การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรสังเกตุ คำเตือนบนฉลากก่อนดื่มทุกครั้ง
Group Blog
 
All Blogs
 
แรงหรือไม่แรง? :: ผลกระทบจากการขอยืดระยะเวลาชำระหนี้บริษัท Dubai’s World

ผลกระทบจากการขอยืดระยะเวลาชำระหนี้บริษัท Dubai’s World ซึ่งมีรัฐบาล Dubai เป็นผู้ถือหุ้น
แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. ทำให้ทั่วโลกเริ่มมีความกังวลว่าจะเกิดหนี้สูญ จากการไปปล่อยกู้ให้บริษัทนี้ (เฉพาะบริษัทที่ไปปล่อยกู้ให้)
2. ทำให้ทั่วโลกกังวลว่า การขอเลื่อนชำระหนี้ครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของฟองสบู่อีกลูกหรือเปล่า
3. ทำให้ทั่วโลกขาดความเชื่อมั่นในการปล่อยกู้ให้กับบริษัทในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ประเด็นแรก ทำให้ทั่วโลกเริ่มมีความกังวลว่าจะเกิดหนี้สูญ จากการไปปล่อยกู้ให้บริษัทนี้ - ต้องมาดูว่า ใครไปปล่อยกู้ให้ Dubai’s World บ้าง
- จากยอดหนี้เกินกว่า US$50Billion เป็นการกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศ ซึ่งอยู่ใน อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน อเมริกา และ ญี่ปุ่น ในขณะที่ยอดหนี้ส่วนที่เหลือ มีเจ้าหนี้เป็น UAE (ประมาณ US$9-11Billion)

หากรวมยอดหนี้ทั้งหมดที่ธนาคารฝั่งอเมริกา และฝั่งยุโรปไปปล่อยกู้ไว้ (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2008) ก็มีดังต่อไปนี้


และจากข้อมูลการแถลงข่าวของ Royal Bank of Scotland เมื่อครึ่งปีแรกของปี 2009 ได้ออกมาแถลงว่า รวมการปล่อยสินเชื่อของ ABN-Amro และตัว RBS เอง ณ ตอนนี้ น่าจะมีประมาณ US$8.2Billion แล้ว (ABN-Amro ได้ควบรวมกิจการกับ RBS ไปแล้ว)
ทางฝั่ง Abu Dhabi มีสินเชื่อให้ Dubai’s World ประมาณ US$1.9-2.5Billion ขณะที่ First Gulf Bank มีอยู่ที่ US$1.4Billion เมื่อเห็นยอดหนี้ ก็ไม่แปลกใจว่าทำไม Abu Dhabi ต้องเข้าไปช่วยเหลือครั้งนี้แน่นอน


- จาก Syndicated Loans อีกประมาณ US$45Billion โดยจะมียอดประมาณ US$7.3Billion ครบกำหนดในปี 2010 นี้ และอีก US$17.5Billion ครบกำหนดในปี 2011
- ที่เพิ่งครบกำหนดในตอนกลางเดือน ธ.ค. 2009 นี้ เป็นหนี้ของ Nakheel ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท Dubai’s World ในรูปของ Islamic bond US$3.5Billion ซึ่งรัฐอาบูดาบี ได้อัดฉีดเงินเพื่อช่วยเหลือแล้ว US$10.0Billion ทำให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยบกับหนี้เสียส่วนนี้แล้ว
สรุป หนี้ก้อนที่ใหญ่จริงๆจะครบกำหนดในปี 2011 ดังนั้นตอนนี้จึงสรุปได้ว่า ปัญหา Dubai’s World ได้ผ่านช่วงที่ตรึงเครียดที่สุดไปแล้ว ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐอาบูดาบี

ประเด็นที่สอง ทำให้ทั่วโลกกังวลว่า การขอเลื่อนชำระหนี้ครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของฟองสบู่อีกลูกหรือเปล่า – ต้องดูว่าในภูมิภาคนี้ได้เงินกู้ไปเยอะแค่ไหน
- Syndicate Loan ของตะวันออกกลางทั้งภูมิภาคนั้นมีมูลค่ามหาศาล เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 3 ของปี 2009 ที่ผ่านมา ยอดสินเชื่อประเภท Syndicate Loan มีสูงเกือบๆถึง US$288Billion ซึ่งมากกว่า 90% มาจากธนาคารต่างชาติ
- หนึ่งในโครงการที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ King Abdullah Economic City มีมุลค่าโครงการสูงถึง US$120Billion ตัวโครงการถูกชะลอมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากผลกระทบจาก Subprime Crisis และยังมีโครงการประเภท Luxury Project อีกหลายโครงการโดนดองไว้เช่นกัน
- ไม่เพียงแต่ธนาคารทางฝั่งอเมริกาหรือยุโรปเท่านั้น ล่าสุด ICBC ของประเทศจีน ก็ปล่อยกู้ในตะวันออกกลางไปแล้ว US$607Million รวมถึง Bank of China ที่ปล่อยไป US$585Miilion ซึ่งยังถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากนัก
- สำหรับ ธนาคารที่มี Loan Book ใน Middle East ขนาด US$3-4Bllion ขึ้นมา ก็มีตามนี้ครับ (ไม่ได้เรียงตามขนาด)
DBS Singapore
Credit Agricole France
HSBC UK
Citigroup US
Bank of America US
ING Netherlands
Standard Chartered UK
Barclays UK
Royal Bank of Scotland UK
Bank of Tokyo Mitsubishi Japan
Mizuho Japan
Sumitomo Mitsui Japan
Deutsche Bank Germany
BNP Paribas France

- โครงการอสังหาริมทรัพย์ในตะวันออกกลางทั้งมีมูลค่าสูงถึง US$2.5 Trillion เป็นโครงการใน UAE ถึง US$1.28 Trillion หรือเกิน 50% ของโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดในตะวันออกกลาง (ขนาดใกล้เคียงกับ Subprime ทีเดียว) ในจำนวนนี้มีโครงการมูลค่ารวมประมาณ US$500Billion ที่อยู่ในช่วงที่ต้องเลื่อนกำหนดการออกไป อีกทั้งคนงานเกือบครึ่งก็ยังถูกปลดออกจากบริษัทด้วย
ซึ่งหากดูจากขนาดของเงินกู้ และโครงการต่างๆในตะวันออกกลาง ก็ต้องถือเป็น Bubble และมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบทุนนิยมโลกในอนาคต เหลือเพียง ปัญหาจะลามเร็วขนาดนั้น และจะแก้ปัญหาได้ทันไหม

ประเด็นที่สาม ทำให้ทั่วโลกขาดความเชื่อมั่นในการปล่อยกู้ให้กับบริษัทในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ – ลองมองผ่าน CDS ของธนาคารในยุโรป ณ ตอนนี้ ก็พบว่าธนาคารที่มีการปล่อยกู้ให้ Dubai’s World ต่างมี CDS สูงขึ้นทั้งนั้น

ผลกระทบจากความเชื่อมั่น ถือว่ารุนแรงมากที่สุดใน 3 ประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมา ลำดับผลกระทบดังนี้

- จากค่าเฉลี่ย CDS ของธนาคารและสถาบันการเงินทั้งหมด 107 แห่งที่ดำเนินธุรกิจในยุโรป อยู่ที่ 172.9 พบว่า ธนาคารที่มีการปล่อยกู้ให้ Dubai’s World ยังคงต้องจ่าย CDS Premium ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยมี RBS = 401.7, ABN Amro = 341, Lloyds = 318.8 และ Abu Dhabi = 318.5


- เมื่อธนาคารเหล่านี้มีความเสี่ยงหนี้สูญหรือขาดทุน อันเกิดจากการปล่อยกู้ในตะวันออกกลาง ผลที่ตามมาคือ การปล่อยกู้ในตะวันออกกลางจะมีความเข้มงวดมากขึ้น ธนาคารบางแห่งอาจพิจารณาระงับสินเชื่อ หรือขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้น หรือวิธีสุดท้าย คือ เรียกหลักประกันมากขึ้น แต่เนื่องจากราคา Asset ใน UAE ก็ตกลงต่อเนื่อง เนื่องจากไม่ได้รับการพัฒนาต่อ หรือบางโครงการต้องหยุดชะลอไว้ ดังนั้นหลักประกันที่ธนาคารได้มา ก็ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ดี ทำให้ธนาคารเหล่านี้อาจมี NPA ในงบเพิ่มขึ้น
- ธนาคารที่มีความเสี่ยง ก็จะต้องการการเพิ่มทุน หรือการช่วยเหลือจากรัฐบาลอีกครั้ง ใครที่มีกำไรสะสมเก็บไว้ ก็ถึงยามต้องใช้ ใครที่ยัง Write Off CDOs ไม่หมด ก็ต้องเจ็บตัวกันอีกรอบ
- เมื่อดูจากโครงสร้างการลงทุนของกองทุนในตะวันออกกลางทั้งรัฐและเอกชน พบว่า เกินกว่า 50% เป็นเงินลงทุนในตลาดทุน และอสังหาริมทรัพย์ในอเมริกาและ เป็นสินทรัพย์ในยุโรปอีก เกือบๆ 20% ซึ่งขนาดของกองทุนในตะวันออกกลางปัจจุบันมีขนาดใหญ่ถึง US$2.0 Trillion ทีเดียว หากกองทุนเหล่านี้ต้องการ Raise Cash เพียงแค่ 3-5% เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวเอง ก็คงต้องขาย Assets เหล่านี้ออกมาก่อน ดังนั้น Worst Case Scenario ก็คือ เกิด Panic Sell ในตลาดฝั่งอเมริกา และยุโรป

ต้องทำอย่างไร?
เมื่อมองในองค์รวมของปัญหา หากดูไบเกิดปัญหาขึ้นอีกครั้งภายในปีหน้า นักลงทุนจะกลับมาแห่ขาย US$ และสินทรัพย์ในอเมริกา รวมทั้งยุโรป Fund Flow ก็น่าจะวิ่งเข้าสู่ตลาดเอเชีย หรือตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคอื่นอย่างละตินอเมริกา และ Commodities อีกครั้ง
ตัวข้าราชการอาวุโสของรัฐบาลจีนก็ออกมาแถลงเองว่า วิกฤตดูไบครั้งนี้ น่าจะเปิดโอกาสในการเข้าซื้อทองคำ และน้ำมัน ในราคาที่ถูกลงในระยะสั้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าทางจันมองว่า การที่ US$ แข็งค่าขึ้น น่าจะเป็นการแข็งค่าในระยะสั้นๆเท่านั้น โดยที่มองว่า น้ำมัน และทองคำ น่าจะเป็นแหล่งลงทุนในระยะยาว

ทั้งนี้ บทความนี้ เป็นแค่สมมติฐานว่า “หากเกิดปัญหาที่ดูไบ อีกครั้ง” ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ดังนั้น สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด จึงเป็นแค่ความเสี่ยงที่เราควรพิจารณาไว้ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง เราก็จะมีแผน 2 แผน 3 มารองรับพอร์ตการลงทุนของเรา และไม่ Panic ไปกับตลาด ณ ตอนนั้น แต่ส่วนตัวแล้ว ผมขออย่าให้เกิดอะไรขึ้นอีกเลยครับ กลัวจะรับกันไม่ไหว ส่วนจะเกิดหรือไม่เกิด God Only Knows ครับ!

//twitter.com/MrMessenger


Create Date : 21 ธันวาคม 2552
Last Update : 21 ธันวาคม 2552 18:43:59 น. 6 comments
Counter : 578 Pageviews.

 
ปีใหม่มีโปรแกรมไปเที่ยวไหนเปล่าคะ
ขอให้มีความสุขนะคะ
ขอให้มีโชคหมดทุกข์โศกโรคภัย
พ้นเคราะห์ที่เลวร้าย พันภัยด้วยเทอญ


โดย: chabori วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:20:39:35 น.  

 
โดนแขกทิ้งระเบิดเข้าให้แล้วครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาตีแผ่ให้รับรู้ครับ


โดย: waterman_tmec IP: 203.185.130.17 วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:23:25:02 น.  

 
ขอบคุณครับ เช่นกันนะครับ
ตอนนี้ผมยังไม่มีโปรแกรมไปไหนเลย


โดย: Mr.Messenger วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:23:25:51 น.  

 
ทุกอย่างล้วนกระทบกันหมดจริงๆ


โดย: p_tham วันที่: 22 ธันวาคม 2552 เวลา:1:04:28 น.  

 
แวะมาขอบคุณ


โดย: Nirusl IP: 64.254.116.14 วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:8:18:25 น.  

 
เค้าเรียก ทฤษฎีโดมิโนหรือเปล่าคะ






โดย: puy_naka63 วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:19:35:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Mr.Messenger
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 61 คน [?]




Head, Investment Consultants Citigold Citibank N.A. (Thailand)
free hit counter
click here
free hit counter
Friends' blogs
[Add Mr.Messenger's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.