นิทานเรื่อง แท้จริงอะไรกันที่สำคัญ



นิทานเรื่อง แท้จริงอะไรกันที่สำคัญ


มีผู้หญิงผู้ชายคู่หนึ่ง ไปเดินเที่ยวกันในป่า
เดินเที่ยวชมนกชมไม้ ชมธรรมชาติกันในป่า
เดินจูงมือกันไป กระหนุงกระหนิงน่ารัก
หลังจากเดินเข้าไปในป่าลึกไปเรื่อยๆ ก็มีเสียงร้อง



'..เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก..'



ผู้หญิงพอได้ยินเสียงร้องก็ยิ้มอย่างมีความสุข



"โอ้..ป่านี้มันธรรมชาติจริงๆ คุณลองฟังดูสิ
เป็ดที่นี่ร้องเพราะจริงๆเลย"



ผู้ชายหันมามองหน้า "..ไก่!.."



แล้วก็เดินกันต่อไป
เดินจูงมือกันไปกระหนุงกระหนิงต่อไป
เสียงก็ดังขึ้นมาอีกในป่านั้น



'..เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก..'



ผู้หญิงก็ยิ้มอย่างมีความสุข



"โอ...ในป่านี้คงมีอาหารเหมาะสมจริงๆ
เสียงมันได้สดใสจริงๆนะเป็ดที่นี่"



ผู้ชายหันไปมองหน้าอีกครั้งนึง
มองหน้าแบบเหยียดหยามแบบโง่ๆ



"นี่แยกไม่ออกหรือไงว่าอะไรเป็ดอะไรไก่ หืม! บ้าจริงๆ!"



แล้วก็เดินกันต่อไป



ผู้หญิงเริ่มซึม



'..เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก..' ก็ดังต่อไป



ครั้งนี้ผู้หญิงกำลังจะพูดอะไร
แต่ผู้ชายหันมามองหน้า แล้วก็เงียบ



เธอไม่พูดอะไร



แล้วซักพักน้ำตาก็เริ่มไหล



เธอแอบไปเช็ดน้ำตา
ไม่อยากจะให้แฟนเห็นเพราะกลัวแฟนจะไม่สบายใจ



ระหว่างที่เดินต่อไป เอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก ก็ยังดังขึ้นมาอีก



ผู้หญิงเงียบกริบ
ไม่แสดงอาการใดใดทั้งสิ้น



ครั้งนี้ผู้ชายหันมายิ้มแล้วก็บอกว่า
"อื้มมม.. เป็ดมันร้องเพราะจริงๆอย่างคุณว่าแฮะ"



ผู้หญิงหันมามองหน้าแล้วก็ยิ้ม



แล้วก็เดินจับมือกัน แล้วก็เดินต่อไป



ผู้ชายเริ่มนึกในใจว่า
จะไปสนใจทำไมว่ามันเป็ดหรือมันไก่
คนที่เราต้องสนใจคือคนที่กำลังเดินอยู่ข้างเราต่างหาก
มันจะเป็ดก็ช่างมัน จะไก่ก็ช่างมัน



แต่วันนี้พวกเราเจ้าเหตุเจ้าผลกันเกินไปรึเปล่า
จะเอาชนะคะคานกันให้ได้เกินไปรึเปล่า



คนที่เราต้องดูแลห่วงใยเอาใจใส่
อาจจะไม่ได้ต้องการสิ่งนั้นก็ได้




อ.ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
จากคอร์สปฏิบัติธรรม 'มัคคานุคาเบื้องต้น'
https://www.youtube.com/watch?v=HvdXLIxQP9Q


ศึกษาธรรมะ ข้อคิด ข้อธรรม
เพิ่มเติมจากอาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม ได้ที่
https://makkanuka.wordpress.com/


ท่านสามารถสมัครเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมได้ที่
//www.suanyindee.net





Create Date : 30 กรกฎาคม 2557
Last Update : 3 กันยายน 2558 21:07:49 น.
Counter : 895 Pageviews.

(6 นาที) สำคัญที่ ตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด


ลองดูและฟังคลิปนี้กันค่ะ มีบางแง่มุมน่าสนใจมากๆ


(6 นาที) สำคัญที่ ตั้งใจทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
https://www.youtube.com/watch?v=cJuwtPj8fEI






Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 13:54:28 น.
Counter : 1025 Pageviews.

(ภาพธรรมะการ์ตูน) เพียงแค่ปล่อยมือ




"ภาพต่อไปนี้" จะมีขนาดยาว
อาจใช้เวลาในการโหลดหน้านี้ซักครู่นะ แต่คุ้มค่ามากๆ



just-let-it-go-th-pramote-pamojjo.png



เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ "วิธีการปฏิบัติธรรม"
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

สามารถศึกษาธรรมะข้อธรรมเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์
//www.dhamma.com/

ดาวโหลดหนังสือ "วิธีการปฏิบัติธรรม" อ่านได้ที่นี่ค่ะ
//media.dhamma.com/pramote/books/patibudtham.pdf
หรือที่นี่ก็ได้เหมือนกันค่ะ
//dhammaway.files.wordpress.com/2013/12/patibudtham.pdf

และสามารถแชร์ภาพนี้ทาง FB ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
https://www.facebook.com/notes/กลม-กลม/ภาพการ์ตูน-เพียงแค่ปล่อยมือ/668575769894885


หมายเหตุจากผู้จัดทำ
หากท่านสนใจนำไปเผยแผ่ต่อขอได้โปรดเผยแผ่ทั้งหมดในภาพเดียว
เพื่อให้เนื้อหาและภาพอยู่ด้วยกันครบถ้วนในกาลเวลาต่อๆไป (-/-)




Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 13 กันยายน 2557 15:10:33 น.
Counter : 973 Pageviews.

(ภาษาเยอรมัน) การ์ตูน แด่เธอผู้มาใหม่





In Wahrheit ist Dhamma sehr nahe an uns und unserem Leben. Es ist uns so nahe, dass man sagen kann, es handelt von uns.

Das Ziel von Dhamma ist einfach –
uns vom Leiden zu befreien (Dukkha)


Wenn wir uns mit Dhamma beschäftigen, dann sollten wir uns genau ansehen, wo Leiden stattfindet, wie Leiden entsteht und wie man Leiden beendet.


1-8-2-4-3


Erfolgreich im Studium von Dhamma zu sein, bedeutet so lange zu üben, bis man am Ende des Leidens angekommen ist. Es hat nichts damit zu tun, wie viel Wissen man über Dhamma angehäuft hat oder wie gut man es erklären kann.


Die Wahrheit ist, dass das Leiden, das wir erleben in unserem Körper und Geist begründet liegt. Der Bereich um Dhamma zu studieren, liegt in uns.


Anstatt in der Außenwelt nach Erkenntnissen zu suchen, können wir nach innen auf unser Selbst blicken.


2-2-1


Die Methode hierzu ist leicht: Einfach unseren Körper und Geist ganz genau zu beobachten. Wir können damit beginnen unseren physischen Körper zu beobachten.


Der erste Schritt ist es, sich zu entspannen. Es gibt keinen Grund sich zu verspannen oder angestrengt darüber nachzudenken, Dhamma zu praktizieren.


Wir beobachten einfach nur unseren eigenen Körper. Es spielt dabei keine Rolle, wie viel wir wahrnehmen; wir beobachten einfach so viel, wie uns möglich ist.


3-2


Sobald wir entspannt sind, können wir den ganzen Körper wahrnehmen. Wir betrachten ihn so, wie wir einen Roboter betrachten würden…


wie er geht, sich bewegt, kaut, Essen herunterschluckt (wie er dem Körper Materie zuführt) und Abfall entsorgt.


Wenn wir diesen Roboter-Körper, den wir “unseren” nennen, als neutraler Beobachter beobachten, wie er seine Aufgaben verrichtet, werden wir erkennen, dass dieser Körper nicht wirklich uns gehört und sich nach seinen eigenen Regeln verhält. Es ist nur ein materieller Gegenstand, der nie stillsteht und nie gleich bleibt.


4-6-3


Sogar die Einzelteile des Roboters verändern sich ständig, Substanzen bewegen sich permanent hinein und hinaus; zum Beispiel das Ein- und Ausatmen, Essen und Trinken und Stuhlgang. Demzufolge ist der Körper nur eine Gruppe von Elementen (Erde, Wind, Feuer und Wasser), die nicht von Dauer sind.


Indem man einfach den Körper beobachtet, wird sich unser Klammern an die Fehlwahrnehmung, dass der Körper “uns” gehört, auflösen.


4-4-4


Dann werden wir erkennen, dass es noch eine andere Form gibt (die wir Verstand oder Geist nennen), die diesen Körper kennt und in ihm wohnt.


Wenn wir erkennen, dass der Körper nur eine Ansammlung ständig wechselnder Elemente ist, können wir anfangen, das, was in unserem Körper versteckt ist, zu beobachten. Auf diese Art und Weise können wir mehr und tiefgründiger über uns selbst erfahren.


Dieses Ding, das in uns versteckt ist, kann leicht gesehen werden. Es sind die Gefühle von Glück, Unglück und Neutralität.


4-5-2


Zum Beispiel sehen wir von Zeit zu Zeit wie Schmerzen, Durst, Hunger und andere Unbequemlichkeiten entstehen, wenn wir den Roboter-Körper eine Zeitlang beobachten.


Sobald die unglücklichen Gefühle verflogen sind, fühlen wir uns für eine Zeit lang wieder glücklich (Glück entsteht).


Wenn wir zum Beispiel durstig und unglücklich sind, trinken wir etwas Wasser und das Unglücklichsein aufgrund von Durst verschwindet. Oder wenn wir für lange Zeit sitzen und anfangen Schmerzen zu spüren, fühlen wir uns unglücklich. Sobald wir die Körperposition verändern, verschwindet die Unbequemlichkeit und mit ihr das Unglücklichsein (Glück entsteht).


2-6


Manchmal, wenn wir krank sind, können wir uns unseres physischen Leidens kontinuierlich für einen längeren Zeitraum bewusst sein.


Wenn wir zum Beispiel über mehrere Tage hinweg Zahnschmerzen haben und diesen Schmerz genau betrachten, werden wir feststellen, dass das unangenehme Gefühl irgendwo zwischen Zahn und Kiefer entsteht. Jedoch sind es nicht diese Teile (Zahn und Kiefer) selbst, die den Schmerz produzieren.


3-4-5-15


Der Körper ist wie ein Roboter, der keinen Schmerz und kein Leid spürt, dennoch befindet sich das Unangenehme im Körper.


Wir werden feststellen, dass diese Gefühle des Glücks, des Unglücks und der Neutralität nicht Teile des Körpers sind, sondern etwas, das im Körper gefühlt und wahrgenommen werden kann, so wie der Körper selbst.


Ausgehend davon können wir uns selbst nun noch genauer kennenlernen. Wir können genau beobachten, dass wenn körperliches Leiden entsteht, es unser Geist ist, der negativ reagiert.


4-2-5-4


Wenn wir zum Beispiel hungrig sind, sind wir schneller enttäuscht; wenn wir müde sind, ärgern wir uns eher; wenn wir Fieber haben, regen wir uns schneller auf; oder wenn unsere Wünsche nicht erfüllt werden, lassen wir uns eher aus der Ruhe bringen.


Wir können uns die Wut bewusst machen, die entsteht, wenn wir es mit körperlichem Leiden zu tun haben.


Auf der anderen Seite, wenn wir Schönes sehen, angenehme Geräusche hören, angenehme Gerüche riechen, Leckeres schmecken, eine sanfte Berührung spüren oder eine angenehme Temperatur wahrnehmen – nicht zu warm und nicht zu kalt – oder schöne Gedanken haben, empfinden wir Freude und Befriedigung mit diesen Anblicken, Tönen, Gerüchen, Geschmäckern, Berührungen und Gedanken


8-2-2


Wenn wir uns der angenehmen und unangenehmen Gefühlen bewusst sind, wenn sie entstehen, können wir uns anderer Gefühle bewusst werden, wie Zweifel, Rache, Depression, Eifersucht, Freue und auch Ruhe des Geistes.


Wenn wir uns weiter mit diesen Gefühlen beschäftigen und sie beobachten, wird uns klar werden, dass auch diese nicht stabil sind.


9-2


Wenn wir zum Beispiel wütend sind und uns die Wut bewusst machen, werden wir feststellen, dass es einen ständigen Wechsel in der Intensität der Wut gibt.


Irgendwann wird sie weniger und verschwindet. Egal ob das Gefühl der Wut verschwindet, was wichtig ist, ist die Wut als etwas zu sehen, was beobachtet werden kann, als etwas, das nicht zu uns gehört. Es gibt kein “uns” in der Wut


Wir können andere Gefühle mit dem gleichen Verständnis beobachten.


10-2


An diesem Punkt erkennen wir, dass unser Körper wie ein Roboter ist und Glück und Unglück und alle anderen Gefühle nur Objekte sind, die betrachtet werden können und nicht zu uns gehören.


Je mehr wir diese Prozesse unseres Geistes verstehen, desto klarer wird uns die wahre Erkenntnis: dass Leiden nur entsteht, wenn es einen Grund gibt.


Wir werden feststellen, dass es einen natürlichen Impuls oder eine Kraft in unserem Geist gibt.


11-2


Wenn wir zum Beispiel eine schöne Frau sehen, wird unser Geist anfangen ein Gefühl der Zuneigung zu dieser Frau zu entwickeln. Unser Geist wird zu dieser Frau wandern, nur diese Frau sehen und wir vergessen uns selbst.


(Was das Wandern des Geistes betrifft: Jemand der nur aus Büchern gelernt hat, wird das verwirrend finden. Wenn jedoch jemand wirklich mit dem Üben beginnt, wird er/sie sehen, wie weit der Geist wandern kann – so wie es schon Wort für Wort von Buddha selbst beschrieben worden ist).


Oder wenn wir zweifelnde Gedanken haben, zum Beispiel, wie man Dhamma praktiziert, werden wir sehen, dass wir das Bedürfnis haben, eine Antwort darauf zu finden. Unser Geist wird dann in die Welt der Gedanken wandern. Das ist der Punkt, an dem wir uns selbst vergessen.


12-2


Der Roboter-Köper ist immer noch hier, aber wir vergessen ihn, so als ob er aus der Welt verschwunden wäre. Es können auch noch andere Emotionen in uns sein; es kann jedoch sein, dass wir uns darüber nicht bewusst sind, da unser Geist damit beschäftigt ist, Antworten in zweifelnden Gedanken zu suchen.


13-1


Wenn wir uns selbst mehr und näher betrachten, werden wir bald verstehen, wie Leiden entsteht und wie man sich vom Leiden befreit und wie es sich anfühlt ohne Leiden zu sein. Unser Geist wird sich aufrichten und geraderücken, ohne über Meditation, Weisheit oder den Pfad der aus dem Leiden führt, nachzudenken.


14-2


Wir sind vielleicht nicht gut mit Dhamma oder Pali-Worten, aber unser Geist kann dennoch frei von Leiden sein. Und auch wenn wir noch Leiden erleben, wird es weniger intensiv und für kürzere Zeit bestehen.





Story by Venerable Pramote Pamojjo
To read Full Version : //www.dhamma.com/furdich/
Translator : Dr. med. Nicco Krezdorn


This cartoon is just some part of the book "The Part to Enlightenment I" (English)
//www.dhamma.com/wp-content/uploads/2013/05/The-Path-to-Enlightenment-I.pdf

And Recommended Book (for further study).
- To See the Truth (English)
//www.dhamma.com/wp-content/uploads/2013/05/To-See-the-Truth.pdf



Any reproduction, in whole or in part, in any form, for sale, profit, or material gain, is prohibited.





Create Date : 23 กรกฎาคม 2557
Last Update : 23 กรกฎาคม 2557 15:48:08 น.
Counter : 1408 Pageviews.

(ฉบับการ์ตูน) นกกับต้นไม้ - การปฏิบัติธรรม


(ถ้าภาพไม่ขึ้น ให้โหลดหน้านี้ใหม่อีกทีนึงนะคะ)





หากที่บ้านท่านมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง
มีรังนก แล้วก็นกออกจากไข่
นกตัวนั้น ลูกนก จิ๊บ จิ๊บ จิ๊บ
เกิดขึ้นมาบนต้นไม้ต้นนั้น


หลังจากนั้นนกก็ค่อยๆโตขึ้นตามลำดับ
โตจนกระทั่งถึงวันนึง นกกับท่านพูดกันรู้เรื่อง
(...ไม่รู้โตแบบไหน...)


the-bird-and-the-tree-1


ท่านก็ไปคุยกับลูกนก ถึงต้นไม้ที่มันอยู่
ลูกนกก็คุยๆๆๆ เรื่องต้นไม้ๆๆ เรื่องผลไม้ที่ออกลูก
ให้ท่านฟังด้วยความชื่นชมยินดี ว่าเป็นมันเป็นของมัน


ท่านก็ เอ๊ะ...?
เธอบอกว่าต้นไม้เป็นของเธอหรอ?


"อ้าว ใช่สิ ก็ฉันอยู่ที่นี่ นี่มันเป็นของฉัน เห็นไหมล่ะ
มันโตขึ้นทุกวันเลย ฉันก็โตขึ้นทุกวัน เราโตขึ้นด้วยกัน

เวลาฉันไปหาปุ๋ย หาอะไรมาหยอดๆๆๆที่โคน
มันก็แข็งแรงออกลูกเห็นไหม
ฉันดีใจมาก ฉันมีความสุขมาก
เวลามันออกลูก ออกมาเป็นผลไม้

แต่บางช่วงเวลาที่ เพลี้ย มีหนอนมากิน
ฉันก็เศร้าใจนะ ฉันทุกข์ใจกับต้นไม้ของฉัน
ต้นไม้ของฉันจะต้องตายแล้ว
เราจะต้องตายด้วยกันอีกแล้ว"


ท่านยืนฟังนกพูดซักพัก ท่านชักเอะใจ
นกเข้าใจอะไรผิดแล้วล่ะ
ท่านบอกว่า

"ลูกนก อย่าหาว่าเสือกเลยนะ แต่จะบอกความจริงให้
ว่าต้นไม้กับลูกนกไม่เกี่ยวกันเลย"


the-bird-and-the-tree-2


นกเคือง
พูดกันอยู่หลายตั้ง พูดกันไม่รู้เรื่อง
ท่านพยามคิดว่าทำยังไงหว่านกถึงจะรู้ความจริง


ท่านจึงโพล่งขึ้นมา
อาศัยด้วยความที่เคยเป็นนักปฏิบัติมาก่อน
จึงบอกลูกนกบอกว่า เอาอย่างนี้ นกเอ๊ย ด้วยความหวังดี
จากนี้ไปนะ สังเกตตัวเอง แล้วก็สังเกตต้นไม้ไปเรื่อย

ตามดูตามรู้ ไปเรื่อยๆ
แล้วซักพักเธอจะเห็นความจริง

จากนั้นท่านก็ผละออกจากบ้านนั้นไปธุระที่อื่น
เป็นเวลานานหลายปี


ในเวลาต่อมา... ท่านกลับมาที่บ้านหลังนั้นอีก
นั่งชมสวนอยู่ เห็นต้นไม้ แว๊บขึ้นมา
เห็นนกเกาะอยู่พอดี ตัวมันโตขึ้นแล้ว
จึงเดินเข้าไปหาลูกนก
อ้อไม่ใช่ลูกนกแล้ว ตอนนี้นกตัวโตแล้ว


ด้วยความคิดว่าเที่ยวนี้มันต้องรู้ความจริงแล้ว
เพราะมันโตแล้วมันน่าจะมีวุฒิภาวะพอแล้ว
แล้วมันก็สังเกตมาเรื่อยๆแล้ว ตามดูตามรู้มาเรื่อยๆแล้ว


the-bird-and-the-tree-4


เป็นไงล่ะนก รู้ความจริงแล้วใช่ไหม
ว่าต้นไม้กับแกน่ะมันไม่เกี่ยวกันเลย
มันเป็นคนละส่วนกัน แกไปยึดเฉยๆว่าต้นไม้เป็นของแก


นกบอก
"พูดอะไร?
เมื่อหลายปีก่อนก็พูดอย่างนี้ทีนึงแล้ว
นี่มาถึงยังพูดอย่างนี้อีก
ฉันก็สงเกตมาตลอดนี่แหละ
แต่ฉันก็...ทำไมหรอ...?
ต้นไม้ก็เป็นของฉันอยู่ดีอ่ะ"


the-bird-and-the-tree-5


งานนี้เจ้าของบ้านเอะใจ
นกมันดูยังไงเนี่ย ทำไมมันถึงไม่เห็น
ว่าต้นไม้กับมันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
มันไปยึดต้นไม้ขึ้นมาเฉยๆ ทำไมมันถึงไม่เห็น ?


ท่านเริ่มรู้สึกว่า เรื่องง่ายๆกลายเป็นเรื่องยากซะแล้วแฮะ
หลังจากนั้นเจ้าของบ้านเริ่มแอบดูนกของตัวเองว่ามันดูต้นไม้ยังไงมันถึงไม่รู้


ไม่ต้องมาก เฝ้าดูแค่วันเดียว
อ๋อเลย...
ไอ้นกเอ๊ย...
มันดันดูต้นไม้แบบแม่ดูลูกนี่หว่า
แล้วมันจะไปรู้ความจริงได้ยังไง


ทำไมหรอแม่ดูลูกเป็นไงหรอ


the-bird-and-the-tree-6


ถ้ามีคนมาบอกคุณบอกว่า

"นี่! ลูกคุณน่ะ ปากเสีย เกเร
แกล้งเพื่อน ไม่มีสัมมาคารวะ มูมมาม"

ความจริงท่านปรี๊ดขึ้นตั้งแต่คำแรกแล้ว
ไม่รอจนถึงคำที่สี่หรอก ดีไม่ดีตุ๊บกลับไปแล้ว
ท่านโกรธตั้งแต่เค้าพูดคำแรกแล้ว
หลังจากนั้นด้วยความขุ่นเคือง แต่เอาล่ะ
ไหนลองดูสิ มันจริงอย่างที่เค้าว่ารึเปล่าลูกเรา


ลูกท่านก็ด่าเพื่อนที่เล่นด้วย
"อื้ม... เด็กมันก็อย่างนี้แหละ"
...กินอาหารมูมมาม...
"อ้าว... ก็มันหิวอ่ะ"
...ไม่มีสัมมาคารวะ...
"เด็กรุ่นใหม่ก็อย่างนี้ทุกคนแหละ"
"มันเป็นอะไรหรอ ไอ้นั่นก็ใส่ร้ายลูกจนเกินเหตุ"


the-bird-and-the-tree-7


อีกสองวันผ่านมา
เพื่อนข้างบ้านเอาลูกมาฝาก
เพราะเค้าจะไปเข้าคอร์สปฏิบัติ เจ็ดวัน
เลยเอาลูกไปฝากข้างบ้าน


ทะเลาะกัน เด็กสองคนทะเลาะกัน
ไอ้นั่นก็ด่าไอ้นี่ ได้นี่ก็ด่าไอ้นั่น
ตอนกินข้าวก็หกทั้งคู่เลย

"ไม่มีสัมมาคารวะ เจอเราเลี้ยงแทนให้
มันยังไม่เคยเคารพไม่เคยยกมือไหว้"
ท่านบอก "โหย... แม่มันสอนมายังไงว่ะเนี่ย
ทำไมเกเรอย่างเนี่ย ด่าเป็นไฟเลย
กินอาหารมูมมามชิบเป๋งเลย
ที่บ้านสงสัยอยู่กันต่ำมากเลยเนี่ย"


the-bird-and-the-tree-8


เนี่ย ลูกคนอื่นเห็นหมด ลูกตัวเองมองไม่เห็นเลย

เพราะมันมี "ความเอนเอียง" ในการดู


วันนี้ท่านปฏิบัติมากี่ปีแล้ว ผมไม่ได้ว่าอะไรนะ
(..แต่ไม่ได้ว่าไม่รู้จะพูดถามทำไม...)
เฝ้าตามดูตามรู้มานานแค่ไหนแล้ว
ทำไมมันไม่โพล่งขึ้นมาซักทีว่านี่มันไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

เพราะท่านดูกายกับใจด้วยความเอนเอียง
ท่านไม่มีความตรงไปตรงมาในการดู
ท่านไม่ดูลูกเหมือนกับให้กรรมการข้างนอกมาดูนี่
ถ้าท่านเอากรรมการข้างนอก ไปจ้างคนนอกมาดูสิ
ท่านจะเห็นเลย คนนอกจะบอกได้เลยว่า
"เด็กสองคนน่ะ แย่พอกัน"


แต่นี่ท่านบอกว่าลูกท่านโอเค ลูกคนอื่นใช้ไม่ได้
เพราะท่านดูด้วยความเป็นเราเป็นของเรา
ดูยังไงมันก็ไม่ขาด ดูยังไงมันก็ไม่แจ้ง
ดูให้ตายเถอะ เพราะว่าอะไร
(...พูดเสียงดังไปอย่างนั้นแต่
ไม่ได้โกรธนะเดี๋ยวนึกว่าทำไมต้องดุด้วย...)


นี่ ดูตรงนี้นะ
เวลาเดินจงกรมเดินอย่างนี้ใช่ไหม


the-bird-and-the-tree-9


เห็นอาการเคลื่อนนะ
เห็นอาการเคลื่อนนะ
ไม่ใช่เห็นเท้าขวาเท้าซ้ายนะ
ไม่ใช่เราดูเท้าเดินนะ

เมื่อจิตตั้งมั่น สิ่งที่จะเห็นมีแค่สองอย่างนะ
มีผู้รูั กับ ผู้ถูกรู้

จะเป็นรูป หรือจะเป็นอาการ หรือเป็นพฤติกรรม
หรือเป็นพลังงานที่ออกมาก็ได้


เพราะฉะนั้นถ้าเดินจงกรมถูกจริงๆเนี่ย
ไม่นานต้องโพล่งขึ้นมาแน่ๆ
ว่านี่เป็นธาตุ ไม่ใช่เรา
เพราะมันจะเหลือแค่ผู้รู้ กับผู้ถูกรู้
ไม่มีเรา เพราะตำแหน่งมีอยู่แค่นี้


the-bird-and-the-tree-10


กำลังฟังผมอยู่เนี่ย ทำความรู้สึกที่ก้นครับ
อาสนะเป็นยังไงครับ
นิ่ม อุ่น ถูกไหมครับ


ก่อนผมพูดมีอาสนะไหม
ก่อนผมพูดมีก้นไหม


ก้นมีตอนผมพูดนี้ มันจึงดำริตริตรึกก้นขึ้นมา
มันจึงฉายก้นขึ้นมา


ตอนฉายก้นขึ้นมาเนี่ย ตอนนี้สังเกตที่ก้นครับ
รู้ลมไหมครับ ?


ไม่รู้


เห็นหรือยังวิญญาณ ปุ๊ปปั๊ปๆ มันดับอย่างนี้
ให้เห็นว่ามีแค่นี้ก่อน เห็นธรรมคู่ก่อน
มีผู้รู้กับผู้ถูกรู้ มีแค่นี้
แล้วเดี๋ยวไม่นานล่ะ แล้วก็ภาวนาไป


คล้ายๆทำเล่นๆ อย่าจงใจให้มาก
อย่าบีบคั้น อย่าข่มขืนใจ
อย่าข่มขืนใจเพราะว่าใจจะไม่เกิดกัมมนีโย
คืออาการแคล่วคล่องว่องไวของจิตมันจะเกิดไม่ได้
เพราะท่านทำแบบ...


the-bird-and-the-tree-11


ทำให้เหมือนเค้าเป็นกัลยาณมิตร น่ะ
ทำเหมือนภาวนาเนี่ย ภาวนาเนี่ยแบบเรื่องโคนันทิวิสาล
เด็กรุ่นใหม่รู้ไหมเนี่ย เรียนไหม ไม่ได้เรียนนะ? หรือว่าผมเรียนอยู่โรงเรียนเดียวเนี่ย?


โคนันทิวิสาล เป็นวัวที่เจ้านายด่าเอา พูดเอา จิกเอา ตีเอา
วัวไม่ยอมเดิน ทำไงก็ไม่เดิน
จนกระทั่งไปถามคนหรือว่าคนเดินผ่านมาอะไรนี่ล่ะ
ผมจำไม่ค่อยได้แล้วมันนาน
เค้าบอกว่าไปพูดกับวัวดีๆสิ
วัว... พ่อเจ้าประคุณ ช่วยเดินเถอะนะ อะไรอย่างนี้นะ
วัวก็เลยเดิน

พูดกันดีๆก็ได้


the-bird-and-the-tree-13


จิตมีธาตุรู้ ตรัสรู้ได้ทีเดียว
อย่าทำเหมือนเค้าเป็นเด็กๆ
อย่าทำเหมือนเค้าเป็น แบบ... เป็นควาย
จริงๆเค้าน่ะไม่ได้เป็นหรอก


ค่อยๆตะล่อมเข้ามา
เนื่องจาก มันเป็นธรรมชาติที่เรียนรู้ได้ ฝึกได้


แต่เพราะความไม่รู้
เค้าจึงไปยึดถือขันธ์ เค้าจึงไปยึดถือตัวเอง
เมื่อไปยึดถือขันธ์ จึงก่อให้เกิดเหตุเกิดของขันธ์


...




จากธรรมบรรยายโดย
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม

สามารถดาวโหลดไฟล์เสียงคอร์สปฏิบัติธรรมนี้ได้ที่นี่ค่ะ
"คอร์สเข้มขังเดี่ยว - ทุบเปลือก ทำลายเมล็ด"

เวอร์ชั่นคลิปวีดีโอดูได้ที่นี่ค่ะ
https://www.youtube.com/watch?v=nH-dlIb7J1M

เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ อ่านได้ที่นี่ค่ะ
//atenlightenment.wordpress.com/2013/08/27/the-bird-and-the-tree/

Credit:
//dhammaway.wordpress.com/2013/08/10/the-bird-and-the-tree/




Create Date : 22 กรกฎาคม 2557
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2557 13:55:15 น.
Counter : 1189 Pageviews.

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  

อาณาจักรสีเขียว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]



ขอบพระคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมคะ

แล้วแวะเข้ามาเยี่ยมชมที่บล็อก ลิงค์นี้กันนะ
http://dhammaway.wordpress.com
แนะนำมากๆ
All Blog
  •  Bloggang.com