bloggang.com mainmenu search
จังหวัดสระแก้ว ได้ชื่อมาจากสระน้ำโบราณ 2 สระ 

ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2324 

เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปตีประเทศกัมพูชา (เขมร) 

ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งและตั้งชื่อว่า สระแก้ว สระขวัญ

บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 

สายอรัญประเทศ - นางรอง หรือ ถนนธนะวิถี 

จาก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว  ไปยังปราสาทสด๊กก็อกธม









ไปทางหมู่บ้านที่เคยถูกยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ข้ามมา








หลงดีใจนึกว่ามีที่เที่ยว 3 แห่ง








คำว่าสด๊กก๊อกธม หมายถึง  เมืองที่มีต้นกกขึ้นรกในหนองน้ำใหญ่ 

หนองน้ำใหญ่นั้นคือบาราย ที่อยู่ด้านหน้าของปราสาท ... ทิศตะวันออก

เนินทางขวามือของทางเดินเข้าไปคือขอบบาราย





ว่ากันว่าเมื่อก่อนน้ำไม่เคยแห้ง
















กลับหลังมองตรงไปยังปราสาทจะมีเนินอีกเนินก่อนถึงเสานางเรียง

เจ้าหน้าที่ท่านว่าเป็นเนินที่เกิดจากการสร้างขึ้น

อาจเป็นศาลาเปลื้องเครื่องก่อนเข้าศาสนสถานที่อาจทำด้วยไม้








เสานางเรียงมุ่งสู่ซุ้มประตูกำแพงปราสาท














เทวสถานของพระศิวะ ศาสนาฮินดู ศิลปะเขมร คลังต่อปาปวน พศ 15-16

ซุ้มประตูโคปุระชั้นนอกมีทางเข้า 3 ทาง








หน้าบัน

1

ที่เห็นภาพบุคคลล่างสุด ... ศิวนาฎราช ?

แต่

ด้านบนขวามือมีรูปบุคคลลอยอยู่ ?

ใต้ภาพคนลอยลายขดสวนกัน

เหนือกรอบประตูลายกนกไม่ symmetry 







2

บนสุดรูปบุคคลจับคล้ายช้าง ... พระกฤษณะประลองกำลังกับช้างและคชสีห์ ?

ถัดลงมาเป็นรูปเท้าบุคคล และเท้าช้างสองข้าง







ลอดเข้าสู่ด้านในตัวปราสาท ที่มีเสานางเรียงต่อเข้าไปยังโคปุระชั้นใน มีประตูทางเข้า 3 ทาง








ระหว่างโคปุระทั้งสองชั้นมีคูน้ำล้อม








หน้าบันด้านในโคปุระชั้นนอก

3

เทพนั่งบนฐานบัวเหนือสิงห์









4

หน้าบันนารายณ์บรรทมสินธุ์ กำเนิดพระพรหม

ด้านล่างมีเทพตรงกลางนั่งเหนือหน้ากาล

 ทั้งสองข้างมีสี่กร ... พระนารายณ์ 

อยู่เหนือพระพรหมทรงครุฑ ?

(กำลังหัดอ่านภาพ)








บรรณาลัยสองข้างปรางค์ประธาน








มีความสำคัญเพราะจารึก 2 หลัก ที่บอกเล่าถึงราชวงศ์เขมรในสมัยนั้น


Smiley

จารึก 1

บอกเวลามหาศักราช 859 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.1480


Smiley

มหาศักราช หรือ สักกะรูปกาล หรือ สักกราช

เป็นศักราชที่ พระเจ้าสลิวาหนะ แห่งราชวงศ์ศกะของประเทศอินเดีย ได้ตั้งขึ้น

เมื่อทรงปราบอินเดียฝ่ายใต้ได้แล้ว 

โดยเริ่มตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 621 ปี 

เป็น ศักราชที่แพร่หลายมาใช้ในอาณาจักรไทยได้ก่อนศักราชแบบอื่น


Smiley

ว่า

เสตญอาจารย์โขลญสันดับ และเสตญอาจารย์อาจารย์โขลญพนม ซึ่งเป็นผู้ดูแลพระเทวรูป 

แจ้งให้พระบุณย์มรเตญมัทยมศิวะ วาบบรม พรหม และแม่บส 

ให้ร่วมกันดูแลพระเทวรูป โดยการถวายข้าวสาร และน้ำมัน ตลอดหนึ่งปี 

แจ้งพระบรมราชโองการถึง กำเสตญอัญศรีวีเรนทรวรมัน 

ให้เจ้าหน้าที่มาตั้งหลักศิลาจารึกไว้ในเมืองนี้ 

ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลน้ำมัน ริบเอาน้ำมันเป็นของตนเอง 

ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องข้าว ริบเอาข้าวเป็นของตนเอง 

ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเทวสถานเรียกใช้ทาสพระให้ไปทำงานอื่น 

ให้ใช้ทาสพระเหล่านั้น ในการดูแลพระเทวรูปและพระศิวลึงค์เท่านั้น 

รายนามทาสพระ


ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้าง 

แต่พระมหากษัตริย์ (น่าจะเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 4) 

มีพระบรมราชโองการให้วีเรนทรวรมัน 

สั่งให้เจ้าหน้าที่นำศิลาจารึกหลักนี้มาประดิษฐานไว้



Smiley

จารึก 2

บอกเวลามหาศักราช 971 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1592 

กล่าวนมัสการพระศิวะ พระพรหม พระนารายณ์ 

กล่าวสรรเสริญพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 

ว่ารูปงามเหมือนกามเทพ มีปัญญาดุจพระพรหม และทรงปกครองแผ่นดินด้วยความยุติธรรม 

กล่าวถึงพราหมณ์ศิวไกวัลย์ 

ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมุนี ประกอบพิธีกรรม

หลังจากที่ได้เรียนเวทมนตร์จากพราหมณ์หิรัณยทามะ


สรรเสริญ ชเยนทรวรมัน พระอาจารย์ของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 

ซึ่งมีต้นตระกูลคือ “พราหมณ์ศิวไกวัลย์” 

ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมตามประเพณี 


ลำดับความสัมพันธ์ และผลงานของผู้ที่อยู่ในสายตระกูล 

ที่มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมในราชสำนักกัมพูชา 

เริ่มแต่พราหมณ์ศิวไกวัลย์มาจนถึง ชเยนทรวรมัน หรือ สทาศิวะ 


สรรเสริญพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 

 ที่พระองค์ทรงถวายของจำนวนมากแด่เทวสถาน ณ เมืองภัทรนิเกตนะ

การบริจาคที่ดินของพระราชครูชเยนทรวรมัน 



Smiley



ปรางค์ประธาน มีทางเข้าทางเดียว













5





กลีบขนุนเป็นรูปเท้าและมีชายผ้าถุงอยู่

นาค 5 เศียรออกจะล้านเรียบ ๆ เพื่อนว่าเป็นแบบปาปวน ... นาคยังไม่พัฒนาหรูหรา








นอกจากทิศตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้า

โคปุระมีทางลงสู่ปรางค์ประธานด้านในเท่านั้น ไม่มีทางออกไปสู่ด้านนอก








จึงมีรางน้ำมนต์ต่อออกมาจากปรางค์ประธานสู่ที่รองรับด้านในกำแพง










ออกสู่ภายนอกโคปุระชั้นใน ให้ชาวบ้านที่ไม่สามารถเข้ามาได้

โคปุระทางทิศตะวันตกจึงมีประตูสำหรับชาวบ้าน








ลาก่อนนะจะต้องกลับโคราชก่อนมืด








ข้ามเขากลับทาง โนนดินแดง นางรอง








ข้ามช่องแคบ










สู่ อ.โนนดินแดง บุรีรัมย์









แล้วเจอกันใหม่นะ






Smiley


Create Date :21 เมษายน 2558 Last Update :22 เมษายน 2558 22:32:59 น. Counter : 2773 Pageviews. Comments :20