"ชีวิตมีไว้ให้เราใช้ ไม่ใช่ให้มันมาใช้เรา"
Group Blog
 
All Blogs
 
บันได ๑๓ ขั้น ปริศนาจากแดนประหาร : ปริศนาของชีวิตและความยุติธรรม


"การตัดสินลงโทษ ประหัตประหารชีวิตมนุษย์นั้น
เป็นสิทธิ์ของมนุษย์ด้วยกันเองโดยชอบธรรมหรือ ?"



ข้างต้นนี้ คือคำถามที่เป็นที่มาของหนังสือนิยาย
เรื่อง "บันได ๑๓ ขั้น ปริศนาจากแดนประหาร"
(ชื่อญี่ปุ่น 13階段 ทะคะโน คะซุอากิ เขียน วราภรณ์ พิรุณสวรรค์ แปล)

เรื่องของนักโทษชายคนหนึ่งชื่อ "จุนอิชิ"
ถูกข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อคุมประพฤติ

หลังถูกจองจำในคุกมาสองปีเต็ม
เขาได้พบกับอิสรภาพที่มาพร้อมกับความหวาดกลัวรวมทั้งความขมขื่น
เมื่อได้รับรู้ว่าทางบ้านต้องเดือดร้อนเพียงใดจากคดีที่เขาก่อขึ้น

...และแล้วความหวังก็ปรากฎขึ้นตรงหน้า...
เมื่ออดีตผู้คุมได้ว่าจ้างเขาเพื่อร่วมกันทำงานสืบหาหลักฐานพิสูจน์ว่า
นักโทษประหารคนหนึ่งว่า "บริสุทธิ์" ในเวลาสามเดือน
ผลตอบแทนนั้นคือเงินก้อนใหญ่ที่จะช่วยทางบ้านได้

แต่ว่า...งานนี้ไม่ง่ายเลย
ในช่วงเวลาที่ถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุฆาตกรรม
นักโทษประหารผู้นั้นจำอะไรไม่ได้
นอกจากความทรงจำเลือนรางเกี่ยวกับ "บันได" เท่านั้น
แถมพื้นที่สืบสวนก็บังเอิญเป็นที่เดียวกับคดีของจุนอิชิเอง
ทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนมากขึ้น ...และอันตรายมากขึ้นไปอีก


นอกเหนือไปจากการผูกโครงเรื่องที่ชาญฉลาด หลอกล่อ
และบรรยากาศที่ชวนติดตามของนิยายแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าในนิยายเรื่องนี้
คือการหยิบยกปัญหาในกระบวนการยุติธรรมของญี่ปุ่น
และรวมไปถึงปัญหาที่ถูกถกเถียงกันมาเนิ่นนาน
เกี่ยวกับ "โทษประหาร"

เล่าผ่านทางตัวละครผู้มีอุดมการณ์แต่สับสนในแนวคิดอย่างเช่นอดีตผู้คุม
ผ่านมุมมองของคนบริสุทธิ์คนหนึ่งที่ต้อง "ฆ่า" ผู้ที่ถูกตัดสินว่าไม่บริสุทธิ์
ต่างเป็นการต่อสู้ระหว่างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความเชื่อ และความหวาดกลัว




โทษประหารได้ชื่อว่าเป็นโทษที่เก่าแก่
พอๆ กับประวัติศาสตร์ชนชาติของมนุษย์เลยทีเดียว
และแนวคิดในการประหารนี้ก็แบ่งก็ได้กว้างๆ เป็น สามแนวคิด

แนวคิดแรกก็คือ การลงโทษเพื่อตามสนอง
จะเรียกว่าการแก้แค้นคืนให้ผู้ถูกกระทำและครอบครัวก็ได้
ว่ากันว่าแนวคิดนี้ เป็นการคิดถึงความรู้สึกส่วนบุคคลเกินไป
ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม

แนวคิดที่สองคือ การลงโทษเพื่อป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาชญากรรมซ้ำขึ้นอีกในสังคม
เรียกว่าไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง...ก็ว่าได้
คุ้นๆ ไหมคำนี้ แนวคิดนี้แหละที่ทำให้เกิดระบบลงไม้เรียวหน้าเสาธง

แนวคิดสุดท้าย เป็นการป้องกันไม่ให้นักโทษออกไปทำผิดได้อีก

มีคำแย้งตามตรรกะง่ายๆ สำหรับแต่ละแนวคิดดังนี้

หนึ่ง
การแก้แค้นนั้นทำให้เกิดผลดีขึ้นจริงหรือไม่
ผู้ตายสามารถรับรู้ได้หรือ..
ครอบครัวผู้ตายจะรู้สึกดีขึ้นจากการตัดชีวิตอาชญากรจริงหรือ
และการแก้แค้นนั้นไม่ได้ทำให้เกิดวงจรความแค้นใหม่ขึ้นอีกหรือ

สอง
หากเป็นเช่นนั้นจริง...
โลกที่มีตัวอย่างของอาชญากรที่ประสบชะตาอันเลวร้าย
น่าจะทำให้ไม่มีใครเอาเป็น "เยี่ยงย่าง" อีกแล้วใช่หรือไม่
หลายครั้งที่อาชญากรรมไม่ใช่ผลของความเลว
และความกลัวโทษทัณฑ์มิใช่สิ่งปกป้องอาชญากรรมเสมอไป

สาม
การกักกันให้นักโทษอยู่ในคุกไม่ได้ป้องกันสิ่งนั้นแล้วหรือ
และคนที่เป็นฆาตกรต้องเลวทุกคนหรือ



เหตุผลที่สำคัญที่สุดของเหล่าผู้สนับสนุนการยกเลิกโทษประหาร
ก็คือ "สิทธิมนุษยชน"ของนักโทษประหาร
ซึ่งส่งผลให้ผู้มีสิทธิ์ในชีวิตมากเท่าๆ กับมนุษย์ผู้อื่น
และมนุษย์นั่นไม่น่าจะมีหน้าที่ลงโทษมนุษย์ด้วยกันเอง...

"ในเมื่อการฆ่าคนเป็นความผิด
แล้วการฆ่านักโทษประหารเป็นความถูกต้องหรือ?"


คำถามนี้ ไม่ใช่จุดจบของปัญหา
หากเป็นการเปิดประเด็นปัญหาอีกมากมายสำหรับกระบวนยุติธรรม


เหมือนที่นิยายเล่มนี้บอกไว้นั่นล่ะ

ผู้คุม คือ คนที่โชคร้ายที่สุดในโลก
เพราะต้องทำความชั่วร้ายที่สุด
เพื่อปกป้อง(สิ่งที่ถูกเชื่อว่าเป็น)ความถูกต้องอันสูงสุด
และต่อสู้กับความน่าจะเป็นที่ว่า ผู้ถูกประหารอาจเป็นผู้บริสุทธิ์
เมื่อนั้น...ผู้คุม ก็จะกลายเป็นฆาตกรโดยไม่เจตนา...???

เพื่อป้องกันกรณีความบกพร่องในกระบวนการ จึงมีระบบอภัยโทษเกิดขึ้น
แต่ก็เพราะระบบอภัยโทษนี่แหละ ที่ทำให้กระบวนการตัดสินโทษทัณฑ์นี้
ไม่เป็นความยุติธรรมโดยสมบูรณ์...

แต่หากปราศจากโทษทัณฑ์แล้ว สังคมจะเป็นอย่างไร

พ่อแม่เด็กหญิงตัวน้อย จะทนเห็นฆาตกรฆ่าข่มขืนลอยนวลอยู่ได้ไหม...?
จะมีอะไรที่มาหยุดรั้งจิตใจคนให้กลัวในผลของอาชญากรรมได้...?
แล้วบรรทัดฐานของสังคมนั้นจะอยู่ที่ใด...?

เพราะเหตุนี้...
เราจึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติ กฎ ข้อบังคับของสังคม
เพื่อให้สังคมนั้นดำรงอยู่ได้


กฎหมาย มิใช่บทบัญญัติอันถูกต้องเสมอไป
กฎหมาย อาจถูกเย้ยหยันตราหน้า ว่าเป็นไม้บรรทัดคดงอในบางครั้งบางครา

ความยุติธรรมนั้นอาจจะไม่มีอยู่ในโลกจริง เพราะโลกใดๆ ก็ไม่อาจตัดสินด้วยมาตรฐานเดียวกัน

หากแต่ว่า กฎหมาย เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขับเคลื่อนสังคมมนุษย์
เพื่อให้ผู้คนหลายจิตหลากใจ อยู่ร่วมกันได้โดยไม่วุ่นวายเกินไป
ตราบใดที่โลกนี้ยังเป็นภาพสะท้อนของ "ความชั่ว" และ "ความดี"


"...หากยอมให้มีการประหารชีวิตโดยศาลเตี้ย
การล้างแค้นย่อมก่อให้เกิดการล้างแค้น
แล้วการล้างแค้นซึ่งไม่มีวันสิ้นสุดจะเริ่มต้นขึ้น
เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนั้น
ใครสักคนต้องลงมือแทน..."





ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทษประหาร

เว็บไทย //www.ucl.or.th/data_file/death_th2.pdf
"โทษประหารชีวิตในประเทศไทย"
โดย สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน(UCL) สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH)




ในแผ่นที่โลกข้างบนนี้ สีฟ้าคือประเทศที่ยกเลิกโทษประหารโดยสิ้นเชิง โดยหลายประเทศได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ นิกายโรมันแคทอลิค



ปล.
ถัดจากนี้คือคอมเมนท์ที่มีเพื่อนๆ เรามาเขียนให้
ตอนที่เอาบลอกนี้ไปลงในสเปซ คัดมาบางส่วนที่น่าสนใจค่ะ
(อันสุดท้ายคือส่วนหนึ่งจากหนังสือเรียนวิชากฎหมายของญี่ปุ่นค่ะ)



"อย่างเช่นโทษประหารนี่ เพราะว่ามนุษย์กลัวความตายเป็นที่สุด คิดถึงว่า ถ้าจะตายเเล้วจะเกิดอะไรขึ้น มันน่ากลัวมากเลย เคยได้ยินคนพูดว่า ถ้าต้องใช้ชีวิตอย่างนี้ตายดีกว่า แต่พอจะตายเข้าจริงๆ ร้อยทั้งร้อยล่ะมั้งที่จะขอลำบากแค่ไหนก็ได้ ให้มีชีวิตอยู่
ลองถ้าความตายไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์กลัวสิ โทษประหารก็จะไม่เกิดขึ้นหรอก จริงไหมล่ะ"


"...การประหาร หรือการฆ่าให้ตายอย่างถูกต้องตามกฏหมาย มันก็แค่การแก้ปัญหาปลายเหตุ ถามว่ามันทำให้อะไรดีขึ้นไหม สังคมมันดีขึ้นไหม ก็เปล่า
...มันไม่ใช่การแก้ที่ต้นเหตุ การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มันต้องแก้เข้าไปถึงรากเหง้าของระบบ แก้ที่ความคิดจิตใจของคน ระบบการศึกษา การปลูกฝังทางศีลธรรมความรู้จักผิดชอบชั่วดี ครอบครัว คุณภาพชีวิตขอประชากร งาน รายได้ ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องกันหมด...แยกออกจากกันยาก ...."


"เหตุผลหนึ่งของโทษประหาร คือ ป้องกันการเกิดคดีที่อาจจะเกิดจากญาติของผู้เสียหายได้อีกอย่าง แม้โทษประหารจะไม่ทำให้เค้าได้รับสิ่งทดแทนสิ่งที่เสีย แต่ก็เป็นการทำให้จิตใจเค้าสงบลงได้บ้าง"


"ถ้าจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้ว เราก็จะไม่สามารถลงโทษนักโทษคนใดได้เลยไม่ใช่หรือ เพราะไม่ว่าการจับกุม ขังคุก ต่างๆ สรุปโดยรวมรวมแล้วการลงโทษเหล่านี้ก็มีคุณสมบัติในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วไม่ใช่หรือ"


"刑罰を科すべき行為は犯罪である。
อาชญากรรม คือการกระทำที่สมควรถูกลงโทษ
刑罰は、生命や自由や金銭を奪う害悪なのである。
การลงโทษเหล่านั้นคือสิ่งชั่วร้าย เป็นสิ่งที่แย่งชิงชีวิต เสรีภาพ และเงิน
国家が、この「刑罰」を使うことが許されるのは、その害悪以上の「国民全体にとっての利益」が得られるからである。
การที่รัฐ(ประเทศ)ได้รับการอนุญาตให้ใช้สิ่งไม่ดีลงโทษได้นั้น ก็เพราะว่า เราสามารถได้รับผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่าความชั่วร้ายเหล่านั้น"



Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2551 16:20:01 น. 8 comments
Counter : 1162 Pageviews.

 


โดย: นายแจม วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:01:26 น.  

 
เขียนดีจังเลยค่ะ

ขอแอดบล็อกนะคะ

ปล.เรื่องนี้เราอยากอ่านมากเลยค่ะ แต่ไม่ได้ไปหาที่ร้านหนังสือซักที

แหะแหะ รบกวนช่วยสปอยหน่อยได้มั้ยคะ

ขอบคุณนะคะ


โดย: Honeybee042 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:49:46 น.  

 
เราน่ะสองจิตสองใจเรื่องนี้ตลอดเลยค่ะ

แม้จะรู้ว่าการประหารไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้ความรุนแรงน้อยลง

แต่..บางประเทศ การใช้มาตรการนี้มันกลับเห็นผลว่า "ทำได้" อย่างชัดเจนน่ะสิคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:04:32 น.  

 
อ่านแล้วค่ะ เล่มนี้ แต่เฉยๆนะ ไม่ถึงขั้นชอบ

ส่วนโทษประหาร เราว่านักโทษเขาทำผิดที่ละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงก่อน
เขาก็ควรจะได้รับโทษนั้นเช่นกัน

แหะ แหะ เรามันพวกเอียงซ้ายซะด้วย ไม่ค่อยเห็นใจใครง่ายๆอ่ะ


โดย: Jevanni วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:14:12:30 น.  

 
ถ้าจะบอกว่าไม่เชื่อเรื่องบากบุญคุณโทษที่มีผลต่อการเกิดในชาติภพต่อไป มันก็ไม่ใช่อีกนั่นแหละ เพราะ ผมก็ไม่เชื่อเรื่องวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด แต่เชื่อเรื่อง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

ดังนั้น หากจะบอกว่า
อย่าไปทำเขาเลยมันบาป
ก็ดูจะเป็นเรื่องน่าหัวร่อของคนที่มีแนวความคิดเดียวกันนี้
ศีลธรรม...อาจจะเป็นกุศโลบายไว้กำจัด ยับยั้ง ความชั่ว คนชั่ว ก็ได้

ผมเชื่อเรื่อง "ทำดีต่อกัน"
นำมาความดีมาต่อกัน
วันหนึ่ง...
ความดีจะแพร่กระจาย
และวนเวียนมาถึงตัวเรา
...เหมือนสีฟ้าในแผนที่ที่เราเห็นนั่นแหละ

การไม่ประพฤติชั่ว และการไม่ล้างแค้น
(แม้จะถูกต้องตามกฏหมาย-แต่ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม) จะนำสันติภาพมาสู่โลก

ถ้าอยากให้โลกมีความรัก
ผมว่าต้องเริ่มจากเราก่อน
อย่าเกลียดเขาเลย...
ถึงเขาจะเป็นนักโทษที่ฆ่าพ่อกับแม่เรา

แต่ให้ตายเถอะ...คิดได้สวยหรูสักขนาดนี้
ทว่าแค่มียุงมากัด
ทำไมเราทั้งตบทั้งบี้ก็ไม่รู้



ชอบข้อเขียนชิ้นนี้มากครับ
รู้สึกบล็อกนี้จะเข้มข้นเรื่องเนื้อหาสาระขึ้นทุกวันนะ

ขอบอกเลยว่า
เป็นบล็อกที่ผมต้องเข้ามาทุกครั้งหลังเปิดเน็ต

รออ่านเรื่องต่อไปนะครับ


โดย: แสง สีรุ้ง วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:10:35 น.  

 
อยากบอกว่าคนเขียน บทความนี้เก่ง
(ถ้าเทียบกับอายุ และวิธีคิด วิธีการนำเสนอ)

จะเข้ามาอ่านเรื่อยๆ นะ


โดย: ดาริกามณี วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:13:17:38 น.  

 
ถ้าจะบอกว่าไม่เชื่อเรื่องบากบุญคุณโทษที่มีผลต่อการเกิดในชาติภพต่อไป มันก็ไม่ใช่อีกนั่นแหละ เพราะ ผมก็ไม่เชื่อเรื่องวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด แต่เชื่อเรื่อง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

ดังนั้น หากจะบอกว่า
อย่าไปทำเขาเลยมันบาป
ก็ดูจะเป็นเรื่องน่าหัวร่อของคนที่มีแนวความคิดเดียวกันนี้
ศีลธรรม...อาจจะเป็นกุศโลบายไว้กำจัด ยับยั้ง ความชั่ว คนชั่ว ก็ได้

ผมเชื่อเรื่อง "ทำดีต่อกัน"
นำมาความดีมาต่อกัน
วันหนึ่ง...
ความดีจะแพร่กระจาย
และวนเวียนมาถึงตัวเรา
...เหมือนสีฟ้าในแผนที่ที่เราเห็นนั่นแหละ

การไม่ประพฤติชั่ว และการไม่ล้างแค้น
(แม้จะถูกต้องตามกฏหมาย-แต่ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม) จะนำสันติภาพมาสู่โลก

ถ้าอยากให้โลกมีความรัก
ผมว่าต้องเริ่มจากเราก่อน
อย่าเกลียดเขาเลย...
ถึงเขาจะเป็นนักโทษที่ฆ่าพ่อกับแม่เรา

แต่ให้ตายเถอะ...คิดได้สวยหรูสักขนาดนี้
ทว่าแค่มียุงมากัด
ทำไมเราทั้งตบทั้งบี้ก็ไม่รู้เรื่องของนักโทษชายคนหนึ่งชื่อ "จุนอิชิ"
ถูกข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อคุมประพฤติ

หลังถูกจองจำในคุกมาสองปีเต็ม
เขาได้พบกับอิสรภาพที่มาพร้อมกับความหวาดกลัวรวมทั้งความขมขื่น
เมื่อได้รับรู้ว่าทางบ้านต้องเดือดร้อนเพียงใดจากคดีที่เขาก่อขึ้น

...และแล้วความหวังก็ปรากฎขึ้นตรงหน้า...
เมื่ออดีตผู้คุมได้ว่าจ้างเขาเพื่อร่วมกันทำงานสืบหาหลักฐานพิสูจน์ว่า
นักโทษประหารคนหนึ่งว่า "บริสุทธิ์" ในเวลาสามเดือน
ผลตอบแทนนั้นคือเงินก้อนใหญ่ที่จะช่วยทางบ้านได้

แต่ว่า...งานนี้ไม่ง่ายเลย
ในช่วงเวลาที่ถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุฆาตกรรม
นักโทษประหารผู้นั้นจำอะไรไม่ได้
นอกจากความทรงจำเลือนรางเกี่ยวกับ "บันได" เท่านั้น
แถมพื้นที่สืบสวนก็บังเอิญเป็นที่เดียวกับคดีของจุนอิชิเอง
ทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนมากขึ้น ...และอันตรายมากขึ้นไปอีก




นอกเหนือไปจากการผูกโครงเรื่องที่ชาญฉลาด หลอกล่อ
และบรรยากาศที่ชวนติดตามของนิยายแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าในนิยายเรื่องนี้
คือการหยิบยกปัญหาในกระบวนการยุติธรรมของญี่ปุ่น
และรวมไปถึงปัญหาที่ถูกถกเถียงกันมาเนิ่นนาน
เกี่ยวกับ "โทษประหาร"

เล่าผ่านทางตัวละครผู้มีอุดมการณ์แต่สับสนในแนวคิดอย่างเช่นอดีตผู้คุม
ผ่านมุมมองของคนบริสุทธิ์คนหนึ่งที่ต้อง "ฆ่า" ผู้ที่ถูกตัดสินว่าไม่บริสุทธิ์
ต่างเป็นการต่อสู้ระหว่างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความเชื่อ และความหวาดกลัว




โทษประหารได้ชื่อว่าเป็นโทษที่เก่าแก่
พอๆ กับประวัติศาสตร์ชนชาติของมนุษย์เลยทีเดียว
และแนวคิดในการประหารนี้ก็แบ่งก็ได้กว้างๆ เป็น สามแนวคิด

แนวคิดแรกก็คือ การลงโทษเพื่อตามสนอง
จะเรียกว่าการแก้แค้นคืนให้ผู้ถูกกระทำและครอบครัวก็ได้
ว่ากันว่าแนวคิดนี้ เป็นการคิดถึงความรู้สึกส่วนบุคคลเกินไป
ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรม

แนวคิดที่สองคือ การลงโทษเพื่อป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาชญากรรมซ้ำขึ้นอีกในสังคม
เรียกว่าไม่ให้เอาเป็นเยี่ยงอย่าง...ก็ว่าได้
คุ้นๆ ไหมคำนี้ แนวคิดนี้แหละที่ทำให้เกิดระบบลงไม้เรียวหน้าเสาธง

แนวคิดสุดท้าย เป็นการป้องกันไม่ให้นักโทษออกไปทำผิดได้อีก


มีคำแย้งตามตรรกะง่ายๆ สำหรับแต่ละแนวคิดดังนี้

หนึ่ง
การแก้แค้นนั้นทำให้เกิดผลดีขึ้นจริงหรือไม่
ผู้ตายสามารถรับรู้ได้หรือ..
ครอบครัวผู้ตายจะรู้สึกดีขึ้นจากการตัดชีวิตอาชญากรจริงหรือ
และการแก้แค้นนั้นไม่ได้ทำให้เกิดวงจรความแค้นใหม่ขึ้นอีกหรือ

สอง
หากเป็นเช่นนั้นจริง...
โลกที่มีตัวอย่างของอาชญากรที่ประสบชะตาอันเลวร้าย
น่าจะทำให้ไม่มีใครเอาเป็น "เยี่ยงย่าง" อีกแล้วใช่หรือไม่
หลายครั้งที่อาชญากรรมไม่ใช่ผลของความเลว
และความกลัวโทษทัณฑ์มิใช่สิ่งปกป้องอาชญากรรมเสมอไป

สาม
การกักกันให้นักโทษอยู่ในคุกไม่ได้ป้องกันสิ่งนั้นแล้วหรือ
และคนที่เป็นฆาตกรต้องเลวทุกคนหรือ



เหตุผลที่สำคัญที่สุดของเหล่าผู้สนับสนุนการยกเลิกโทษประหาร
ก็คือ "สิทธิมนุษยชน"ของนักโทษประหาร
ซึ่งส่งผลให้ผู้มีสิทธิ์ในชีวิตมากเท่าๆ กับมนุษย์ผู้อื่น
และมนุษย์นั่นไม่น่าจะมีหน้าที่ลงโทษมนุษย์ด้วยกันเอง...

"ในเมื่อการฆ่าคนเป็นความผิด
แล้วการฆ่านักโทษประหารเป็นความถูกต้องหรือ?"

คำถามนี้ ไม่ใช่จุดจบของปัญหา
หากเป็นการเปิดประเด็นปัญหาอีกมากมายสำหรับกระบวนยุติธรรม


เหมือนที่นิยายเล่มนี้บอกไว้นั่นล่ะ

ผู้คุม คือ คนที่โชคร้ายที่สุดในโลก
เพราะต้องทำความชั่วร้ายที่สุด
เพื่อปกป้อง(สิ่งที่ถูกเชื่อว่าเป็น)ความถูกต้องอันสูงสุด
และต่อสู้กับความน่าจะเป็นที่ว่า ผู้ถูกประหารอาจเป็นผู้บริสุทธิ์
เมื่อนั้น...ผู้คุม ก็จะกลายเป็นฆาตกรโดยไม่เจตนา...???

เพื่อป้องกันกรณีความบกพร่องในกระบวนการ จึงมีระบบอภัยโทษเกิดขึ้น
แต่ก็เพราะระบบอภัยโทษนี่แหละ ที่ทำให้กระบวนการตัดสินโทษทัณฑ์นี้
ไม่เป็นความยุติธรรมโดยสมบูรณ์...

แต่หากปราศจากโทษทัณฑ์แล้ว สังคมจะเป็นอย่างไร

พ่อแม่เด็กหญิงตัวน้อย จะทนเห็นฆาตกรฆ่าข่มขืนลอยนวลอยู่ได้ไหม...?
จะมีอะไรที่มาหยุดรั้งจิตใจคนให้กลัวในผลของอาชญากรรมได้...?
แล้วบรรทัดฐานของสังคมนั้นจะอยู่ที่ใด...?

เพราะเหตุนี้...
เราจึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติ กฎ ข้อบังคับของสังคม
เพื่อให้สังคมนั้นดำรงอยู่ได้


กฎหมาย มิใช่บทบัญญัติอันถูกต้องเสมอไป
กฎหมาย อาจถูกเย้ยหยันตราหน้า ว่าเป็นไม้บรรทัดคดงอในบางครั้งบางครา

ความยุติธรรมนั้นอาจจะไม่มีอยู่ในโลกจริง เพราะโลกใดๆ ก็ไม่อาจตัดสินด้วยมาตรฐานเดียวกัน

หากแต่ว่า กฎหมาย เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับขับเคลื่อนสังคมมนุษย์
เพื่อให้ผู้คนหลายจิตหลากใจ อยู่ร่วมกันได้โดยไม่วุ่นวายเกินไป
ตราบใดที่โลกนี้ยังเป็นภาพสะท้อนของ "ความชั่ว" และ "ความดี"



"...หากยอมให้มีการประหารชีวิตโดยศาลเตี้ย
การล้างแค้นย่อมก่อให้เกิดการล้างแค้น
แล้วการล้างแค้นซึ่งไม่มีวันสิ้นสุดจะเริ่มต้นขึ้น
เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เช่นนั้น
ใครสักคนต้องลงมือแทน..."





ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทษประหาร

เว็บไทย //www.ucl.or.th/data_file/death_th2.pdf
"โทษประหารชีวิตในประเทศไทย"
โดย สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน(UCL) สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH)
โดย สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน(UCL) สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (FIDH)








โดย: พัทลง/สงขลา IP: 118.173.142.86 วันที่: 21 ธันวาคม 2551 เวลา:14:01:06 น.  

 
ขอถามหน่อยนะท่านเป็นเจ้าของเว็ป
คนที่กระทำความผิดในคดีอาชญากรรม ปล้น ฆ่า ข่มขืนต้นเหตุเขาเป็นคนยังไงทำเขากล้าทำได้ข่าวการข่มขื่นเด็กและผู้หญิงเขาตั้งใจหรือเจตนาทำเพราะอาการเมาสุราไม่มีสติยังงั้นเหรอ
ตัวคนที่กล้ากระทำสิ่งเหล่านี้นั้นเขาได้บ่มนิสัยเขามาแต่เล็กหรือเคยกระทำการเช่นนี้มาก่อน แต่ทางการจับตัวเขาไม่ได้จึงเป็นการหึกเหิมกล้ากระทำสิ่งนั้นอีกพอถูกจับได้ก็คิดได้แต่สายเสียแล้วถ้าเป็นคนมีเงินมีฐานะมีตำแหน่ง ยกตัวอย่าง "ลูกเหลิม" นั้นเป็นคดีที่จะต้องถึงที่สุดคดีอาญาที่ถึงกลับประหารยังทำให้หลุดได้นี้ละนะเมืองไทย ขนาดรัฐยังแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไม่ได้ คดีตำรวจที่รุมข่มขืนผู้ต้องหาที่คดีเกี่ยวกราว คนของรัฐแท้ๆยังกล้ากระทำเช่นนี้ พวกคุณแค่สมาคมที่ก่อตั้งขึ้นแล้วจะมาล้มล้างระบบนี้ต้องคิดถึงสภาวะที่เป็นอยู่ในขณะนี้ว่าระบบของรํฐยังเป็นไปไม่เป็นที่แน่นอนกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เป็นธรรมกับประชาชนมีการคอรัปชั่นกันทั้งในระบบและนอกระบบ ผมอ่านเนื้อความและเข้าประชุม "สิทธิเสรีภาพเรื่องการประหารชีวิตในประเทศไทย" บรรยายโดย ดร.บรีน แดนทอง ท่านบรรยายแต่ปลายเหตุ ที่จะแก้แต่การยกโทษเรื่องประหารท่านไม่แก้ที่ต้นเหตุ ท่านลองไปแก้เรื่องปากท้องดูสิแก้เรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องการทำมาหากินดูบ้างนะ เรื่องโทษประหารมันแค่ปลายเหตุ ถ้าคนเรามีการอยู่ดีกินดีมีการงานทำ เชื่อได้เลยว่าโทษประหารจะเกิดขึ้นน้อยลง กลไกลของรัฐบาลปัจจุบันเป็นกลไกลที่ดับๆติดๆไม่เป็นที่แน่นอนในสังคมชาวพุทธเราไม่ชอบอยู่แล้วที่จะมีการประหารกันแต่ถ้าไม่มีกฎหมายตัวนี้อยู่ ประเทศไทยจะมีแต่อาชญากรเต็มบ้านเต็มเมืองนะสิครับ สิทธิเสรีภาพของประชาชนคงถูกละเมิดกันว่าเล่นนะสิทุกวันนี้คนที่จะออกไปทำงานความเสี่ยงมีสูงมาก อยู่แล้ว จิตใจคนเราทุกวันนี้หาดียากครับ


โดย: ชาวทัพฟ้า IP: 115.67.77.80 วันที่: 23 มกราคม 2552 เวลา:20:53:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The SoVo
Location :
Tokyo ---> now : Kyoto Japan

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เพียงคนหนึ่งที่มีความฝัน มีความคิด มีเรื่องราวมากมายที่อยากบอกเล่า กำลังก้าวเดินไปในโลกกว้างเพื่อเรียนรู้ เพื่อเข้าใจ และเพื่อทำความรู้จักกับ "ชีวิต"
Friends' blogs
[Add The SoVo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.