|
พระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวาย
คัดลอกจาก พระราชพิธีสิบสองเดือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Create Date : 27 มีนาคม 2549 |
Last Update : 10 มีนาคม 2554 4:15:56 น. |
|
15 comments
|
Counter : 4254 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:31:11 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:32:03 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:32:58 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:33:44 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:34:25 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:34:59 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:35:46 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:36:23 น. |
|
|
|
โดย: somdej (จินตะหราวาตี ) วันที่: 27 มีนาคม 2549 เวลา:0:36:53 น. |
|
|
|
โดย: คิมน้อย IP: 124.120.13.180 วันที่: 1 เมษายน 2549 เวลา:12:32:10 น. |
|
|
|
โดย: ^^ IP: 58.9.85.239 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:07:30 น. |
|
|
|
โดย: fang IP: 202.28.78.131 วันที่: 24 มกราคม 2552 เวลา:18:14:02 น. |
|
|
|
โดย: อามีน IP: 124.121.41.25 วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:23:36:38 น. |
|
|
|
โดย: ฟ้ารุ่ง IP: 125.25.234.93 วันที่: 29 มกราคม 2554 เวลา:14:20:45 น. |
|
|
|
โดย: เมนี่ IP: 192.168.101.16, 58.8.3.122 วันที่: 24 มกราคม 2555 เวลา:11:47:32 น. |
|
|
|
| |
|
|
พระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การพระราชพิธีตรียัมพวาย ซึ่งเปลี่ยนมาแต่เดือนอ้าย การพิธีนี้ซึ่งกำหนดทำในเดือนอ้าย คงเป็นเหตุด้วยนับเปลี่ยนปีเอาต้นฤดูหนาวเป็นปีใหม่ของพราหมณ์ตามเช่นแต่ก่อนเราเคยใช้มา แต่การที่เลื่อนเป็นเดือนห้านั้นจะไว้ชี้แจงต่อเมื่อส่าถึงสงกรานต์ การที่เลื่อนมาเป็นเดือนยี่นี้ก็ได้กล่าวแล้วในคำนำ บัดนี้จะขอกล่าวตัดความแต่เพียงตรียัมพวายตรีปวายนี้เป็นพิธีปีใหม่ของพราหมณ์ ตรงกับกับพิธีมะหะหร่ำของพวกแขกเจ้าเซ็น นับเป็นทำบุญตรุษเปลี่ยนปีใหม่ จึงเป็นพิธีใหญ่ของพราหมณ์
พราหมณ์พวกซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ บัดนี้ ก็เป็นเทอกเถาพราหมณ์ซึ่งมาแต่ประเทศอินเดีย แต่ในขณะแต่ก่อนเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองใหญ่ข้างฝ่ายใต้ เรือลูกค้าไปมาค้าขายอยู่ทั้งสองฝั่งทะเล คือข้างฝั่งนี้เข้าถึงเมืองนครศรีธรรมราช ข้างฝั่งตะวันตกเข้ามาเมืองตรัง พราหมณ์จึงได้เข้ามาที่เมืองนครศรีธรรมราชมากแล้วขึ้นมากรุงเทพฯ เป็นการสะดวกดีกว่าจะเดินผ่านเขตแดนพม่ารามัญ ซึ่งเป็นปัจจามิตรของกรุงเทพฯ ตั้งสกัดอยู่ข้างฝ่ายเหนือ เพราะฉะนั้นเชื้อพราหมณ์ในเมืองนครศรีธรรมราชไม่มีสิ้นสุดจนถึงบัดนี้ มีเทวสถาน มีเสาชิงช้าพราหมณ์ยังคงทำพิธี แต่เป็นอย่างย่อๆ ตามีตามเกิด เช่นพิธีตรียัมพวายเอาแต่กระดานขึ้นแขวนเป็นสังเขปเป็นต้น ที่เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ในชั้นหลังๆ นี้ก็มีโดยมาก จนพูดเป็นสำเนียงชาวนอกอยู่ก็มี เช่น พระครูอัษฎาจารย์บิดาหลวงสุริยาเทเวศร์ เดี๋ยวนี้เป็นต้น ลัทธิเวทมนตร์อันใดก็ไม่ใคร่ผิดแปลกกัน เป็นแต่เลือนๆ ลงไปเหมือนพระสงฆ์ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองชะรอยหัวเมืองข้างใต้ตั้งแต่เมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมา จะเป็นเมืองที่มีพราหมณ์โดยมาก จนเมืองเพชรบุรีก็ยังมีบ้านพราหมณ์ตั้งสืบตระกูลกันมาช้านานจนถึงเดี๋ยวนี้
ลัทธิของพราหมณ์ ที่นับถือพระเป็นเจ้าต่างๆ บางพวกนับถือพระอิศวรมากกว่าพระนารายณ์ บางพวกนับถือพระนารายณ์มากกว่าพระอิศวร บางพวกนับถือพรหม บางพวกไม่ใคร่พูดถึงพรหม บัดนี้จะว่าแต่เฉพาะพวกพราหมณ์ที่เรียกว่า โหรดาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ทำพระราชพิธีตรียัมพวายตรีปวาย อันเป็นต้นเรื่องที่จะกล่าวแต่พวกเดียว พราหมณ์โหรดาจารย์พวกนี้ เป็นพราหมณ์ที่ใช้สำหรับการพระราชพิธีในกรุงสยามทั่วไป ตั้งแต่การบรมราชาภิเษกเป็นต้น เว้นไว้แต่ที่เกี่ยวข้องด้วยช้าง จึงเป็นพนักงานพราหมณ์พฤฒิบาศ พราหมณ์โหรดาจารย์พวกนี้นับถือพระอิศวรว่าเป็นใหญ่กว่าพระนารายณ์ นับถือพระอิศวรคล้ายพระยะโฮวา หรือพระอ้าหล่าที่ฝรั่งและแขกนับถือกัน พระนารายณ์นั้นเป็นพนักงานสำหรับแต่ที่จะอวตารลงมาเกิดในมนุษยโลก หรืออวตารลงไปใน
เทวโลกเท่านั้นเอง คล้ายกับพระเยซูหรือพระมะหะหมัด แปลกันกับพระเยซู แต่ที่อวตารไปแล้วย่อมทำร้ายแก่ผู้กระทำผิด คล้ายมะหะหมัดซึ่งข่มขี่ให้มนุษย์ทั้งปวงถือศาสนาตามลัทธิของตน ควรจะเห็นได้ว่าศาสนาทั้งสามนี้มีรากเหง้าเค้ามูลอันเดียวกัน แต่ศาสนาของพราหมณ์เป็นศาสนาเก่ากว่าสองศาสนา ชะรอยคนทั้งปวงจะถือศาสนามีผู้สร้างโลกเช่นนี้ทั่วกันอยู่แต่ก่อนแล้ว เพราะความคิดเห็นว่าสิ่งใดจะเป็นขึ้นเองไม่ได้ ย่อมมีผู้สร้าง การที่มนุษย์ทั้งปวงจะได้รับความชอบความผิดต้องมีผู้ลงโทษและผู้ให้บำเหน็จ เมื่อเห็นพร้อมใจกันอยู่อย่างนี้จึงเรียกผู้มีอำนาจนั้นว่า ศิวะ หรือยะโฮวา หรืออ้าหล่า ก็เพราะศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาเก่า ได้กล่าวถึงพระนารายณ์อันรับใช้พระอิศวรลงมาปราบปรามผู้ซึ่งจะทำอันตรายแก่โลกเนืองๆ เมื่อมีผู้คิดเห็นขึ้นว่าความประพฤติของมนุษย์ทั้งปวงในเวลานั้นไม่ถูกต้อง ก็เข้าใจว่าตัวเป็นพระนารายณ์ผู้รับใช้ของพระอิศวรลงมาสั่งสอน หรือปราบปรามมนุษย์ แต่กระบวนที่จะมาทำนั้นก็ตามแต่อัธยาศัยและความสามารถของผู้ที่เชื่อตัวว่าอวตารลงมา หรือแกล้งอ้างว่าตัวอวตารมาด้วยความมุ่งหมายต่อประโยชน์ซึ่งจะได้ในที่สุด อันตนเห็นว่าเป็นการดีการชอบนั้น พระเยซูมีความเย่อหยิ่งยกตนว่าเป็นลูกพระยะโฮวา คือพระอิศวร แต่ไม่มีกำลังสามารถที่จะปราบปรามด้วยศัสตราวุธก็ใช้แต่ถ้อยคำสั่งสอนจนอันตรายมาถึงตัว ก็ต้องรับอันตรายกรึงไม้กางเขน พวกศิษย์หาก็ถือว่าเป็นการรับบาปแทนมนุษย์ ตามอาการกิริยาซึ่งพระเยซูได้ประพฤติเป็นคนใจอารีมาแต่เดิม ตามความนับถือที่จะคิดเห็นไป ฝ่ายมะหะหมัดเกิดภายหลังพระเยซู เพราะไม่สู้ชอบใจในคำสั่งสอนของพระเยซู จนคิดจะเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วนั้น จึงสามารถที่จะเห็นได้ว่าซึ่งพระเยซูอ้างว่าเป็นลูกพระยะโฮวานั้นเป็นการเย่อหยิ่งเกินไปและไม่สู้น่าเชื่อ ทั้งการที่จะป้องกันรักษาชีวิต ตามทางพระเยซูประพฤติมานั้นก็ไม่เป็นการป้องกันได้ จึงได้คิดซ่องสุมกำลังศัสตราอาวุธปราบปรามด้วยอำนาจแล้วจึงสั่งสอนภายหลัง อ้างตัวว่าเป็นแต่ผู้รับใช้ของพระอ้าหล่า ให้อำนาจและความคิดลงมาสั่งสอนมนุษย์ทั้งปวง การซึ่งมนุษย์ทั้งปวงเชื่อถือผู้ซึ่งอ้างว่ารับใช้พระอิศวรหรือพระยะโฮวา พระอ้าหล่าลงมาเช่นนั้น ก็ด้วยอาศัยในคัมภีร์ของพราหมณ์ได้กล่าวไว้ว่า จนถึงปัจจุบันเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่สิ้นความคิดเห็นอย่างนี้ ยังมีมะหะดีอวตารลงมาตามคำทำนายของมะหะหมัด มุ่งหมายจะประกาศแก่มนุษย์ทั้งปวงว่าเป็นอวตารตามอย่างเก่า แต่เป็นเวลาเคราะห์ร้ายถูกคราวที่มนุษย์ทั้งปวงเจริญขึ้นด้วยความรู้ไม่ใคร่มีผู้ใดเชื่อถือ จนเราอาจทำนายได้เป็นแน่ว่า สืบไปภายหน้าพระอิศวรคงไม่อาจใช้ใครลงมาได้อีก ถึงลงมาคงจะไม่มีผู้ใดเชื่อถือ