ความหมายของ โดยส่วนเดียว
ความหมายของโดยส่วนเดียว ในการอ่านพระไตรปิฏกมีอยู่หลายคำที่สำนวนไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยกับคนรุ่นปัจจุบันวันนี้นำเสนอคำว่า โดยส่วนเดียว ในกรณีของคนที่มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหานั้นพระบรมศาสดาทรงมีหลักในการตอบ ๔ วิธีด้วยกันคือ ๑. เอกังสพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไปโดยส่วนเดียวอย่างเช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น ๒. วิภัชพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงจำแนกตัวไปตามลักษณะของเรื่องนั้นๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ว่าคนตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ ? พระบรมศาสดาจะทรงตอบจำแนกไปตามเหตุผลคือ เมื่อเหตุให้เกิดมี อยู่การเกิดก็ต้องมี เมื่อไม่มีการเกิดก็ไม่มี ๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญหาที่ถามมานั้นเองย้อนถามไปอีกทีแล้วจะออกมาเป็นคำตอบเอง ๔. ฐปนียะ ปัญหาบางเรื่องบางอย่าง เป็นเรื่องไร้สาระบ้างตั้งคำถามผิดบ้างพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้ฟังบ้าง พระบรมศาสดาจะทรงนิ่งเสียไม่ตอบ เพราะพระพุทธเจ้าดำรัสทุกคราวของพระพุทธเจ้าวางอยู่บนหลักที่ว่า"ต้องเป็นเรื่องจริง เป็นธรรมมีประโยชน์ เหมาะสมแก่กาล คนฟังอาจจะชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็ได้แต่ถ้าคุณสมบัติ ๔ ประการข้างต้นมีอยู่จะตรัสพระดำรัสนั้น" ที่มา //www.dhammathai.org/buddha/g52.php วิธีตอบแบบข้างต้น (๔ วิธี) เรียกว่า ตอบปัญหาแบบวิภัชชวาทนั่นเอง วลีที่ว่าโดยส่วนเดียว เป็น เอกังสพยากรณ์ หมายถึงตอบโดยแน่นอน ไม่มีข้อแม้ โดยส่วนเดียวไม่ใช่หมายถึงที่ทรงพยากรณ์ (แปลว่า ตอบ) นั้นคือเป็น A ได้ "ถ้า"....... โดยส่วนเดียวหมายถึงที่ตอบนั้นเป็นที่แน่นอน ไม่มีเงื่อนไข ในพจนานุกรมไทย-ไทยก็มีคำอธิบายไว้ //dict.longdo.com/search/*%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89* เอกังสพยากรณ์ | [สะพะยากอน] น. 'การพยากรณ์โดยส่วนเดียว' หมายถึง การ พยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์ โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและ ตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจนสามารถตอบได้อย่าง แจ่มแจ้งทันที. เอ กัง สะ พะ ยา กอน | อันนี้เป็นความจำเป็นมากที่จะต้องรู้ไม่เช่นนั้น จะแปลความหมายว่าพระสูตรที่อ่าน ประโยคที่อ่าน ไปแปลว่าตอบแบบมีเงื่อนไขหรือที่กล่าวมาไม่ใช่ทั้งหมดเป็นแค่ส่วนเดียว มีเงื่อนไข มีข้อแม้ ท่านผู้อ่านจะได้ความหมาย"ผิด" ทำให้เสียโอกาสเข้าใจให้ถูกต้อง หรือเกิดเข้าใจความหมายของประโยค หรือพระสูตรนั้นคลาดเคลื่อนผิดจากหน้ามือเป็นหลังมือเพราะวลี/คำเพียงคำเดียว
ตัวอย่าง:
อุทกสูตร [๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลายได้ยินว่า อุทกดาบสรามบุตร ย่อมกล่าววาจาอย่างนี้ว่า เราขอบอกเราเป็นผู้ถึงซึ่งเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะก่อนโดยส่วนเดียวเราขอบอก เราขุดเสียแล้วซึ่งมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว/........ ก็คืออุทกดาบสรามบุตรบอกว่าตัวอุทกดาบสรามบุตรบรรลุถึงเวท (ความรู้ (ค้นจากพจนานุกรมได้ พิมพ์ เวท แปลว่า) ซึ่งถ้าศึกษาธรรมะมาบ้างก็ไปต่อยอดเอาครับว่าเวทของพราหมณ์ ซึ่งพราหมณ์จะเข้าใจว่าถึงที่สุดแล้วจะชีวาตมัน อาตมันอะไรก็ว่ากันไป ยังไม่ต้องสนใจ) "โดยส่วนเดียว" หมายถึง ข้าพเจ้าอุทกดาบสรามบุตรเป็นผู้เข้าถึงเวท "ทั้งหมด" แล้ว ไม่ใช่ ข้าพเจ้าอุทกดาบสรามบุตรเป็นผู้เข้าถึงเวท "เพียงส่วนเดียว" ยังมีส่วนอื่นเหลืออยู่ เราเป็นผู้ชนะแล้วโดยทั้งหมด ............ ก็ว่าต่อไปตามเนื้อหาพระสูตร
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=2125&Z=2167
ขอย้ำอีกครั้งครับวลี "โดยส่วนเดียว" หมายถึงเพียงสถานเดียว ไม่มีข้อแม้ ข้างต้นถ้าคิดว่าที่กล่าวมานั้นคลาดเคลื่อนก็กรุณาใช้คำเช่นเอกังสพากรณ์, ตอบปัญหาแบบวิภัชชวาท, วิภัชชวาท ค้นตรวจสอบครับ เจริญในธรรม
Create Date : 24 เมษายน 2558 |
|
0 comments |
Last Update : 24 เมษายน 2558 2:17:19 น. |
Counter : 4124 Pageviews. |
|
|
|