bloggang.com mainmenu search
ผมมีตำราหมากรุกโบราณอยู่เล่มหนึ่งที่ชื่นชอบมาก ชื่อว่า หลักการและวิธีการเดินหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช ตำราเล่มนี้มีทั้งภาคทฤษฎีและตัวอย่างการเดินภาคปฏิบัติ สำหรับบล็อคนี้ก็ได้นำส่วนหนึ่งในตำราเล่มนี้มาเรียบเรียง และพยายามขยายความให้มากขึ้น โดยการนำภาพตัวอย่างเข้ามาประกอบ ซึ่งจะพยายามหามาใส่ในแต่ละหัวข้อเมื่อศึกษาเจอนะครับ

เมื่อหมากของแต่ละฝ่ายผ่านการตั้งรูปหมากขึ้นมาตรึงกันกลางกระดานแล้ว คือผ่านหมากต้นกระดานมาแล้ว ก็จะเข้าสู่หมากกลางกระดานและปลายกระดานต่อไป ซึ่งการเดินนั้นอาจแบ่งได้เป็น ๒ ยุทธวิธีใหญ่ๆ คือ การเดินเชิงรุก และการเดินเชิงรับ (จะเดินแบบไหนขึ้นอยู่กับหมากต้นกระดานด้วยว่า ตั้งรูปเสมอกัน เป็นต่อ หรือเป็นรอง) ซึ่งการเดินเชิงรุก อาจแบ่งได้เป็น ๖ รูปแบบ ดังนี้

ยุทธวิธีการเดินเชิงรุก
๑) หลอกล่อ - ริดรอน
๒) ก่อกวน - แทรกซึม
๓) เกาะกุม - กวาดล้าง
๔) เบียดบัง - ชิงที
๕) รัดกุม - ซ้อนกล
๖) รุกรบ - โจมตี

อธิบาย
๑) หลอกล่อ - ริดรอน หาวิธีลดอำนาจกำลังรบด้วยการตัดกำลังเล็กๆน้อยๆ ของคู่ต่อสู้ไว้ก่อนเพื่อหวังผลในปลายกระดาน เมื่อยังไม่มีโอกาสที่จะทำลายกำลังส่วนใหญ่ได้

๒) ก่อกวน - แทรกซึม ทำให้บังเกิดความสับสนวุ่นวาย ต้องคอยป้องกันรักษาและระมัดระวังตัวตลอดเวลา แล้วเล็ดรอดส่งกำลังคืบคลานเข้าไปหาทีละน้อย

๓) เกาะกุม - กวาดล้าง พยายามส่งกำลังขึ้นเกาะตัวเอาไว้ เพื่อมุ่งหมายทำลายให้หมดสิ้นไป

๔) เบียดบัง - ชิงที เลี่ยงขุนหลบหลีกขึ้นหา เพื่อเข้าทำร้ายคู่ต่อสู้ในขั้นเผด็จศึก

ตัวอย่างครับ นำมาจากส่วนหนึ่งในตำราของอาจารย์ป่อง สุชาติ  ชัยวิชิต



หมากดำเดินขุนเบียดเข้าทำแบบทิ้งเบี้่ย เพราะเห็นว่าขุนขาวอยู่ในตำแหน่งสามารถรุกจนได้ ดังนี้

1) ร, ง5 x ช5                       ร, ฉ8 - ฉ2+
2) ข, ช2 - ช1                      ข, จ4 - ฉ3
3) ร, ช5 x ญ5                      ข, ฉ3 x ช3
4) ร, ญ5 - ช5+                    ข, ช3 - ญ4
5) ร, ช5 - ช8                       ค, จ2 - ฉ3
6) ง, ข5 - ค6                       ร, ฉ2 - ง2
7) ง, ค6 - ง5                       ง, จ3 - ฉ2+
8) ข, ช1 - ญ1                      ร, ง2 - ง1+
9) ข, ญ1 - ญ2                     ง, ฉ2 - ช3+
10) ร, ช8 x ช3                     ร, ง1 - ญ1+
11) ข, ญ2 x ญ1                   ข, ญ4 x ช3

๕) รัดกุม - ซ้อนกล บีบบังคับคู่ต่อสู้ไว้มิให้เคลื่อนย้าย หรือเคลื่อนที่ได้ด้วยความยากลำบาก แล้วกำหนดแผนการณ์เข้าทำอันตรายให้เหนือฝ่ายตรงข้ามที่คิดโจมตีฝ่ายเรา

๖) รุกรบ - โจมตี เปิดฉากการรบขั้นสุดยอด โดยระดมกำลังเข้าตีอย่างหนักหน่วงเพื่อหวังผลขั้นสุดท้าย


อ้างอิง
- ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับเส้นทางสู่แชมป์ 2  โดย สุชาติ ชัยวิชิต
- หลักการและวิธีการเดินหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช
-  ภาพ และข้อความบันทึกหมากส่วนใหญ่ นำมาจากโปรแกรมถอดหมาก thaichess.net/chess ที่พัฒนาโดยคุณเอก และคุณไพรัฐ ศรีดุรงคธรรมพ์ (ข้อมูลจาก thaichess.net/?page_id=673)
Create Date :26 มิถุนายน 2555 Last Update :27 มิถุนายน 2555 21:38:16 น. Counter : 19158 Pageviews. Comments :5