สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
All blogs
 
รีวิว...อะไหล่เครื่องทำความเย็น SANHUA



รีวิวฉบับนี้จะเป็นการรีวิวซ่อมเครื่องปรับอากาศ โดยใช้อะไหล่เครื่องทำความเย็นจากแบรนด์ SANHUA ซึ่งแบรนด์นี้ถือเป็นผู้ผลิตอะไหล่และอุปกรณ์ในระบบ HVAC รายใหญ่จากจีนแผ่นดินใหญ่ สินค้าของแบรนด์นี้มีอยู่หลายอย่างซึ่งครอบคลุมทั้งอุปกรณ์และอะไหล่ที่ใช้ในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ



โดยแบรนด์ SANHUA จัดว่าเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นรายใหญ่ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 30 ปี มีต้นกำเนิดที่มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน
แรกเริ่มเดิมทีนั้น
SANHUA เคยเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นให้กับ Danfoss แต่ภายหลัง Danfoss ได้ปรับเปลี่ยนฐานการผลิตโดย Danfoss ได้กลับไปผลิตสินค้าเอง ทำให้ทาง SANHUA ซึ่งมีศักยภาพด้านการผลิตอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นอยู่แล้ว และยังมีข้อมูลสินค้าหลายๆอย่างที่เคยผลิตให้ Danfoss มาก่อนหน้า จึงตัดสินใจผลิตสินอุปกรณ์ในระบบทำความเย็นออกมาในแบรนด์ของตนเองโดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า “SANHUA” ในช่วงเริ่มต้นได้ผลิตสินค้าออกมาเพื่อตีตลาดในจีน และได้ประสบความสำเร็จ จนขยายตลาดไปยังฝั่งยุโรป อเมริกา และมายังไทยอีกด้วย

และจะว่าไปแล้ว ในปัจจุบัน สินค้าในกลุ่มของอุปกรณ์ระบบทำความเย็นที่วางจำหน่ายในไทย มีแบรนด์สินค้าจากจีนเข้ามาวางจำหน่ายอยู่มากมาย และคุณภาพสินค้าก็มีหลายเกรด แต่เมื่อพิจารณาจากประวัติความเป็นมาและความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต แบรนด์ SANHUA ก็จัดว่าเป็นสินค้าที่มีเกรดคุณภาพค่อนข้างดีและมีราคาที่ย่อมเยา เมื่อเทียบกับสินค้าแบรนด์จากทางฝั่งยุโรปและอเมริกานี่จึงทำให้อุปกรณ์ระบบทำความเย็นแบรนด์ SANHUA เป็นอีกแบรนด์ที่น่าสนใจเหมาะสำหรับนำมาเป็นตัวเลือกในการใช้งานเลยก็ว่าได้


เพราะในปัจจุบัน SANHUA ถือเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าของตน ให้กับองค์กรใหญ่ ๆ หลายองค์กรเช่น ในกลุ่มของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ก็จะมีตัวอย่างเช่น Mercedes Benz, BMW, แม้แต่ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าค่าย Tesla ที่เป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ระดับโลกก็ยังไว้ใจเลือกใช้สินค้าแบรนด์ SANHUA และนอกจากนั้นบริษัทผลิตแอร์ชื่อดังหลายรายก็ไว้วางใจที่จะเลือกใช้แบรนด์ SANHUA เช่นกัน อาทิเช่น Samsung, Carrier, Daikin, LG และอื่น ๆ อีกมากมาย

โดยในบ้านเราผู้น้ำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ SANHUA หนึ่งในนั้นก็คือ บริษัท แสงชัยอีควิพเม้นท์ (1984) จำกัด ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ทำความเย็นและไฟฟ้าครบวงจร



และรีวิวฉบับนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนอะไหล่เครื่องทำความเย็นแบรนด์ SANHUA จาก บริษัท แสงชัยอีควิพเม้นท์ (1984) จำกัด ซึ่งได้กรุณาจัดส่งอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อมเครื่องปรับอากาศตามที่ผมต้องการมาให้

โดยอุปกรณ์ที่นำมาใช้และรีวิวในครั้งนี้ประกอบไปด้วย ฟิลเตอร์ดรายเออร์ (Filter Dryer), เซอร์วิสวาล์ว (Service Valve) และ ไซท์กลาส (sight glass)



อุปกรณ์ที่ส่งมาจาก บริษัท แสงชัยอีควิปเม้นท์ (1984) จำกัด




มาดูอย่างแรก ซึ่งนั่นก็คือ ฟิลเตอร์ดรายเออร์ (Filter Dryer) ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวกรองและดูดความชื้นในระบบเครื่องทำความเย็น


กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ฟิลเตอร์ดรายเออร์ SANHUA



เมื่อแกะกล่องออกมาก็จะพบฟิลเตอร์ดรายเออร์ และเอกสารคู่มือแนะนำผลิตภัณฑ์



ฟิลเตอร์ดรายเออร์ของ SANHUA ผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล รวมไปถึงผ่านมาตรฐาน DIN และ ARI คุณภาพและมาตรฐานที่มีนั้นเทียบได้กับฟิลเตอร์ดรายเออร์ของแบรนด์ดังระดับโลกหลายๆแบรนด์
ดูด้วยตาเปล่าเบื้องต้นก็พอจะเห็นได้ถึงความทนทาน ชั้นของสีเคลือบที่ดูด้วยตาเปล่าก็พอจะเห็นได้ว่าเป็นชั้นสีเคลือบที่มีความหนาและดูดีมีคุณภาพ
ซึ่งข้อมูลที่ผู้ผลิตให้มานั้น ก็ได้มีการการันตีในเรื่องของความทนทานเอาไว้โดยเฉพาะสีพ่นเคลือบภายนอกที่มีการทดสอบจำลองสถานการณ์โดยใช้กรดเกลือความเข้มข้นสูงซึ่งผลการทดสอบปรากฏว่าสีพ้นเคลือบฟิลเตอร์ดรายเออร์สามารถทนต่อสภาพของกรดเกลือความเข้มข้นสูงได้นานถึง 500 ชั่วโมง
แต่ในสภาวะการใช้งานปกตินั้นคงไม่มีใครเอากรดเกลือความเข้มข้นสูงไปพ่นใส่ฟิลเตอร์ดรายเออร์โดยตรงเป็นแน่ดังนั้นจึงมั่นใจไดในระดับหนึ่ง ว่าฟิลเตอร์ดรายเออร์ตัวนี้สามารถทนทานในสภาพแวดล้อมการใช้งานปกติได้ค่อนข้างดี



และนี่ก็คือภาพตัดที่แสดงให้เห็นด้านในตัวฟิลเตอร์ดรายเออร์ของ SANHUA ซึ่งด้านในจะประกอบไปด้วย สารดูดซับความชื้น Molecular Sieves และ สารดูดซับกรด Activated Alumina โดยสารดังกล่าวจะถูกอัดเป็นแท่งบรรจุมาให้อย่างเต็มที่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของสารดูดซับความชื้อที่มีใช้ในฟิลเตอร์ดรายเออร์ของ SANHUAนั้น คือสาร Molecular Sieve (โมเลกุลลาร์ ซีฟหรือ ที่เรียกว่า Synthetic Zeolite เป็นสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้น ที่ดีมาก ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์รอบข้างในระดับที่ต่ำมาก(10% - 30%) โดยมีประสิทธิภาพ ในการดูดความชื้นประมาณ 22% ของน้ำหนักตัวเอง และด้วยโครงสร้างพิเศษเฉพาะตัวที่มีในสาร Molecular Sieve ทำให้มันมีพื้นผิวสัมผัส ประมาณ 7-800 ตารางเมตรต่อ 1 กรัม และมีแรงดึงดูดความชื้น ที่สูงมาก ข้อดีดังกล่าวทำให้ปัญหาการคายความชื้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Silica Gel ในสภาวะที่อุณหภูมิรอบข้างสูงขึ้น


ภาพตัดอีกมุมของฟิลเตอร์ดรายเออร์ ยี่ห้อ SANHUA ซึ่งแสดงให้เห็นถึงชั้นของตัวบอดีที่ทำมาจากเหล็กหนาแข็งแรงทนทานพร้อมกับแสดงให้เห็นชั้นของสีเคลือบที่หนา และเป็นสีเคลือบคุณภาพสูงที่ดูเงางามอีกด้วย






อุปกรณ์ชิ้นต่อมา นั่นก็คือ เซอร์วิสวาล์ว (Service Valve) หรือวาล์วบริการที่ติดตั้งในระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ
โดยในเครื่องปรับอากาศรุ่นปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกือบทุกเครื่องจะต้องมีเซอร์วิสวาล์วติดตั้งอยู่ที่บริเวณด้านข้างของชุดคอยล์ร้อน (
Condensing Unit) ซึ่งเซอร์วิสวาล์วจะมีหน้าที่เป็นวาล์วสำหรับเปิดปิดน้ำยาที่อยู่ในชุดคอยล์ร้อน และยังเป็นจุดที่ใช้เชื่อมต่อท่อน้ำยาแอร์ที่มาจากชุกคอยล์เย็น (Fan Coil Unit) อีกด้วย



สำหรับเซอร์วิสวาล์ว ของ SANHUA นั้นจะแตกต่างไปจากเซอร์วิสวาล์วแบบธรรมดาทั่วไป โดยเซอร์วิสวาล์วของ SANHUA นั้นจะไม่มีซีลยางรองอยู่ด้านใน เนื่องจากยางพวกนี้เมื่อใช้งานไปนานๆอาจเสื่อมสภาพ และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการรั่วซึมของสารทำความเย็นในระบบได้ 




การที่เซอร์วิสวาล์ว ของ SANHUA ซึ่งไม่มีซีลยางด้านในแต่สามารถกักเก็บสารทำความเย็นได้โดยที่ไม่มีการรั่วซึม นั่นก็เพราะว่าเซอร์วิสวาล์วของ SANHUA ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี โดยใช้วัสดุคุณภาพดีร่วมกับเครื่องจักรที่ทันสมัยในการผลิต ทำให้บริเวณรอยต่อด้านใน สามารถปิดได้แนบชิดสนิทกันจนแรงดันสารทำความเย็นไม่สามารถรั่วไหลออกมาได้นั่นเอง และนอกจากนี้ตัวผลิตภัณฑ์ยังมีการรับประกันให้ถึง 1 ปี อีกด้วย







และอุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย นั่นก็คือ ไซท์กลาส (sight glass) หรือบางท่านอาจจะเรียกว่า “ตาแมว” หรือ “ตาแก้ว” โดยไซท์กลาสนั้นเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ดูสถานะหรือดูการไหลของสารทำความเย็นหรือน้ำยาที่ไหลในระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศนั่นเอง


กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ไซท์กลาส SANHUA



เมื่อแกะกล่องออกมาก็จะพบไซท์กลาส และเอกสารคู่มือแนะนำผลิตภัณฑ์



ไซท์กลาส ของ SANHUA ตัวเรือนถูกขึ้นรูปมาเป็นชิ้นเดียว หน้าปัดกระจกมีขนาดใหญ่ สังเกตง่ายซึ่งแผ่นกระจกที่หน้าปัดนั้นถูกปิดผนึกมาเป็นการถาวร ไม่สามารถเปิดออกได้ ช่วยป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี และนอกจากนี้ยังมีแถบสีบอกสถานะของสารทำความเย็นอยู่ตรงกลางหน้าปัดอีกด้วย







ดูในส่วนของอุปกรณ์และข้อมูลเบื้องต้นของอุปกรณ์ไปแล้ว คราวนี้มาดูรีวิวการนำอุปกรณ์เหล่านี้มาติดตั้งใช้งานจริงบ้าง



โดยแอร์ที่จะนำมาสาธิตในครั้งนี้เป็นแอร์ที่เคยใช้งานจริงอยู่ มีอายุการใช้งานมาประมาณ 7 ปีแต่ในช่วงหลังแอร์เครื่องนี้ก็มีปัญหา โดยปัญหาหลักเกิดจากเซอร์วิสวาล์วของเดิมที่มากับตัวแอร์รั่ว เพราะซีลยางข้างในเสื่อมสภาพ เป็นผลให้น้ำยารั่วซึมออกไปจากระบบ




สภาพของเซอร์วิสวาล์วของเดิมที่มากับแอร์ซึ่งซีลยางข้างในเสื่อมสภาพ จนทำให้น้ำยารั่วซึมออกมา




เตรียมทำการรื้อเซอร์วิสวาล์วของเก่าออก และเตรียมเซอร์วิสวาล์วอันใหม่ ของ SANHUA ที่จะนำมาเปลี่ยน




หลังจากตัดเซอร์วิสวาล์วอันเก่าออกแล้ว




เริ่มทำการเชื่อมเซอร์วิสวาล์วอันใหม่ของ SANHUA เข้าไปแทนที่




หลังจากเชื่อมเซอร์วิสวาล์วอันใหม่ของ SANHUA เข้าไปแทนที่แล้ว ก็ขันสกรูประกอบกลับเข้าที่ให้เรียบร้อย




เปลี่ยนเซอร์วิสวาล์วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยพร้อมนำไปติดตั้งกลับเข้าที่



ก่อนจะนำชุดคอยล์ร้อนที่เปลี่ยนเซอร์วิสวาล์วแล้วกลับไปติดตั้งที่เดิม ก็ได้มีการเชื่อมฟิลเตอร์ดรายเออร์ ของ SANHUA เข้าไปในระบบด้วย เพราะแอร์เครื่องนี้ เดิมทีไม่ได้ถูกติดตั้งฟิลเตอร์ดรายเออร์มาจากโรงงาน การที่เราเพิ่มฟิลเตอร์ดรายเออร์เข้าไปก็เพื่อให้ในระบบแอร์มีตัวกรองความชื้นที่คอยจัดการสิ่งสกปรกและความชื้นที่อาจจะมีปะปนมาในระบบ และยังมีส่วนช่วยยืดอายุการใช้งานของแอร์เครื่องนี้ ให้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพนานยิ่งขึ้นไปอีกด้วย

ฟิลเตอร์ดรายเออร์ ของ SANHUA ที่เตรียมจะนำไปเชื่อมเข้ากับท่อแอร์ของเดิม 
โดยฟิลเตอร์ดรายเออร์ที่จะนำมาเชื่อมเข้าระบบนั้นต้องติดตั้งให้ลูกศรบอกทิศทางหันไปในทางที่สอดคล้องกับทิศทางการไหลของน้ำยาในระบบด้วย

 




ก่อนจะเชื่อมฟิลเตอร์ดรายเออร์ก็ได้มีการใช้ผ้าชุบน้ำห่อเอาไว้ เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างเชื่อมท่อ




ฟิลเตอร์ดรายเออร์ที่เชื่อมเข้าระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว



 นอกจากติดตั้งฟิลเตอร์ดรายเออร์เพิ่มเข้าไปในระบบแอร์ของเดิมแล้ว ก็ได้มีการติดตั้งไซท์กลาส ของ SANHUA เพิ่มเข้าไปในระบบอีกด้วย เพื่อให้สะดวกในการดูสถานะการไหลของน้ำยาแอร์ในระบบ


ไซท์กลาสที่ถูกเชื่อมเข้ากับระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว




หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆแล้วเสร็จ




ยกคอยล์ร้อนขึ้นติดตั้งยังตำแหน่งเดิมทำการเชื่อมต่อท่อน้ำยาแล้วทำการแว็คคั่มระบบเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นก็พร้อมเดินเครื่อง




เริ่มเดินเครื่องพร้อมชาร์จน้ำยา R22 เข้าไปในระบบ จนค่าแรงดันน้ำยา R22 ที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 70 psig ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจึงหยุดชาร์จน้ำยา




วัดค่ากระแสไฟฟ้าได้ที่ 2.8 (แอร์ขนาด 9,000 BTU)

ค่ากระแสไฟฟ้าที่วัดได้ของแอร์ขนาดนี้เทียบกันแล้วถือว่าค่อนข้างน้อย ซึ่งก็ถือเป็นผลดี




ในระหว่างที่แอร์ทำงาน สังเกตที่ไซท์กลาสที่ได้ใส่เพิ่มเข้าไป พบว่าน้ำยาไหลได้ดีไม่มีฟองอากาศปนในน้ำยา และที่ตรงกลางหน้าปัดจะเห็นได้ว่าแถบแสดงสถานะขึ้นแถบเขียว ซึ่งหมายถึงในระบบแห้งดีปราศจากความชื้น ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นก็คงเป็นผลมาจากประสิทธิภาพของฟิลเตอร์ดรายเออร์ที่ใส่เข้าไป ซึ่งช่วยทำหน้าที่จัดการกับความชื้นที่มีปนเข้าไปในระบบได้เป็นอย่างดี




แอร์เครื่องนี้ ภายหลังจากได้เปลี่ยนเซอร์วิสวาล์วและเพิ่มฟิลเตอร์ดรายเออร์ กับ ไซท์กลาส เข้าไป โดยรวมก็ทำงานได้เป็นปกติเรื่องการทำความเย็นนั้นก็ทำความเย็นได้ดีตามปกติ ไม่มีปัญหาอะไรเลย




ก่อนจะจบรีวิวครั้งนี้ก็ต้องขอขอบคุณ บริษัท แสงชัยอีควิปเม้นท์ (1984) จำกัด ที่ได้กรุณาสนับสนุนผลิตภัณฑ์คุณภาพดีจาก แบรนด์ SANHUA มาให้
และผมก็ต้องขอจบรีวิวลงแต่เพียงเท่านี้ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชม...สวัสดีครับ










Create Date : 29 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2560 20:58:42 น. 0 comments
Counter : 9552 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.