เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School.
"ค่าตัว"

สืบเนื่องจากบทความ
เพิ่มค่าปรับ...แพทย์หนีใช้ทุน 20 ล้านบาท? บทความโดย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ
มติชนออนไลน์ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 12:59:39 น.

**โปรดอ่านจนจบ

หากอ่านไม่ได้ สามารถอ่านได้จากที่นี่... สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป
หรือที่นี่... สำนักข่าวอิศรา

ส่วนหนึ่งที่คุณเขียนมา..........
"...การใช้ทุนของแพทย์ จึงเป็นหัวใจของการคืนทุนเพื่อตอบแทนผู้ป่วย ตอบแทนประชาชนและสังคม ที่ได้อนุเคราะห์ให้แพทย์ได้เรียนรู้ ใช้ทรัพยากรในการฝึกฝน จนมีวิชาชีพที่จะสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวให้เป็นคนมีฐานะมีเกียรติในสังคม

แม้แพทย์ส่วนใหญ่จะมีสำนึกของการใช้ทุนอยู่แล้วโดยไม่ต้องบังคับ

แต่แพทย์อีกกลุ่มใหญ่กลับไม่คิดเช่นนั้น ต้องการไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนหรือโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว ตามวิถีทุนนิยมและบริโภคนิยมต่อไป..."


จากนั้นโปรดอ่าน..........
หมอหนุ่มแชร์ความเห็นใน facebook แรงกดดันจากภาระงาน ตลอดจนโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการแพทย์
//www.siamintelligence.com/doctor-to-share-his-pressure-in-facebook/

ฉบับเต็ม
1. "มุมมองต่อหมอของคนไทยสมัยนี้เปลี่ยนไปแล้วล่ะมั้ง"
2. ความยากของการทำงาน (หัวข้อที่ 4. จากบทความแรก แยกออกมาเขียนใต้ข้อจำกัดของบทความใน facebook)


ความเห็นส่วนตัว..........
ผมเชื่อในความเสียสละของคนที่ทำงานชนบท ไม่จำเป็นต้องเป็นจังหวัดชายแดนที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีใึครอยากไป ไม่ว่าจะด้วยความกันดาร หรือความห่างไกล

และผมยังเชื่ออีกด้วยว่าการออกไปทำงานในสถานที่เช่นนั้นควรจะต้องเปิดตัวเองให้กว้าง ยอมรับความแตกต่างที่ไม่ว่าจะเป็น...
1. ทางวิชาการ(คุณรู้ทางกว้าง ผมรู้ทางลึก ไม่มีใครด้อย-เหนือกว่า)
2. ความก้าวหน้า(คุณอยู่ชุมชนเป็น ผอ. มีโอกาสได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ชานาญการพิเศษ ส่วนผมน้อยกว่าหนึ่งขั้น)
3. ความหนักของงาน(คุณเป็น ผอ. และมี ผอ. บางคนไม่ต้องตรวจคนไข้ ไม่ต้องอยู่เวร แต่ผมตรวจผุ้ป่วยนอก 10 วันต่อเดือน อยู่เวร 20+ วันต่อเดือน และต้องดูคนไข้ทุกวัน)

ขาดโรงพยาบาลชุมชนดี ๆ โรงพยาบาลใหญ่ก็อยู่ไม่ได้ ขาดโรงพยาบาล "ในเมือง" โรงพยาบาลเล็ก ๆ ก็ลำบาก การเข้าไปอยู่ในเมือง ไม่ใช่จะได้ความสะดวกสบายแต่เพียงอย่างเดียว หลายคนต้องแลกมาด้วยสิ่งที่ไม่สามารถตีเป็นเงินในนาม "ทุนนิยม/บริโภคนิยม" ที่คุณพูดถึงได้อีกด้วย

และโปรดอย่าคิดว่าคนอื่นทำงานน้อยกว่าคุณ หรือคนอื่นเป็น "ทุนนิยม-บริโภคนิยม" เพียงเพราะ "เข้าไปทำงานในเมือง"

คนทำงานในเมืองก็ต้อง "เสียสละ" ไม่แพ้ที่คุณเสียเหมือนกัน

..........


ที่คุณเขียนมา..........
"...แต่ปัจจุบัน เงินค่าปรับ 400,000 บาท “น้อย” เกินกว่าที่จะหยุดยั้งแพทย์ให้ใช้ทุนนาน 3 ปีอีกต่อไปแล้ว

แพทย์เกือบ 1 ใน 3 ที่ลาออกจากราชการก่อนใช้ทุนครบ ก็เพราะค่าปรับใช้ทุนเพียง 4 แสนบาทนั้น “เล็กน้อย” จนแทบจะซื้อรถยนต์คันเล็กๆ สักคันยังไม่ได้

มีความเห็นพ้องต้องกันว่า...ควรขึ้นค่าปรับสำหรับแพทย์ที่ไม่ประสงค์จะใช้ทุน แต่ตัวเลขเงินค่าปรับที่จะกำหนดขึ้นมาใหม่แทนตัวเลข 400,000 บาทที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2516 ยังมีการถกเถียงกันอยู่ ว่าตัวเลขใหม่ควรเป็นเท่าใด และเอาหลักเกณฑ์อะไรมาคิด..."


โปรดอ่าน..........
บทความสาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออก ...โดย นพ.สยาม พิเชฐสินธุ์ ...พศ. ๒๕๔๖ (topicstock.pantip.com)
หรือ สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ (บทความเดียวกัน)

หรือ
สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ-ตอนที่1
สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ-ตอนที่2
สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ-ตอนที่3
สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ-ตอนที่4
สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ-ตอนสุดท้าย
(บทความเดียวกันกับ link สองแห่งข้างต้น)

โดยสรุป สาเหตุเกิดจาก
1. สาเหตุจากรายได้ไม่เพียงพอ (เงินเดือนต่ำ)
2. สาเหตุจากความรับผิดชอบที่หนักเกินไป โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ
3. สาเหตุเนื่องจากสภาพครอบครัวและสังคม
4. สาเหตุเนื่องจากความเสี่ยงในวิชาชีพมีมากขึ้น
5. สาเหตุจากแพทย์ต้องการความก้าวหน้าทางการศึกษาต่อเนื่อง
6. สาเหตุจากคำสั่งให้ย้ายไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด (มักพบในแพทย์ที่สังกัดกระทรวงกลาโหม)
7. สาเหตุจากปัจจัยเสริมอื่นๆ ได้แก่
-----7.1 ผู้บริหารโรงพยาบาลบางคนขาดวิสัยทัศน์ในการบริหารหรือบริหารแบบรวบอำนาจ
-----7.2 ปัญหาในเรื่องพนักงานของรัฐ
-----7.3 กฎหมายต่างๆที่ออกมาบังคับใช้กับแพทย์
-----7.4 จากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค

**บทความจากปี 2546 ในบางกรณีมีการเปลี่ยนแปลง เช่นข้อ 7.2, 7.4


ความเห็นส่วนตัว..........
ผมยังเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะลาออกเพราะเงิน 400,000 บาทนั้ "น้อย" ถึงกับตัวผมเองที่ทำงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เงิน 400,000 บาทนั้นก็ยังนับว่ามากอยู่นั่นเอง ปัญหาไม่ได้อยู่ทีเงินจำนวนนี้น้อยหรือมาก ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ระบบสามารถดึงให้คนอยู่ในระบบได้หรือไม่ต่างหาก

เด็ก ๆ บางคนต้องลาออกจากราชการเพราะพ่อแม่เป็นมะเร็ง ขอย้ายกลับภูมิลำเนาแต่ไม่มีใครอนุญาตให้ย้าย และไปลงเอยที่ต้องลาออก...

เป็นความผิดของระบบ หรือเป็นความผิดของเด็ก หรือว่าเงิน 400,000 บาทมันเป็นเงินจำนวนน้อย ???

โปรดคิดให้ได้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นว่าการลาออกแลกกับเงิน 400,000 บาทนั้นเป็นไปใต้ความคิดเชิงทุนนิยมเสมอไป

..........


ที่คุณเขียนมา..........
"... 1. ค่าเทอมตลอด 6 ปีของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์เอกชนแห่งเดียว โดยค่าเทอมแพทย์รังสิต 350,000 บาท/ปี รวม 6 ปี เป็นเงิน 2,100,000 บาท...เมื่อเทียบกับเงิน 400,000 บาทที่ต้องใช้ทุนเดิม ก็จะเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น 5.25 เท่า

2. งบประมาณรายหัวของนักศึกษาในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทของกระทรวงสา ธารณสุข ที่ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นรายหัวๆ ละ 300,000 บาท/ปี รวม 6 ปี เป็นเงิน 1,800,000 บาท...เมื่อเทียบกับเงิน 400,000 บาทที่ต้องใช้ทุนเดิม ก็จะเป็นเงินที่เพิ่มขึ้น 4.5 เท่า

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปมองจำนวนเงิน 400,000 บาทในอดีตเมื่อ 38 ปีที่แล้ว เงินจำนวนนี้มีค่ามากมายเพียงใด ดัชนีชาวบ้านที่ง่ายที่สุดได้แก่...

-ราคาทองคำในปี 2516 บาทละ 400 บาท ปัจจุบันทองคำราคาบาทละกว่า 20,000 บาท เพิ่มขึ้น 50 เท่า...หากคิดในฐานคิดนี้ ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 20 ล้านบาท

-ราคาน้ำมันดิบในปี 2516 บาร์เรลละ 3 ดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันราคาประมาณ 120 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 40 เท่า...หากคิดในฐานคิดนี้ ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 16 ล้านบาท

- ราคาก๋วยเตี๋ยวในปี 2516 ชามละ 3 บาท ปัจจุบันชามละ 30-40 บาท เพิ่มขึ้น 10-13เท่า...หากคิดในฐานคิดนี้ ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 4-5 ล้านบาท

- และที่สำคัญ ปี 2516 เป็นปีแรกที่มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าเงินที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง โดยประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับแรก เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ประกาศฉบับที่ 1 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2516 ให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี กำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่ 12 บาท ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ประกาศใช้ 1 มกราคม 2554 อยู่ที่ 215 บาท เพิ่มขึ้น 18 เท่า...หากคิดในฐานคิดนี้ ค่าปรับการไม่ใช้ทุนก็ควรจะเป็น 7.2 ล้านบาทจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะนำฐานคิดใดเข้ามาอ้างอิง ตัวเลขค่าปรับการไม่ใช้ทุนต้องเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน..."


ความเห็นส่วนตัว..........
ได้โปรด อย่าอ้าง ราคาทองคำ ราคาน้ำมันดิบ ราคาก๋วยเตี๋ยว หรือค่าแรงขั้นต่ำ แล้วคำนวนออกมาเป็นตัวเลขเจ็ดล้าน สิบล้าน หรือยี่สิบล้าน เพราะคุณเองบอกมาในบทความว่าค่าเทอมนักเรียนแพทย์เอกชนตลอดหกปีเป็นเงิน 2,100,000 บาท หรือคุณคาดหวังว่าจะตั้งตัวเลขค่าปรับให้สูง คนที่เข้ามาเรียนจะต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมอันสูงส่ง มีอุดมการณ์ที่แข็งกล้า แลกชีวิตกับเงินสิบ-ยี่สิบล้าน ในขณะที่สามารถใช้เงินเพียงหนึ่งในสิบหรือหนึ่งในห้าในการผลิตแพทย์โดยโรงเรียนแพทย์เอกชน !!!

หากมันจะต้องปรับให้สูงขึ้น ก็ขอให้สูงขึ้นอย่างสมเหตุสมผล สมกับสิ่งที่เราให้คนเหล่านั้นและเรียกร้องคืนจากคนเหล่านั้นถ้าเขาจะออกจากระบบ อย่าใช้เพียงกำแพงสูงเพื่อกั้นไม่ให้คนเดินออก เพราะบางครั้งอาจไม่มีคน(ดี ๆ)เดินเข้ามาหาเราเลยก็ได้

..........


ที่คุณเขียนมา..........
"...ปัจจุบัน กระแสทุนนิยมและบริโภคนิยมที่รุนแรงถั่งโถมเข้าท้าทายอุดมการณ์และจิตสำนึกในการรับใช้สังคมของวิชาชีพแพทย์มากพอสมควร การลาออกของแพทย์ไปอยู่ภาคเอกชน สร้างเนื้อสร้างตัว ทอดทิ้งคนชนบทให้ขาดแคลนแพทย์นั้น...มีให้เห็นมากขึ้น..."


ความเห็นส่วนตัว..........
คุณอยู่ในชนบท เห็นความขาดแคลนของแพทย์ในชนบท นั่นเป็นเรื่องจริงที่คุณมองเห็น แต่คุณได้มองหรือมองเห็นบ้างหรือไม่ว่า "ในเมือง" ก็มีความขาดแคลน บางสาขาที่เป็นสาขาส่งเสริมพิเศษนั้นหาคนเรียนแทบไม่ได้หรือบางปีไม่มีคนเรียนเลย ไม่ใช่เพียงเพราะมันเป็นสาขาที่ได้ทำงานในเมืองแล้วทุกคนจะต้องวิ่งเข้าไปหาความเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะแลกมันกับการได้เข้าไปทำงานในเมือง แต่มันยังเป็นความเสียสละที่หาคนเสียสละได้ยากอีกต่างหาก ดังนั้นหากคุณจะบอกว่าในชนบทขาดแคลนแพทย์ ผมก็จะขอบอกในที่นี้เช่นกันว่าในเมืองนั้นก็ยังขาดแคลนแพทย์อีกหลายสาขาและบางสาขาก็ขาดแคลนอีกเป็นจำนวนมากอีกด้วย

เราอาจอยู่คนละที่กัน แต่เราต้องมองปัญหาในมุมอื่นด้วย ทุกคน-ทุกที่ต่างมีปัญหาของตัวเอง หากเอาแต่มองปัญหาสาธารณสุขอย่างที่เรามองและอย่างที่เราแก้ปัญหากันอยู่ในทุกวันนี้ อีกไม่นานโครงสร้างระบบสาธารณสุขจะต้องล้มลงอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาแบบลูกโซ่...

แพทย์ลาออก--ปรับเงินเพิ่ม+ผลิตเพิ่ม--ใช้บุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขที่งานล้นมือมาผลิต--ผลิตออกมามากขึ้น--คุณภาพลดลง--ออกกฎหมายให้ค่าชดเชย--ผลักภาระให้แพทย์--แพทย์ลาออก--

แล้วอีกนานแค่ไหนกว่าที่เราจะแก้ปัญหาได้เสียที


ท้ายที่สุด... เราทุกคนต่างมี "ค่าตัว" ของใครของมันด้วยกันทั้งนั้นนั่นแหละ ...เสนอตัวเลขดี ๆ มาสิ







Create Date : 20 มิถุนายน 2554
Last Update : 21 มิถุนายน 2554 1:33:43 น. 0 comments
Counter : 1005 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Zhivago
Location :
นครศรีธรรมราช Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




มนุษย์เข้มแข็ง
กว่าที่ตนคิดไว้เสมอ
New Comments
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
20 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Zhivago's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.