bloggang.com mainmenu search

.....อีกกลลูกติดแม่แน่กำหนด ............. โดยแบบบทเบื้องบรรพ์ธิบายไข
ข้างหมากหนีมีเรือเฝือแฝงไป .............. กับเบี้ยหงายวางไว้จังหวะกัน
ข้างหมากไล่ได้โคนกับเบี้ยหงาย .......... แลเรือรายรุกเรียงเคียงกระสัน
ไล่ไม่จนพ้นหกสิบสี่พลัน .................... เพราะโคนกันขุนกุมคุมเชิงชน



รูปแบบที่ ๕ ลูกติดแม่
ฝ่ายไล่: ขุน, เรือ ๑, โคน ๑, เบี้ยหงาย ๑
ฝ่ายหนี: ขุน, เรือ ๑, เบี้ยหงาย ๑




หมากไล่-หมากหนี นับศักดิ์กระดาน ๖๔ รูปนี้คือ รูปแบบที่ ๕ จากเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุก ตามที่นำเสนอไว้ในบล็อกชื่อ หมากรุกไทย - ๑๒ รูปแบบ หมากไล่-หมากหนี

สังเกตว่า หมากไล่-หนีรูปนี้จะคล้ายๆกับ หอกข้างแคร่ โดยมีเรือเพิ่มขึ้นมาข้างละลำ ดังนั้น หลักทั่วไปในการหนีน่าจะคือ การใช้เรือชิงคลอง สลับกับการรุกขุน และใช้เบี้ยหงายคอยกันคุมเชิง โดย อ.ป่อง สุชาติ ชัยวิชิต ได้ให้ความเห็นไว้ว่า หากฝ่ายไล่และฝ่ายหนีมีเบี้ยหงายตรงกัน ฝ่ายหนีจะหนีง่ายกว่าเบี้ยหงายไม่ตรงกัน เพราะสามารถต่อเรือ เพื่อให้เข้ารูป หอกข้างแคร่ แบบเบี้ยหงายตรงกัน ซึ่งหาเสมอได้ง่ายถ้ารู้วิธีหนี

ตัวอย่างการไล่-หนีของบล็อกนี้ นำมาจาก ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับเส้นทางสู่แชมป์ ๒ โดย อ.ป่อง สุชาติ ชัยวิชิต ซึ่งในหนังสือของอ.ป่องดังกล่าวนี้ จะมีคำอธิบายที่ละเอียดมากกว่าในบล็อกนะครับ




1) ร, ง2 - ง8             ข, ฉ5 - ฉ6
2) ร, ง8 - ง2             ข, ฉ6 - จ7
3) ร, ง2 - ง3             ร, ค1 - ญ1
4) ร, ง3 - ง2             ร, ญ1 - ก1
5) ร, ง2 - ง3             ร, ก1 - ก8



6) ข, ค6 - ค7             ร, ก8 - ก7+
7) ข, ค7 - ข6             ร, ก7 - ง7
8) ร, ง3 - ญ3             ร, ง7 - ง8
9) ร, ญ3 - ญ7+           ข, จ7 - ฉ6
10) ร, ญ7 - ญ6+           ข, ฉ6 - ฉ5



11) ร, ญ6 - ญ5+           ข, ฉ5 - จ4
12) ร, ญ5 - ญ1             ร, ง8 - ค8
13) ร, ญ1 - จ1+           ข, จ4 - ฉ5



14) ร, จ1 - ฉ1+           ง, จ5 - ฉ4
15) ร, ฉ1 - ง1             ง, ฉ4 - ช5
16) ร, ง1 - ฉ1+           ข, ฉ5 - ช6
17) ร, ฉ1 - ง1             ข, ช6 - ฉ7
18) ง, ค5 - ง6             ง, ช5 - ฉ6
19) ง, ง6 - ค7             ง, ฉ6 - จ5
20) ง, ค7 - ง6             ร, ค8 - ง8
21) ร, ง1 - ฉ1+           ง, จ5 - ฉ6



22) ข, ข6 - ค7             ร, ง8 - ง7+
23) ข, ค7 - ค6             ร, ง7 - ก7
24) ร, ฉ1 - ง1             ค, จ6 - ง7+
25) ข, ค6 - ข6             ร, ก7 - ก8
26) ข, ข6 - ค7             ค, ง7 - ค8+
27) ข, ค7 - ข6             ข, ฉ7 - จ6
28) ง, ง6 - ค5             ง, ฉ6 - จ5



29) ร, ง1 - ง2             ร, ก8 - ข8+
30) ข, ข6 - ค6             ร, ข8 - ข7
31) ร, ง2 - ง1             ร, ข7 - ง7
32) ร, ง1 - ข1             ร, ง7 - ค7+
33) ข, ค6 - ข5             ค, ค8 - ข7
34) ร, ข1 - ง1             ร, ค7 - ค8
35) ร, ง1 - ค1             ร, ค8 - ง8
36) ร, ค1 - ญ1             ร, ง8 - ง2
37) ร, ญ1 - ญ7             ร, ง2 - ง7



38) ร, ญ7 x ง7             ข, จ6 x ง7



ฝ่ายหนีต่อเรือฝ่ายไล่ รูปหมากจึงเข้ารูป หอกข้างแคร่ แบบเบี้ยหงายตรงกัน ซึ่งวิธีการหนี ดูได้ที่บล็อก หมากรุกไทย - หมากไล่-หนี หอกข้างแคร่ (เบี้ยหงายตรงกัน)



อ้างอิง
- ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับเส้นทางสู่แชมป์ ๒ โดย สุชาติ ชัยวิชิต
- สนุกกับหมากรุกไทย โดย วินัย ลิ้มดำรงค์ชิต
- หมากรุกไทย โดย นายแพทย์ ประกอบ บุญไทย
- หลักการและวิธีการเดินหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช
- ภาพ และข้อความบันทึกหมากส่วนใหญ่ นำมาจากโปรแกรมถอดหมาก thaichess.net/chess ที่พัฒนาโดยคุณเอก และคุณไพรัฐ ศรีดุรงคธรรมพ์ (ข้อมูลจาก thaichess.net/?page_id=673)
Create Date :16 ธันวาคม 2554 Last Update :16 ธันวาคม 2554 23:33:42 น. Counter : Pageviews. Comments :2