การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรสังเกตุ คำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง
Group Blog
 
All Blogs
 
"ทำไมต้องลงทุน ไม่ใช่ฝากเงิน"

ประการแรก เงินฝากธนาคาร ถือเป็นแหล่งออมที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดในตลาดเงินเลยทีเดียว
ลองดูเงินฝากประจำ 1 ปี ในตลาด ให้ดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 1.4-2.5%ต่อปี แล้วแต่ว่า ที่ไหนเค้าต้องการเงินมากกว่ากัน
2.5% นี่ ไม่ถือว่าเยอะหรอ?? มันก็เยอะ ถ้าเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารใหญ่ๆอย่าง SCB, KBANK, BBL พวกนี้ ไม่มีได้เห็นดอกเบี้ยสูงๆนะ
ตอนนี้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล อายุ 1 ปี อยู่ที่ 2.56%ต่อปี เสี่ยงเท่ากับเงินฝาก เพราะรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเหมือนกัน
ถ้ามองในฝั่งกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆ ตอนนี้ไม่มีใครออกกองทุนอายุเกิน 6 เดือน เพราะดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
ตอนนี้กองทุนตราสารหนี้ในไทย อายุ 3 เดือน ที่กำลังเสนอขาย คาดว่าให้ผลตอบแทนอยู่ราวๆ 1.7%ต่อปี ลองเทียบกับเงินฝากประจำ 3 เดือนดูสิครับ
เงินฝากประจำ 3 เดือน ตอนนี้ได้ดอกอยู่ที่ 1.1%-2.1%ต่อปี และอย่าลืมว่า ดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ด้วย ดังนั้น สมมติ ผมเอาไปฝาก 3 เดือน ที่ธนาคารที่ให้ดอกสูงสุด (ธนาคารเกียรตินาคิน) 2.1% ต่อปี ได้ดอกเบี้ยหลังหักภาษีจริงๆเท่ากับ 1.785%ต่อปี
ไม่ต้องพูดถึง 4 แบงค์ใหญ่ ที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5% ไม่เกินจากนี้ หักภาษี 15% แล้วเหลือจริงๆเท่ากับ 1.275% เอง
กลับไปเปรียบเทียบกับ กองทุนตราสารหนี้ในไทย อายุ 3 เดือน ที่ผมบอกว่าได้ผลตอบแทน 1.7%ต่อปี สิครับ ใครได้สูงกว่า??
ข้อดีของกองทุนทุกกองในตลาดก็คือ ได้รับการยกเว้นภาษีจากการขายคืน ดังนั้น 1.7% หากได้กลับมาตอนกองครบกำหนด ก็ไม่ต้องหักอะไรแล้ว
เทียบเรื่องความเสี่ยงกันระหว่าง เงินฝากธนาคาร กับ กองทุนพันธบัตรรัฐบาล ต่างกันไหม?
ถ้ากองทุนนั้น เป็นกองทุนพันธบัตรรัฐบาล 100% ไม่มีตราสารหนี้ประเภทอื่นเจือปน ก็ถือได้ว่า ความเสี่ยงเท่ากับเงินฝากธนาคารครับ
เพราะอะไร? ก็เพราะเงินฝากมี กองทุนฟื้นฟูฯซึ่งดูแลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้คุ้มครองเงินต้น ส่วนพันธบัตร ก็เป็นกระทรวงการคลังเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น หากเจอกองทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากที่เรามองๆอยู่ ไม่ต้องลังเลครับ กองทุนได้ผลตอบแทนสูง เสี่ยงเท่ากัน คราวนี้ ถ้าขยับมาดูพวกเสี่ยงต่ำ และสภาพคล่องสูงๆ อย่างเงินฝากประเภทออมทรัพย์ มีอะไรตอบโจทย์แทนมันได้ไหม?
ถึงดอกเบี้ยจะน้อย แต่ฝากถอนง่าย สภาพคล่องสูง ใช้เงินตอนฉุกเฉินสะดวกดี โอนไปจ่ายเงินก็ง่ายแสนง่าย มีอะไรง่ายกว่านี้ป่ะ (ทำเสียงเหวี่ยงๆด้วย)

ด้วยเหตุผลเมื่อกี้ ทำให้เชื่อผมไหมครับ เงินฝากที่มีอยู่ในระบบธนาคารเยอะที่สุดเกิน 50% ก็คือ เงินฝากออมทรัพย์ ที่ได้ดอกต่ำๆนี่ล่ะ คนไทยนี่แปลกนะ กลัวการไม่ได้ใช้เงิน เอาไว้ในที่จับต้องได้ง่าย แต่สุดท้าย มักลงเอยด้วยสองทาง 1) ถอนมาใช้หมด 2) ทิ้งไว้จนลืมไม่ได้ทำอะไร
ไม่ว่าลงเอยทางไหน ไม่ดีต่อเงินในกระเป๋าทั้งนั้น ถูกไหมครับ ลองสำรวจเงินในบัญชีออมทรัพย์ตัวเองกันไหม ว่าทิ้งไว้กี่เดือนกันแล้ว :)
ทางเลือกทดแทนสำหรับคนที่ต้องการสภาพคล่องใกล้เคียงเงินฝากออมทรัพย์ ก็คือ ตั๋วเงินคลังระยะสั้นๆ หรือกองทุนตลาดเงิน (Money Market Fund) ตั๋วเงินคลัง สำหรับรายย่อยอาจซื้อลำบากหน่อย ใช้เงินเยอะ แต่สำหรับ Money Market Fund (MMF) ใครๆก็ลงทุนได้ครับ MMF มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้อายุสั้นๆ เปิดให้ซื้อขายได้ทุกวันทำการ ตอนนี้ผลตอบแทนอยู่ราวๆ 1.4% ต่อปี ไม่เสียภาษี
เวลาขายกองทุน MMF จะได้รับเงินคืนในวันทำการถัดไป สภาพคล่องน้อยกว่าเงินฝากออมทรัพย์ก็ตรงนี้ครับ
แต่ผลตอบแทน ถือว่าเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับออมทรัพย์ น่าจะทำให้คนฝากเงินเปลี่ยนใจมาลงทุนใน MMF ได้ไม่ยากนะ
ถึงแม้ขายยากขึ้นหน่อย แต่ข้อดีคือ ทำให้เรามีเวลาคิด เวลาจะจ่ายเงิน ถามตัวเองกลับว่า จำเป็นจริงๆไหม ใช้สติเพิ่มขึ้น ผมถือว่า MMF สอบผ่านนะ:)
ปัจจุบัน MMF ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลล้วนๆก็มีหลายเจ้าครับ ยกตัวอย่างเช่น ABCC ของ Aberdeen, TMBTM ของ TMBAM หรือ AYFCASH ของ AYF MMF
พวกเมื่อกี้ เปรียบไปก็ความเสี่ยงเท่ากับออมทรัพย์เลย เพราะกระทรวงการคลังคุ้มครองเหมือนกัน แต่ผลตอบแทนนี่สิ MMF ชนะขาด ข้อดีของ MMF อีกข้อก็คือ เวลาขายคืน เราจะได้รับผลตอบแทนทันที (คล้ายๆดอกเบี้ย) ไม่ต้องรอทุกๆ 6 เดือนเหมือนฝากออมทรัพย์ ตอนนี้มี MMF บางกองทุนที่ขายคืนปั๊บ ได้เงินปุ๊ป เหมือนกดเงินจากตู้ ATM เลย (มีเจ้าเดียวเท่าที่รู้) ก็คือ TMBMF ของ บลจ.ทหารไทย ครับ ใครสนใจกองทุน TMBMF ก็ลองไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมในนี้ //bit.ly/h273Ae แต่กองนี้ไม่ได้ลงทุนแค่พันธบัตรฯนะ มีตราสารหนี้ภาคเอกชนด้วย
ในอนาคต นวัตกรรมทางการเงินเหล่านี้ จะเปลี่ยนพฤติกรรมฝากเงินของคนไทยไปนะครับ ตอนนี้ MMF ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ
มีโบกรฯบางแห่งผูกบัญชีลงทุนของลูกค้ากับ MMF แทนที่จะเป็น saving เพราะดอกเบี้ยดีกว่าเยอะกว่า และ Settlement เงิน T+3 ซึ่งขาย MMF ทันอยู่แล้ว
ลองคิดดูนะ สมมติ ผมเปิดพอร์ตเทรดหุ้น 20 ล้าน ขายหุ้นได้กำไร เอาเงินมาไว้ใน saving เทียบกับ MMF ซัก 5 วัน จะต่างกันยังไง?
Saving ได้ดอก 0.65% 5วัน คิดเป็นเงิน 1,780 บาท ส่วน MMF ได้ 1.4% 5 วัน ก็เท่ากับ 3,835 บาท ต่างกัน 2,054 บาท แค่ 5 วันทำการเท่านั้น นี่เป็นเหตุผลครับ เงินฝาก ไม่เคยให้อะไร นอกจากความสบายใจ ... ถ้าเราเข้าใจการลงทุน เริ่มที่เสี่ยงต่ำๆไว้ก่อน ก็ยังได้มากกว่าเงินฝากอยู่ดี
สำหรับ MMF ที่มีในตลาด ผมจะโพสกระทู้ผลการดำเนินงานย้อนหลังให้ทุกๆเดือนในห้องสินธร Pantip นะครับ ติดตามกันได้
เดี๋ยวคงมีคนถามว่า เลือกกอง MMF กองไหนดี งั้นเอาของเดือน ธ.ค. ไปดูก่อน //bit.ly/hZ5c2Q ล่าสุด AYFSPLUS ให้ผลตอบแทนสูงสุดในระยะสั้นๆ

เหตุผลที่สอง ทำไมต้องลงทุน ไม่ใช่ฝากเงิน? คำตอบก็คือ เพราะ "เงินเฟ้อ (Inflation)" ครับ
Inflation เกี่ยวอะไรกับเงินฝาก ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า Inflation หรือ เงินเฟ้อ มันคืออะไร :)
เงินเฟ้อ = ระดับราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้หน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละ (%)
สมมติว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ที่ 3% ก็แปลว่า ราคาสินค้า และบริการในตลาด แพงขึ้นเฉลี่ย 3% ในงวดก่อนหน้า
แล้วเงินเฟ้อ มันมีผลยังไงกับเงินฝาก?
ลองนึกดูครับ สมมติ เงินเฟ้อวิ่งอยู่ทุกเดือนๆ ที่ 3% แต่เราฝากเงินในธนาคาร กินดอกเบี้ย 1.5%ต่อปี อะไรจะเกิดขึ้นเอ่ย??
แปลว่า อำนาจการซื้อหรือการบริโภคของเราลดลง (Purchasing Power) เพราะราคาสินค้าในตลาดขึ้นแรงกว่าผลตอบแทนที่เราทำได้
เป็นอย่างนี้ก็อันตราย เพราะเท่ากับว่า จำนวนเงินจากการฝากเงินแม้เพิ่มขึ้นจริง แต่ไม่มีปัญญาซื้อสินค้า เพราะราคาวิ่งเร็วกว่า
ยกตัวอย่างนะครับ สมมติผมฝาก 5 บาทไว้ในธนาคาร กินดอก 1.5% แต่มาม่าขยับราคาจาก 5 บาท เป็น 6 บาท ซึ่งเท่ากับ 20% ผมไม่มีปัญหาซื้อแล้ว มาม่า T_T
เงินเฟ้อ ก็เหมือนกรณีของมาม่า แต่เงินเฟ้อ คำนวนจากราคาสินค้าหลายประเภทมาเฉลี่ยกันอีกทีครับ ใครสนใจลึกๆ ไปอ่านใน bot.or.th ได้
ด้วยการคุกคามของเงินเฟ้อแบบนี้ ใครอยากชนะมัน ก็ต้องหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อครับ
โยงไปเรื่อง Global Economic หน่อย การที่จีนพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อในประเทศให้ต่ำๆไว้ ก็เพราะเรื่องนี้ครับ ไม่งั้นประชาชนเดือดร้อนแน่ๆ
ผิดกับอเมริกา ที่หลังจากมีวิกฤต คนก็ชะลอการใช้จ่าย ...นโยบายทางเศรษฐกิจของอเมริกาจึงอยากเร่งให้มีเงินเฟ้อ คนจะได้ออกมาใช้จ่าย ออกมาลงทุน
2 มหาอำนาจ คิดต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ "Currency War" ใครจะชนะ อย่าไปเดาครับ รอดูไปเรื่อยๆ
กลับมาเรื่องเงินฝาก กับเงินเฟ้อต่อนะ จะเห็นว่า ทั้งกองทุนพันบัตรฯ หรือ MMF หรือเงินฝาก ที่เอ่ยถึงวันนี้ทั้งหมด ไม่มีตัวไหนชนะเงินเฟ้อได้เลย
อะไรที่ชนะเงินเฟ้อได้ พรุ่งนี้มาต่อนะครับ วันนี้ยาวเกินไปแล้ว รบกวน Timeline ทุกท่านนานไป เกรงใจ :)


Create Date : 19 มกราคม 2554
Last Update : 19 มกราคม 2554 0:54:34 น. 7 comments
Counter : 6143 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: Areewan IP: 58.8.92.212 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:7:56:43 น.  

 
รออ่านตอนต่อไปครับ


โดย: diabloth IP: 125.25.162.97 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:7:59:49 น.  

 
สุดยอดของประโยชน์เลย
อ่านหนังสือการลงทุนมา2เล่มไม่เข้าใจเท่ากับอ่านนี้5นาที ^^


โดย: lapistoy IP: 172.30.0.117, 125.27.29.160 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:8:53:26 น.  

 
รออ่านต่อคะ ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ ^^


โดย: Great Autumn IP: 125.24.222.156 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:11:55:24 น.  

 
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ ใช้ภาษาง่ายๆ สื่อสารแล้วเข้าใจเลย ไม่ต้องแปลต่อ จะรออ่านของ ภาค 2 ค่ะ


โดย: rocky mountain IP: 58.9.69.155 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:13:17:33 น.  

 
รอครับท่าน


โดย: ธนวัฒน์ IP: 111.84.102.239 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:13:39:35 น.  

 
รออ่านต่อด้วยอีกคนค่ะ ^ ^


โดย: พุทรา IP: 202.151.7.30 วันที่: 19 มกราคม 2554 เวลา:13:48:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Messenger
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




Head, Investment Consultants Citigold Citibank N.A. (Thailand)
free hit counter
click here
free hit counter
Friends' blogs
[Add Mr.Messenger's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.