bloggang.com mainmenu search


ในหนังนั้นจบเพียงเท่านั้น แต่การสืบสวนก็เริ่มต้นขึ้น
นาซ่าพบว่า ระเบิดเวลาได้ถูกวางไว้ก่อนหน้าแล้ว

ในโครงการ Apollo ยานบริการจะมีการติดตั้งออกซิเจนเหลวจำนวน 2 ถัง
ส่วนหนึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนผสมในอากาศที่นักบินอวกาศใช้หายใจ
ส่วนหนึ่งใช้ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจนเกิดเป็นพลังงานไฟฟ้า
โดยมีผลพลอยได้จากการทำปฏิกิริยาเป็นน้ำบริสุทธิ์

แต่เมื่อเข้าสู่ห้วงอวกาศที่หนาวเหน็บ ออกซิเจนเหลวจะแข็งตัว
จนไม่สามารถระเหยตัวเป็นก๊าซที่สามารถนำมาใช้งานได้
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องติดตั้ง heater เพื่อช่วยให้อุณหภูมิอยู่ที่ 25 องศา
และมีมอเตอร์เพื่อช่วยกวนออกซิเจนในถังให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน

บริษัท North American Aviation เป็นผู้รับสัญญาจากนาซ่า
ได้ว่าจ้างให้บริษัท Beach Aircarft Corporation ออกแบบระบบพลังงาน
รูปทรงกระบอก ภายในบรรจุถังออกซิเจน 2 ถัง ถังไฮโดรเจน 2 ถัง
และระบบเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อให้ก๊าซสองชนิดมาทำปฏิกิริยาเพื่อเป็นพลังงาน

26 ก.พ. 1966 ถังออกซิเจนหมายเลข 10024X-TA00009 ถูกผลิตขึ้น
แต่ถังใบดังกล่าวไม่ผ่านการทดสอบเบื้องต้น พวกเค้ารื้อมันออก
และจัดการเปลี่ยนตัวทำความร้อนและใบพัดชุดใหม่ใส่เข้าไปแทน

ถังถูกนำไปทดสอบอีกครั้ง มันยังคงมีปัญหาเล็กน้อย
แต่พวกเค้าสรุปว่า มันจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ในการใช้งาน
3 พ.ค. 1967 มันถูกจับคู่กับถังออกซิเจนหมายเลข 10024X-TA00008
4 มิ.ย. 1968 ชุดพลังงานดังกล่าวถูกติดตั้งในภารกิจยาน Apollo 10

โครงการดังกล่าวเป็นโครงการไร้คนขับเที่ยวสุดท้ายก่อนจะใช้นักบิน
นาซ่าพบว่ามีปัญหาด้านการออกแบบระบบใบพัด มันจะต้องถูกแก้ไข



21 ต.ค. 1968 ระหว่างการยกถังออกซิเจนด้วยเครน ช่างลืมไขนอต 1 ตัว
ทำให้ถังถูกกระชากออกจากตำแหน่ง และหล่นกลับลงไปที่ความสูง 2 นิ้ว
มีการแก้ไขนอตที่เสียหาย และยกมันออกมาได้ในที่สุด วิศวกรประเมินว่า
ความผิดพลาดนี้ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อความปลอดภัยของอุปกรณ์

ม.ค. 1969 ถังออกซิเจนใบดังกล่าวถูกประกอบเข้ากับยานบริการ
เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจ Apollo 13
มี.ค 1969 การทดสอบขั้นสุดท้ายเผยให้เห็นข้อบกพร่องของถังหมายเลข 2
เมื่อทดสอบอัดแรงดันเข้าสู่ถังได้ปรกติ แต่ไม่สามารถปล่อยออกได้ทั้งหมด

การตกกระแทกสูง 2 นิ้วดูว่าจะเป็นสาเหตุนี้
การมีก๊าซหลงเหลืออยู่ในถัง ทำให้ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการทดสอบ
พวกเค้าตัดสินใจที่ทดสอบอัดแรงดันอีกครั้ง และผลก็ยังเหมือนเดิม
บริษัทตัดสินใจไล่ออกซิเจนที่เหลือด้วยการเปิดระบบความร้อน

30 มี.ค. 1969 หรือ12 วันก่อนการปล่อยยาน การทดสอบถังยังคงล้มเหลว
หลังจากนั้นพวกเค้าก็นำชุดถังเจ้าปัญหาประกอบเข้ากับยานบริการ
โดยมองว่าเรื่องดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการทำงานในอวกาศ
แต่พวกเค้าไม่รู้ว่า มันมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่ในนั้น

เพราะการใช้ความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียสเพื่อไล่ออกซิเจนนั้น
ได้ทำลายฉนวนที่หุ้มสายไฟฟ้าระบบต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ภายในถัง
ซึ่งมันคือจุดเริ่มต้นของไฟฟ้าลัดวงจร และนำไปสู่การระเบิด

แต่ยังมีโอกาสรอดสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้
เพราะวงจรไฟฟ้าได้รับการติดตั้งฟิวส์ที่จะตัดกระแสไฟฟ้า
หากมีแรงดันสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร
มันทำงานที่ 28 V ตามระบบไฟฟ้าที่ใช้ในยานอวกาศ Apollo

แต่ในเวลาต่อมาสถานีอวกาศเคเนดี้ มีการเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้า 65V
เพื่อที่จะสามารถเร่งการอัดออกซิเจนเข้าสู่ภายในถังให้รวดเร็วขึ้น
แต่บริษัทผู้ผลิตลืมเปลี่ยน thermostat ให้รองรับแรงดันที่มากขึ้น
มันถูกทำลายทันทีเมื่อนำมาทดสอบครั้งสุดท้ายที่สถานีอวกาศเคเนดี้



บนเที่ยวบิน Apollo 13 เมื่อ Swigert เปิดมอเตอร์เพื่อกวนถังออกซิเจน
หมายเลข 2 เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร เพราะฉนวนของสายไฟฟ้า
ถูกเผาไปก่อนหน้า thermostat อุปกรณ์นิรภัยก็ไม่ทำงาน
ถังออกซิเจนหมายเลข 2 เกิดการระเบิดขึ้น

หลังจากการสอบสวนเหตุการณ์ในโครงการ Apollo 13
นาซ่าได้นำใบพัดที่เคยใช้ในการทำหน้าที่กวนถังออกไป
เปลี่ยน probe ที่ใช้กั้นระหว่างออกซิเจนในสภาพของเหลวและก๊าซ
จากอลูมิเนียมมาเป็น Stainless steel ที่ทนทานต่อแรงระเบิด

เพิ่มระบบทำความร้อนเป็น 3 ชุดโดยสามารถปิด-เปิดการทำงานแยกจากกัน
เปลี่ยนฉนวนหุ้มสายไฟเป็น magnesium oxide แล้วครอบด้วย Stainless steel
เพิ่มถังออกซิเจนใบที่สาม ที่สามารถให้พลังงานสำรองได้ในกรณีฉุกเฉิน

หลังจากปัญหาในเซลล์เชื้อเพลิงทั้งหมดถูกแก้ไข
โครงการ Apollo ที่เหลือก็เดินทางไปสู่ดวงจันทร์อย่างปลอดภัย

และนั่นก็คือเรื่องราวของการช่วยชีวิตนักบินอวกาศให้รอดชีวิต
ซึ่งทำได้ยากกว่า การที่จะส่งพวกเค้าไปลงจอดบนดวงจันทร์เสียอีก
น่าประหลาดใจที่ทุกครั้งมีข่าวคราวเกี่ยวกับการเดินทางไปยังดวงจันทร์
จะมีคนจำนวนหนึ่ง post แสดงความเห็นว่า นาซ่าไม่เคยไปดวงจันทร์

มันเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ ที่ยังมีคนเชื่อเช่นนั้นอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
Create Date :12 มกราคม 2559 Last Update :12 มกราคม 2559 15:27:21 น. Counter : 1059 Pageviews. Comments :3