อริยสัจคือทุกข์อีกนัยหนึ่ง
ภิกษุ ท. ! อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า? ควรจะกล่าวว่า ได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์. ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกข์ (-มหาวารวรรค สังยุตตนิกาย เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๓๔ ข้อที่ ๑๖๗๙ (อริย. ๑๒๓).
*หน้าที่เกี่ยวข้องกับอริยสัจสี่อย่าง. ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ความจริงอันประเสริฐคือ แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค).
ภิกษุ ท. ! ในความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้, ความจริงอันประเสริฐที่ควรกำหนดรอบรู้ก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละละเสียก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้งก็มี, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญก็มี.
ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐที่ควรกำหนดรอบรู้ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรละละเสียได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้แจ้ง ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ ที่ควรทำให้เจริญ ได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือ แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. (-มาวารวรรค สังยุตตนิกาย เล่มที่ ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙ (อริย. ๑๑๘).
*เพราะติดในอยู่ในขันธ์ห้า จึงเรียกว่า "สัตว์"* ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า "สัตว์ สัตว์" ดังนี้, เขากล่าวกันว่า "สัตว์" เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร? พระเจ้าข้า !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใดๆ มีอยู่ใน รูป สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทะราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่าสัตว์(ผู้ข้องติด) ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใดๆ มีอยู่ใน เวทนา สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทะราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่าสัตว์(ผู้ข้องติด) ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใดๆ มีอยู่ใน สัญญา สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทะราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่าสัตว์(ผู้ข้องติด) ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใดๆ มีอยู่ใน สังขาร สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทะราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่าสัตว์(ผู้ข้องติด) ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใดๆ มีอยู่ใน วิญญาณ สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทะราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่าสัตว์(ผู้ข้องติด) ดังนี้. (-ขันธวรรค สังยุตตนิกาย เล่มที่ ๑๗/๒๓๒/๓๖๗ (อริย. ๒๕๐).
Create Date : 17 มีนาคม 2549 |
|
28 comments |
Last Update : 17 มีนาคม 2549 11:21:59 น. |
Counter : 3361 Pageviews. |
|
 |
|
ส่วนขันธ์ 5 อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ได้
ไม่ทราบว่าพอจะสรุปความได้ถูกหรือเปล่าคะ