ฟังคลิปเสียง MP3 เรื่อง "ความรู้ ต้องมาเข้าคู่กับ ความรัก"








ฟังคลิปเสียงเรื่อง "ความรู้ ต้องมาเข้าคู่กับความรัก"
ธรรมบรรยายโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)



ดาวโหลดคลิปเสียง MP3 ฟังได้ที่นี่เลย
//files.watnyanaves.net/uploads/File/sounds/all-happiness/all-happiness_04.mp3





ส่วนหนึ่งจากธรรมบรรยายชุด "ความสุข ทุกแง่ทุกมุม" น่าฟังมากค่ะ
//www.watnyanaves.net/th/album_detail/all_happiness





ความรู้ธรรมะ ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่า
ธรรมบรรยายโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

ฟังแบบคลิปเสียง MP3 ดาวโหลดได้เลย
หรือดาวโหลดอ่านหนังสือ Ebook PDF ได้ด้วย
ที่เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน
//www.watnyanaves.net






Create Date : 01 มีนาคม 2559
Last Update : 1 มีนาคม 2559 14:44:53 น.
Counter : 1163 Pageviews.

(ฟังคลิป mp3 เสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม) อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ เทพเทวดา

https://dhammaway.wordpress.com/2013/04/09/angel-miracle/


landscape-1-text-4


เป็นเสียงอ่านจากหนังสือ "พุทธธรรม"
หนังสือที่เป็นเพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนาโลก
โดยผู้เขียน "พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)"

ให้เสียงอ่านโดย "พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล"
ที่หลายท่านรู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเสียงท่านนุ่ม น่าฟังขนาดไหน

หากท่านใดสนใจเรื่องเหล่านี้
ลองมาโหลดแล้วฟังคลิปเสียงเหล่านี้ดูค่ะ
ได้รายละเอียดเนื้อหา เติมเต็มความรู้ และความสงสัยใคร่รู้ได้เต็มที่เลย




1.0 - เรื่องเหนือสามัญวิสัย
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-0.mp3

1.1 - อิทธิปาฏิหริย์
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-1.mp3

1.2 - ปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แค่ฤทธิ์ แต่มีถึง 3 อย่าง
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-2.mp3

1.3 - อิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ธรรมที่เป็นแก่นสาร
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-3.mp3

1.4 - อิทธิฤทธิ์ ชนิดอริยะและชนิดอนารยะ
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-4.mp3

1.5 - โทษแก่ปุถุชน ในการเกี่ยวข้องกับเรื่องฤทธิ์
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-5.mp3

1.6 - แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องฤทธิ์
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-1-6.mp3



2.1 - เทวดา
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-2-1.mp3

2.2 - มนุษย์กับเทวดา ความสัมพันธ์ใดที่ล้าสมัย
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-2-2.mp3

2.3 - หวังพึ่งเทวดา ได้ผลนิดหน่อย แต่เกิดโทษมากมาย
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-2-3.mp3

2.4 - สร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ระหว่างมนุษย์กับเทวดา
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-2-4.mp3

2.5 - ความสัมพันธ์แบบชาวพุทธ ระหว่างมนุษย์กับเทวดา
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-2-5.mp3



3.0 - สรุปวิธีปฏิบัติต่อเรื่องเหนือสามัญวิสัย
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-3-0.mp3

3.2 - ก้าวสู่ขึ้นมีชิวิตอิสระ เพื่อจะเป็นชาวพุทธที่แท้
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-3-2.mp3

3.3 - วิธิปฏิบัติที่ถูกต้อง ต่อสิ่งเหนือสามัญวิสัย
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-3-3.mp3

3.4 - ปฏิบัติถูกต้องคือเดินหน้า
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-3-4.mp3



4.1 - บันทึกพิเศษท้ายบท
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-4-1.mp3

4.2 - การช่วยและการแกล้งของพระอินทร์
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-4-2.mp3

4.3 - สัจะกิริยาทางออกที่ดี สำหรับผู้ยังหวังอำนาจ ดลบันดาน
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-4-3.mp3

4.4 - พระพุทธ เป็นมนุษย์หรือเทวดา
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-4-4.mp3



5.1 - ภาคผนวก-ประเด็น1-สรุปหลักการสำคัญของพุทธศาสนา
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-5-1.mp3

5.2 - เหตุใดพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจอิทธิปาฏิหาริย์
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-5-2.mp3

5.3 - พระสมัยการก็ให้วัตถุมงคล-พระสมัยนี้ก็ให้-สรุปแล้วคนไทยนับถือพุทธหรือไสยศาสตร์
              //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-5-3.mp3

5.4 - การนับถืออำนาจดลบันดานภายนอก-ต่างจากพุทธ
                 //dhammaway.files.wordpress.com/2013/04/20-5-4.mp3




เป็นเสียงอ่านจากหนังสือ "พุทธธรรม"
หนังสือที่เป็นเพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนาโลก
โดยผู้เขียน "พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)"
//dhammaway.wordpress.com/2012/12/23/the-great-book/





Create Date : 23 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2558 9:31:50 น.
Counter : 936 Pageviews.

(ฟัง mp3 หรืออ่าน pdf) ทำความเข้าใจเรื่อง "กรรม"





จริงๆเนื้อหาในหนังสือพุทธธรรมในบทนี้นะ
อยากชวนให้ "อ่านด้วยตัวเอง" มากกว่าค่ะ
เราอ่านจบแล้ว บอกได้เลยว่าเนื้อหาแน่นมาก
เป็นบทที่สุดยอดมากๆบทนึงเลยทีเดียว

เนื้อหาสอดรับกันต้้งแต่เริ่มต้น
ต้องตั้งใจและตั้งสมาธิในการอ่านเลยค่ะ

แล้วจะได้รับสิ่งที่ทรงคุณค่ามากๆ จากเนื้อหาในเรื่องนี้บทนี้

อ่าน pdf ที่นี่นะคะ อยู่ในบทที่ 5 นะ
//dhammaway.files.wordpress.com/2013/05/putthathum-extend.pdf

"พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)"
ธรรมนิพนธ์โดย "พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)"
เพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา

krama-1-2-3



ส่วนด้านล่างนี้เป็นเวอร์ชั่นเสียง mp3 นะคะ


1 - ความนำ
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_01.mp3

2 - ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกรรม - ก. กรรม ในฐานะกฏธรรมชาติอย่างหนึ่ง
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_02.mp3

3 - ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกรรม - ข. ความหมายของกรรม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_03.mp3

4 - ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกรรม - ค. ประเภทของกรรม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_04.mp3

5 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - ก. ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_05.mp3

6 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - ข. ความหมายของกุศลและอกุศล
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_06.mp3

7 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - ค. ข้อคววรทราบพิเศษเกี่ยวกับกุศลและอกุศล
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_07.mp3

8 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - ง. เกณฑ์วินิจฉัยกรรมดี-กรรมชั่ว
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_08.mp3

9 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - สิ่งที่สังคมบัญญัติ ไม่เกี่ยวกับกุศล อกุศลโดยตรง
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_09.mp3

10 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - สิ่งที่สังคมบัญญัติ กระทบถึงกุศล อกุศลในกรรมนิยาม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_10.mp3

11 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าเจตนา
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_11.mp3

12 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - อย่างไรก็ดี เพราะเหตุที่นิยามทั้งสองนั้น...
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_12.mp3

13 - เกณฑ์ตัดสิน ความดี-ความชั่ว - จ. หลักคำสอนเพื่อเป็นเกณฑ์วินิจฉัย
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_13.mp3

14 - การให้ผลของกรรม - ก. ผลกรรมในระดับต่างๆ
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_14.mp3

15 - การให้ผลของกรรม - ข. องค์ประกอบที่ส่งเสริมและขัดขวางการให้ผลของกรรม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_15.mp3

16 - การให้ผลของกรรม - ค. ผลกรรมในช่วงกว้างไกล
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_16.mp3

17 - การให้ผลของกรรม - ง. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการพิสูจน์เรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_17.mp3

18 - การให้ผลของกรรม - จ. ข้อสรุป: การพิสูจน์และท่าทีปฏิบัติต่อเรื่องชาติหน้า
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_18.mp3

19 - การให้ผลของกรรม - ฉ. ผลกรรมตามนัยแห่งจูฬกรรมวิภังคสูตร
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_19.mp3

20 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๑) สุขทุกข์ ใครทำให้
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_20.mp3

21 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๒) เชื่ออย่างไร ผิดหลักกรรม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_21.mp3

22 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๓) กรรม ชำระล้างได้อย่างไร
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_22.mp3

23 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๔) แก้กรรม ด้วยปฏิกรรม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_23.mp3

24 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๕) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม (1)
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_24.mp3

25 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๕) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม (2)
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_25.mp3

26 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๕) กรรม ที่ทำให้สิ้นกรรม (3)
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_26.mp3

27 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๖) กรรม ในระดับสังคม หรือกรรมของสังคม มีหรือไม่
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_27.mp3

28 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๗) กรรม ตามสมมตินิยาม หรือ กรรม ในกฎของมนุษย์
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_28.mp3

29 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๗) กรรม ตามสมมตินิยาม - กฎมนุษย์ (1)
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_29.mp3

30 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๗) กรรม ตามสมมตินิยาม - กฎมนุษย์ (2)
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_30.mp3

31 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๘) กรรม กับอนัตตา ขัดกันหรือไม่
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_31.mp3

32 - ข้อควรศึกษายิ่งขึ้นไป - ๘) กรรม กับอนัตตา ขัดกันหรือไม่ (ต่อ) - สรุป
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_32.mp3

33 - คุณค่าทางจริยธรรม
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_33.mp3

34 - บันทึกพิเศษท้ายบท
//dhammaway.files.wordpress.com/2014/01/05_34.mp3




จากหนังสือ "พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)" เพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา
หนังสือที่รวบรวมคำสอนในทางพระพุทธศาสนาไว้ได้ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน
ธรรมนิพนธ์โดย "พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)"
//dhammaway.files.wordpress.com/2013/05/putthathum-extend.pdf

ความรู้ดีๆ ทรงคุณค่า ทั้งหนังสือ pdf สำหรับดาวโหลดอ่าน
และคลิปเสียง mp3 สำหรับดาวโหลดฟังได้เลยที่เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน
//www.watnyanaves.net/th/home




Create Date : 12 กันยายน 2558
Last Update : 12 กันยายน 2558 11:27:44 น.
Counter : 795 Pageviews.

อ่านเรื่องนี้กันค่ะ "เพราะคือ กระแสแห่งกรรม กระแสแห่งเหตุปัจจัย"







เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)
บทที่ ๕ เรื่อง กรรม หน้า ๓๑๑
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)



สมมุติว่า ขณะนี้ ทั้งผู้อ่านและผู้เขียนกำลังยืนมองกระแสน้ำสายหนึ่งอยู่ กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบเป็นส่วนมาก จึงไหลเอื่อยๆ ไม่เชี่ยว ดินที่กระแสน้ำไหลผ่านส่วนมากเป็นดินสีแดง กระแสน้ำสายนี้จึงมีสีค่อนข้างแดง นอกจากนั้น กระแสน้ำยังไหลผ่านถิ่นที่มีประชาชนอยู่หนาแน่นหลายแห่ง คนได้ทิ้งขยะและของเสียต่างๆ ลงในลำน้ำเป็นอันมากตลอดเวลา ทำให้น้ำสกปรก ยิ่งในระยะหลังนี้ มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งมากขึ้น และปล่อยน้ำเสียลงในน้ำทุกวัน ทำให้เกิดเป็นพิษ ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของสัตว์น้ำ จึงมีปลาา กุ้ง เป็นต้น ไม่ชุม



สรุปแล้ว กระแสน้ำที่เรากำลังมองดูอยู่นี้ สีค่อนข้างแดง สกปรก เจือปนด้วยน้ำพิษมาก มีสัตว์น้ำไม่ชุม ไหลเอื่อยๆ ช้าๆ ผ่านที่นั้นที่นั้น ทั้งหมดนี้รวมกันเข้าเป็นลักษณะจำเพาะของกระแสน้ำนี้ ซึ่งมีลักษณะบางอย่างก็เหมือนกระแสน้ำโน้น บางอย่างเหมือนกระแสน้ำนั้น บางอย่างเหมือนกระแสน้ำนู้น ฯลฯ แต่รวมทั้งหมดแล้วไม่เหมือนกระแสน้ำอื่นใด



ต่อมา มีผู้บอกเราว่า กระแสน้ำสายนี้ชื่อแม่น้ำท่าวัง เขาบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำท่าวังเป็นอย่างนั้นๆ บางคนบอกว่าแม่น้ำท่าวังมีน้ำสกปรก ปลาไม่ชุม บางคนบอกว่า กระแสน้ำของแม่น้ำท่าวังไม่ไหลเชี่ยว และเป็นอย่างนั้นๆ บางคนว่า แม่น้ำท่าวังไหลผ่านถิ่นที่มีดินสีแดงมาก จึงมีน้ำค่อนข้างแดง



เราเกิดความรู้สึกเป็นข้อสังเกตขึ้นมาว่า ความจริง กระแสน้ำที่เรามองดูอยู่ ก็มีภาวะสมบูรณ์ในตัวตามสภาพของมันอยู่แล้ว มันมีลักษณะต่างๆ เช่น ไหลช้า มีสีแดง สกปรก เป็นต้น ก็เพราะมันเกิดจากองค์ประกอบและความเป็นไปต่างๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลอันทำให้มันต้องเป็นอย่างนั้น เช่น เมื่อกระแสน้ำกระทบละลายดินแดง ก็เกิดผลขึ้นแก่กระแสน้ำนั้นให้มีสีแดง เป็นต้น ความเป็นไปต่างๆ ของมัน มีผลต่อมันอยู่ในตัวเอง



ยิ่งกว่านั้น ขณะที่เรามองอยู่นั้น กระแสน้ำก็ไหลผ่านไปเรื่อยๆ น้ำที่เราเห็นตรงหน้าเมื่อแรกมอง กับเวลาต่อมา ก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน และน้ำที่เห็นตอนต่อๆ มา กับตอนท้ายที่เราจะเลิกมอง ก็ไม่ใช่น้ำเดียวกัน แต่กระนั้นมันก็มีลักษณะจำเพราะที่เรียกได้ว่าเป็นอย่างเดิม เพราะองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมเข้าเป็นกระแสน้ำนั้นยังคงเหมือนๆ เดิม แต่มีคนบอกเราว่า แม่น้ำนี้ชื่อแม่น้ำท่าวัง ยิ่งกว่านั้น ยังบอกกว่า แม่น้ำท่าวังมีกระแสน้ำไม่เชี่ยว น้ำของแม่น้ำท่าวังสกปรก ปลาน้อย เรามองไมเห็นว่าจะมีแม่น้ำท่าวังอยู่ที่ไหนต่างหาก หรือนอกจากกระแสน้ำที่เรามองอยู่นั้น เรามองไม่เห็นตัวแม่น้ำท่าวังไหนที่มาเป็นจ้ำของกระแสน้ำที่ไหลอยู่นั้น



ยิ่งกว่านั้น เขาบอกกว่า แม่น้ำท่าวังไหลผ่านละลายดินแดง ทำให้มันมีาสีค่อนข้างแดง คล้ายกับว่า แม่น้ำท่าวังไปทำอะไรให้กับดินแดง มันจึงได้รับผลถูกเขาลงโทษให้มีน้ำสีแดง เราเห็นอยู่ชัดๆ ว่า กระแสน้ำที่เรามองเห็นอยู่นั้น มีความเป็นไป เป็นกระบวนการแห่งเหตุและผลพร้อมอยู่ในตัวของมัน น้ำที่ไหลมากระทบเข้ากับดินแดง ดินแดงละลายผสมกับน้ำเป็นเหตุ ผลก็เกิดขึ้นคือกระแสน้ำจึงมีสีค่อนข้างแดง ไม่เห็นจะมีใครมาเป็นผู้ทำหรือผู้รับผลนั้นอีก



ยิ่งกว่านั้น เราไม่เห็นตัวแม่น้ำท่าวังเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ที่ไหนได้เลย กระแสน้ำที่ไหลผ่านหน้าเราไปแล้ว ก็ไหลผ่านไปเลย น้ำเก่าที่เราเห็น ก็ไม่มีอยู่ที่นั่นแล้ว มีแต่น้ำใหม่มาแทนที่เรื่อยไป เรากำหนดกระแสน้ำนั้นได้ ด้วยองค์ประกอบ อาการ และความเป็นไปต่างๆ ที่ประมวลกันขึ้นให้ปรากฏลักษณะอันจะถือเอาได้เช่นนั้นเท่านั้นเอง และถ้ามีตัวตนของแม่น้ำท่าวังเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนตายตัวอยู่ กระแสน้ำคงจะเป็นไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้ และในขั้นสุดท้าย เราเห็นว่า แม่น้ำท่าวังนั่นแหละเป็นส่วนเกินที่ไม่จำเป็น เราพูดถึงกระแสน้ำนั้นได้เต็มตามกระบวนการของมัน โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับแม่น้ำท่าวังเลย ว่าให้ถูกแล้ว แม่น้ำท่าวังไม่มีอยู่เลยด้วยซ้ำไป เราเห็นชัดเลยว่า ไม่มี ไม่ต้องมี และไม่อาจจะมีอะไรๆ มาเป็นตัวตนที่เรียกว่าแม่น้ำท่าวัง หรือมีแม่น้ำท่าวังที่ไหนมาเป็นตัวตนเป็นอัตตา ที่จะเป็นเจ้าของเจ้ากี้เจ้าการกำกับสั่งการแก่กระแสน้ำนั้น



ต่อมาอีกนาน เราเดินทางไปถึงตำบลอื่น เราพบชาวตำบลนั้นหลายคน คราวหนึ่งเราอยากจะเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องกระแสน้ำที่เราได้มองดูคราวก่อนนั้น แล้วเราก็เกิดความติดขัดขึ้นมาทันที เราไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรดี เขาจึงจะเข้าใจตามที่เราต้องการจะบอกเขาได้ เรานึกขึ้นมาได้ถึงคำที่เคยมีคนบอกเราว่ากระแสน้ำสายนั้นชื่อแม่น้ำท่าวัง จากนั้นเราก็สามารถเล่าให้ชาวบ้านฟังอย่างสะดวกคล่องแคล่ว และเขาก็ฟังด้วยความเข้าใจและสนใจเป็นอย่างดี เราพูดด้วยว่า แม่น้ำท่าวังมีน้ำสกปรก มีปลาน้อย กระแสน้ำของแม่น้ำท่าวังไหลช้า แม่น้ำท่าวังไหลไปกระทบดินแดง ทำให้มันมีสีค่อนข้างแดง



ในเวลานั้น เราเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยว่า แม่น้ำท่าวัง และบทบาทของมันตามที่เราเล่านั้น เป็นเพียงถ้อยคำสมมติเพื่อสะดวกในการติดต่อสื่อสารกันในโลก แม่น้ำท่าวังและบทบาทของมันตามคำสมมุติเหล่านี้ จะมีขึ้นมาหรือไม่มี และเราจะใช้มันหรือไม่ก็ตามที จะไม่มีผลกระทบต่อกระแสน้ำนั้นเลย กระแสน้ำนั้นก็คงเป็นกระบวนการแห่งกระแสที่ไหลเนื่องไปตามองค์ประกอบและเหตุปัจจัยของมันอยู่นั่นเอง เราแยกได้ระหว่างสมมุติกับสภาวะที่เป็นจริง บัดนี้ เราทั้งเข้าใจ และสามารถใช้ถ้อยคำเหล่านั้นพูดด้วยความสบายใจ



ที่สมมติเรียกกันว่าคน ว่านาย ก. คุณ ข. เรา เขา นั้นโดยสภาวะที่แท้ก็คือ กระบวนธรรมที่ไหลเนื่องเป็นกระแสสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย มีองค์ประกอบต่างๆ มาสัมพันธ์กันอยู่มากมาย มีความเป็นไปปรากฏให้เห็นได้นานัปการ สุดแต่เหตุปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในกระบวนธรรมนั้นเอง และทั้งที่เนื่องด้วยภายนอก



เมื่อมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์อย่างหนึ่งเกิดเป็นเหตุขึ้นแล้ว ก็ย่อมก่อนให้เกิดผลเป็นความเปลี่ยนแปลงขึ้นในกระบวนธรรมนั้น สิ่งที่เรียกว่ากรรม และวิบาก นั้น ก็คือความเป็นไปตามทางแห่งเหตุและผลที่เกิดขึ้นในกระบวนธรรมที่กล่าวนี้ ซึ่งมีความสำเร็จพร้อมอยู่ในตัวกระบวนธรรมนั้นเอง โดยไม่ต้องอาศัยตัวสมมติ เช่นว่า นาย ก. นาย ข. เรา เขา นายสิบ นายพัน มารับสมอ้างเป็นเจ้าของ เป็นผู้ทำ หรือเป็นผู้รับผลแต่ประการใด



อันนี้เป็นส่วนตัวสภาวะความจริง อันเป็นไปอยู่ตามธรรมดาของมัน แต่เพื่อความสะดวกในการสื่อสารให้เข้าใจกันในหมู่ชาวโลก จะใช้พูดตามสมมติก็ได้ โดยตั้งชื่อให้แก่กระบวนธรรมที่ไหลเวียนอยู่นั้นว่า นาย ก. นาย ข. จมื่น หัวหมู่ เป็นต้น เมื่อรับสมมติเข้าแล้ว ก็ต้องยอมรับสมอ้าง เป็นเจ้าของ เป็นผู้ทำ และผู้ถูกทำไปตามเรื่อง แต่ถึงจะสมมติหรือไม่สมมติ จะรับสมอ้างหรือไม่รับ กระบวนธรรมที่เป็นตัวสภาวะความจริงก็เป็นไปอยู่ตามกฏธรรมดา ตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง ข้อสำคัญก็คือ จะต้องรู้เท่าทัน แยกสมมติกับตัวสภาวะออกจากกันได้ ของอันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อใดจะพูดถึงสภาวะ ก็พูดไปตามสภาวะ เมื่อใดจะใช้สมมติ ก็พูดไปตาม สมมติ อย่าไขว้เขว อย่าสับสนปะปนกัน และต้องมีความเข้าใจสภาวะเป็นความรู้เท่าทันรองรับยืนพื้นอยู่



ทั้งตัวสภาวะ และสมมติ เป็นสิ่งจำเป็น ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ ส่วนสมมติเป็นเรื่องของประโยชน์ในทางปฏิบัติสำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะ จะให้เป็นตามสมมติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นไปอย่างนั้นเอง ตามปกติธรรมดา ไม่เกี่ยวกับใครจะไปยึดหรือไม่ มนุษย์เป็นผู้วุ่นไปฝ่ายเดียว และเพราะมันไม่วุ่นด้วย มนุษย์จึงยิ่งวุ่นวายใหญ่ เพราะขัดความปรารถนา ถูกบีบคั้น จึงเกิดเป็นปัญหาแก่มนุษย์เอง




เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย)
บทที่ ๕ เรื่อง กรรม หน้า ๓๑๑
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
//www.watnyanaves.net/th/home

สามารถดาวโหลดหนังสือพุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย) อ่านได้ที่นี่เลยค่ะ
//www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhadhamma_extended_edition.pdf

และสามารถดาวโหลดฟัง mp3
คลิปเสียงอ่านหนังสือพุทธธรรม(ฉบับปรับขยาย) เรื่อง "กรรม" ได้ที่นี้เลยค่ะ
//dhammaway.wordpress.com/2014/01/28/krama/

สามารถฟังเนื้อหาท่อนนี้ได้ทาง youtube นี้เลยค่ะ
เรื่อง "เพราะนี้คือกระแสแห่งกรรม กระแสแห่งเหตุปัจจัย"
https://www.youtube.com/watch?v=ftp0H6LLozk




Create Date : 22 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2557 7:58:48 น.
Counter : 611 Pageviews.

ด้วยคุณงามความดีอย่างยิ่งยวด เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์



พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)


"...อย่างน้อยโยมต้องรู้หลักก่อนว่า
ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ที่ว่าต้องบำเพ็ญบารมี
บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่ง
อย่างที่คนธรรมดาทั่วไปจะบำเพ็ญกันไม่ไหว
ตั้งใจจะบำเพ็ญความดีข้อไหน
เช่นบำเพ็ญทาน ก็บำเพ็ญได้อย่างสูงสุดจนกระทั่ง
สละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้
เรียกว่าให้ชีวิต


จะบำเพ็ญความเพียรพยายาม
ก็เพียรพยายามอย่างยวดยิ่ง
ไม่มีระย่อท้อถอย แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ยอม
นี่คือการบำเพ็ญบารมี
หมายถึงคุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยวดยิ่ง


พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีครบแล้ว
ก็คือได้พัฒนาพระองค์อย่างเต็มที่แล้ว
ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แล้วเราก็นับถือพระโพธิสัตว์นั้น
นับถืออย่างไร? นับถือเพื่ออะไร?


ก็ขอตอบสั้น ๆ คือ นับถือเพื่อเอาเป็นแบบอย่าง
เอาพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างอย่างไร?


พระโพธิสัตว์นั้นกว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านต้องทำความดีมากมาย
เพียรพยายามทำมายาวนาน
อย่างยากลำบากมากประสบอุปสรรคมาก
แต่ก็ทำมาตลอดโดยไม่ระย่อท้อถอย
จนประสบความสำเร็จ
ท่านจึงเป็นตัวอย่างในการทำความดีของเรา


พระโพธิสัตว์นั้นท่านมีปณิธานด้วย
คือตั้งใจจะทำความดีอันไหนก็ทำจริง ๆ
ทำเต็มที่แล้วก็มั่นคงด้วย
เราก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น
โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่าง
จนกระทั่งเราสามารถเสียสละตัวเองได้เพื่อทำความดีนั้น


ตลอดจนกระทั่งว่าพระโพธิสัตว์นี่เสียสละตัวเองเพื่อผู้อื่น
เราก็ต้องสามารถเสียสละผลประโยชน์ของตัวเอง
เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือสังคม นี่คือคติพระโพธิสัตว์


อันนี้ก็โยงมาหาพระพุทธเจ้า
เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลัก
พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ก็เป็นมาด้วยความเพียรพยายาม
และทำความดีมามากมาย
เพราะอย่างนี้จึงทำให้เราเกิดความซาบซึ้ง
ในพระคุณของพระพุทธเจ้า นี่ประการหนึ่ง


ประการที่สองก็คือ
เป็นการเตือนตัวเราให้สำนึกในหน้าที่
ที่จะพัฒนาตัวที่จะทำความดี
เพื่อจะบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง


การที่จะบรรลุสิ่งที่ดีงามประเสริฐสูงสุด
เป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้านั้น
ไม่ใช่สิ่งที่จะได้มาด้วยการหวังหรืออ้อนวอนเฉย ๆ
แต่จะต้องเพียรพยายามทำ
ฉะนั้นคนเราทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเอง
ต้องตั้งใจทำความดี


คติพระโพธิสัตว์เตือนใจเราว่าเราจะต้องตั้งใจทำความดี
บำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ พร้อมกันนั้นก็เป็นกำลังใจแก่เรา
ในเมื่อเราได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์
ว่าท่านทำความดีมากมาย
อย่างเข้มแข็งและเสียสละ


เราได้เห็นตัวอย่างแล้วเราก็มีกำลังใจ
ที่จะทำความดีนั้นให้ตลอด
บางทีเราทำความดีไป เราเป็นปุถุชน บางทีเราก็อ่อนแอ
เมื่อไปพบอุปสรรคบางอย่างหรือไม่ได้รับผลที่ปรารถนา
เราก็เกิดความท้อแท้ เกิดความผิดหวัง
คนจำนวนมากจะเป็นอย่างนี้
ทำความดีไประยะหนึ่งก็ไม่เข้มแข็งจริง ไม่มั่นคงจริง
ไปประสบอุปสรรคหรือไม่ได้รับผลตอบแทนที่ต้องการ
ก็เกิดความท้อถอย แล้วก็บ่นเพ้อ
เอ้อ เราอุตส่าห์ทำดีมานักหนา ไม่เห็นได้ดีเลย
แล้วก็มองไปในด้านตรงข้ามว่า
อ้าว คนนั้นคนนี้เขาทำไม่ดี เขาทำชั่วด้วยซ้ำ
ทำไมได้ดีอย่างที่พูดกันว่า
"ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป"
อะไรต่าง ๆ ก็จะตัดพ้อร้องทุกข์ขึ้นมา
แล้วก็พาลพาโลพาเลเลยเลิกทำความดี อันนี้จะเป็นผลเสีย


เมื่อได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์
ก็จะเกิดกำลังใจว่าพระพุทธเจ้า
เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ท่านทำความดี
ท่านลำบากกว่าเราเยอะแยะอย่างที่ว่าเมื่อกี้


บางทีต้องเสียสละชีวิตก็มี
บางทีพระองค์ทำความดีมากมาย
เขาไม่เห็นความดี เขาเอาพระองค์ไปฆ่า
พระองค์ก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ทำความดีต่อไป


เรามานึกดูตัวเราทำความดีแค่นี้แล้วจะมาท้อถอยอะไร
พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ลำบากกว่าเรา ทำมากกว่าเรา
ประสบอุปสรรคมากกว่าเรามากมาย ไปท้อถอยทำไม
พอเห็นคติพระโพธิสัตว์อย่างนี้
เราก็มั่นคงในความดี สู้ต่อไป นี่แหละเป็นแบบอย่าง
นี่คือการนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง


ท่านสอนมา ท่านเล่าเรื่องพระโพธิสัตว์มา
ก็เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เราในการทำความดี
เป็นเครื่องเตือนใจเราไว้ ทำให้เรามีกำลังใจ
แล้วเราก็เดินหน้าเรื่อยไปไม่ท้อถอย..."



จากหนังสือ "คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวก่อนปฏิบัติธรรม)"
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)


จาก ธรรมกถา ปาฐกถา ณ วัดสวนแก้ว เมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
ดาวโหลดหนังสือ pdf ฉบับเต็มได้ที่นี่ค่ะ
//www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/questions_for_buddhists_(self-inspection_before_practising_dhamma).pdf

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
ผู้ประพันธ์หนังสือ "พุทธธรรม" เพชรน้ำเอกแห่งพระพุทธศาสนา

เว็บไซต์รวมผลงานการประพันธ์ ธรรมนิพนธ์และธรรมบรรยาย
ความรู้ดีๆ ทรงคุณค่ามากมาย จากพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
เว็บไซต์ วัดญาณเวศกวัน
//www.watnyanaves.net/th/home




Create Date : 15 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2557 10:46:26 น.
Counter : 776 Pageviews.

1  2  

อาณาจักรสีเขียว
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]



ขอบพระคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมคะ

แล้วแวะเข้ามาเยี่ยมชมที่บล็อก ลิงค์นี้กันนะ
http://dhammaway.wordpress.com
แนะนำมากๆ
  •  Bloggang.com