"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

“น้ำตาลไม่หวาน” ของคณะราษฎร ภาพสะท้อนกิจการร่วมทุนรัฐบาล-เอกชน


นนทพร อยู่มั่งมี
ศิลปวัฒนธรรม 9 กรกฎาคม 2555


บทบาทของกลุ่มคณะราษฎรภายหลังเหตุการณ์ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ดำเนินไปด้วยการเน้นนโยบายทางการเมืองเป็นสำคัญ ทั้งการจำกัดอำนาจทางการเมืองของสมาชิกพระราชวงศ์ การวางรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ

หรือแม้แต่การขับเคี่ยวทางการเมือง กับกลุ่มอำนาจเก่าซึ่งพยายามมีบทบาทขึ้นมาดังในเหตุการณ์กบฏบวรเดช พ.ศ. ๒๔๗๖ ทั้งนี้ดำเนินไปตามบริบททางการเมืองที่ตึงเครียดในขณะนั้น

แต่บทบาทอีกด้านหนึ่งคือ การบริหารงานด้านเศรษฐกิจ กลับให้ภาพอีกมุมหนึ่งของการบริหารบ้านเมืองภายใต้กลุ่มคณะราษฎรที่ “ไม่หอมหวาน” เท่าการเมือง โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องกิจการโรงงานน้ำตาล

กิจการโรงงานน้ำตาลของไทยช่วงทศวรรษ ๒๔๕๐-๖๐

กิจการโรงงานน้ำตาลนับเป็นอุตสาหกรรม ที่มีบทบาทสำคัญมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญโดยเฉพาะน้ำตาลจากอ้อย ที่มีชาวจีนเป็นผู้นำพันธุ์อ้อยมาปลูกและดำเนินการผลิต

ซึ่งปรากฏว่าในปี พ.ศ. ๒๓๕๓ ซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ครั้งนั้นส่งออกได้กว่า ๖,๐๐๐ หาบ ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบอร์นี่ พ.ศ. ๒๓๖๙ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ มีการส่งออกน้ำตาลในปริมาณมากขึ้น

เช่น ปี พ.ศ. ๒๓๘๗ มีปริมาณส่งออกถึง ๑๑๐,๐๐๐ หาบ ทั้งนี้เป็นไปตามความต้องการของตลาดโลก โดยมีลูกค้าสำคัญคือ อเมริกาและอังกฤษ

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๔ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๐๕-๘ การส่งออกน้ำตาลได้ขยายตัวอย่างมากเห็นได้จากมีการสร้างโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำขึ้นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรีถึง ๒๕ โรง จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ กิจการโรงงานน้ำตาลเริ่มประสบปัญหาการส่งออก

เนื่องจากราคาน้ำตาลตลาดโลกตกต่ำ การส่งออกจึงหยุดชะงักลง ซึ่งสัมพันธ์กับการแข่งขันการผลิตน้ำตาลในยุโรป ซึ่งใช้หัวผักกาดหวาน (หัวบีต) เข้ามาทดแทนน้ำตาลจากอ้อย ซึ่งมีฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำการผลิต

ประกอบกับความต้องการสินค้าข้าว ทำให้มีการลดพื้นที่การปลูกอ้อยลงเพื่อเปลี่ยนเป็นนาข้าวโดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำนครชัยศรี

ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออกประสบปัญหา จนมีส่วนต่อการลดพื้นที่เพาะปลูกอ้อยลง ซึ่งเหลือแต่เพียงพื้นที่เมืองชลบุรีเท่านั้นที่ยังคงมีการผลิตอยู่ สถานการณ์เช่นนี้ย่อมสร้างปัญหาต่อการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศเช่นกัน

จากเดิมที่ไทยเคยเป็นประเทศที่ผลิตเพื่อส่งออกกลับต้องนำเข้าน้ำตาลจากฟิลิปปินส์และชวา (อินโดนีเซีย) ในรายงานของพระยาอินทมนตรี ซึ่งสำรวจการทำน้ำตาลในไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ระบุว่า

น้ำตาลที่ผลิตในไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นผลผลิตจากน้ำตาลโตนด น้ำตาลมะพร้าว และน้ำตาลจากอ้อย ในรูปของน้ำตาลทรายแดงเป็นส่วนมาก มีผลผลิตเพียง ๖๐๐,๐๐๐ หาบ ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศและต้องนำเข้าเพิ่มอีก ๔๐๐,๐๐๐ หาบ

ประกอบกับวิธีการผลิตน้ำตาลของไทยยังล้าสมัย เช่น การใช้ลูกหีบ ที่ใช้กันมาดั้งเดิมทำให้สูญเสียมูลค่าการผลิต และคุณภาพน้ำตาลที่ไม่ดีเพราะเก็บไม่ได้นาน อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับชาวไร่ยังขาดการประสานงานระหว่างกัน เห็นสมควรให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการผลิต

ช่วงทศวรรษ ๒๔๕๐-๖๐ การผลิตน้ำตาลของไทย ได้เปลี่ยนจากผู้ส่งออกมาเป็นผู้นำเข้า เนื่องจากปัญหาทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ แม้ว่าจะมีความพยายามของผู้ลงทุนบางส่วน

เช่น เจ้าพระยาวรพงศพิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ได้ตั้งโรงน้ำตาลขึ้นที่ตำบลทับหลวง เมืองนนทบุรี โดยให้หม่อมหลวงยวง อิศรเสนา เป็นผู้ดูแล

แต่ก็ต้องเลิกกิจการเพราะประสบปัญหาในข้างต้น คือ ราคาน้ำตาลตกต่ำ และปัญหาด้านเทคนิค เพราะขาดแคลนช่างผู้ชำนาญการ ตลอดจนปัญหาคุณภาพของอ้อย

ปัญหาเหล่านี้ได้บั่นทอนการผลิตน้ำตาลของไทยขณะนั้นอย่างมากจนกระทั่งทศวรรษ ๒๔๗๐ จึงมีความพยายามฟื้นฟูกิจการโรงงานน้ำตาลของคนไทยอีกครั้งหนึ่ง

การขอตั้งโรงงานน้ำตาลของเอกชนช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐

เมื่อถึงทศวรรษ ๒๔๗๐ เส้นทางกิจการโรงงานน้ำตาลของไทยมิได้หอมหวานราบรื่นเช่นน้ำตาลที่ผลิตได้ ผู้ประกอบการหลายรายได้มีความพยายามขอตั้งโรงงานน้ำตาลต่อรัฐบาล ทั้งสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัฐบาลของคณะราษฎร

แต่ต้องประสบปัญหานานาประการ จนต้องล้มเลิกโครงการไปหลายราย รวมทั้งโรงงานน้ำตาลของพระยามไหสวรรย์ซึ่งนับเป็นการลงทุนทางธุรกิจร่วม ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรกับเอกชนครั้งสำคัญ

ซึ่งจะทำให้เห็นถึงบทบาทด้านเศรษฐกิจ ของคณะราษฎรอีกมุมหนึ่งนอกเหนือจากภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้านการเมือง

บรรยากาศความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการ ภาคเอกชนทั้งกลุ่มพ่อค้าชาวจีน (หรือจีนสยาม) และขุนนางนักลงทุนเกิดขึ้นอย่างมากช่วงทศวรรษ ๒๔๗๐ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจของชาวตะวันตก ที่มีบทบาทในกิจการประเภทต่างๆ ในไทยอย่างมาก ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เป็นต้นมา

และประสบผลสำเร็จในกิจการสำคัญอย่างการค้าข้าว กลุ่มพ่อค้าชาวจีนสามารถยึดกุมกิจการนี้ ตั้งแต่การค้าปลีกไปจนถึงส่งออกและรวมทั้งกิจการโรงสี ซึ่งชาวตะวันตกเคยมีบทบาทมาก่อน

ขณะที่ธุรกิจประเภทอื่นก็มีนักลงทุนเข้าไปดำเนินการ เช่น นายเลิศ หรือพระยาภักดีนรเศรษฐ์ ลงทุนในกิจการสั่งสินค้าเข้า โรงน้ำแข็ง และนำเข้ารถยนต์ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ นายบุญรอด หรือพระยาภิรมย์ภักดี คิดตั้งโรงเบียร์ในประเทศ เพื่อจะได้ไม่ต้องสั่งเข้าเบียร์จากต่างประเทศเป็นผลสำเร็จ

และไม่เพียงแต่จะริเริ่มกิจการขึ้นหลากหลายประเภทเท่านั้น บรรดาพ่อค้าทั้งชาวจีนสยามและขุนนางนักลงทุนหลายราย ยังมีส่วนเรียกร้องให้รัฐมุ่งสนับสนุนกิจการค้าภายในประเทศ ผ่านทางนักเขียนนักหนังสือพิมพ์อีกด้วย

ท่ามกลางความเคลื่อนไหวในการริเริ่มกิจการลงทุน ของคนไทยยังรวมไปถึงกิจการโรงงานน้ำตาล ซึ่งปรากฏขุนนางนักลงทุนและพ่อค้าบางส่วน ที่พยายามยื่นเสนอโครงการต่อรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๐

เริ่มจากโครงการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เสนอให้รัฐสนับสนุนการสร้างโรงงานน้ำตาล บริเวณเขตสัมปทานป่าไม้ของ บริษัทป่าไม้ศรีราชา ซึ่งเป็นบริษัทของท่านในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

โดยอาศัยพื้นที่ว่างจากการสัมปทานป่าไม้เป็นเขตปลูกอ้อย โครงการนี้มีการเตรียมการด้วยการส่งพระยามไหสวรรย์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และยังเป็นมิตรของท่านไปดูงานการผลิตน้ำตาลที่เกาะชวาและที่ไต้หวัน

พร้อมทั้งมีการจ้างคนมาสำรวจภูมิประเทศ และการชลประทานเพื่อหาความเหมาะสมของพื้นที่ดำเนินกิจการอีกด้วย

จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เสนอแผนการตั้งโรงงานน้ำตาลต่อสภาเผยแผ่พาณิชย์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทน้ำตาลชลบุรี จำกัด

ในคำร้องดังกล่าวระบุว่า ขอเป็นพระบรมราชานุญาตพิเศษ เพื่อรับสิทธิพิจารณาขอใบเหยียบย่ำที่ดินราษฎร แต่ข้อเสนอเช่นนี้ภาครัฐไม่เห็นด้วย เพราะไม่ต้องการให้สิทธิเหนือกว่าบริษัทเอกชนรายอื่น จึงไม่เห็นชอบต่อโครงการนี้

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มีความเคลื่อนไหวขอตั้งโรงงานน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง ปรากฏในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยบุคคลในคณะราษฎรคือ นายมังกร สามเสน พ่อค้าคนสำคัญสมัยนั้น

ขอให้รัฐบาลสนับสนุนการทำไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลในจังหวัดชลบุรี โดยมีทุนจดทะเบียน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งใช้เป็นทุนปลูกอ้อยจำนวน ๑๐,๐๐๐ ไร่ พร้อมกับยื่นข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ๖ ข้อ

โดยมากเป็นเรื่องของการลดหย่อนการเก็บภาษี อีกทั้งยังขอไม่ให้มีผู้ประกอบการรายอื่นตั้งโรงงานแข่งขันเป็นเวลา ๑๕ ปี กับขอสิทธิจับจองที่รกร้างว่างเปล่าไม่เกิน ๑๒๐,๐๐๐ ไร่ เพื่อใช้วางระบบขนส่งและท่อน้ำ และยังเสนอให้ใช้ทุนของคนไทยและคนจีนในไทยเท่านั้น

แต่โครงการนี้ นายมังกร สามเสน ก็ไม่ได้ริเริ่มขึ้น ภายหลังภาครัฐพิจารณาข้อเสนอในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ข้อสรุปว่า ระยะเวลา ๑๕ ปี นานเกินไป และไม่พร้อมรับรองข้อเสนอดังกล่าว เป็นเพียงแต่จะช่วยเหลือแบบไม่ผูกพันสัญญาแต่อย่างใด

โดยรัฐเห็นชอบต่อการใช้กรรมกรสยาม และทุนของคนไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ เมื่อสามารถปฏิบัติตามนี้รัฐจะช่วยเหลือตามสมควร

ความพยายามขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในกิจการโรงงานน้ำตาลของเอกชนดำเนินมาอย่างต่อเนื่องในปีต่อมา หม่อมหลวงยวง อิศรเสนา ได้มีหนังสือถึง นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

แจ้งว่า สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี จะประทานเงินทุนตั้งโรงงานน้ำตาลทรายขาวที่จังหวัดชลบุรี มีกำลังการผลิตปีละ ๓๐๐ ตัน ใช้วิธีการผลิตแบบโรงสี คือ ให้ชาวไร่อ้อยปลูกอ้อย และโรงงานรับหีบได้แบ่งน้ำตาลคนละครึ่งมีงบประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท

พร้อมกับมีข้อเสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐ โดยขอให้ละเว้นการเก็บภาษีทุกประเภท ในกิจการน้ำตาลเป็นระยะเวลา ๗ ปี และขอให้รัฐควบคุมจำนวนโรงงานน้ำตาลไม่ให้มากเกินไป

กับทั้งให้รัฐช่วยเพิ่มภาษีขาเข้า เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศกรณีที่น้ำตาลนอกประเทศราคาต่ำลง พร้อมกับเสนอให้รัฐร่วมลงทุนในโครงการนี้ในสัดส่วนร้อยละ ๒๕-๕๑ และรัฐต้องประกันการขาดทุนให้ด้วย

โครงการนี้ก็เช่นเดียวกับโครงการที่ผ่านมา เพราะรัฐเห็นว่า การปลูกอ้อยของไทยยังสู้ต่างประเทศไม่ได้ และต้องใช้ทุนมาก กับทั้งขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ ประกอบกับจำนวนทุนที่เสนอมาไม่สามารถสร้างโรงงานขนาดใหญ่ที่ใช้เทคนิคทันสมัยได้

ส่วนเรื่องการคุ้มครองการแข่งขันด้านภาษี ก็ติดเงื่อนไขสนธิสัญญากับอเมริกา ส่วนปริมาณการผลิตเพียง ๓๐๐ ตันนับว่าน้อยมากขณะน้ำตาลนำเข้ามากถึงปีละ ๔๐,๐๐๐ ตัน

และการของดเว้นภาษีเป็นระยะเวลา ๗ ปี อาจสร้างเงื่อนไขให้ธุรกิจประเภทอื่นเรียกร้องจนเกิดปัญหาตามมาได้ ขณะเดียวกันรัฐบาลยังเห็นอีกว่าควรส่งเสริมธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถผลิตได้เพียงพอกับภายในประเทศและสามารถส่งออกได้ ดีกว่าการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและไม่อาจเลี้ยงตัวได้เช่นโครงการนี้

โรงงานน้ำตาลของพระยามไหสวรรย์ : “น้ำตาลไม่หวาน” ของคณะราษฎร

พระยามไหสวรรย์ (กวย สมบัติศิริ) ซึ่งลาออกจากราชการในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ขณะดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และเคยมีประสบการณ์ดูงานกิจการโรงงานน้ำตาลในต่างประเทศเพื่อเตรียมจัดตั้งโรงงานตามโครงการของ จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐

เป็นเอกชนรายสำคัญที่ยื่นขอให้รัฐบาลคณะราษฎร สนับสนุนกิจการโรงงานน้ำตาลในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ปรากฏข้อความบางตอนในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของขุนนางผู้นี้ว่า

“ท่านจึงได้ร่วมทุนกับผู้ที่สนใจทำการสำรวจ และตั้งโครงการเพื่อจะทำโรงงานน้ำตาลขึ้นที่จังหวัดชลบุรี ในบริเวณที่ใกล้เคียงกันกับโรงงานน้ำตาลของบริษัทอุตสาหกรรมชลบุรี จำกัด ที่หนองซากขณะนี้

และได้ติดต่อขอซื้อโรงงานจากบริษัทสโกด้า ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ซึ่งก็ได้รับการเสนอโรงงานในราคา ๑ ล้านบาท ปัญหาต่อไปจึงอยู่ที่ทุน การทำโรงงานราคาหนึ่งล้านบาท เมื่อก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพานั้นเป็นเรื่องใหญ่โตมาก

จำเป็นต้องได้รับทุนจากต่างประเทศเข้ามาร่วมด้วย แล้วจำต้องขออนุมัติต่อรัฐบาล ขณะที่ดำเนินการเพื่อขอให้นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเข้ามาร่วมด้วยนั้น รัฐบาลเห็นว่าเป็นโครงการดีจึงรับไปทำเสียเอง”

ข้อความดังกล่าวระบุถึงปัญหาสำคัญคือเรื่องเงินทุน ซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับเอกชนรายก่อนหน้านี้ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องของกลุ่มผู้ลงทุนร่วมที่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งขัดกับนโยบายของรัฐบาล

โดยเฉพาะสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา ที่เริ่มใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยม ๑๖ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้ต้องเปลี่ยนมือจากเอกชนไปสู่รัฐบาล

แต่จากข้อความนี้อีกเช่นกัน ที่เห็นถึงความแตกต่างกับโครงการอื่นเพราะรัฐบาลคณะราษฎรให้ความสนใจต่อโครงการของพระยามไหสวรรย์ และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจากงานค้นคว้าและเรียบเรียง ๒ ชิ้นของ สุภัทรา น.วรรณพิณ กับ พวงเพชร สุรัตนกวีกุล และอีกชิ้นหนึ่งของ อัสวิทย์ ปัทมะเวณุ๑๗

ซึ่งให้รายละเอียดถึงความพยายามลงทุนร่วม ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรกับเอกชน ซึ่งอาจเป็นโครงการทางเศรษฐกิจโครงการแรกสมัยคณะราษฎรที่เกิดในลักษณะนี้

โครงการของพระยามไหสวรรย์เริ่มดำเนินการในวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังการยื่นหนังสือถึงพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในด้านเงินทุนโดยให้รัฐมีหุ้นส่วน ๒๕ เปอร์เซ็นต์ของเงินทุน

พร้อมกับให้รัฐส่งผู้แทนมาเป็นกรรมการในบริษัท ขณะเดียวกันได้ขอให้รัฐออกกฎหมายคุ้มครอง อย่าให้มีการแข่งขันกันมาก รวมทั้งให้ตั้งกำแพงภาษีป้องกันการทุ่มตลาดจากต่างประเทศ

รวมทั้งขอให้รัฐตั้งชูการ์บิวโร (สำนักงานน้ำตาล) เพื่อดูแลอุตสาหกรรมนี้ และขอให้รัฐอำนวยความสะดวกในการจับจองที่ดินทำไร่อ้อยและตั้งโรงงาน

โครงการนี้รัฐได้เห็นชอบตามความเห็นของกระทรวงเศรษฐการลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ แต่มีข้อท้วงติงในบางประการ ได้แก่ ปริมาณการผลิตเพียง ๖,๐๐๐ ตัน หรือ ๑ ใน ๕ ของปริมาณนำเข้า รัฐบาลเห็นว่าน้อยเกินไป

อีกทั้งการขึ้นภาษีขาเข้าเท่ากับบีบให้ราษฎร ต้องบริโภคน้ำตาลราคาแพง ถ้าจะสนับสนุนให้มีโรงงานน้ำตาลขึ้นควรทำให้พอกับความต้องการของคนในประเทศ แต่การทำเช่นนี้เป็นการใหญ่และต้องลงทุนมาก ซึ่งจะเป็นการป้องกันการแข่งขันในตัว เกรงว่าบริษัทจะไม่มีกำลังทำได้

อย่างไรก็ดี เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ เอกชน และราษฎร ทำให้รัฐบาลต้องประชุมกันอีกครั้งหนึ่งและมีข้อเสนอของกระทรวงการคลังในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้ดำเนินการ ๓ ขั้นตอน คือ

๑. ให้กระทรวงเศรษฐการสืบสวนทางเทคนิค และติดต่อกับกระทรวงการคลังเรื่องการเงิน

๒. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

๓. ดำเนินการเรื่องการจองหุ้น


ต่อมามีการตั้งคณะกรรมการ ๑๕ คน พิจารณาเรื่องการทำน้ำตาลตามความเห็นชอบของพระยาโกมาลกุลมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ หนึ่งในคณะกรรมการมีพระยามไหสวรรย์รวมอยู่ด้วย และมีคณะอนุกรรมการกลั่นกรองรายละเอียดอีก ๑ ชุด ซึ่งได้ข้อสรุปว่าเห็นสมควรให้โครงการของพระยามไหสวรรย์ดำเนินการได้

แต่แล้วความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน เป็นสิ่งสร้างปัญหาให้เกิดความล่าช้า โดยเฉพาะความเห็นแตกต่างกันระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงเศรษฐการ ตามบันทึกปัญหาที่พระยาศรยุทธเสนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ

ที่ให้ทำขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ระบุว่า สัดส่วนการถือหุ้นเป็นปัญหาสำคัญของทั้ง ๒ กระทรวง โดยกระทรวงเศรษฐการเห็นว่ารัฐควรลงทุน ๒๕ เปอร์เซ็นต์ตามข้อเสนอของเอกชน ส่วนกระทรวงการคลังเห็นว่ารัฐควรเข้าหุ้น ๕๐ เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้รัฐบาลยังแสดงความสงสัยในผลประโยชน์ที่บริษัทที่จะตั้งขึ้นใหม่กับบริษัทศรีราชาที่พระยามไหสวรรย์เคยมีความสัมพันธ์มาก่อนว่าจะเอื้ออำนวยประโยชน์มากน้อยเพียงไร เช่น การใช้ที่ดิน การขนส่งทางรถไฟ ซึ่งสามารถใช้ทรัพย์สินของบริษัทศรีราชาได้ โดยรัฐได้ตั้งกรรมการพิจารณาในภายหลัง

คณะกรรมการของรัฐบาลได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการตั้งโรงงานน้ำตาลในวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ระบุให้โรงงานมีกำลังหีบอ้อยวันละ ๕๐๐ ตัน โดยให้มุ่งจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก พร้อมกับให้ใช้ชาวต่างประเทศมาอำนวยการผลิต

ส่วนรัฐบาลจะถือหุ้น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ และให้ความคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และตามความจำเป็นเพื่อประคับประคองกิจการนี้ให้ดำเนินต่อไปได้

เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามหลักการข้างต้นแล้ว จึงให้กระทรวงเศรษฐการดำเนินการทำหนังสือบริคณห์สนธิ และดำเนินการในเรื่องการจองหุ้นเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งพระยามไหสวรรย์ได้ดำเนินการทำหนังสือบริคณห์สนธิ

ของ บริษัทน้ำตาลสยาม จำกัด ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ มีทุนจดทะเบียน ๑ ล้านบาท แบ่งเป็น ๑๐,๐๐๐ หุ้น มีผู้เริ่มดำเนินการ ๒๐ คน ซึ่งมีทั้งบุคคลในคณะราษฎร เช่น หลวงพิบูลสงคราม และ นายตั้ว ลพานุกรม

อีกส่วนหนึ่งเคยเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลมาก่อนได้แก่ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ และ หม่อมหลวงยวง อิศรเสนา และจำนวนไม่น้อยเป็นพ่อค้าสำคัญในสมัยนั้น

เช่น นายม้าเลียบคุณ นายกวงเอี่ยม (แซ่เหีย) นายโลเตี๊ยกชวน และนายเอ็กโป้ย วีสกุล กลุ่มผู้ร่วมลงทุนที่หลากหลายแสดงถึงความสนใจ ในโครงการนี้อย่างมากทั้งจากภาครัฐและเอกชน

พระยามไหสวรรย์ได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การจับจองที่ดินจำนวนถึง ๔,๒๐๒ ไร่ เพื่อปลูกอ้อยและสร้างโรงงาน รวมทั้งการโฆษณาชี้ชวนชาวไร่อ้อยและผู้ถือหุ้นต่างๆ เตรียมสัญญาซื้อขายอ้อย การเช่าที่ทำการของบริษัท รวมทั้งจ้างพนักงานปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวด้วย

ในการดำเนินงานประสบปัญหาจากการจำหน่ายหุ้นที่ไม่ได้ตามเป้าหมาย เพราะสามารถขายหุ้นได้เพียง ๑,๒๐๑ หุ้น หรือ ๑๒.๐๑ เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พ่อค้าและประชาชนยังขาดความมั่นใจทางการตลาด

เพราะเห็นว่าน้ำตาลล้นตลาดโลกอยู่แล้ว และผู้ลงทุนไม่เชื่อมั่นในการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาล เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีภายในและการตั้งกำแพงภาษี

เนื่องจากปัญหาการจำหน่ายหุ้นทำให้พระยาศรยุทธเสนีมีแนวคิดที่จะให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมทุน แต่เกรงว่าจะขัดต่อนโยบายรัฐบาล จึงทำหนังสือถึงพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี สอบถามเงื่อนไขการตั้งกำแพงภาษี และกำหนดการที่แน่นอนของการยกเว้นภาษีการค้าภายใน

และแสดงความเห็นว่ากระทรวงเศรษฐการต้องให้ความช่วยเหลือต่อไป ประเด็นนี้ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ให้ทั้ง ๓ กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิการ การทรวงการคลัง และการทรวงเศรษฐการ พิจารณาและได้ข้อสรุปในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๘

เห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการเสียเอง โดยให้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาอำนวยการแทนคนไทย และให้ร่วมลงทุนกับรัฐบาล พร้อมกับให้บริษัทเพิ่มเงินลงทุนและค่าเครื่องจักรขึ้นอีก ๔ แสนบาท ส่วนการถือหุ้นแม้รัฐบาลจะแสดงความต้องการกิจการนี้แต่รัฐยังคงสัดส่วนหุ้นไว้ที่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์เช่นเดิม

ในด้านของผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทได้ประชุมในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ มีมติแตกออกเป็นความเห็น ๓ ประการ มีทั้งที่เสนอให้ขายหุ้นแก่ต่างชาติ บางส่วนเสนอให้ลดทุนลงโดยลดขนาดของโรงงาน อีกส่วนเสนอให้ยุติโครงการนี้

เพราะทราบว่ารัฐต้องการดำเนินการเอง ในที่สุดที่ประชุมมีหนังสือสอบถามไปถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติว่าไม่เกิน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ รัฐจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่ารัฐบาลต้องการสนับสนุนคนไทย หากมีต่างชาติเข้ามาถือหุ้นรัฐจะถอนหุ้นทั้งหมด

จนเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ พ.อ. พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ได้ตอบพระยาศรยุทธเสนี ประธานคณะผู้เริ่มดำเนินการจัดตั้งบริษัทว่า กระทรวงเศรษฐการขออนุมัติคณะรัฐมนตรีถอนการจองหุ้นแล้ว

ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติถอนหุ้นในอีก ๒ วันต่อมา ส่วนพระยามไหสวรรย์มีความพยายามอีกครั้งในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ชี้แจงต่อรัฐบาลว่าหากขอให้รัฐเพิ่มหุ้นในบริษัทจะได้หรือไม่เพราะบริษัทมีทางจำหน่ายหุ้นให้แก่ชาวต่างประเทศ และได้รับคำตอบว่ารัฐจะไม่ร่วมลงทุนกับโครงการนี้แล้ว

ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ คณะผู้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทเรียกประชุมกันมีมติว่าให้ยกเลิกโครงการนี้ และแจ้งกระทรวงเศรษฐการทราบ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

ซึ่งทางกระทรวงเศรษฐการได้แจ้งต่อพระยาพหลพลพยุหเสนา และบรรดาคณะรัฐมนตรี ส่วนเรื่องโรงงานน้ำตาลเป็นหน้าที่ของกระทรวงเศรษฐการจะดำเนินการต่อไป

ปัญหาการจำหน่ายหุ้นจะนำไปสู่ การระงับความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรกับเอกชน อีกทั้งทำให้รัฐเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ลงทุนทางธุรกิจโดยตรง โดยรัฐได้ดำเนินการตั้งโรงงานน้ำตาลที่จังหวัดลำปางและอุตรดิตถ์ในภายหลัง

สำหรับพระยามไหสวรรย์ แม้ว่าจะพลาดจากโครงการสำคัญครั้งนี้แต่ก็ไม่ได้ละความพยายามจนประสบความสำเร็จด้วยการมีโรงงานขนาดเล็กผลิตวันละ ๑๐ ตัน และใช้วัตถุดิบเป็นน้ำตาลโตนดจากจังหวัดเพชรบุรีและน้ำตาลมะพร้าว

ซึ่งสามารถสกัดเป็นน้ำตาลทรายขาวได้ และจำหน่ายได้ดีในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา เพราะน้ำตาลทรายขาวจากต่างประเทศไม่สามารถส่งมาจำหน่ายได้

ทำให้สร้างผลกำไรจนขยายกำลังการผลิตเป็นวันละ ๒๐ ตัน ก่อนจะเลิกกิจการในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายใหญ่ได้

บนเส้นทางของความหวานความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐบาลคณะราษฎรและเอกชนในกิจการโรงงานน้ำตาล กลับไม่ได้หวานชื่นเพราะประสบปัญหานานาประการ ทั้งจากการขาดแคลนเงินทุน การจำหน่ายหุ้น ความขัดแย้งบางส่วนจากบุคคลในรัฐบาล

ประกอบกับนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยม รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น อย่างไรก็ดีบนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน

เหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นภาพสะท้อน ของปัญหาการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลและเอกชน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
ศิลปวัฒนธรรม
คุณนนทพร อยู่มั่งมี

สิริสวัสดิ์ศุกรวารค่ะ




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 13 กรกฎาคม 2555 12:53:01 น.
Counter : 3090 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.