bloggang.com mainmenu search


วัดพลับ

สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย

เดิมชื่อวัดสุวรรณติมพรุธาราม แปลว่า วัดที่มีผลมะพลับทอง








อยู่ในตำบลบางกะจะ โบราณเรียก บางกาจัน หรือ บางกะจะหัวพลอย

เป็นที่ลาดไหล่เขาต่ำลง ๆ จนติดต่อกับแม่น้ำลำคลอง จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรามชาติ

และ มีพลอยที่มีชื่อเสียงคือ พลอยบุษราคัม (สีเหลือง) เขียวไพลิน (เขียวส่อง) พลอยสตาร์ (สะท้อนแสงให้ขาเป็นรูปดาว)

ประชาชนดั้งเดิมเป็นคนไทยแท้ และ บางส่วนเป็นชาวจีนอพยพ








เมื่อปี พ.ศ. 2309 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ขณะนั้นเป็น พระยาวชิรปราการ)

ได้มาหยุดพักพลและประทับพักแรมที่บ้านบางกะจะหัวแหวน

ก่อนที่จะทุบหม้อข้าวหม้อแกงยกทัพเข้าตีเมืองจันทบุรี

พระองค์และแม่ทัพ นายกอง ตลอดจนพลทหาร

ได้รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และรับถวายพระยอดธงจากเจ้าอาวาสวัดพลับ

พระยอดธงที่เหลือได้นำไปบรรจุในเจดีย์หน้าพระอุโบสถ

ต่อมาเจดีย์หักพังลงมา จึงได้นำพระยอดธงส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ในพระปรางค์องค์นี้









พระปรางค์ เป็นลักษณะเจดีย์ที่ไม่ค่อยพบในภาคตะวันออก

สร้างเมื่อปี พ.ศ.2441 สูงประมาณ 20 เมตร

มีซุ้มประตูสี่ทิศ เหนือประตูเป็นรูป ราหูอมจันทร์ ... เห็นฟันราหูไหม?








องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานประทักษิณสองชั้น มีบันไดทางขึ้นสี่ทาง

ยอดปรางค์มีการซ้อนขั้น มีชั้นเชิงบาตรรองรับตัวปรางค์ขนาดเล็ก

มีรูปปั้นหัวช้างประดับทั้งสี่ทิศ

ส่วนยอดปรางค์ประดับด้วยตรีศูล








วิหารไม้

ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด

เป็นอาคารไม้ตะเคียนทั้งหลัง สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส








ส่วนยอดหลังคาทรงจตุรมุข ตรงกลางประดับด้วยเจดีย์ขนาดเล็ก








ประดิษฐานพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา








หล่อด้วยสำริดลงยาปิดทองคำเปลว

สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา








ที่น่าสนใจอีกชิ้นคือ








บ่อน้ำสักสิทธิ์

ใช้ในการทำน้ำพระพุทธมนต์ รวมทั้งเมื่อคราวพระเจ้าตากจะเข้าตีเมืองจันทบูร ด้วย









หอไตร

เป็นหอไตรขนาดกลาง สร้างอยู่ในสระน้ำ

ทรงไทยหลังคาสองชั้น ทรงจั่ว ด้านข้างมีชายคาปีกนก ฝาปะกน

มีระเบียงรอบหอ








ยังพอเห็น ที่เคยเป็นลวดลายลงรักปิดทอง แบบลายรดน้ำ








โบสถ์ ตัวโบสถ์มีการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วหลายครั้ง

ปัจจุบันมีลักษณะเหมือนโบสถ์ทั่วไป

หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นรูปนารายณ์ทรงครุฑ เครื่องตกแต่งหลังคาเป็นปูนปั้น








ปิดท้ายด้วย

เจดีย์กลางน้ำ

ก่ออิฐถือปูน สูงประมาณ 7 เมตร ศิลปะอยุธยา

มีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ

ฐานขียงแปดเหลี่ยมรองรับฐานสิงห์ซ้อนกันสองชุด

ถัดไปเป็น ลูกแก้วซ้อนกัย 7 ชั้น รับองค์ระฆังขนาดเล็ก

ถัดไปเป็น เสาหาร มาลัยเถา ปล้องไฉน และ เม็ดน้ำค้าง













Create Date :20 มกราคม 2560 Last Update :20 มกราคม 2560 7:43:07 น. Counter : 4222 Pageviews. Comments :15