การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรสังเกตุ คำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง
Group Blog
 
All Blogs
 

โพยข้อสอบ กับการหาคำตอบให้กับการลงทุน

โพยข้อสอบ มีค่ามากที่สุดก็ตอนที่เรายังไม่รู้ว่าข้อสอบจะออกอะไร และมันจะดูมีความน่าเชื่อถือมากหากคนที่นำโพยข้อสอบมาให้เราดู เขาเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

เปรียบได้กับตลาดหุ้น ปัจจุบันนี้เกินกว่าครึ่งของนักลงทุนรายย่อยในตลาด ไม่ได้อยากอ่านหนังสือเพื่อจะสอบให้ผ่าน แต่พยายามหาคนนำโพยที่มีความน่าเชื่อถือ และท่องโพยนั้นเข้าไปสอบอีกที วิธีการนี้ได้ผลหรือเปล่า? นั้นเป็นคำถามที่ผมก็ถามตัวเอง และโยนให้นักลงทุนได้คิดมาตลอด

คงจะเหมือนสุภาษิตจีนที่ว่า สอนให้คนตกปลา ดีกว่าจับปลาไปให้เขากิน เพราะถ้ามีใครจับปลาให้เรา เราก็แค่รอดไปอีกหนึ่งมื้อ แต่ถ้าเราได้วิชาจับปลา อย่างน้อยก็การันตีได้แน่ๆว่า คงได้กินมากกว่า 1 มื้อแน่นอน แต่ถ้าคิดไปลึกกว่านี้อีกนิด หากอาจารย์สอนศิษย์ทุกคนให้จับปลากันเป็นหมดทั้งหมู่บ้าน ซักวันหนึ่งปลาก็คงจับได้ยากขึ้น เพราะคนตกปลามีจำนวนเพิ่มขึ้น (Demand เพิ่มขึ้นรวดเร็ว ในขณะที่ Supply มีแนวโน้มลดลงรวดเร็ว) นั้นเป็นสาเหตุที่อาจารย์เลือกศิษย์ที่ตัวเองไว้ใจ นั้นเป็นสาเหตุที่คนทำกำไรจากตลาดหุ้นได้มากมายถึงไม่ยอมบอกเราง่ายๆว่าลงทุนยังไง ไม่อย่างนั้น Abnormal Return ก็จะกลายเป็น Normal Return ในบัดดล จะหาเซียนว่าหายากแล้ว แต่จะให้เซียนถ่ายทอเคล็ดวิชา นั้นถือว่ายากยิ่งกว่า

ลองมาย้อนกลับไปเรื่องโพยข้อสอบกันอีกหน่อย ผมถามกลับไปว่า คนนำโพยเขาแม่นตลอดไหม? คนนำโพยเขาจะให้หุ้นเราไปตลอดหรือเปล่า? ถ้าหากโพยเริ่มผิด ข้อผิดพลาดเดียวที่เรารู้ก็คือ เราเลือกคนนำโพยผิด ... ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้ทำให้เราพัฒนาความสามารถในการอยู่รอดในตลาดหุ้นได้เลย จริงไหมครับ?

อย่างนี้ต้องปรับวิธีการบริหารคนนำโพยซักหน่อย ลองใหม่ๆ ถ้าเราพอจะให้ผลประโยชน์กับคนนำโพยได้ เขาก็จะมีแรงจูงใจในการบอกเราไปเรื่อยๆ อ่ะ!! ชักเข้าถ้าแหะ วิธีนี้ ^^ (ทดไว้ในใจก่อนนะ แล้วค่อยกลับมาคิดต่อ) แต่อยู่ดีๆถ้ามีใครเดินดุ้มๆมาให้หวยเราทันที สิ่งแรกที่เราต้องทำคือ อย่างเชื่อทั้งหมดที่เขาบอก ต้องคิดไว้ก่อนว่า เขาคงมีผลประโยชน์อะไรบางอย่างจากการมาบอกเรา ซึ่งเหตุผลแบบตรงๆก็คือ เขาอยากให้มีใครซักหลายๆคนดันราคาให้ขึ้นต่อไป (เพราะซื้อไว้เต็มปอดแล้วววว) หรือในทางอ้อม ก็บอกเราเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ เผื่อในครั้งต่อๆไปจะได้มีคนมาเชื่อมากขึ้น มั่นใจมากขึ้น กล้ามากขึ้น และก็กลับไปที่เหตุผลแบบตรงๆในข้อแรกครับ พอบอกหวยปุ๊บ ราคาขึ้นปั๊บ แม่นยังกับตาเห็น เพราะทุกคนเชื่อไปแล้วว่าคนคนนี้คือเซียน

บทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นมาเพื่อจะหลบหลู่เซียนหุ้นท่านใดนะครับ หากมวลชนเชื่อจริง คำพูดมีน้ำหนักและมีเหตุผลเพียงพอ คนผู้นั้นก็สมควรแก่การเป็นผู้นำโพยข้อสอบมาให้เรา หุหุ เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดพัฒนาตัวเองในการเลือกหุ้นลงทุน ก็ต้องเลือกพัฒนาทักษะในการคัดกรองให้ได้ว่าใครคือเซียนแท้ ใครคือเซียนเทียม ซึ่งผมว่า ก็คงดูไม่ยากหรอกถ้าเราสังเกตจุดเล็กๆน้อยๆให้ออก

ข้อแรก เขาสามารถทำเงินได้จากการลงทุนในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องระวังไว้ก่อน ปัญหาคือ มันยากมากที่จะรู้ว่าเขาประสบความสำเร็จจากการลงทุนจริงหรือเปล่า นอกเสียจากยอมเปิดตัวผ่านสื่อ หรือรู้จักกันเป็นการส่วนตัว
ข้อสอง คนนำโพยที่ดี จะไม่เอามาให้เราแค่โพยข้อสอบ แต่จะมาพร้อมเหตุผลที่ดูดี และมีความน่าเชื่อถือ ถ้าเหตุผลของเขามันดูขัดๆกับความรู้สึกของเรา ก็ต้องระมัดระวังครับ
ข้อสาม ดูความถี่ของการให้หวย อันนี้สำคัญ เพราะเซียนหุ้นส่วนใหญ่ ไม่ซื้อขายบ่อยเกินไป ไม่เลือกซื้อหุ้นสะเปะสะปะเกินไป แต่เขาจะมีความมั่นใจในหุ้นที่วิเคราะห์มาดีแล้ว ไม่ใช่วันนี้บอกอย่าง พรุ่งนี้บอกอย่าง แล้วมาอ้างว่าตลาดไม่เอื้ออำนวย อันนี้เซียนเทียมแน่นอน
ข้อสี่ ยอมรับผิด ถ้ารู้ว่าตัวเองผิด ไม่อ้างลม ไม่อ้างฝน แค่ยอมรับว่าตัวเองผิด แบบนี้สิ นักลงทุนตัวจริง สำหรับผม ถึงแม้คนที่ยอมรับผิดคนนี้จะไม่ใช่เซียนหุ้น แต่ผมให้ความนับถือครับ เพราะสำหรับผม สัจจะ สำคัญมากในการคบหาใครซักคนเป็นเพื่อน ยิ่งจะเป็นคนที่เรากำลังจะเดินตามเนี่ย ยิ่งโคตะระสำคัญเลย


ตอนนี้นึกได้สี่ข้อ แต่ผมก็เชื่อว่า น่าจะมีข้อสังเกตอื่นๆอีกหลายอย่าง ที่ทำให้เรารู้ว่าใครเป็นเซียนแท้ ใครเป็นเซียนเทียม อ๋อออ สิ่งสุดท้ายก็คือ Track Record ที่ยาวนาน เปรียบไปก็เหมือนการเลือกกองทุนหุ้นเพื่อลงทุนซักกองนะครับ ถ้ามันเป็นกองทุนที่เพิ่ง IPO ยังไม่เคยผ่านร้อนผ่านหนาวมาเลย ถึงแม้นโยบายการลงทุนจะดูดีเลิศหรูปานใด ผมก็ไม่สบายใจที่จะลงทุนนักหรอก เซียนแท้ จะอยู่ในตลาดมายาวนานพอ ผ่านวงจรเศรษฐกิจมาครบทุกรูปแบบ ถ้าเจอแบบนี้นะ อย่าให้หลุดมือเชียว เอามาเป็นคนนำโพยให้จงได้ ฮาๆๆ

สุดท้ายจริงๆล่ะ ถ้าเราพอจะให้ผลประโยชน์กับคนนำโพยได้ เราก็ควรทำครับ วีธีการตอบแทนคน ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว จำไว้ๆ แต่การตอบปทนในรูปแบบอื่นนั้นมีมากมาย คำขอบคุณ การให้ Credit เล็กๆน้อยๆเหล่านี้ก็เป็นสิ่งมีค่านะครับ
ถ้ารู้แน่ๆว่าเราไม่เก่งเลือกหุ้น เลือกทีไรเลือกผิดทุกที ซื้อเล่นเก็งกำไรทีไร ได้ถือว่าเป็น Value Investor ทุกที (เพราะติดดอย Cut Loss ไม่เป็น T_T) งั้นก็เปลี่ยนแนวตัวเองมาเก่งในการเลือกคนนำโพยแทนดีกว่า ผมยอมรับครับว่าไม่ง่าย แต่ชีวิตเราก็ไม่เคยมีอะไรได้มาง่ายๆอยู่แล้ว ถูกไหม มันอยู่ที่ใครถนัดอย่างไหนมากกว่ากันต่างหาก

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไหน สิ่งหนึ่งที่ต้องมาควบคู่กับความสำเร็จก็คือ ความพยายาม และมันเป็นเรื่องที่โง่มาก หากเราหวังผลที่ดีขึ้น แต่เรายังคงทำสิ่งเดิมๆ จริงไหมครับ

------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ




 

Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2554    
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2554 20:32:57 น.
Counter : 3352 Pageviews.  

"ทำไมต้องลงทุน ไม่ใช่ฝากเงิน" ภาคสอง

ภาคต่อของ "ทำไมต้องลงทุน ไม่ใช่ฝากเงิน"

ข้อคือ "ลงทุนยังไงให้ชนะเงินเฟ้อ" จาก Twitter ของผมเมื่อวันที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมาครับ มองว่าทองเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง หากยังรับความเสี่ยงได้ไม่เยอะมากขนาดจะกระโดดเข้าหุ้นในตอนนี้

=========================

"ลงทุนยังไงให้ชนะเงินเฟ้อ"

เมื่อวาน แนะนำที่ลงทุนเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากไปแล้ว แต่ปัญหาคือ ยังชนะเงินเฟ้อไม่ได้ ตอนนี้เงินเฟ้อเดือน ธ.ค. อยู่ที่ 3% ค่อยๆเขยิบความเสี่ยงนะครับ เอาแค่ที่มันเท่ากับ 3% เหมือนเงินเฟ้อ ไม่เสี่ยงมาก มีไหมเอ่ย? มีครับ! ตราสารหนี้ภาคเอกชน หรือหุ้นกู้ภาคเอกชน นั้นเอง หุหุ อย่างช่วงปีที่แล้วหุ้นกู้ทีออกมาอายุ 5-7 ปี ผลตอบแทนก็สูงกว่า 4-5% ทั้งนั้น แต่ข้อเสียของหุ้นกู้เอกชนก็คือ ต้องลงทุนในจำนวนที่เยอะหน่อย และอีกอย่างก็คือ สภาพคล่องหายไปทันที 5-7 ปี ต้องเป็นเงินเย็นจริงๆ

งั้นขอผลตอบแทนพอๆกับเงินเฟ้อ แล้วมีสภาพคล่องหน่อย ไม่อยากเงินดองยาวๆเหมือนหุ้นกู้ มีไหมๆ? ตอบตามตรงก็มีครับแต่ไม่การันตีว่าจะชนะเงินเฟ้อได้ 3% แบบแน่นอน งั้น... ลองดูใหม่ วิธีสู้กับเงินเฟ้อได้ดีสุดก็คือ เข้าไปดูเลยว่า เงินเฟ้อเกิดจากอะไร ปัจจุบันนี้ประเทศในเอเชียเจอเงินเฟ้อกันหมด แต่ปัจจัยที่ผลักดันเงินเฟ้อนั้นแตกต่างกันในรายละเอียดนะ ประเทศไทยเรา เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น มาจาก Demand สินค้าที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้ Output Gap ปิดลง (Output Gap คือ ส่วนต่างระหว่างกำลังการผลิตที่สามารถผลิตได้ กับ ที่ผลิตได้จริง ณ ตอนนั้น) เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเต็มอัตรา ผู้ประกอบการก็สามารถส่งผ่านต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภค >> ราคาข้าวของเครื่องใช้ในตลาดเลยแพงขึ้น

ต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนประเภทไหน? จากข้อมูลของ bot.or.th ตอนนี้ เงินเฟ้อเกิดจาก "กลุ่มอาหารสด" เป็นหลัก และคาดว่า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในแนวโน้มที่สูงอย่างนี้ ก็จะทำให้เงินเฟ้อปีนี้อยู่ในระดับ 3-4% ไม่ลดลงมาง่ายๆ สาเหตุที่กลุ่มอาหารสด เป็นตัวเร่งเงินเฟ้อ ในประเทศ ก็เกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ คนก็กินก็ใช้มากขึ้น เป็นปกติอยู่แล้ว มาวางเป็นกลยุทธ์การลงทุนสู้เงินเฟ้อง่ายๆก็คือ เกิดเงินเฟ้อจากอะไรก็ไปลงทุนมันตรงนั้นเลย ตรงจุดที่สุดแล้ว

เงินเฟ้อ เกิดจากราคา Commodities ที่ขยับขึ้นใช่ไหม.... ไปลงทุนในนั้นเลย เงินเฟ้อขึ้น พอร์ตเราโตตามด้วย :) ความยากก็คือ เงินเฟ้อ เป็นตัวเลขที่รายงานย้อนหลัง แต่การลงทุน เป็นการคาดการณ์อนาคต หากปัจจัยที่ Drive เงินเฟ้อเปลี่ยนไป เราก็มีความเสี่ยง ผมถึงบอกไง ไม่การันตีผลตอบแทน สมมติ เราเห็นว่าในช่วง 2-3 ไตรมาสที่ผ่านมา เงินเฟ้อมาจากสินค้าเกษตร เลยลงทุนมันตอนนี้ซะ การลงทุนของเรา เราใช้ข้อมูลย้อนหลังว่า ที่ผ่านมาสินค้าเกษตรราคาขยับขึ้น แต่ในอนาคต ไม่มีใครรู้ 100% ครับ ว่าจะขยับเหมือนไตรมาสก่อนไหม แต่โดยปกติ กลุ่มอาหาร หรือ Commodities นั้นเป็นตัวการเงินเฟ้อมาตลอดนะ ส่วนราคาน้ำมัน มีขึ้นลงบ้างตามตลาดโลก //twitpic.com/3r7gwe

ปัญหาอย่างแรกคือ เราไม่รู้กลุ่มอาหารสดจะทำให้เกิดเงินเฟ้อไปเรื่อยๆไหม ปัญหาที่สองคือ ไม่เห็นมี product ลงทุนอะไรเกี่ยวกับพวกนี้เลย ลงทุนในอะไรเอ่ย ที่ได้ประโยชน์จาก ราคาอาหาร สินค้าเกษตร ปรับตัวสูงขึ้น?? ดูใกล้ๆตัวก็คือ ไปลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจเกษตร อาหาร และค้าปลีก ครับ นั้นเป็นสาเหตุที่ทำไม หุ้นทั้งสามกลุ่มนี้่ถึงปรับตัวขึ้นมาเร็วตั้งแต่ปีที่แล้ว เพราะมี Inflation Expectation ในตลาดหุ้นมาแล้วล่วงหน้า :) และเพราะ Inflation Expectation นี่เอง ที่ทำให้อีกหนึ่ง Asset Class ที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดีมาตลอด ก็ขยับตัวขึ้นมาได้ในปีที่แล้วเหมือนกัน

นั้นก็คือ "ทองคำ" (หลายคน คิดถึง ทองคำ มาตั้งแต่ผมเปิดประเด็นตอนแรก และแอบบ่นว่า พล่ามมาซะยาว สุดท้ายก็คิดเหมือนกัน เอิ๊กๆ)

จริงๆแล้ว เงินเฟ้อ เป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้ราคาทองปรับขึ้น แต่ยังมี เรื่องค่าเงิน USD, Demand ในอุตสาหกรรม หรือการสำรองของธนาคารกลาง ราคาทองดูแพงไปแล้ว ปีนี้จะยังไปได้อีกหรอ? ไปลงทุนอย่างอื่นดีกว่าไหม? คิดอย่างนี้กันชิมิชิมิ ลืมเรื่อง Upside จากการลงทุนในทองคำไปก่อนนะครับว่าจะได้เท่าไหร่ แต่ไปดู Downside กันดีกว่า ว่าทองจะลงแรงๆได้ด้วยสาเหตุอะไร เกิดวิกฤตหนี้ยุโรปขึ้นอีกที หรือ อยู่ดีๆ เกาหลีเหนือยิงถล่มเกาหลีใต้ หรือเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง... 3 เหตุการณ์นี้ จะทำให้ราคาทองเป็นไงครับ ทองคำ จะแปลงสถานะตัวเองเป็น "Safe Haven" สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เพื่อเป็นที่หลบภัย เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน งั้นยกตัวอย่างอีกแบบ เงินไหลเข้า USD เพราะคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้น และคาดว่าจะมี Inflation เกิดที่อเมริกา เพราะคนจะกลับมาใช้จ่ายอีกครั้ง หรือ ค่าเงิน USD อ่อนค่า เพราะคนไม่มั่นใจเศรษฐกิจอเมริกา และคิดว่าตลาดหุ้นในเอเชียดีกว่า และเศรษฐกิจในเอเชียยังดีต่อเนื่อง ทั้งสองกรณี ก็เกิด Inflation Expectation ทั้งคู่ เพียงแต่ความคาดหวังไม่เท่ากัน ก็แปลว่า ทอง ซึ่ง Hedge Against Inflation ก็ยังร่วงได้ยาก...

ทั้งสองกรณี ก็เกิด Inflation Expectation ทั้งคู่ เพียงแต่ความคาดหวังไม่เท่ากัน ก็แปลว่า ทอง ซึ่ง Hedge Against Inflation ก็ยังร่วงได้ยาก... ผมคิดว่า ราคาทองจะลงได้แรงมากๆ ก็ต่อเมื่อ ตลาดมีมุมมองที่ดีหรือแย่มากๆเกินไป (Over speculation) ซึ่งภาวะแบบนี้ จะทำให้ราคาวิ่งเป็นเทรนแรงๆ และร่วงเร็วเมื่อตลาดผิดหวังกับเหตุการณ์ที่คาดการณ์อยู่ แต่สำหรับตอนนี้ ผมไม่เห็นสัญญาณใดๆนะที่บอกว่าตลาดไปคาดการณ์เหตุการณ์อะไรที่ดีหรือแย่เกินจริงอยู่ ช่วงนี้ราคาทองก็สะสมกำลังมาตั้งแต่เดือน ต.ค. //twitpic.com/3r7qtg Upside ในราคาทองยังไม่มองว่าเป็นเท่าไหร่ แต่เหตุการณ์ในอนาคตที่จะทำให้ราคาทองลงแรงๆถึงขนาดเป็นขาลงยาวๆเลย ผมยังไม่เห็น ฉะนั้น เขยิบ ความเสี่ยงสูงขึ้นมาจาก MMF เป็นหุ้นกู้แล้ว จะสู้เงินเฟ้อ ด้วยความเสี่ยงไม่มากเกินไป และมีสภาพคล่องสูง ก็เห็นจะมี ทองคำ

มุมมองที่เราคุยกันนี้ เป็นมุมมองราคาทองในระยะยาวนะครับ ไม่ใช่สั้นๆ 1-2 ปี และมันก็พิสูจน์มาแล้วว่าลงทุนผ่านทองคำ ในระยะยาวให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ อยู่ที่เรานั้นหล่ะ ที่จะเริ่มตอนไหน ^^




 

Create Date : 24 มกราคม 2554    
Last Update : 24 มกราคม 2554 23:11:47 น.
Counter : 3284 Pageviews.  

"ทำไมต้องลงทุน ไม่ใช่ฝากเงิน"

ประการแรก เงินฝากธนาคาร ถือเป็นแหล่งออมที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดในตลาดเงินเลยทีเดียว
ลองดูเงินฝากประจำ 1 ปี ในตลาด ให้ดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 1.4-2.5%ต่อปี แล้วแต่ว่า ที่ไหนเค้าต้องการเงินมากกว่ากัน
2.5% นี่ ไม่ถือว่าเยอะหรอ?? มันก็เยอะ ถ้าเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารใหญ่ๆอย่าง SCB, KBANK, BBL พวกนี้ ไม่มีได้เห็นดอกเบี้ยสูงๆนะ
ตอนนี้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล อายุ 1 ปี อยู่ที่ 2.56%ต่อปี เสี่ยงเท่ากับเงินฝาก เพราะรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเหมือนกัน
ถ้ามองในฝั่งกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆ ตอนนี้ไม่มีใครออกกองทุนอายุเกิน 6 เดือน เพราะดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
ตอนนี้กองทุนตราสารหนี้ในไทย อายุ 3 เดือน ที่กำลังเสนอขาย คาดว่าให้ผลตอบแทนอยู่ราวๆ 1.7%ต่อปี ลองเทียบกับเงินฝากประจำ 3 เดือนดูสิครับ
เงินฝากประจำ 3 เดือน ตอนนี้ได้ดอกอยู่ที่ 1.1%-2.1%ต่อปี และอย่าลืมว่า ดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ด้วย ดังนั้น สมมติ ผมเอาไปฝาก 3 เดือน ที่ธนาคารที่ให้ดอกสูงสุด (ธนาคารเกียรตินาคิน) 2.1% ต่อปี ได้ดอกเบี้ยหลังหักภาษีจริงๆเท่ากับ 1.785%ต่อปี
ไม่ต้องพูดถึง 4 แบงค์ใหญ่ ที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5% ไม่เกินจากนี้ หักภาษี 15% แล้วเหลือจริงๆเท่ากับ 1.275% เอง
กลับไปเปรียบเทียบกับ กองทุนตราสารหนี้ในไทย อายุ 3 เดือน ที่ผมบอกว่าได้ผลตอบแทน 1.7%ต่อปี สิครับ ใครได้สูงกว่า??
ข้อดีของกองทุนทุกกองในตลาดก็คือ ได้รับการยกเว้นภาษีจากการขายคืน ดังนั้น 1.7% หากได้กลับมาตอนกองครบกำหนด ก็ไม่ต้องหักอะไรแล้ว
เทียบเรื่องความเสี่ยงกันระหว่าง เงินฝากธนาคาร กับ กองทุนพันธบัตรรัฐบาล ต่างกันไหม?
ถ้ากองทุนนั้น เป็นกองทุนพันธบัตรรัฐบาล 100% ไม่มีตราสารหนี้ประเภทอื่นเจือปน ก็ถือได้ว่า ความเสี่ยงเท่ากับเงินฝากธนาคารครับ
เพราะอะไร? ก็เพราะเงินฝากมี กองทุนฟื้นฟูฯซึ่งดูแลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้คุ้มครองเงินต้น ส่วนพันธบัตร ก็เป็นกระทรวงการคลังเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น หากเจอกองทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากที่เรามองๆอยู่ ไม่ต้องลังเลครับ กองทุนได้ผลตอบแทนสูง เสี่ยงเท่ากัน คราวนี้ ถ้าขยับมาดูพวกเสี่ยงต่ำ และสภาพคล่องสูงๆ อย่างเงินฝากประเภทออมทรัพย์ มีอะไรตอบโจทย์แทนมันได้ไหม?
ถึงดอกเบี้ยจะน้อย แต่ฝากถอนง่าย สภาพคล่องสูง ใช้เงินตอนฉุกเฉินสะดวกดี โอนไปจ่ายเงินก็ง่ายแสนง่าย มีอะไรง่ายกว่านี้ป่ะ (ทำเสียงเหวี่ยงๆด้วย)

ด้วยเหตุผลเมื่อกี้ ทำให้เชื่อผมไหมครับ เงินฝากที่มีอยู่ในระบบธนาคารเยอะที่สุดเกิน 50% ก็คือ เงินฝากออมทรัพย์ ที่ได้ดอกต่ำๆนี่ล่ะ คนไทยนี่แปลกนะ กลัวการไม่ได้ใช้เงิน เอาไว้ในที่จับต้องได้ง่าย แต่สุดท้าย มักลงเอยด้วยสองทาง 1) ถอนมาใช้หมด 2) ทิ้งไว้จนลืมไม่ได้ทำอะไร
ไม่ว่าลงเอยทางไหน ไม่ดีต่อเงินในกระเป๋าทั้งนั้น ถูกไหมครับ ลองสำรวจเงินในบัญชีออมทรัพย์ตัวเองกันไหม ว่าทิ้งไว้กี่เดือนกันแล้ว :)
ทางเลือกทดแทนสำหรับคนที่ต้องการสภาพคล่องใกล้เคียงเงินฝากออมทรัพย์ ก็คือ ตั๋วเงินคลังระยะสั้นๆ หรือกองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) ตั๋วเงินคลัง สำหรับรายย่อยอาจซื้อลำบากหน่อย ใช้เงินเยอะ แต่สำหรับ Money Market Fund (MMF) ใครๆก็ลงทุนได้ครับ MMF มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้อายุสั้นๆ เปิดให้ซื้อขายได้ทุกวันทำการ ตอนนี้ผลตอบแทนอยู่ราวๆ 1.4% ต่อปี ไม่เสียภาษี
เวลาขายกองทุน MMF จะได้รับเงินคืนในวันทำการถัดไป สภาพคล่องน้อยกว่าเงินฝากออมทรัพย์ก็ตรงนี้ครับ
แต่ผลตอบแทน ถือว่าเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับออมทรัพย์ น่าจะทำให้คนฝากเงินเปลี่ยนใจมาลงทุนใน MMF ได้ไม่ยากนะ
ถึงแม้ขายยากขึ้นหน่อย แต่ข้อดีคือ ทำให้เรามีเวลาคิด เวลาจะจ่ายเงิน ถามตัวเองกลับว่า จำเป็นจริงๆไหม ใช้สติเพิ่มขึ้น ผมถือว่า MMF สอบผ่านนะ:)
ปัจจุบัน MMF ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆก็มีหลายเจ้าครับ ยกตัวอย่างเช่น ABCC ของ Aberdeen, TMBTM ของ TMBAM หรือ AYFCASH ของ AYF MMF
พวกเมื่อกี้ เปรียบไปก็ความเสี่ยงเท่ากับออมทรัพย์เลย เพราะกระทรวงการคลังคุ้มครองเหมือนกัน แต่ผลตอบแทนนี่สิ MMF ชนะขาด ข้อดีของ MMF อีกข้อก็คือ เวลาขายคืน เราจะได้รับผลตอบแทนทันที (คล้ายๆดอกเบี้ย) ไม่ต้องรอทุกๆ 6 เดือนเหมือนฝากออมทรัพย์ ตอนนี้มี MMF บางกองทุนที่ขายคืนปั๊บ ได้เงินปุ๊ป เหมือนกดเงินจากตู้ ATM เลย (มีเจ้าเดียวเท่าที่รู้) ก็คือ TMBMF ของ บลจ.ทหารไทย ครับ ใครสนใจกองทุน TMBMF ก็ลองไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมในนี้ //bit.ly/h273Ae แต่กองนี้ไม่ได้ลงทุนแค่พันธบัตรฯนะ มีตราสารหนี้ภาคเอกชนด้วย
ในอนาคต นวัตกรรมทางการเงินเหล่านี้ จะเปลี่ยนพฤติกรรมฝากเงินของคนไทยไปนะครับ ตอนนี้ MMF ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ
มีโบกรฯบางแห่งผูกบัญชีลงทุนของลูกค้ากับ MMF แทนที่จะเป็น saving เพราะดอกเบี้ยดีกว่าเยอะกว่า และ Settlement เงิน T+3 ซึ่งขาย MMF ทันอยู่แล้ว
ลองคิดดูนะ สมมติ ผมเปิดพอร์ตเทรดหุ้น 20 ล้าน ขายหุ้นได้กำไร เอาเงินมาไว้ใน saving เทียบกับ MMF ซัก 5 วัน จะต่างกันยังไง?
Saving ได้ดอก 0.65% 5วัน คิดเป็นเงิน 1,780 บาท ส่วน MMF ได้ 1.4% 5 วัน ก็เท่ากับ 3,835 บาท ต่างกัน 2,054 บาท แค่ 5 วันทำการเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลครับ เงินฝาก ไม่เคยให้อะไร นอกจากความสบายใจ ... ถ้าเราเข้าใจการลงทุน เริ่มที่เสี่ยงต่ำๆไว้ก่อน ก็ยังได้มากกว่าเงินฝากอยู่ดี
สำหรับ MMF ที่มีในตลาด ผมจะโพสกระทู้ผลการดำเนินงานย้อนหลังให้ทุกๆเดือนในห้องสินธร Pantip นะครับ ติดตามกันได้
เดี๋ยวคงมีคนถามว่า เลือกกอง MMF กองไหนดี งั้นเอาของเดือน ธ.ค. ไปดูก่อน //bit.ly/hZ5c2Q ล่าสุด AYFSPLUS ให้ผลตอบแทนสูงสุดในระยะสั้นๆ

เหตุผลที่สอง ทำไมต้องลงทุน ไม่ใช่ฝากเงิน? คำตอบก็คือ เพราะ "เงินเฟ้อ (Inflation)" ครับ
Inflation เกี่ยวอะไรกับเงินฝาก ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า Inflation หรือ เงินเฟ้อ มันคืออะไร :)
เงินเฟ้อ = ระดับราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้หน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ (%)
สมมติว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ก็แปลว่า ราคาสินค้า และบริการในตลาด แพงขึ้นเฉลี่ย 3% ในงวดก่อนหน้า
แล้วเงินเฟ้อ มันมีผลยังไงกับเงินฝาก?
ลองนึกดูครับ สมมติ เงินเฟ้อวิ่งอยู่ทุกเดือนๆ ที่ 3% แต่เราฝากเงินในธนาคาร กินดอกเบี้ย 1.5%ต่อปี อะไรจะเกิดขึ้นเอ่ย??
แปลว่า อำนาจการซื้อหรือการบริโภคของเราลดลง (Purchasing Power) เพราะราคาสินค้าในตลาดขึ้นแรงกว่าผลตอบแทนที่เราทำได้
เป็นอย่างนี้ก็อันตราย เพราะเท่ากับว่า จำนวนเงินจากการฝากเงินแม้เพิ่มขึ้นจริง แต่ไม่มีปัญญาซื้อสินค้า เพราะราคาวิ่งเร็วกว่า
ยกตัวอย่างนะครับ สมมติผมฝาก 5 บาทไว้ในธนาคาร กินดอก 1.5% แต่มาม่าขยับราคาจาก 5 บาท เป็น 6 บาท ซึ่งเท่ากับ 20% ผมไม่มีปัญหาซื้อแล้ว มาม่า T_T
เงินเฟ้อ ก็เหมือนกรณีของมาม่า แต่เงินเฟ้อ คำนวนจากราคาสินค้าหลายประเภทมาเฉลี่ยกันอีกทีครับ ใครสนใจลึกๆ ไปอ่านใน bot.or.th ได้
ด้วยการคุกคามของเงินเฟ้อแบบนี้ ใครอยากชนะมัน ก็ต้องหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อครับ
โยงไปเรื่อง Global Economic หน่อย การที่จีนพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อในประเทศให้ต่ำๆไว้ ก็เพราะเรื่องนี้ครับ ไม่งั้นประชาชนเดือดร้อนแน่ๆ
ผิดกับอเมริกา ที่หลังจากมีวิกฤต คนก็ชะลอการใช้จ่าย ...นโยบายทางเศรษฐกิจของอเมริกาจึงอยากเร่งให้มีเงินเฟ้อ คนจะได้ออกมาใช้จ่าย ออกมาลงทุน
2 มหาอำนาจ คิดต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ "Currency War" ใครจะชนะ อย่าไปเดาครับ รอดูไปเรื่อยๆ
กลับมาเรื่องเงินฝาก กับเงินเฟ้อต่อนะ จะเห็นว่า ทั้งกองทุนพันบัตรฯ หรือ MMF หรือเงินฝาก ที่เอ่ยถึงวันนี้ทั้งหมด ไม่มีตัวไหนชนะเงินเฟ้อได้เลย
อะไรที่ชนะเงินเฟ้อได้ พรุ่งนี้มาต่อนะครับ วันนี้ยาวเกินไปแล้ว รบกวน Timeline ทุกท่านนานไป เกรงใจ :)




 

Create Date : 19 มกราคม 2554    
Last Update : 19 มกราคม 2554 0:54:34 น.
Counter : 6144 Pageviews.  

BRIC จะเปลี่ยนเป็น BIIC ???

ถอดความมาจาก Twitter ในคืนวันที่ 6 ม.ค. 54 ของผมเองนะครับ เผื่อใครตามอ่านไม่ทัน มาอ่านในนี้แทน :)

ทุกคนรู้จักกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่ชื่อว่า "BRIC" ที่ประกอบไปด้วย Brazil, Russia, India และ China กันนะครับ กลุ่มประเทศที่ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มนี้ ถูกประกาศโดย Goldman Sachs ในช่วงปี 2000-2001 คาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 จะมีอิทธิพลสูงสุดในโลก หลักๆ ก็เป็นเรื่อง อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง, จำนวนประชากรเยอะมาก และ พื้นที่รวมกันกินอาณาเขต 1 ใน 3 ของโลก ทรัพยากรเยอะ

มาวันนี้ 10 ปีผ่านมา BRIC ยังคงเดิมไหม ยังคิดว่าปี 2050 จะดีอย่างที่คิดไหม? ตอนนี้เริ่มมีคนเถียงกันมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่เขาเถียงกันก็เรื่องความเหมาะสมของทั้ง 4 ประเทศนะครับ มองกันว่า Russia วันนี้ เริ่มไม่เหมือนเดิม (เธอเปลี่ยนไป๋ >.<) สาเหตุก็เพราะ
1) รัฐบาลดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจยังไร้ทิศทาง
2) อัตราการโตประชากรเริ่มลดลง
3) ปัญหาคอรัปชั่น (อันหลังนี้ เหมือนที่ไทยแหะ)
3 ปัญหานี้ ทำให้การลงทุนใน Russia เริ่มลดความน่าสนใจลง แต่ใครล่ะจะมาแทนที่ Russia ได้ ใครพอเดากันออกบ้าง :)

บอกใบ้ให้ครับ ประเทศที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจ และอาจพิจารณาเอาเข้ามาทดแทน Russia ในกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ ตอนนี้...มีประชากรมากที่สุดอันดับ 4 ของโลก

เป็นประเทศมุสลิมที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบบ้านเรา....

ปีที่แล้ว (ปี 2010) ตลาดหุ้นของประเทศแห่งนี้ ทำผลตอบแทนได้เป็นอันดับ 2 ของโลก ชนะ SET Index ของเราซะด้วย

ประเทศนั้นก็คือ "Indonesia" นั้นเอง ถึงแม้ฟุตบอลจะตกต่ำ (แต่ไทยก็ตกต่ำกว่า)แต่ในมุมมองทางเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นตรงกันว่าน่าจับตา

เทียบกับรัสเซียแล้ว ดีกว่าตรงไหน? ไปดูทีละอย่าง อย่างแรก GDP ของอินโดฯโต 5.8% ในขณะที่รัสเซียอยู่แค่ 2.7% เท่านั้น ตลาดหุ้นปีที่แล้ว อินโดฯลากกลุ่ม TIPs ขึ้นไปติดอันดับ TOP 5 ของโลก ตัวเองได้ผลตอบแทนราว 45% ส่วนรัสเซียอยู่แค่ 20% เท่านั้น สัดส่วนประชากรอายุเกินกว่า 60 ปีของรัสเซียอยู่ที่ 17.8% ในขณะที่อินโดฯ มีแค่ 8.8% (ภาระฯน้อยกว่าเห็นๆ ในแง่ของสวัสดิการรัฐฯ) ในขณะที่ประชากรอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่อินโดฯมีประมาณ 25% ส่วนรัสเซีย มีอยู่ 15% เท่านั้น (นี่คือจำนวนแรงงานในอนาคต) ที่ผมชอบก็คือ อินโดฯมีการวางนโยบายลงทุนเพื่อวางรากฐานทางการศึกษาและการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างจริงจัง ต่างกันรัสเซียและประเทศอื่นในเอเชียมาก

RT @TUBBYGAL: INDO น่าสนใจมากเลยตอนที่เกิด Crisis เหมือนจะไม่โดนผลกระทบเท่าไหร่ เพราะเปลี่ยนregime econ policy เป็น Domestic led growth >> เมื่อกี้เป็นข้อมูลอีกมุมหนึ่งของคุณ @TUBBYGAL Fund Manager สาวสวย ^^

เห็นว่า Nouriel Roubini นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ก็เห็นด้วยกับแนวคิด การถอด Russia ออกจากกลุ่ม BRIC และแทนที่ด้วย Indonesia ถ้ามีการเปลี่ยนจริงๆ ชื่อย่อก็จะกลายเป็น BIIC แทน ... อ่านว่ายังไงล่ะที่นี้ - -"

เพราะฉะนั้น ที่ Fund Flows มันไหลเข้าเอเชีย เข้า TIPs (Thailand, Philippines และ Indonesia) มันมีมูลครับ ไม่ได้มาปั่นกันอย่างเดียว ปัจจุบัน iShare MSCI Emerging Markets ให้น้ำหนักการลงทุนใน Indonesia อยู่ราวๆ 2.5% เท่านั้น เทียบกับ Russia ซึ่งมีน้ำหนัก 6.5% หาก Index Fund ของโลก หรือ Benchmark อย่าง MSCI เปลี่ยนมุมมองต่ออินโดฯในทางที่ดีขึ้น คงดึงเม็ดเงินอีกมหาศาลเข้า Southeast Asia

RT @thePAN662: @MrMessenger ผมสงสัยว่า จุดอ่อนของระบบเศรษฐกิจอินโดนีเซียตอนนี้มีอะไรบ้างครับ (ถามดี แต่ไม่มีรางวัล ฮาๆ)
(ตอบ) การปกครองแบบยาวนานของตระกูล Suharto ก็ตกทอดการคอรัปชั่นมาตลอดครับ นี่คือความเสี่ยง ส่วนเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมือง ผมว่า ประเทศไหนก็มี ถ้าจะกลัว พี่ไทยน่ากลัวกว่าเยอะ ว่าไหม ;)

RT @thePAN662: @MrMessenger อย่างนี้ถ้าเราขจัดคอรัปชัน เราก็มีสิทธิ์เทียบอินโดได้ แต่จะทำได้หรือเปล่าก็อีกเรื่องใช่ไหมครับ ฮ่าๆๆ (ถามดีๆ)
(ตอบอีกที) ขนาดเศรษฐกิจของเรายังเล็กครับ ประชากรก็น้อยกว่ามาก แหล่งทรัพยากรธรรมชาติด้านพลังงานก็น้อย ขุดได้เองก็ยังต้องนำเข้ามาอีก ไม่เหมือนอินโดฯ ที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก แรงงานเฉลี่ยค่าแรงก็ยังต่ำกว่าบ้านเรา สรุปคือ โครงสร้างประเทศต่างกัน

------------------------
โชคดีในการลงทุนครับ




 

Create Date : 06 มกราคม 2554    
Last Update : 6 มกราคม 2554 22:40:50 น.
Counter : 2683 Pageviews.  

SET Index วิ่งมาไกล จะไปได้อีกแค่ไหน ใกล้สุดทางแล้วหรือยัง?

Update ครั้งก่อนผมได้พาไปมองดูตัวเลข Fundamental ของตลาดหุ้นในเอเชียกันแล้วว่า เราอยู่ในช่วงไหนของฟองสบู่ ก็ได้ข้อสรุปว่า หากเรากังวลว่าฟองสบู่จะแตก ก็น่าจะยังไม่แตกภายในระยะเวลาสั้นๆ 3-6 เดือนข้างหน้านี้ค่อนข้างแน่ และหากแนวโน้มยังดูดีต่อเนื่องก็หวังได้ลึกๆว่า ปีหน้ายังจะเป็นขาขึ้นไปตลอดทั้งปี สาธุ (-/-)

ทุกครั้งที่มีข่าวร้ายเข้ามาในตลาด ก็จะเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มองเห็นเสมอๆ ครั้งนี้ ถือว่ามีโอกาสอยู่ในวิกฤตหรือเปล่า ไม่มีใครตอบแบบฟันธงได้หรอกครับ แต่สิ่งที่นักลงทุนต้องทำคือ เราต้องใช้เหตุผล และตั้งสติพิจารณาข้อมูลรอบๆตัวเรา และสิ่งที่ไม่ควรทำก็คือ อย่าไหลไปตามอารมณ์ตลาด อย่าเชื่อโดยที่ไม่มีเหตุผลรองรับ

มีคำถามเข้ามาว่า แล้วหากพิจารณาเฉพาะ SET Index ตอนนี้ถือว่าใกล้สุดทางแล้วหรือยัง? หลังจากตลาดหุ้นบ้านเรา ทำผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปีได้ดีที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินโดฯ และ อาร์เจนติน่า เท่านั้น คำตอบก็คงต้องมองย้อนกลับไปที่ปัจจัยพื้นฐาน และเทียบกับช่วง Bubble รอบก่อนๆ เหมือนเดิมครับ เริ่มจากไปดูค่า P/E ครับ


ในช่วงปี 2008 ที่ผ่านมา P/E ของ SET Index ขึ้นไปทำจุดสูงสุดเกินกว่า 25x ในรอบ 13 ปี ก่อนที่ค่า P/E จะตกลงมาอยู่ราวๆ 15x ณ ปัจจุบัน ซึ่งยังถือได้ว่าอยู่ใน S.D. +1 ที่ 15.89x ในอดีตที่ผ่านมา หากเกินกว่า S.D. +1 ก็ถือว่าราคาเริ่มแพงแล้วครับ แค่หลายๆครั้ง ดัชนีก็ยังวิ่งไปได้ถึงแถวๆ P/E ที่ระดับ 20x ขึ้นไปทีเดียว

ไปดูค่า P/BV ของหุ้นไทย เทียบกับข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1988 ช่วงนี้เราก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่ถูกไม่แพงจนเกินไป แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ 1.64x


ลึกลงไปที่ภาคครัวเรือน จะเห็นว่า อัตราการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนต่อรายได้ ยังอยู่ในระดับต่ำ คือราวๆ 50% ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ซึ่งไม่เหมือนกับ US ที่ตัวเลขนี้สูงเกินกว่า 70% ขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดวิกฤต Subprime ในช่วงปี 2007-2008 ที่ผ่านมาครับ


D/E Ratio ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับ 1.14x ขณะที่ EBIT ต่อ Interest Expense ก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูง ถือว่ามีความสามารถในการจ่ายชำระดอกเบี้ยสูง (เกณฑ์ปกติ ต้องสูงกว่า 1.5x แต่ขณะนี้อยู่ที่ 6.34x ครับ)


สุดท้าย CAPAX/Sales (Capital Expenditure หรือ ค่าใช้จ่าย) ของบริษัทจดทะเบียนในไทยในช่วงปี 2000-2010 ถือว่าประทับใจมาก เพราะต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียด้วยกัน โดยค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีอยู่ที่ 6.9% แถมแนวโน้ม CAPAX/Sales ของปี 2010 นี้ ก็ยังคงลดลงเหลือแค่ 5.1% สะท้อนว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในแนวโน้มที่ดีอยู่


พาไปดูในมุมมองทาง Technical กันบ้างครับ ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมให้ความเห็นเกี่ยวกับ Elliot Wave Theory หลายทีใน Twitter ว่าเราอยู่ใน Wave 3 ใหญ่ ของขาขึ้น เราอาจเจอการปรับฐานแรงๆได้เหมือนกัน เพราะ Wave 3 นี้ ขึ้นมาแรงนับตั้งแต่แถวๆ 720 จุด ก็วิ่งขึ้นมาประมาณ 280 จุด ภายในระยะเวลา 4 เดือนกว่าๆเท่านั้น แต่ในระยะยาว แนวต้านทาง Fibonacci ที่ 261.8% แถวๆ 1,400 จุด คือเป้าหมายของเราว่าขาขึ้นจะไปจบตรงนั้นได้ หากนับจาก SET Index ณ ตรงนี้ ก็มี Upside 40% ทีเดีย


โดยสรุปแล้ว P/E กับ P/BV ของหุ้นไทย ไม่ได้ถูกเหมือนเมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว แต่ยังไม่เห็นสัญญาณของการ Bubble ในช่วงนี้ครับ ในมุมมองความสามารถในการก่อหนี้ และการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และหากต้องการลงทุนด้วยการกู้ยืมจากตลาดตราสารหนี้ หรือธนาคาร ก็ยังมี Capacity อีกเยอะ จาก D/E Ratio และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับ Historical Data และ ประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ต้องพึ่ง Fund Flow จากการอ่อนค่าของ US Dollar เราก็น่าจะไปได้ แต่ถ้า Fund Flow ของโลกหาที่ๆผลตอบแทนคุ้มเสี่ยงเพื่อพักเงินจริงๆ เขาจะไม่เลือกตลาดหุ้นไทย ในช่วงที่ Fundamental ยังดูดีอยู่แบบนี้หรอครับ?

ดูๆแล้ว 1,400 จุด น่าจะเป็นไปได้นะ แต่ต้องรอหน่อย

โชคดีในการลงทุนครับ




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2553    
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2553 16:00:44 น.
Counter : 3127 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

Mr.Messenger
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




Head, Investment Consultants Citigold Citibank N.A. (Thailand)
free hit counter
click here
free hit counter
Friends' blogs
[Add Mr.Messenger's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.