bloggang.com mainmenu search

-@-เจดีย์ทรงเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์-@-

เป็นกลุ่มที่นิยมสร้างมากที่สุดในล้านนา

มีลักษณะสำคัญคือ

มีปราสาท - ประดิษฐานพระพุทธรูป

ด้านบน - ยอดเป็นเจดีย์








วิหารเปรียบเหมือนกุฏิของพระพุทธรูป

จึงเข้าไปภายในเพื่อไหว้พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าได้

ในพุกามจะสร้างวิหารเป็นรูปจตุรมุข มีแกนกลางรับน้ำหนักหอสูงตรงกลางวิหาร

ทั้งสี่ด้านของแกนกลางประดิษฐานพระพุทธ - อดีตพุทธ

เริ่มจากทิศตะวันออก วนขวา คือพระ กกุสันธะ โกนาคม กัสสปะ สมณโคดม

ภายในมีทางเดินประทักษิณ เจาะช่องหน้าต่างให้คงามสว่างแก่ทางเดิน

หลังคาเป็นหลังคาลาดซ้อนชั้นลดหลั่นกันสามชั้น

ที่มุมหลังคาประดับสถูปิกะ


ส่วนล้านนานำแบบวิหารพุกามมาสร้างเป็นเจดีย์

เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม มีแกนกลางรับน้ำหนักของเจดีย์ที่อยู่ข้างบน

ดังนำมาสร้างเจดีย์ที่วัดนี้ ที่บอกว่าเป็นศิลปะพุกาม


- เจดีย์วัดเกาะกลาง อำเภอป่าซาง ลำพูน -

สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ 19

เป็นเจดีย์ทรงปราสาท เพราะเรือนธาตุมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป - ศิลปะพุกาม

ตรงกลางเจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดเจดีย์ - ศิลปะพุกาม

อาจเดินเข้าไปภายในได้ - ศิลปะพุกาม

หรืออาจเป็นซุ้มพระ มีมุกยื่นออกมา - จตุรมุข - ศิลปะพุกาม

เหนือขึ้นไปมาลาดเป็นหลังคาซ้อนชั้น เป็นฐานเพื่อวางเจดีย์ไว้ด้านบน - ศิลปะพุกาม








ฐานเขียงกลม 3 ชั้น

ฐานปัทม์ยืดต้วสูง มีบันไดขึ้นไปยังลานประทักษิณ มีมุกทั้งสี่ทิศ

เรือนธาตุมีซุ้มประตูเข้าไปได้ ... น่าจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานรอบแกนกลางสี่ทิศ ...

แกนกลางนั้นใช้รับน้ำหนักส่วนยอดเจดีย์ด้านบน

เหนือหลังคาเรือนธาตุ มีร่องรอยของวงแหวนซ้อนลดหลั่นกันเป็นเจดีย์ที่หักหายไป








และอีกเจดีย์ในวัดเกาะกลาง








- เจดีย์ที่วัดเชียงมั่น -

เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังล้านนา

ฐานเขียงสี่เหลี่ยม สองชั้น - ประดับช้างล้อม คติลังกาคือช้างแบกจักรวาล

ฐานบัวยืดสูงเป็นเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูป - ทรงปราสาท

ถัดไปเป็นหลังคาลดหลั่นกันสามชั้น

บัวถลาแปดเหลี่ยม - นิยมตั้งแต่สมัยพญาแก้ว

องค์ระฆัง

บัลลังก์ยกเก็จ - ล้านนา : ลังกาจะเป็นสี่เหลี่ยมเท่านั้นไม่ยกเก็จ

ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว








- วัดเจดีย์หลวง เมือง เชียงใหม่ -

พระเจ้าติโลกปรากฎโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์ที่มีมาแต่เดิมในสมัยพญาแสนเมืองมา

เป็นเจดีย์ยอดเดียว บรรจุพระธาตุที่พระธรรมคัมภีร์นำมาจากลังกา

ถ้ายอดไม่หักลงจากแผ่นดินไหว จะสูง 80 เมตร หุ้มทองจังโก

ทรงระฆังน่าจะคล้ายวัดเชียงมั่น เพราะเห็นฐานบัวถาเป็นรูปแปดเหลี่ยม

การเรียงอิฐซุ้มโค้งที่เห็นที่ใต้ทางลาดด้านทิศเหนือของเจดีย์ ซ้ายมือในรูป

จะพบในสมัยพระเจ้าติโลก

เป็นช่องปากอุโมงค์เข้าภายในเจดีย์ - เมื่อก่อนเขาเล่ากันว่าเป็นอุโมงค์ต่อไปถึงถ้ำเชียงดาว








แบบล้านนา ในเชียงใหม่








จังหวัดอื่น








ผสมผสานแบบมีบัลลังก์ และปัทมบาท

ปัทมบาทคือดอกบัวที่กั้นระหว่างปล้องไฉน และปลี








แบบพุกาม คือไม่มีบัลลังก์ ปล้องไฉนจะสวมเข้ากับองค์ระฆัง และมีปัทมบาท

ปลีสั้น ๆ แบบพุกาม คือ ยอดเจดีย์ที่เป็นรูปบัวตูม








- เจดีย์เชียงยัน และ เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน เชียงราย -








เจดีย์เชียงยัน - คณะศรีเชียงยัน ซึ่งครูบาศรีวิชัยเคยถูกกักบริเวณอยู่ที่นี่

อยู่นอกกำแพงด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุหริภุญไชย

หรือเรียกว่า เจดีย์แม่ครัว - แม่ครัวช่วยกันออกเงินสร้าง

ตอนขุดค้นพบฐานเจดีย์ที่อยู่ในสมัยล้านนาแล้ว

ฐานสี่เหลี่ยม ลูกแก้วอกไก่คู่ ซุ้มจระนำสี่ด้าน

เหนือเรือนธาตุมีสถูปิกะ หรือ สถูปสี่องค์ที่มุม - เจดีย์ห้ายอด หรือ ปัญจรัตน

ตรงกลางเป็นฐานแปดเหลี่ยม มีลายลูกกรง - รั้วล้อมองค์สถูป

บัวปากระฆังเป็นพุ่มขนาดใหญ่

องค์ระฆังเป็นรูปหม้อดอก - ปูรณฆฏ - คาดรัดอก มีดอกประจำยามเป็นดอกไม้ทิศ

ยอดเป็นหม้อดอกซ้อนกันไปเรื่อย ๆ - อิทธิพลมอญโบราณ








- เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน เชียงราย -


ฐาน ประดับพระพุทธรูป 3 องค์ ขนาบด้วยเทวดา

วงโค้งของซุ้มไม่ใช่พุกาม แต่เป็นแบบเปอร์เซีย - ผ่านทางอยุธยาเมื่อ?

บัวฟันยักษ์ - พบได้ตามปราสาทหิน








องค์ระฆังเป็นหม้อดอกประดับดอกไม้ทิศลายดอกประจำยามเหมือนกัน

เหนือองค์ระฆังไปเป็นหม้อปูรณฆฏ และดอกบัวซ้อนชั้น








ซุ้มเพกา หรือ เครก ประดับซุ้มแก้ว แบบพุกาม

ซึ่งอาจส่งต่อมาจากการที่พุกามไปบูรณะโพธิมหาวิหารที่พุทธคยา แล้วเราได้ไปเห็นมา

เกียรติมุขยอดซุ้ม หลังบายนนิยมมาก








เศียรนาค - มาดูชัด ๆ แล้วคิดถึงเขมรโบราณ

ยักษ์แบก >> ทวารวดี หรือ มอญโบราณมีคนแคระแบก








-@-เจดีย์ทรงปราสาทแปดเหลี่ยม-@-


วัดจามเทวี อนิมิสเจดีย์ที่วัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด และวัดอินทขิลสะดือเมือง










เจดีย์แบบวัดจามเทวี

ฐานเขียงแปดเหลี่ยม เรือนธาตุยืดขึ้นประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มเครก

หลังคาซ้อน 3 ชั้น ท้องไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ชั้นบนสุดเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรุป

รับองค์ระฆัง








- อนิมิสเจดีย์ที่วัดมหาโพธาราม -

ไม่ได้สร้างในสมัยพระเจ้าติโลก น่าจะสร้างภายหลัง

เพราะสร้างทับกำแพงแก้ว หรือ เวทิกาของวิหารเจ็ดยอด

ซุ้มหน้านางซ้อนชั้นมีปั้นลม - ล้านนา








-@- เจดีย์ปล่อง -@-


ปล่อง หรือป่อง หมายถึงช่องหน้าต่าง

เป็นเจดีย์ 7 ชั้น - อาจเป็นเจดีย์ทรงหอปราสาทหรือถะแบบจีน แต่ถะจีนจะมี 5, 8, 11 ชั้น ไม่ใช่เจ็ดชั้น


จากจารึกอักษรฝักขาม ระบุการสร้างเจดีย์วัดตะโปทารามว่าสร้างขึ้น จ.ศ. 854 คือ พ.ศ. 2035

ในรัชกาลของพญายอดเชียงราย

ว่า

พระยาอรรคราชภูมิบาลหมายถึงพญายอดเชียงรายได้ขึ้นครองเชียงใหม่

พระนางอะตะปาเทวีอัครมเหสี ได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระสวามีเพื่อสร้างวัดตะโปทาราม

พระนางได้อาราธนาพระสงฆ์ประมาณร้อยรูปมาชุมนุม พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ข้าราชการ

เพื่อประดิษฐานแก้วสามประการไว้ ณ วัดแห่งนี้

พิธีมีการอุทิศที่ดิน เงิน ทองคำ และข้าพระจำนวนมาก


การหาคำตอบถึงที่มาของรูปแบบ ยังไม่ทราบแน่

อาจารย์บางท่านก็คิดถึงสิ่งที่เป็นไปได้ ... เพราะการสร้างเจดีย์ต้องมีการอิงคัมภีร์ในศาสนา

ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าใช้ระบบจักรวาลมาตีความ อาจตีความได้ว่า

7 ชั้น คือเขาพระสุเมรุ - สัตตบริภัณฑ์ 7 ลูก ล้อมเป็นวงกลม

เขาลูกข้างล่างจะสูงเป็นครึ่งหนึ่งของลูกข้างบน

หากมองด้านข้างจะเห็นเขาวงกลมซ้อนกัน 7 ลูก เขาลูกเตี้ยอยู่นอก เขาลูกสูงอยู่ใน

ตรงกลางสูงที่สุดที่เป็นยอดเจดีย์คือเขาพระสุเมรุ - เจดีย์จุฬามณี



วัดร่ำเปิง






วัดเชียงโฉม






วัดพวกหงษ์





แต่ เจดีย์วัดกู่เต้า มี 5 ชั้น ซุ้มแก้วประดิษฐานพระพุทธรูป

เราคิดว่า น่าจะเป็นเจดีย์ทรงกลม เป็นรูปหม้อดอก ปูรณฆฏซ้อนชั้น













รับเจดีย์แปดเหลี่ยม

ไม่มีบัลลังก์แบบพม่า







-@- เก็บตก -@-


เจดีย์กู่ม้า ลำพูน ทรงลอมฟางเหมือนเจดีย์ชาวปยู ในอาณาจักรศรีเกษตร - ก่อนพุกาม








ปิดท้ายด้วย

-@-วัดมหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด -@-

น่าจะเป็นมหาวิหารยอดเจดีย์ มีเวทิกาหรือรั้วล้อมรอบ

เป็นวิหารเพราะเข้าไปไหว้พระข้างในได้

หลังคาประดิษฐานเจดีย์ 7 ยอด

องค์ใหญ่สุดเป็นตรงกลางเป็น โพธิบัลลังก์ - ตรัสรู้

รอบ ๆ มี

อนิมิสเจดีย์ - ทิศอิสานหรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ - ยืนจ้องดูต้นมหาโพธิ์เจ็ดวัน

รัตนจงกรมเจดีย์ - อยู่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสกับโพธิบัลลังก์ - เดินจงกรมเจ็ดวัน

รัตนฆรเจดีย์ - ทิศพายัพหรือ ตะวันตกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ พิจารณาพระอภิธรรม (ธรรมอันยิ่งใหญ๋) - เกิดฉัพรังสี คือมีเกตุมาลา

อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแกะ - ธิดาพญามารมายั่ว

มุจลินท์ ฝนตกลงมาเป็นเวลา 7 วัน - นาคปรก

ราชายตนเจดีย์ - พระอินทร์เอาแปรงฟันมาให้ เทวดาจตุโลกบาลเอาบาตรมาถวาย พ่อค้าเอาของมาถวาย - ข้าว น้ำผึ้ง เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน








เช่นเดียวกับที่



เจดีย์วัดเจ็ดยอด เมือง เชียงราย





ประวัติศาสตร์คือการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

จารึกก็เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ตอนนั้นลงบนหลักศิลา บันทึกเป็นจดหมายเหตุ ฯลฯ

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในกรอบของคัมภีร์ทางศาสนา

เป็นก็เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ลงบนศิลปะ



ดังนั้นที่ว่า

ผู้ชนะจึงเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ จึงไม่ใช่อีกต่อไป

รายการโทรทัศน์ที่บางคนมีสัมผัสพิเศษ

ว่าใครเป็นใครในอดีตไม่สอดคล้องกับศิลปะวัตถุ และสถาปัตย์กรรม จึงไม่ใช่อีกต่อไป

อยู่แค่ว่าจะเราจะเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่งมงาย หาข้อพิสูจน์ไม่ได้อีกต่อไปหรือเปล่า

แต่คนที่ทราบก็ควรต้องเผยแพร่ สิ่งที่รู้สิ่งที่เห็นใหม่ ๆ ออกไป

ไม่งั้นเราก็คงกลับไปอยู่ที่เทือกเขาอัลไตเหมือนเดิม




Create Date :16 มิถุนายน 2563 Last Update :19 มิถุนายน 2563 8:29:52 น. Counter : 2659 Pageviews. Comments :17