ปัจจัยที่มีผลเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง
น้ำยางสด ที่กรีดได้จากต้นยางพารา มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว บางครั้งอาจปนเหลืองอ่อน ๆ, ขุ่นข้น และมีกลิ่นหอมเล็กน้อย มีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำ(มีความหนาแน่น 0.98 กรัม/ลูกบาศก์เซ็นติเมตร) เมื่อตั้งทิ้งไว้จะลอยตัวขึ้นด้านบน น้ำยางสดประกอบด้วย ส่วนประกอบ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่เป็นเนื้อยางแห้ง(Dry rubber Content หรือ DRC) ซึ่งจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 35 (โดยน้ำหนัก) และส่วนที่เป็นน้ำและสารอื่น ๆ ซึ่งจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 65 (โดยน้ำหนัก) โดยส่วนประกอบทั้ง 2 ส่วนนี้ มีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิ พันธุ์ยางพารา, อายุต้นยาง, ฤดูกาล, วิธีกรีดยาง, ระบบหรือความถี่ในการกรีดยาง และปัจจัยที่สำคัญและมีผลเป็นอย่างมากคือ การบำรุงรักษาสวนยาง นั่นเอง

เนื้อยางแห้ง หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความเข้มข้นของน้ำยาง ก็ได้เช่นกัน น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงเป็นสิ่งที่ชาวสวนยางพาราทุกคนปรารถนาเพราะเมื่อ นำไปทำยางแผ่นดิบ หรือขายเป็นน้ำยางสด ก็จะได้เนื้อยางมาก ได้รับเงินจากการขายมากตามไปด้วย ในฐานะเจ้าของสวนยาง เราจึงควรรู้ว่าแต่ละปัจจัยมีผลอย่างไรต่อความเข้มข้นของน้ำยาง ดังนี้

อายุต้นยาง

ตามธรรมชาติแล้ว ต้นยางพาราอายุน้อย ก็จะให้น้ำยางที่มีความเข้มข้นต่ำ แต่ไม่น่าจะต่ำกว่า 25 % และต้นยางพาราที่มีอายุมากขึ้น ก็จะให้น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจสูงถึง 45 % (แต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย)

ฤดูกาล

ชาวสวนยางพารากำลังเก็บรวบรวมน้ำยางจากแต่ละต้นลงสู่ถังรวบรวมน้ำยางที่พอหิ้วได้ฤดู กาลในแต่ละรอบปีหนึ่ง ๆ มีผลต่อความชุ่มชื้นในดิน, อุณหภูมิทั้งในดิน,อากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ หากจะเริ่มพิจารณาความเข้มข้นของน้ำยางจากต้นฤดูฝนซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง หน้าร้อนและหน้าฝน พบว่าในช่วงนี้ความชุ่มชื้นของดินเริ่มมีบ้าง ต้นยางพาราเริ่มได้รับน้ำบ้างแต่เปลือกต้นยางก็ยังคงแข็งอยู่ ซึ่งทำให้ผนังเซลของท่อน้ำยางเก็บน้ำไว้ได้น้อย เมื่อกรีดยางในช่วงนี้ น้ำยางก็จะหยุดไหลในระยะเวลาที่ไม่นาน เพราะน้ำในผนังเซลดังกล่าวไม่สามารถซึมผ่านหรือซึมผ่านผนังเซลได้น้อย จึงทำให้น้ำในน้ำยางมีน้อยหรือจะได้น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงนั่นเอง โดยพันธุ์ยางที่มีความเข้มข้นสูงก็จะหยุดไหลเร็วกว่าพันธุ์ยางที่มีความเข้ม ข้นต่ำ ทำให้พันธุ์ยางที่มีความเข้มข้นต่ำมีผลผลิตมากกว่าพันธุ์ยางที่มีความเข้ม ข้นสูง

ความหนาวจะทำให้น้ำยางแข็งตัวช้าลง ทำให้ระยะเวลาที่น้ำยางไหลนานขึ้น ความเข้มข้นจะลดลง แต่ผลผลิตน้ำยางจะมากขึ้นครั้น เมื่อต้นยางเข้าสู่ช่วงกลางฤดูฝน ดินได้รับน้ำฝนมากขึ้นจนอิ่มตัว ส่งผลให้เปลือกต้นยางมีความนุ่มมากขึ้นซึ่งทำให้มีปริมาณน้ำในผนังเซลของท่อ น้ำยางมากขึ้น เมื่อกรีดและน้ำยางไหล น้ำก็จะซึมผ่านผนังเซลท่อน้ำยางได้ดีขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของน้ำยางลดลง น้ำยางก็จะไหลได้นานขึ้น ทำให้ได้รับผลผลิตน้ำยางมากขึ้น ในระยะนี้พันธุ์ยางที่มีความเข้มข้นสูงก็จะให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ยางที่มี ความเข้มข้นต่ำ

เมื่อปลายฤดูฝนมาถึงและลมหนาวเข้ามาเยือน ความหนาวจะทำให้น้ำยางแข็งตัวช้าลง จึงทำให้ระยะเวลาที่น้ำยางไหลนานขึ้น ช่วงแรกของการเปิดกรีดความเข้มข้นน้ำยางจะสูง ต่อมา ความเข้มข้นจะลดลง(อาจลดลง 3-4 %) แต่ผลผลิตน้ำยางจะมากขึ้นไปอีก บางสวนน้ำยางจะล้นถ้วยก็มี ช่วงนี้นับเป็นช่วงโอกาสทองของชาวสวน ยางพารา ช่วงหนึ่ง

เมื่อผ่านหน้าหนาวก็จะเริ่มเข้าหน้าร้อน อุณหภูมิของอากาศเริ่มร้อนขึ้น แสงแดดส่องลงถึงพื้นดินมากขึ้น จึงทำให้อุณหภูมิในสวนยางพาราร้อนขึ้น กอปรกับลมหนาวหยุดพัด อากาศเริ่มแห้งมากขึ้น น้ำยางก็จะหยุดไหลเร็วขึ้น ต้นยางเริ่มผลัดใบ ไม่มีการสังเคราะห์แสงสร้างอาหาร ทำให้ได้น้ำยางที่มีความเข้มข้นต่ำ(อาจอยู่ที่่ 25-28 %) และผลผลิตก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน

วิธีกรีดยาง

หากเป็นการกรีดที่มีการใช้ยางเร่งไม่ว่าจะเป็นประเภทใด ชนิดใด เนื่องจากยาเร่งจะทำให้น้ำยางไหลนานมาก ขึ้น ดังนั้น ก็จะได้น้ำยางที่มีความเข้มข้นต่ำลง

ระบบหรือความถี่ในการกรีดยาง

ระบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน เป็นระบบกรีดที่ให้น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงและสม่ำเสมอ แต่ระบบกรีดที่กรีด สามวันเว้นวันหรือสี่วันเว้นวัน จะให้น้ำยางที่มีความเข้มข้นสูงหน่อยในวันแรกที่กรีด(หลังจากเว้นหนึ่งวัน) เมื่อกรีดติดต่อกันในวันที่สอง, สาม, หรือวันที่สี่ ความเข้มข้นก็จะลดลงเรื่อย ๆ ตามลำดับ

การบำรุงรักษาสวนยาง

ในขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้แล้ว การใส่ปุ๋ยบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราให้ถูกสูตรในปริมาณที่ตรงกับความต้องการ ของต้นยางและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใส่ในช่วงที่เหมาะสม ด้วยวิธีที่เหมาะสม พร้อมเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ก็จะเป็นการเพิ่มความเข้มข้นให้กับน้ำยางได้เป็นอย่างดี

==========



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2554 22:23:19 น.
Counter : 441 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



พฤศจิกายน 2554

 
 
7
9
10
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog