โรครากแดง
โรครากแดง (Red root disease) เชื้อราโรครากแดงมักพบระบาดในสวนยางที่มีตอและรากไม้ใหญ่ๆ ฝังลึกอยู่ในดิน เชื้อราเจริญเติบโตค่อนข้างช้า จึงมักพบกับต้นยางที่กรีดได้แล้วเป็นส่วนใหญ่
สาเหตุของโรครากแดง

เกิดจากเชื้อรา Ganoderma pseudoferreum (Wakef) Over & Steinm
ลักษณะอาการของโรครากแดง

ต้น ยางที่ถูกเชื้อรากแดงเข้าทำลายจะแสดงอาการที่ทรงพุ่มเช่นเดียวกับโรครากขาว ส่วนรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะปกคลุมด้วยเส้นใยสีน้ำตาลแดง ซึ่งส่วนปลายของเส้นใยที่กำลังเจริญจะเป็นสีขาวครีม ลักษณะเส้นใยแก่จะจับกันเป็นแผ่นสีน้ำตาลแดงเป็นมันวาวเห็นได้ชัดเจนเมื่อ ล้างด้วยน้ำ รากมีลักษณะขรุขระ เนื่องจากมีก้อนดินและหินเกาะติดอยู่ เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคจะเป็นสีน้ำตาลซีดและกลายเป็นสีเนื้อในระยะต่อมา วงปีของเนื้อไม้จะหลุดแยกออกจากกันได้ง่าย ดอกเห็ดเป็นแผ่นแข็งด้านบนเป็นรอยย่นสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างเป็นสีขี้เถ้า ขอบดอกเป็นสีขาวครีม
การแพร่ระบาดของโรครากแดง

ระบาดรวดเร็วในช่วงฤดูฝนซึ่งมีฝนตกชุก ความชื้นสูง

พืชอาศัยของเชื้อโรครากแดง

ทุเรียน ขนุน จำปาดะ สัก สะเดาบ้าน ทัง โกโก้ กาแฟ ชา เงาะ พืชตระกูลถั่ว ลองกอง สะตอ
การป้องกันกำจัดโรครากแดง

เตรียมพื้นที่ปลูกให้ปลอดโรค โดยการขุดทำลายตอยางเก่า ซึ่งเป็นแหล่งสะสมโรคออกให้หมด
ใน แหล่งที่มีโรคระบาด หลังการเตรียมดินควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินบางชนิดที่เป็นพิษต่อเชื้อราสาเหตุ โรคราก
หลังจากปลูกยางไปแล้ว 1 ปี ควรตรวจค้นหาต้นยางที่เป็นโรครากเป็นประจำ เมื่อพบต้นเป็นโรค ควรขุดทำลายและรักษาต้นข้างเคียงโดยการใช้สารเคมี
ต้นยางที่มีอายุ มากกว่า 3 ปีขึ้นไป ควรขุดคูล้อมบริเวณต้นเป็นโรค (ขนาดคูกว้าง 30 ซม. ลึก 60 ซม. ) เพื่อกั้นระหว่างต้นที่เป็นโรคและต้นปกติ ไม่ให้รากสัมผัสกัน
ไม่ควรปลูกพืชร่วม หรือพืชแซมที่เป็นพืชอาศัยในพื้นที่ที่เป็นโรคราก
ใช้ สารเคมีสำหรับรักษาต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย และใช้กับต้นข้างเคียงเพื่อป้องกันโรค โดยขุดร่องเล็กๆ รอบโคนต้นกว้าง 15-20 ซม. เทสารเคมีลงในร่องรอบโคนต้น ใช้สาร เคมีทุก 6 เดือน เป็นเวลา 2 ปี สารเคมีที่แนะนำ มีดังน้
ไตรเดอร์มอร์ฟ(tridemorph) ที่พบ และมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น คาลิกซิน 75% EC โดยใช้ในอัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 1-2 ลิตรต่อต้น
ไดฟิโนโคนาโซล (difenoconazole) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น สกอร์ 25% EC โดยใช้ในอัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 3 ลิตรต่อต้น ใช้ได้ผลดีกับต้นที่เป็นโรคเพียงเล็กน้อย เท่านั้น

โรคลำต้นยางชำถุงเน่า (Twig rot of polybagrubber) พบระบาดในแปลงเพาะชำยางชำถุง โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก ทำให้ต้นยางชำถุงตายอย่างรวดเร็ว
สาเหตุของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

เกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianoe Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouse. P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

เชื้อ ราทำลายกิ่งแขนงที่แตกออกจากตาของยางพันธุ์ดี เกิดรอยแผลสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำช้ำเป็นรูปยาวรีไปตามความยาวของลำต้น และขยายลุกลามไปรอบต้น ทำให้กิ่งแขนงเหี่ยวแห้งตาย

การแพร่ระบาดของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

ระบาด รุนแรงในช่วงที่มีฝนตกชุก และมีความชื้นในอากาศสูง แปลงเพาะชำ ยางชำถุงที่มีการจัดวางถุงซ้อนกันหลายแถว หรือแปลงที่มีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ จะเกิดการะบาดของโรคได้ง่าย
การป้องกันกำจัดโรคลำต้นยางชำถุงเน่า

ไม่ควรนำดินชำถุงหรือดินบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมาใช้ซ้ำ
ปรับสภาพเรือนเพาะชำยางชำถุงไม่ให้แน่นทึบเกินไป อากาศถ่ายเทสะดวก
ถ้าพบต้นยางเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกหรือแยกออกจากแปลงและทำลาย
กรณีพบโรคระบาดใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค
ได เมโธมอร์ฟ(dimethomorph) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ฟอรัม 50% WP โดยใช้ในอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนต้นยางชำถุง ทุก 5-7 วัน
ไซมอกซานิล+แมนโคเชบ (cymoxanil+mancozeb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เคอร์เซท เอ็ม 72% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เมทา แลกซิล(metalaxyl) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เมทาแลกซิล 25% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

==========



Create Date : 29 ตุลาคม 2554
Last Update : 29 ตุลาคม 2554 7:40:06 น.
Counter : 590 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

saveja01
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
7
8
12
14
15
16
18
19
21
22
24
26
28
30
31
 
 
29 ตุลาคม 2554
All Blog