Audio Watermarking of Stereo Signals Based on Echo-Hiding Method
[สารบัญกลุ่มเรื่องที่กำลังศึกษา]
เนื้อหาตอนนี้ผมสรุปจากบทความในชื่อเดียวกันของ Foo Say Wei กับ Dong Qi จาก ICICS 2009
ปกติเวลาทำ echo hiding เราจะใช้ delay time ของ echo 2 ค่าเพื่อฝังข้อมูล "0" กับ "1" แต่บทความนี้ ผู้เขียนเสนอวิธีที่ใช้ delay time แค่เพียงค่าเดียว คือ 0.001 s กับ decay rate = 0.4 ในการฝังข้อมูลลงในเพลงแบบ stereo (มี 2 channels) ที่อัตราแซมปลิ้ง 44.1 kHz ซึ่งแบ่งฝังบิตละท่อน ท่อนละ 0.01 s และเลือกฝังท่อนที่เป็น non-silent segment นั่นคือ มีการคิดพลังงานของแต่ละท่อนก่อน แล้วฝังข้อมูลลงในท่อนที่มีพลังงานเกินค่า threshold ที่กำหนดไว้บางค่า เทคนิคที่น่าสนใจในการคำนวณพลังงานของผู้เขียนคือ ในแต่ละท่อน (0.01 s) เขายังแบ่งออกเป็น 3 ท่อนย่อย แล้วคำนวณพลังงานของแต่ละท่อนย่อย ถ้ามีท่อนย่อยใดท่อนย่อยหนึ่งที่พลังงานต่ำกว่า threshold ก็จะถือว่าทั้ง segment (3 ท่อนย่อย) เป็น non-silent segment
ทีนี้ เนื่องจากใช้ delay time ค่าเดียว จะมีวิธีแยกบิต 0 กับ 1 อย่างไร, ทริกที่ผู้เขียนใช้คือให้ดูว่า echo ถูกฝังไว้ channel ไหน เช่น ถ้าเป็นสัญญาณช่องลำโพงซ้าย ก็ถือว่าบิต 0 แต่ถ้าเป็นสัญญาณช่องลำโพงขวา ถือว่าบิต 1
ผู้เขียนเปรียบเทียบระหว่าง single-channel กับวิธีที่เสนอโดยดูเปรียบเทียบค่า extraction rate (%) เมื่อผ่านการโจมตี 3 แบบ คือ เติม white noise, เปลี่ยน sampling rate เป็นค่าใดค่าหนึ่งแล้วแปลงกลับเป็น 44.1 kHz, กับการบีบอัดเป็น MP3 แล้วแปลงกลับมาเป็น WAV ผลที่ได้แสดงดังตาราง ซึ่งแน่นอนว่ากรณีนี้ ประสิทธิภาพที่ดีกว่า (extraction rate ที่สูงกว่า) ย่อมเป็นที่คาดหมายอยู่แล้วนะครับ

Create Date : 20 มิถุนายน 2556 |
Last Update : 12 กรกฎาคม 2556 21:35:46 น. |
|
0 comments
|
Counter : 965 Pageviews. |
 |
|
|
| |