ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

นิสสัน ลีฟ เกินคาด เหนือคำบรรยาย


คอลัมน์ เทสต์คาร์โดย วุฒิณี ทับทอง




ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างดีในการส่งโปรดักต์แชมเปี้ยนส์ตัวแรกอย่างรถปิกอัพ ขนาด 1 ตัน ตัวถัดมาก็พยายามสานต่อด้วยการปลุกปั้นโปรดักต์แชมเปี้ยนส์ตัวที่ 2 อย่าง "อีโคคาร์" ที่ตอนนี้หลายค่ายรถยนต์ ต่าง ๆ ทยอยส่งออกมาทำตลาด และต้องยอมรับว่ามียอดขาย "ดีวันดีคืน"

และว่ากันว่าโปรดักต์แชมเปี้ยนส์ตัวต่อไปที่ประเทศไทยกำลังช่วยกันผลักดันให้เกิด ก็น่าจะเป็นรถอีวี (Electric Vehicle) หรือรถไฟฟ้า ซึ่งไม่ว่าจะเกิดได้จริง ๆ ในระยะเวลาอันใกล้หรือไกล แต่ที่แน่ ๆ ทุกคนพร้อมจะเดินหน้าสนับสนุนอย่างเต็มที่ 

โดยเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา "นิสสัน มอเตอร์" ได้จัดแถลงข่าวเพื่อต่อยอดผู้นำรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมจัดทดสอบนิสสัน ลีฟ (LEAF) โดยเชิญหัวหน้าวิศวกรอย่าง "ฮิเดโทชิ คาโดตะ" จาก นิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ในตลาดโลกถือว่านิสสันมีความโดดเด่นต่อการพัฒนา และส่งรถไฟฟ้าอย่างนิสสัน ลีฟ ออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์เมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ด้วยยอดขายที่มากกว่า 2 หมื่นคัน ส่วนประเทศไทยนั้นถือว่ายังอยู่ในช่วงเพิ่งเริ่มต้น




แต่ความสำคัญที่นิสสัน มอเตอร์ได้วางโจทย์ให้กับนิสสัน ประเทศไทยนั้น คือไทยได้เป็นประเทศที่นิสสันเลือกให้มีการเริ่มต้นและพัฒนาทดสอบรถยนต์ นิสสัน ลีฟ เป็นประเทศกลุ่มแรก ๆ สำหรับโครงการดังกล่าว โอกาสและความเป็นไปได้ที่ลูกค้าชาวไทยจะได้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าคันนี้จะมีมากน้อยแค่ไหน คงจะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายการสนับสนุนของรัฐบาล 

การสนับสนุนการส่งเสริมเรื่องสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องภาษีที่หลายค่ายรถยนต์มองว่า นี่คือแรงจูงใจอันดับต้น ๆ ในการตัดสินใจทำตลาด ระบบสาธารณูปโภค สถานีบริการไฟฟ้า ก็จะต้องมีความพร้อม สามารถรองรับความต้องการใช้ได้อย่างเพียงพอ รวมถึงความรู้และความเข้าใจของลูกค้า จะมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด 

นิสสัน ลีฟ เป็นรถไฟฟ้าที่ได้รับการพัฒนาและอยู่ภายใต้แผนสิ่งแวดล้อมใหม่ "นิสสัน กรีน โปรแกรม 2016" (NGP 2016) ที่ต้องการเป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดรถยนต์ไร้มลพิษ โดยตั้งเป้าภายในปี 2559 นิสสันจะต้องมียอดขายรถยนต์ไร้มลพิษที่ 1.5 ล้านคัน 

สำหรับการทดสอบครั้งนี้ ทีมงานนิสสันใช้เส้นทางทดสอบบริเวณพื้นที่รอบ ๆ สนามบินสุวรรณภูมิ บนระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งแม้จะไม่มากนัก แต่เพียงพอ งานนี้ได้รับความสนใจจากบรรดาสื่อมวลชนบ้านเราเพียบ หลังจากรับฟังข้อมูลพื้นฐานจาก "ฮิเดโทชิ คาโตตะ" เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลาสัมผัสประสบการณ์ระบบขับเคลื่อนพลังงานสะอาดของนิสสัน ลีฟ คันนี้ 

ด้วยการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกถือว่าหน้าตาละม้ายคลายคลึงกับรถรุ่นน้องอย่างนิสสัน มาร์ช ถ้าไม่ใช่ ก็ใกล้เคียง ภายในห้องโดยสาร ถูกเน้นที่ความเรียบหรู กว้างขวาง ด้วยโทนสีเทา (airy grey) แผงประตูข้าง ใช้วัสดุหนังสังเคราะห์และหนังกลับ ที่แผงคอนโซลกลางแบบ flat-panel center cluster อุปกรณ์ดิจิทัล จอแสดงผล 2 ชั้น เน้นฟังก์ชั่นและง่ายต่อการใช้งานมาตรวัดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า ให้ความรู้สึกแบบเดียวกับมาตรวัดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน และมาตรวัดความเร็วจะแสดงผลอยู่ทางด้านบน ง่ายต่อการอ่าน








ขณะที่มาตรวัดด้านล่าง หรือ Power Meter แสดงกำลังไฟฟ้าและการชาร์จของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมถึงจอแสดงข้อมูลแบบ Multi Information ซึ่งให้ข้อมูลด้านการชาร์จและประสิทธิภาพของกระแสไฟฟ้า ความจุแบตเตอรี่ที่ยังเหลือ ระยะทางในการขับขี่ และสัญญาณเตือนต่าง ๆ 

เมื่อถึงเวลาทดสอบจริง หลังจากปรับตำแหน่งที่นั่ง พวงมาลัย อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมแล้ว สิ่งแรกที่สัมผัสได้ คือที่นั่งคนขับ เมื่อมองออกไปด้านหน้ากระจก พบว่ารถคันนี้ให้ทัศนวิสัยค่อนข้างดีเยี่ยม ทันทีที่สตาร์ตเครื่องยนต์ สัมผัสได้ถึงความเงียบของเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า จนบางครั้งอดคิดไม่ได้ว่า สตาร์ตเครื่องยนต์ไปแล้วหรือยัง ?

ส่วนเกียร์นั้นมีรูปร่างคล้ายเมาส์หรือจอยสติ๊ก ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่นั่งประกบไปในรถอธิบายว่า หากต้องการเดินหน้า (D) ให้ดึงเข้าหาตัว แล้วกดลง ต้องการหมวดประหยัด (ECO) ดึงเข้าหาตัวมากขึ้น แล้วกดลงเช่นกัน เกียร์ถอยหลัง (R) ดึงเข้าหาตัว แล้วดันขึ้น ใส่เกียร์ว่าง (N) ดึงเข้าหาตัว ค้างไว้ 1 นาที ส่วนเกียร์จอด P ก็ง่ายมาก แค่กดเบา ๆ ที่หัวเกียร์ ก็เป็นอันเข้าใจ ทุกอย่าง เคลียร์ 




หลังจากเข้าเกียร์ไปที่ D พร้อมกดแป้นคันเร่ง อดที่จะประหลาดใจเล็กน้อย เมื่อรถมีการออกตัวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อมีจังหวะที่จะเพิ่มน้ำหนักกดแป้นทำความเร็วเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าปรี๊ด ไม่น่าเชื่อว่ารถคันนี้สามารถทำความเร็ววิ่งขึ้นไปได้เกือบ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแทบไม่น่าเชื่อ เพราะไม่ต้องรอรอบ รอจังหวะ กดปุ๊บ มาปั๊บ

ส่วนระบบช่วงล่างนั้น นิสสันเซตมาได้ค่อนข้างแน่นหนึบ แม้เข้าโค้งแรง ๆ ก็ไม่มีอาการยวบยาบให้จับได้ ที่สำคัญ พวงมาลัยค่อนข้างแม่นยำ กับระยะทางที่ได้ทดสอบครั้งนี้ ต้องบอกว่า ค่อนข้างประทับใจกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าคันนี้ที่ใช้พลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ AC 3 เฟส ให้กำลังสูงสุด 80 กิโลวัตต์ แรงบิดสูงสุด 280 นิวตัน-เมตร สร้าง แรงบิดสูงสุดตั้งแต่เริ่มออกตัว หลังจากการทดสอบ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน "เหลือเชื่อ" และค่อนข้างประทับใจ 




ส่วนปัญหาที่หลาย ๆ คนกังวล คือเรื่องการชาร์จไฟที่อยู่ใต้กระโปรงหน้า ใช้เวลา 8 ชั่วโมง หลังจากไฟเตือนให้ชาร์จแบตเตอรี่ สำหรับการชาร์จไฟ 200 โวลต์แบบปกติ หรือจะชาร์จแบบเร็วภายในเวลา 30 นาที โดยสามารถชาร์จได้ถึง 80% แบบควิกชาร์จ สายชาร์จขนาดความยาว 7.5 เมตร สำหรับการชาร์จไฟ 200 โวลต์แบบปกติ มีให้เป็นมาตรฐาน ส่วนควิกชาร์จเป็นอุปกรณ์เสริม ต้องเพิ่มเงินโดยการชาร์จ 1 ครั้ง นิสสันเคลมว่า วิ่งได้ 200 กิโลเมตร ก็ถือว่าน่าสนใจทีเดียว 





วันนี้โอกาสที่คนไทยจะได้ใช้รถพลังงานไฟฟ้าเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เพียงแต่หากนำเข้ามาขายในวันนี้ ราคาคงยากต่อการจับต้อง แต่อนาคต หากรัฐบาลให้การสนันสนุนและส่งเสริม ทำให้ราคาจำหน่ายต่ำลงแล้ว เชื่อว่าสมรรถนะแบบนี้ ความประหยัดขนาดนี้ ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ จะต้องได้รับ การตอบรับจากผู้บริโภคชาวไทย หัวใจสีเขียวได้อย่างแน่นอน








Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 13 กุมภาพันธ์ 2555 20:47:38 น. 0 comments
Counter : 1658 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]