bloggang.com mainmenu search

วันนี้ขอพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับบ้านเกิดของเจ้านางมณีริน ณ เวียงเชียงตุง เมืองหลวงอันเก่าแก่แห่งหนึ่งของชนชาติไทยที่เรียกว่า ไทเขิน ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ขอต้อนฮับสู่เขมรัฐนครเจ้า

นครเขมรัฐตุงคบุรี” เป็นชื่อที่ตั้งก่อนหน้าจะเรียงสั้น ๆ ว่า “เชียงตุง” ซึ่งหมายถึงแว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และ มีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง ตามหลักฐานทั้งหลาย ได้ระบุไว้ว่าเชียงตุงมีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 48 พระองค์ พระองค์สุดท้าย คือ "เจ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง" ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับ รัชกาลที่ 5 ของไทย พระองค์ปกป้องเมืองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ

แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ จนกระทั่งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของ ชาวสยาม โดยมีความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นมีข้ออ้างว่ามีประวัติ และ เชื่อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไปโจมตีและปกครอง เมืองตองยี และ สิบสองปันนาอีกด้วย แต่ไทยก็มิได้ปกครองโดยตรง ญี่ปุ่นช่วยให้บริเวณเมืองเชียงตุง และ เมืองพานมาร่วมเข้ากับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็น สหรัฐไทยเดิม แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 ปี ก็ต้องคืนกลับให้แก่อังกฤษเหมือนเดิม เพราะว่าญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม

ประวัติการก่อตั้ง
ประวัติเริ่มแรกของเมืองนั้นไม่ค่อยจะแน่ชัดมากเท่าไรนัก แต่มีตำนานเล่าขานกันว่า เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ท่วมเมือง ไม่มีที่จะไปเนื่องจากเป็นแอ่ง แต่ว่ามีฤๅษีนามว่า ตุงคฤๅษี แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้น้ำไหลออกไปอยู่ตรงกลางเมือง ทำให้เกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เรียกกันว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง เป็นแว่นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา และ วัฒนธรรม อุดมไปด้วยป่าไม้ และ มีเจ้าฟ้าที่เข้มแข็งปกครอง จึงเฉลิมนามให้ใหม่ว่า เขมรัฐตุงคบุรี

เมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ในรัฐฉาน (Chan State ) ของประเทศพม่า เป็นเมืองของชาวไทเขิน และ ชาวไทใหญ่ ถือได้ว่า เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเทียบเท่า เมืองเชียงใหม่ แห่ง ล้านนาไทย และ เมืองเชียงรุ่ง แห่ง สิบสองปันนา เลยทีเดียว

กำแพงเมืองเชียงตุง
กำแพง เมืองเชียงตุงนั้นก็คือ กำแพงที่ล้อมรอบเวียงเชียงตุง พวกเขาก่อกำแพงเมืองโดยอาศัยภูมิประเทศ ใช้วิธีปรับแนวกำแพงเมืองไปตามธรรมชาติ ที่ที่สูงก็ไม่ต้องก่อเพิ่ม ที่ๆต่ำก็เสริมให้สูงขึ้น ทำอย่างนี้จนรอบเวียง ความยาวของกำแพงนั้นคาดว่ายาวพอๆกับกำแพงในเวียงเชียงใหม่ แต่กำแพงเชียงตุงนั้น สูงใหญ่กว่าของเวียงเชียงใหม่ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากำแพงเมืองเชียงตุงมีความยาวมาก ก็คือครั้งเมื่อกองทัพในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีกำลังพลนับหมื่นคน แต่ก็มิสามารถล้อมได้หมด เนื่องจากกำแพงนั้นใหญ่มาก โดยเฉพาะทางทิศเหนือ ซึ่งในสมัยนั้น ต้องตั้งค่ายทางทิศนี้ถึง 12 ค่าย

บรรยากาศเชียงตุงในยุคปัจจุบัน

นครเขมรัฐตุงคบุรี” ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มี 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู

3 จอม คือ ภูเขาสามลูกที่โอบล้อมเมืองเชียงตุง ได้แก่ จอมมน ที่ตั้งของต้นยางนา ต้นใหญ่ความสูงกว่า 218 ฟุต ,จอมศักดิ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ ลักษณะเด่นคือ เป็นพระยืนชี้นิ้วไปทางหนองตุง ประทานพรว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่อยู่แล้วสบาย ร่มเย็นเป็นสุข และ จอมคำ เป็นที่ตั้งของพระธาตุจอมคำอายุเก่าแก่นับพันปี ซึ่งมียอดพระธาตุเป็นทองคำ

พระธาตุจอมคำ

7 เชียง คือ มีหมู่บ้านอยู่รอบเมืองถึง 7 หมู่บ้าน ได้แก่ เชียงงาม เชียงจัน เชียงลาน เชียงขุ่น เชียงอิน เชียงยืน และเชียงจิน

9 หนอง ในอดีตเมืองเชียงตุง มีหนองน้ำใหญ่ถึง 9 แห่งด้วยกัน แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียง หนองตุง หนองน้ำใหญ่กลางเมืองเพียงแห่งเดียว และเป็นสถานที่นั่งเล่นของหนุ่มสาวช่วงเย็นๆ ที่จะมานั่งดื่มน้ำชา กาแฟ และช่วงค่ำ ๆ ก็จะเห็นมนุษย์ประหลาด 2 คน หัวเดียว นั่งอยู่รอบ ๆ หนองตุงแห่งนี้

12 ประตู คือประตูเมืองทั้ง 12 แห่งรอบๆ เชียงตุง แต่ปัจจุบันเหลือเพียงประตูป่าแดงเพียงแห่งเดียวอยู่ใกล้กับสุสานเจ้าฟ้า และเมื่อก่อนก็มีกำแพงเมืองเชียงตุงที่โอบล้อมเวียงเชียงตุง ซึ่งยาวพอ ๆ กับกำแพงเมืองเชียงใหม่ แต่กำแพงเชียงตุงจะสูงกว่า มีเรื่องเล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีกำลังพลนับหมื่นคน แต่ก็มิสามารถล้อมได้หมด เนื่องจากกำแพงนั้นใหญ่มาก

ประตูเมืองโบราณ

ที่ห้ามพลาดการมาเชียงตุงก็คือการนมัสการ พระมหาเมียะมณี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเศียรทำด้วยทอง เงิน ทองแดง ลำตัวทำด้วยทองแดงทั้งองค์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงตุง สร้างโดยเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง และที่วัดนี้จะมีวัดพระราชฐานหลวงหัวข่วง เป็นวัดเก่าแก่อายุ 600 กว่าปี ตั้งอยู่ติดกัน

ส่งท้ายบรรยากาศน่ารักๆ ณ เชียงตุง

ว่างๆก็ลองเปลี่ยนบรรยากาศไปเยือนบ้านเกิดเมืองนอนของเจ้านางน้อยกันบ้างนะคับ

Create Date :06 ตุลาคม 2554 Last Update :6 ตุลาคม 2554 15:49:03 น. Counter : Pageviews. Comments :1