"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
25 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
ทัวร์ค้นหาพระนเรศวร มิติใหม่ยุคประชาคมอาเซียน

อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ


วังจันทรเกษม

 

 

 

 

 








สำหรับทัวร์ในครั้งนี้ จะเป็นการศึกษาเรื่องของพระนเรศวรมิติต่างๆ ทั้งเรื่องราวในอดีตที่สัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยา และความรู้สึกนึกคิดหรือความเข้าใจของคนในรุ่นหลัง แล้วได้สร้างเรื่องราวของพระองค์

เรื่องราวประวัติศาสตร์และตำนานของสมเด็จพระนเรศวร ถ่ายทอดผ่านสื่อชนิดต่างๆ ทั้งหนังสือ ละคร ภาพยนตร์ มาอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่อง 'ฮิต' ที่สุดในการนำเสนอ

ปรากฏทางโทรทัศน์อยู่ในขณะนี้เป็นเรื่อง 'ขุนศึก' ซึ่งรีเมกมาสู่จอแก้วอีกครั้ง ในขณะที่แฟนภาพยนตร์ยังคงรอภาคจบของตำนานพระนเรศวรมหาราช ที่คาดว่าจะปิดฉากในปีนี้

ด้วยเรื่องราวของกษัตริย์ในยุคสงครามกอบกู้เอกราช ภาพการนำเสนอทางสื่อบันเทิง จึงมักออกมาในรูปแบบปลุกกระแสความรักชาติ ไปจนถึงชาตินิยม

แต่สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน มีมิติและแง่มุมต่างๆ ที่กว้างและลึกขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ภูมิภาคนี้กำลังเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน เรื่องราวของพระนเรศวรจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ ศึกรบระหว่างไทย-พม่าในมุมชาตินิยมอีกต่อไป

รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ไทย-พม่า เป็นนักวิชาการท่านหนึ่งที่ศึกษาสงครามไทย-พม่า ในรูปแบบที่ก้าวข้ามพ้นกรอบเก่า ดังที่นำเสนอในประวัติศาสตร์นิพนธ์ชิ้นสำคัญ 'พม่ารบไทย'

ในทัวร์ศิลปวัฒนธรรม 'บุกอยุธยา ค้นหาพระนเรศวร' ในวันเสาร์ที่ 26 พ.ค.2555 จัดโดยมติชนอคาเดมี เชิญดร.สุเนตรเป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์เพื่อให้ข้อมูลและแง่คิดทางประวัติศาสตร์กับผู้ร่วมคณะเดินทาง ทั้งจากหลักฐานฝ่ายไทยและฝ่ายพม่า เพื่อรู้ถึงการประดิษฐกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรจนกลายเป็นตำนาน


1.ภายในวังจันทรเกษม

2.ป้อมเพชร

3.รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

4.วัดวรเชษฐาราม

 





 

 

 

 

 

 

 

 


 




ระหว่างการนำชมป้อมเพชร วัดสุวรรณดาราราม พระราชวังจันทรเกษม ทุ่งภูเขาทอง วัดวรเชษฐาราม (เทพบำรุง) ซึ่งเป็นสถานที่เกี่ยวข้องกับพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

รศ.ดร.สุเนตรกล่าวว่า 'ประชาชนพม่าไม่ค่อยนึกถึงพระนเรศวรในฐานะฝ่ายตรงข้าม ที่สำคัญคือ พระนเรศวรไม่ได้ถูกสร้างให้เป็นศัตรู และพม่าไม่มีระบบการจัดตั้งหรือการสร้างพระนเรศวรให้เป็นศัตรู

เหมือนที่พม่าทำกับอังกฤษ แล้วพระนเรศวรเองก็ไม่ได้เป็นต้นตอของการสร้างความล่มสลายให้กับพม่า แต่ระบุว่าเป็นความขัดแย้งภายในของพม่า หรือกรณีฝรั่งตะวันตกที่เข้ามา'

สำหรับทัวร์ในครั้งนี้จะเป็นการศึกษาเรื่องของพระนเรศวร มิติต่างๆ ทั้งเรื่องราวในอดีต ที่สัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาและความรู้สึกนึกคิดหรือ ความเข้าใจของคนในรุ่นหลังแล้วได้ สร้างเรื่องราวของพระองค์

เพราะฉะนั้นจึงจะเป็นทั้งเรื่องสมเด็จพระนเรศวร ที่มีในประวัติศาสตร์ และเรื่องจากกระบวนการ การสร้างความรับรู้ที่ตกทอดในยุคหลัง เราจะคุยทั้งสองมิติ'

สถานที่จะอธิบายเรื่องดังกล่าวได้ดีที่สุดคือ พระวิหารที่วัดสุวรรณดาราราม เพราะภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร

'คนรุ่นหลังสร้างและอธิบายพระนเรศวรอย่างไร บางทีเราอาจจะคิดว่ามีเรื่องราวในพงศาวดาร แต่ไม่มีภาพที่เป็นรูปธรรมว่าพระองค์มีหน้าตาและชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีการจินตนาการอย่างไร ซึ่งต้องไปดูที่วัดสุวรรณดาราราม

เพราะเป็นพื้นที่สำคัญ ในการสร้างพระราชประวัติพระนเรศวรขึ้นมาใหม่ โดยการสร้างผ่านจิตรกรรมฝาผนัง ในสมัยรัชกาลที่ 7 แล้วเป็นต้นแบบสำคัญสืบต่อในภายหลัง ทั้งตำราเรียน หรือการสดุดีพระนเรศวร'

 


1.วัดภูเขาทอง

2.วัดวรเชษฐาราม

3.วัดสุวรรณดาราราม

4.อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวร

5.จิตรกรรมวัดสุวรรณดาราม





 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 



แน่นอนว่าในการทัวร์ครั้งนี้ อาจารย์จะอธิบายถึงการสงครามระหว่างอยุธยากับ หงสาวดี ว่าเป็นกิจกรรมที่ใหญ่โตจะต้อง เตรียมการเป็นอย่างดี และยุทธศาสตร์ในการรับศึก โดยจะพาไปชมยุทธภูมิสำคัญ เช่น ป้อมเพชร ทุ่งภูเขาทอง โดยจะบรรยายพื้นที่ที่เกิดสงครามที่นอกเหนือไปจากอยุธยาด้วย

'สถานที่อันเกิดยุทธภูมิ การรบกัน ซึ่งพื้นที่ที่ทำสงครามไม่เพียงแต่ที่อยุธยา แต่อยุธยาสำคัญมาก ซึ่งสงครามที่สำคัญสุดไม่ใช่ 'สงครามยุทธหัตถี' ในปี 2135 แม้จะนำมาซึ่งเกียรติยศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แต่สงครามสำคัญสุดเป็น 'ศึกนันทบุเรง' ปี 2129 เพราะพระเจ้านันทบุเรงยกมาเป็นจอมทัพเอง และยกมาล้อมอยุธยา

ซึ่งปกติพระนเรศวรในการทำสงครามก่อนหน้านั้น ท่านจะยกออกไปรับเอง โดยไม่รอให้ข้าศึกมาถึงอยุธยา แต่ครั้งนี้ต้องใช้อยุธยาเป็นที่ตั้งรับศึก เพราะทัพของพระเจ้านันทบุเรงเตรียมกำลังพลมากกว่าและพร้อมกว่า จึงทำให้สงครามครั้งนี้สุ่มเสี่ยง ถ้ารับมือไม่ได้ต้องเสียกรุง'

สำหรับป้อมเพชร เป็นสิ่งที่สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชา (ร่วมสมัยกับพระนเรศวร) แม้ว่าบริเวณนี้จะไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ ไม่ได้ทำป้อมเพื่อรับศึก แต่ในสมัยนี้มีการขยายแนวกำแพงออกไปติดริมน้ำ จึงต้องมีการสร้างป้อมสำคัญๆ ซึ่งป้อมที่ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดคือ 'ป้อมเพชร'

เพราะสร้างในจุดสบของแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยา ไปลงอ่าวไทย และในสมัยพระมหาธรรมราชานี้เอง น่าจะมีกองทัพเขมรจากเมืองละแวกมาตีอยุธยา แล้วทางอยุธยาก็รับศึกครั้งนี้ในบริเวณนี้ด้วย

อีกจุดหนึ่งที่พลาดไม่ได้คือพระราชวังจันทรเกษม เป็นบ้านท่านก่อนย้ายไปประทับอยู่พระบรมมหาราชวัง รวมทั้งการเป็นตัวเป็นตนของวังหน้า การจัดระบบที่เป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งเริ่มในสมัยพระมหาธรรมราชา

โดยบทบาทของพระมหาธรรมราชานั้น รศ.ดร.สุเนตรกล่าวว่า 'เราพูดถึงอยุธยา เรามักพูดถึงพระนเรศวร แต่ไม่ค่อยพูดถึงพระมหาธรรมราชา จริงๆ แล้ว พระมหาธรรมราชาเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่มีบทบาทเด่น และเป็นผู้วางรากฐานให้กับพระนเรศวร'

และยังมีอีกหลายประเด็นที่อาจารย์จะนำเสนอในวันนั้นว่า เจดีย์ยุทธหัตถีอยู่ที่ไหนกันแน่ แล้วมีจริงหรือไม่, เรื่องพระสุพรรณกัลยา จากหน้าตำนานสู่หน้าประวัติศาสตร์ หรือวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างถวาย เมื่อครั้งถวายพระเพลิงสมเด็จพระนเรศวร

คือวัดวรเชษฐาราม ยังมีการถกเถียงว่าอยู่ที่ไหน เพราะในอยุธยาปรากฏวัดนี้ 2 แห่งคือ ในเกาะเมืองและนอกเกาะเมือง

ทั้งหมดนี้เป็นแค่เพียงความรู้เล็กๆ น้อยๆ จาก อ.สุเนตร แต่ถ้าอยากรู้ลึกต้องไปกับทัวร์ศิลปวัฒนธรรม 'บุกอยุธยา ค้นหาพระนเรศวร' ผู้สนใจสอบถามได้ที่ 'มติชน อคาเดมี' 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124 หรือ 08-2993-9097 และ 08-2993-9105

หน้า 21

ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณอพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ

ศุกรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ

 




Create Date : 25 พฤษภาคม 2555
Last Update : 25 พฤษภาคม 2555 15:11:42 น. 0 comments
Counter : 2873 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.