<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
18 มิถุนายน 2554
 

ต้องเป็นผู้ตรงต่อตัวเอง 014

ไปอ่านกระทู้หนึ่งเรื่องความดี ความดีเปลี่ยนตามยุคสมัย ความดีเป็นไปตามสภาพกฏหมาย ฯลฯ

ถ้าเอาแค่เรื่องก็คิดกันไปได้ต่าง ๆ นา ๆ เรื่องคิดก็คิดไปได้เป็นร้อยอย่างเป็นพันอย่าง นี่เป็นตัวอย่างของการห้ามที่จะคิดไม่ได้ แต่ละคนสะสมมาต่าง ๆ นา ๆ มีความคิดกันไปวิจิตรแตกต่าง ถ้ามานั่งคิดอะไรแบบนี้ก็เป็นการเสียเวลาเปล่า คิดแล้วสุดท้ายก็ไปหาที่จบไม่ได้ ไม่มีประโยชน์อะไร (บางท่านอาจแย้งว่ามีประโยชน์ซิเป็นการบริหารความคิด ก็ไม่ขัดมันห้ามกันไม่ได้จริง ๆ) ในเรื่องความดี ความชั่วชัดเจนมากในทางพุทธศาสนา สภาวะธรรมของกุศล อกุศล ไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ไม่เปลี่ยนไปตามกระแสโลก เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

จิตถ้าจำแนกโดยชาติมี 4 คือกุศล (ความดีก็ได้) อกุศล (ความชั่ว) วิบาก (ผลของกรรม) และกริยาจิต ตายตัวไม่เปลี่ยน

กุศลคือสิ่งที่ทำแล้วไม่เดือดร้อนในโลกนี้และโลกหน้า (จำแนกแจกได้ละเอียดมากไปกว่านี้ ถ้าสนใจก็ลองค้นเรื่องโสภณเจตสิก) ถ้าถามว่าความดีขึ้นอยู่กับอะไร ทำไม เมื่อไร อย่างไร ก็คิดกันไปได้มากมาย ในเรื่องการใช้ชีวิตเป็นปกติประจำวัน เราท่านก็ควรรู้กันทั่วไปอยู่แล้วว่าสิ่งใดควรกระทำ พึงกระทำ สิ่งใดไม่พึงกระทำ ถ้าอิงพุทธศาสนาก็คือกุศลกรรมบท 10 เป็นสิ่งที่พึงกระทำ (ศีลห้าก็ได้น่าจะคุ้นเคยกว่า) ถ้าเป็นผู้ตรงก็สามารถบอกกับตัวเองได้ว่าทำอะไรอยู่ ทำดีหรือทำไม่ดี จะไปสนใจว่าคนอื่นเขาคิดอะไร อย่างไร หรือไปคิดแทนคนอื่นทำไม คิดไปก็ไปเปลี่ยนเขาไม่ได้ ดีที่สุดได้แค่เปลี่ยนตัวเองเพราะตัวเองเป็นคนทำ ตัวเองก็ทราบว่าพฤติกรรมของตนเองเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นผู้ตรงกับตัวเอง

ธรรมะมีทั้งทำแล้วยังไม่พ้นจากโลก กับธรรมะที่มีแล้วพ้นจากโลก จิตจำแนกตามภูมิ จำแนกจิตตามภูมิกว้างสุดก็เป็นกามาวรจรจิต (จิตที่อยูในกาม – สุขคติ (โลกมนุษย์,เทวดาก่อนชั้นพรหมบุคคล), ทุคติ) หรือรูปาวรจรจิต (จิตที่ทำให้เกิดเป็นรูปพรหม) หรืออรูปาวรจรจิต (จิตที่ทำให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม) ถ้าเป็นจิตที่พ้นโลกก็เป็นโลกุตรจิต ธรรมะก็มีที่ทำไปแล้ว (เช่นกุศลในโลกียะธรรม) ก็ยังไม่พ้นต้องเวียนว่ายตายเกิดกันไปเรื่อย ๆ

บางทีเรื่องถกเถียงกันไปถกเถียงกันมาก็ต้องถามว่าสุดท้ายได้ประโยชน์ตรงไหนในแง่ของการภาวนา (เจริญสติปัญญา) คำถามที่นักคิดชอบถกเถียงกันเช่น ต้นไม้ล้มในป่า เกิดเสียงดัง (แต่ไม่มีคนได้ยินเพราะเหตุเกิดในป่า) ก็มานั่งถกเถียงกัน ยกทฤษฏีต่าง ๆ นา ๆ ว่าเป็นเสียงกับไม่เป็นเสียง ถกกันแล้วจะได้อะไร เรื่องแบบนี้ถ้าได้ศึกษามาก็จะเข้าใจได้ไม่ยากว่าที่เรียกว่าเสียงเพราะเป็นอารมณ์ของจิต ต้นไม้ล้มในป่า เมื่อโสตประสาทไม่ได้ยิน จิตไม่ได้รับอารมณ์นั้น เสียงนั้นไม่เป็นอารมณ์ของจิต เสียงที่ว่านั้นเกิด (คือมีไปแล้ว) แล้วดับไปแล้วและไม่ใช่อารมณ์ของจิต ที่ไปเรียกว่าเสียง เพราะไปนึกคิดเป็นฉาก ๆ ว่าต้นไม้ล้ม ต้องเกิดเสียงซิ ต้องมีเสียง

เรื่องการถกเถียงกันกันห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ ขนาดตัวเราเองยังห้ามไม่ให้คิดในเรื่องต่าง ๆ ไม่ได้ จะไปห้ามคนอื่นได้อย่างไร เป็นไปตามหลักอนัตตา ห้ามอะไรไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ จะให้คิดดีตลอดก็เป็นไปไม่ได้ จะห้ามไม่ให้มีอกุศลจิตก็เป็นไปไม่ได้ สะสมอะไรมา มีเหตุให้เกิดก็เกิด ทางเดียวคือสะสมความเข้าใจถูกไปเรื่อย ๆ สะสมเหตุที่ดีแล้ววันหนึ่งผลที่ดีก็มาแน่นอน

ในการศึกษาเพื่อให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง ต้องเป็นคนตรง ต้องชัดเจน ไม่ใช่การตีความเข้าใจไปเอง ถ้าเข้าข้างตัวเองเข้าใจเองโดยไม่ศึกษาให้ละเอียด สุขุม ลึกซึ้งเสียก่อนก็พาให้เสียเวลาไปผิดทางได้


Create Date : 18 มิถุนายน 2554
Last Update : 21 เมษายน 2555 12:02:30 น. 2 comments
Counter : 809 Pageviews.  
 
 
 
 
แวะมาเยี่ยม...สวัสดีครับ
 
 

โดย: **mp5** วันที่: 18 มิถุนายน 2554 เวลา:19:08:33 น.  

 
 
 
มีแก้ไข แต่เดิมเขียนไปว่ากุศลมีที่ทำแล้วพ้นไปจากโลก เปลี่ยนเป็นธรรมะดีกว่า เพราะถ้าพ้นไปจากโลก (โลกุตระธรรม) ต้องเป็นโลกุตระกุศล ไม่ใช่โลกียกุศล (กุศลที่ทำแล้วยังเป็นปัจจัยให้เกิดในกามโลก)
 
 

โดย: elenote วันที่: 7 พฤษภาคม 2555 เวลา:13:19:41 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

elenote
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เป็นพุทธเถรวาท เป็นผู้ศึกษาและปฏิบัติในศาสนา
[Add elenote's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com