปิดกรีดใหม่
ควร ทำการกำจัดวัชพืชในสวนยางทั้งในแถวและระหว่างแถวให้เรียบร้อย โดยในแถวควรตัดหรือหวดชิดดิน ในระหว่างแถวอาจตัดชิดดิน หรือตัดสูงจากพื้นแค่เข่าก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม การเปิดกรีดสวนยางใหม่สามารถทำได้เกือนทุกเวลา แต่ที่น่าจะเหมาะสมก็ควรจะเป็นประมาณต้นฤดูฝน
ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ซึ่งมีดังนี้
ไม้เปิดกรีด
มีดกรีดยาง(มีดเจ๊ะบง) ที่ลับถูกต้องและอยู่ในสภาพที่คมแล้ว ดูวิธีการลับมีดกรีดยาง
ลิ้นหรือรางรองรับน้ำยาง
ถ้วยรับน้ำยาง
ลวดรัดถ้วยยาง
ทำการเปิดกรีดต้นยางพารา ทุกต้น
ตำแหน่งที่ติดถ้วยรับน้ำยางไม่ควรห่างจากลิ้นเกินกว่า 10 ซม.เพื่อให้น้ำยางหยดลงถ้วยได้แม้กระแสลมจะแรงบ้างทำรอยกรีด โดยใช้ไม้เปิดกรีดแนบเข้ากับต้นยางตามแนวตั้ง กดแผ่นสังกะสีให้แนบกับต้นยางตามแนวลาดเอียงของแผ่นสังกะสี (30 องศากับแนวระดับ) ใช้ตะปูหรือชอล์กขีดลงบนต้นยางตามแนวไม้เปิดกรีดในแนวตั้งยาวลงมาสัก 30 เซ็นติเมตร(เรียกว่า "รอยแบ่งครึ่งด้านหน้า") และขีดตามแนวลาดเอียงของแผ่นสังกะสี เพื่อทำเป็น "รอยกรีด"
ทำการแบ่งครึ่งหน้ากรีด โดยใช้เชือกวัดรอบต้นยาง แล้วพับครึ่ง จากนั้นให้นำเชือกที่พับครึ่งแล้วแนบกับต้นยาง โดยให้ปลายด้านหนึ่งอยู่ที่รอยแบ่งครึ่งด้านหน้า ดึงปลายเชือกอีกด้านหนึ่งแนบต้นยางตามแนวระดับไปทางด้านหลัง ทำเครื่องหมายเอาไว้ที่ปลายเชือก แล้วทำเช่นนี้อีกครั้งโดยให้ต่ำกว่าครั้งแรกประมาณ 30 เซ็นติเมตร
ทำรอยแบ่งครึ่งด้านหลัง โดยใช้ตะปูหรือชอล์กขีดเส้นผ่านจุดที่ทำไว้ทั้งสองจุด เส้นนี้เรียกว่า "รอยแบ่งครึ่งด้านหลัง"
บรรจงจรดมีดกรีดยาง กรีดลงบน "รอยแบ่งครึ่งด้านหลัง" ระหว่างจุด 2 จุด (ยาว 30 เซ็นติเมตร) ให้ลึกพอสมควร(พอเห็นน้ำยางซึม ๆ) จากนั้นใช้มีดกรีดบน "รอยกรีด" (ความลึกพอประมาณหรือเท่าที่จะกรีดแบบสบาย ๆ ได้) และใช้มีดกรีดทำ"รอยแบ่งครึ่งด้านหน้า" ความลึกพอ ๆ กับ"รอยแบ่งครึ่งด้านหลัง" ความยาวลงมาด้านล่างประมาณ 30 เซ็นติเมตร
สวนยางพาราที่เปิดกรีดใหม่ ๆ หน้าฝนอาจเสี่ยงต่อโรคหน้าเปื่อยได้ง่าย จึงควรทายาป้องกันทุก ๆ สัปดาห์ติดลิ้นหรือรางรองรับน้ำยาง โดยตอกเข้าไปในเปลือกยางพอยึดติดอยู่ได้ ณ ตำแหน่งห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 30 เซ็นติเมตร และควรติดให้มีความลาดเอียงมากพอที่จะทำให้น้ำยางไหลได้ดี หรือมีขี้ยางติดอยู่บนลิ้นน้อยที่สุด
ติดลวดรัดถ้วยยาง ให้ห่างจากจากลิ้นรองรับน้ำยางประมาณ 10 เซ็นติเมตร
การติดตั้งถ้วยรองรับน้ำยาง อาจติดตั้งเลย หรือจะนำมาติดตั้งภายหลังในวันที่เราต้องการเก็บน้ำยาง ก็ได้
ในวันรุ่งขึ้นหรือวันที่สอง ให้กรีดซ้ำลงไปใน "รอยกรีด" เดิม โดยกรีดให้ลึกลงไปอีกเท่าที่จะกรีดได้แบบสบาย ๆ
ในวันรุ่งขึ้นหรือวันที่สาม ให้กรีดซ้ำลงไปใน "รอยกรีด" เดิมอีก โดยอาจกรีดให้ลึกถึงท่อน้ำยางเลย หรืออาจจะกรีดถึงท่อน้ำยางในวันที่สี่ ก็ได้เช่นกัน หากต้องการเก็บน้ำยาง ก็ติดถ้วยรับน้ำยางในวันนี้เลย ซึ่งน้ำยางในช่วงเริ่มแรกของการเปิดกรีดจะยังออกไม่มาก แต่จะค่อย ๆ ออกมากขึ้น ๆ ตามวันเวลาที่ผ่านไป

==========



Create Date : 12 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2554 7:09:26 น.
Counter : 503 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2554

 
 
7
9
10
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog