bloggang.com mainmenu search
+++“กว่าจะมาเป็นสบู่ในปัจจุบัน มารู้จักประวัติศาสตร์สบู่กันครับ”+++
มารู้จักกับ “สบู่” ที่เราใช้กันทุกวันนี้กันค้า บ...กว่าจะมาเป็นอย่างทุกวันนี้ มันวิวัฒนาการอย่างไรบ้าง.....ไปค้นหาคำตอบกับเฮนรี่กันค้าบ....
เอกสารจากอดีตบันทึกกำเนิดสบู่ก้อนแรกว่ามาจากไขมันแพะ ต้มกับขี้เถ้าจากการเผาไม้ ซึ่ง เป็น การค้นพบโดยบังเอิญในยุค โรมันอันมีการบูชายัญสัตว์บนแท่นบูชาที่ทำด้วยไม้ แท่นบูชานี้ ตั้งอยู่บนเนินเขา เมื่อสัตว์และแท่นไม้ถูกเผาพร้อมกัน ไขมันสัตว์ออกมาผสมกับขี้เถ้า เมื่อฝนตกลง มาก็เกิดเป็นก้อนสีขาว เวลาล่วงเลยมา มีการทำสบู่ใช้ เพียงแต่ไม่ได้ผลิตเป็นจำนวนมาก เป็นการทำ
ประวัติของสบู่ สบู่ธรรมชาติ และสบู่ที่ทำจากเคมี ที่ใช้กันทุกวันนี้
ย้อนหลังไปหลายปี อาจจะหลายพันปีเลยก็ว่าได้ ก่อนที่มนุษย์ จะรู้จักสบู่
ใน ช่วงนั้นการทำความสะอาดร่างกายหรือ เสื้อผ้าให้สะอาดเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เท่าทุกวันนี้ครับ เพราะสิ่งสกปรกและคราบมันต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่อาจรวมตัวกับน้ำได้ สังเกตุง่าย ๆ เมื่อเราเทน้ำผสมน้ำมัน มันจะแยกชั้นกันอย่างชัดเจน ร่างกายของเรานั้น มักจะผลิตน้ำมันออกมาตลอดเวลา การอาบน้ำธรรมดา ก็เป็นเพียงการชะล้างฝุ่นออกไปจากร่างกาย แต่ก็ไม่ได้สะอาดหมดจดจริง

มีตำนานเล่าไว้เหมือนกันว่า แม่นางคลีโอพัตตรา ก็พยายามแสวงหาวิธีการที่จะทำให้ร่างกายของนางสะอาด และมีกลิ่นหอม ดังนั้นนางจึงใช้น้ำที่นำพืชสมุนไพรมาต้มเพื่อนำมาอาบ โดยทำให้ช่วยชะล้างความสะอาดได้ดีขึ้นและให้กลิ่นหอมสะอาด

ส่วนคนไทย โบราณสมัยที่ยังไม่มีสบู่ก็ใช้ พืชผลไม้ หลายอย่างมาช่วยทำให้ร่างกายสะอาดขึ้นเช่นกัน เช่นการนำ มะกรูด มาเผาไฟ และ นำมาสะผม
นำน้ำใบส้มป่อย มาอาบน้ำ หรือ นำมะขามเปียกมาถูตัวเป็นต้น

ผมจำได้ว่าสมัยเด็ก ๆ เคยอ่านหนังสือนานมากๆเเล้ว จำไม่ได้ว่าหนังสืออะไร กล่าวไว้ว่า ในยุคแรกที่คิดสบู่ได้นั้น สบู่เรียกว่า ไซโป หมายถึงสิ่งที่นำมาชำระล้างนั่นเอง โดยต่อมาได้เพี้ยนไปเป็น โซป (Soap) ดังในปัจจุบัน
ถือเป็นสิ่งล้ำค่ามากๆ ในยุคแรกๆ คนธรรมดา ไม่มีสิทธิ์ได้ใช้นะครับ จะได้ใช้ก็แต่ระดับชนชั้นสูงเท่านั้น ในแต่ละประเทศ

ซึ่ง การค้นพบสบู่เนี่ยะถือว่าเป็นความบังเอิญมาก ๆ ในยุคสมัยที่เรายังนิยมการบูชายันต์อยู่นั้น มักจะมีแท่นบูชายันต์ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ เมื่อนำแพะ หรือสัตว์อื่น ๆ มาบูชายัน ก็มีการเผาทำพิธีบริเวณนั้นด้วย และไขมันจากสัตว์เกิดไหลปนกับขี้เถ้า เกิดเป็นสิ่งที่เป็นก้อนขาว ๆๆ ไหลลงในลำธาร ชาวบ้านที่นำผ้ามาซักบริเวณนั้น ก็เกิดข้อสังเกตว่า ผ้าที่ซักจากบริเวณนี้ สะอาดง่ายกว่า ซักบริเวณอื่น จึงได้หาเหตุ กันต่าง ๆ จนมาเจอก้อนที่ว่านี่เอง สบู่ไงครับ ที่เกิดจากความบังเอิญจาก ไขมัน รวม กับ ขี้เถ้า

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า ปฎิกิริยา Saponification หรือการเกิดสบู่ขึ้นนั่นเอง
เป็น ผลที่มาจาก ESter(ไขมัน) และ base(ด่าง) รวมกัน ได้เป็นสบู่ขึ้นมา โดยที่สบู่จากการสร้างจาก Saponification จะมีส่วนที่เรียกว่า กลีเซอรีน ออกมาด้วย ดังนั้นสบู่จากปฎิกิริยานี้ จะช่วยบำรุงผิวได้ดี

อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของสบู่จะแปรตามคุณสมบัติของไขมันที่มาทำสบู่
เช่น ถ้าสบู่ที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว จะมีเนื้อแข็ง ฟองมาก เหมาะไว้ล้างจานเป็นต้น สบู่น้ำมันละหุ่ง จะให้ครีมนุ่มอ่อนโยน เหมาะไว้ล้างหน้าเป็นต้นครับ

ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้ผลิตสบู่แบบนี้ซึ่งผมจะ เรียกว่าการผลิตสบู่ด้วยวิธีธรรมชาติ โดยใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว์ผสมกับด่างหรือNaOH มาใช้กันเป็นเวลายาวนานซึ่ง ถือว่าเป็นสบู่ที่ดี ไม่ค่อยมีความระคายเคือง และมีกลีเซอรีนผสมอยู่ และมีการปรับสูตรกันในแต่ละท้องถิ่น
ในไทยเอง ก็มีการผลิตสบู่ลักษณะนี้อยู่เหมือนกันในอดีต

จวบ จนครั้งเมื่ออุตสาหกรรมเคมี ได้พัฒนาขึ้น การผลิตสบู่แบบดั้งเดิม ซึ่งต้นทุนสูง ใช้เวลานานในการผลิต และ ผลิตได้ครั้งละจำกัด จึงเกิดสบู่อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผลิตโดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการชะล้าง มาอัดเป็นก้อนและผสมกลิ่นน้ำหอม และ เติมสี และจัดจำหน่ายทั่วไป มีการเติมมอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อทดแทนกลีเซอรีน ที่เคยได้ในการผลิตแบบดั้งเดิม สบู่ประเภทนี้ให้การชะล้างที่เยี่ยมยอด และมีกลิ่นสี น่าใช้มาก เพราะแต่งเติมเข้าไปด้วยกรรมวิธีใหม่ ๆ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ การระคายเคืองในบางคน และการสะสมสารเคมี ไว้ที่ผิวกาย ทุกวัน ๆ มาจนถึงวันนี้ ไม่ทราบว่ามีใครสงสัยเหมือนผมบ้างไหมครับ ว่าสบู่ที่อยู่ในห้องน้ำบ้างเราเนี่ย เป็นสบู่จริงๆ หรือ เป็น เคมีชำระล้างอัดก้อน หรือสงสัยมั๊ยครับ ว่าเราเคยใช้สบู่ ที่เป็นสบู่จริงๆ ครั้งสุดท้ายเมื่อไรกัน
ประวัติสบู่

เอกสารจากอดีตบันทึกกำเนิดสบู่ก้อนแรกว่ามาจาก ไขมันแพะต้มกับขี้เถ้าจากการเผาไม้ ซึ่งเป็น การค้นพบโดยบังเอิญในยุค โรมันอันมีการบูชายัญสัตว์บนแท่นบูชาที่ทำด้วยไม้ แท่นบูชานี้ตั้งอยู่บนเนินเขา เมื่อสัตว์และแท่นไม้ถูกเผาพร้อมกัน ไขมันสัตว์ออกมาผสมกับขี้เถ้า เมื่อฝนตกลงมาก็เกิดเป็นก้อนสีขาว เวลาล่วงเลยมา มีการทำสบู่ใช้ เพียงแต่ไม่ได้ผลิตเป็นจำนวนมาก เป็นการทำใช้กันในครัวเรือน และเพราะมีสบู่ใช้ไม่มาก ผู้คนก่อนศตวรรษที่ 20 จึงไม่ได้อาบน้ำกันบ่อยนัก อย่างไรก็ตาม ต่อมาการทำสบู่กลายเป็นอุตสาหกรรมเก่าแก่ที่สุดของโลกประเภทหนึ่ง โดยโรงงานแรกๆเกิดขึ้นในยุโรป
การทำสบู่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะ มีการพัฒนาก้าวหน้าจนปัจจุบันรูปแบบและสภาพแตกต่างไปจากบรรพบุรุษที่หน้าตา เดิมเป็นเพียงก้อนสบู่ ทั้งนี้ หลักการพื้นฐานของสบู่เกิดจากการทำปฏิ-กริยาทางเคมีระหว่างสารละลายกับ น้ำมัน อาจเป็นน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ และกลีเซอรีนสำหรับทำสะอาด ขจัดคราบสกปรก แต่ข้อเสียคือความที่ล้างความมันได้ดีมากจึงทำลายไขมันคุ้ม กันผิวไป ทำให้ผิวแห้งตึง และสบู่ยังมีฤทธิ์เป็นด่าง (ค่า pHมากกว่า 7) ทำให้ค่า pH บนผิวซึ่งปกติมีค่าประมาณ 5.5 คือมีฤทธิ์ เป็นกรดอ่อนๆ เปลี่ยนไป การที่ค่า pH สูงกว่าภาวะปกติเป็นเวลานานๆ ทำให้ผิวระคายเคืองอักเสบ และส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบนผิวหนัง ปัจจุบันนี้จึงนิยมใช้สารชำระล้างชนิดสังเคราะห์ใหม่ๆ (synthetic detergents หรือsoapless) ซึ่งสามารถปรับค่า pH ให้มีค่าใกล้เคียงกับ
ผิวหนังปกติ ระคายเคืองน้อยกว่าสบู่แบบเดิม ล้างออกได้สะดวกโดยไม่ทิ้งคราบไว้บนผิวหนัง


สบู่.
มนุษย์ดึกดำบรรพ์มีวิธีอาบน้ำที่แปลกประหลาด ในขั้น
แรก เขาจะใช้ขี้เถ้าผสมน้ำทาจนทั่วตัว แล้วจึงทาทับด้วยน้ำมันหรือไขมัน แล้ว จึงล้างตัวด้วยน้ำสะอาด ถึงแม้วิธีอาบน้ำของชาวโบราณจะดูพิลึกต่างกับยุคปัจจุบัน แต่ในความจริงแล้วองค์ประกอบทางเคมีของขี้เถ้าและสบู่และไขมันคล้ายกันมาก กับองค์ประกอบของสบู่ในปัจจุบัน ดังนั้นคนโบราณที่อาบน้ำแล้วจึงตัวสะอาด พอๆกับเราๆที่อาบน้ำแล้วนั่นเอง

จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าชนกลุ่มแรก ที่ประดิษฐ์สบู่ขึ้นมาคือชาวสุเมเรียนซึ่งเป็นบรรพบุรษของชาวบาบิโล เนีย วิธีการทำสบู่ของเขาก็คือเอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟจนเดือดแล้วเทขี้เถ้าและ ไขมันลงไป คนสักครู่แล้วจึงเติมเกลือ ไขมันจะจับเป็นก้อนแข็งลอยอยู่บนผิว หน้าซึ่งนั่นก็คือสบู่นั่นเอง

แต่ สบู่ที่เตรียมโดยวิธีนี้จะนิ่มและแตกเป็นชิ้นเล็กๆได้ง่าย ต่อมาจึงได้มี ผู้ปรับปรุงกรรมวิธีเพื่อให้สบู่แข็งตัวและบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น โดยนำไข ที่ได้มาล้างสารละลายเกลือแล้วทิ้งสัก
ระยะหนึ่งจะได้สบู่แข็งที่สามารถนำมาตัดเป็นก้อนสำหรับใช้ได้
สิ่ง น่าทึ่งสำหรับสบู่คือคือบางครั้งสบู่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญในธรรมชาติ พืช หลาย ชนิดมีสารเคมีลักษณะคล้ายสบู่ โดยใช้วักล้างได้และมีฟอง ชาวพื้น เมืองอเมริกันและชาวเผ่าต่างอื่นๆเคยใช้พืชเหล่านี้สำหรบซัล้างและถูตัวมา แล้ว ที่แปลกไปกว่านั้นคือที่เกาะไซโมลัส
( Cimolus ) ในทะเลอีเจียน ( Aegean Sea ) ทั้งเกาะประกอบด้วยสารลัษณะคล้ายสบู่
ไม่เพียงแต่สามารถนำมาใช้ซักผ้าและถูตัวได้เท่านั้น เวลาฝนตกหนักทั่วเกาะจะถูกปกคลุมด้วยฟองสบู่หนาหลายฟุตทีเดียว

สบู่ ธรรมชาติชนิดสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนั้นค่อนข้างที่จะน่าขยะแขยงและชวนขนลุก ขนพองเอาซักหน่อย และไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำมาใช้ถูตัวและทำความ สะอาด เพราะมันมาจากศพที่ฝังดินไว้ภายใต้สภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะ สม ศพจะกลายสภาพเป็นสารเคมีที่คล้ายกับโซดาปิ้งขนมปัง (โซเดียมไบคาร์บอเนต ) ผสมกับไขมันซึ่งคล้ายกับองค์ประกอบทางเคมีของสบู่ สัปเหร่อเรียกสารเคมี นี้ว่า ... ขี้ผึ้งจากหลุมฝังศพ ศพของนายวิลเลียม วอน เอลเลนโบเกน นายทหาร ชาวอเมริกันผู้ถูฆ่าตายในสงความระหว่างอังกฤษกับอาณานิคมของอังกฤษใน
สหรัฐ อเมริกา ( ค.ศ. 1775-1783 ) เมื่อฝังแล้วร่างกายของเขากลายเป็นสบู่ และมีผู้นำมาตั้งแสดงที่สถาบันสมิทโซเนียน ( Smithsonian Instituution ) อยู่นานหลายปี ... รับรองเลย ว่าสบู่ประเภทนี้คงไม่มีใครกล้าใช้เป็นแน่ ...
ที่มา://kon-mee-klass.blogspot.com/2010/11/blog-post_03.html
Create Date :13 กรกฎาคม 2554 Last Update :13 กรกฎาคม 2554 20:47:50 น. Counter : Pageviews. Comments :0