bloggang.com mainmenu search





ทักษะการไกล่เกลี่ย


พระไพศาล วิสาโล



//www.visalo.org/article/P_Taksa.htm



ทำความ เข้าใจเรื่องความขัดแย้ง

ความขัดแย้งแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ

๑. ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ เช่น เรียกร้องค่าแรง ประท้วงเพิ่มราคามัน คัด ค้านการสร้างเขื่อนเพราะทำให้สูญเสียที่ทำกิน

๒. ความขัดแย้งทางด้านความสัมพันธ์ เช่น ความขัดแย้งในครอบครัว ลูกจ้างไม่พอใจนายจ้างที่ไม่ให้เกียรติหรือพูดจาไม่สุภาพ

๓. ความขัดแย้งทางด้านข้อมูล เช่น ผิดใจกันเนื่องจากได้ข้อมูลไม่ตรงกัน หรือไปเชื่อข่าวลือ ขัดแย้งเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะมองเห็นคุณและโทษต่างกัน

๔. ความขัดแย้งด้านคุณค่า คือ มองเห็นความสำคัญต่างกัน เช่น เอ็นจีโอต้องการอนุรักษ์ป่า แต่รัฐบาลต้องการไฟฟ้าหรือมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรม

๕. ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง เช่น ขัดแย้งเกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ


วัตถุประสงค์ของ การไกล่เกลี่ย

คือเพื่อระงับความขัดแย้งที่มีบุคคลหลายฝ่ายมาเกี่ยวข้อง

ผู้ไกล่เกลี่ยจึงจำต้องเข้าใจว่า เป็นความขัดแย้งประเภทไหน มีสาเหตุจากอะไร จึงจะสามารถระงับความขัดแย้งได้


หน้าที่ผู้ไกล่ เกลี่ย

คือสร้างเงื่อนไข บรรยากาศ ที่เอื้ออำนวยให้คู่ขัดแย้งมาเจรจาและแสวงหาทางออกร่วมกัน ที่พอใจของทุกฝ่าย


วิธีการของผู้ไกล่เกลี่ย

ก.ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

-แยกคู่ขัดแย้งออกห่างจากกันในกรณีที่มีการเผชิญหน้ากัน

-ระงับอารมณ์ของคู่ขัดแย้งไม่ให้เกิดโทสะต่อกันและกัน

-ดำเนินการให้ทุกฝ่ายส่งตัวแทนมาเจรจา หรือประสานให้มีการเจรจากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

-แบ่งกำลังคุมสถานการณ์ให้เพียงพอในขณะที่มีการเจรจากัน


ข.บนโต๊ะเจรจา

-จัดหาสถานที่ที่เป็นกลางและสะดวกต่อการเจรจา ในเวลาที่เหมาะสม

-เป็นผู้เริ่มต้นการเจรจา ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มก่อน (เพราะอาจ ทำให้เสียบรรยากาศหรือความรู้สึกได้)

-สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เอื้อต่อการเจรจา

-สร้างความเป็นมิตรในหมู่ผู้ร่วมเจรจา

-ให้เกียรติผู้ร่วมเจรจา

-ต้องควบคุมอารมณ์ของตนได้ และระวังอคติ ๔ ในใจตน

-วางตัวเป็นกลาง แต่ไม่ใช่ไร้ความรู้สึก ควรมีเมตตาและความเห็นอกเห็นใจทุกฝ่าย

-ช่วยให้คู่ขัดแย้งตระหนักถึงปัญหาและความต้องการของอีกฝ่าย รวมทั้งเห็นใจซึ่งกันและกัน

-กระตุ้นหรือช่วยให้คู่ขัดแย้งค้นพบทางเลือกของตัวเอง

-ดำเนินการให้ทุกฝ่ายได้พูดอย่างเท่าเทียมกัน เช่น สลับกันพูด

-ไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครอบงำการประชุม หรือพูดจายั่วยุคนอื่น ดูแลไม่ให้มีการโจมตีกล่าวร้ายซึ่งกันและกัน

-ไม่ครอบงำการประชุมเสียเอง เช่น พูดคนเดียวเป็นส่วนใหญ่ หรือเอาความเห็นของตัวเป็นหลัก ยัดเยียดข้อเสนอของตัวให้คู่ขัดแย้ง หรือทำตัวเป็นศาล ตัดสินชี้ขาดว่าใครถูกใครผิด

-ไม่ใช้วิธีลงคะแนนเสียงเพื่อหาข้อสรุป

-ไม่ทิ้งเสียงส่วนน้อย

-ทบทวนข้อสรุปให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ก่อนจะเลิกประชุม






ปล. ไม่ใช่เฉพาะ เรื่องการเมืองเท่านั้น เรื่องอื่น ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ได้เช่นกัน ..


Create Date :25 พฤษภาคม 2553 Last Update :25 พฤษภาคม 2553 14:52:15 น. Counter : Pageviews. Comments :1