"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
11 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 

การปฏิวัติ 2475 กับ สถาบันกษัตริย์ เหนือกฎหมาย ใต้รัฐธรรมนูญ

โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com

(ที่มา : มติชนรายวัน 10 กรฎาคม 2555)



พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา ในฐานะผู้สำเร็จราชการฯ นำเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลลงจากเรือหลวงศรีอยุธยา คราวเสด็จนิวัตประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2481


พ.ศ.2478 เป็นครั้งแรกของการตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ พ.ศ.2494 เป็นการยุติบทบาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ช่วงเวลา 16 ปีนี้ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามรับมือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เดิมทีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาจากการแต่งตั้งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่แต่งตั้งครั้งแรก หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ทรงเป็นประธาน, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

คณะผู้สำเร็จราชการฯ ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ทำให้กำหนดบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

หากความร่วมมืออันดีดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มเจ้านายบางส่วน โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลตัดเงินปีของเจ้านาย, ปรับลดฐานะกระทรวงวังลงมาเป็นกรม, จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ใหม่, การจัดการพระราชทรัพย์ของรัชกาลที่ 7 ฯลฯ ความกดดันทำให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ปลงพระชนม์ตนเอง

รัฐบาลในขณะนั้นได้แต่งตั้งเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภาทรงเป็นประธานแทน ซึ่งยังคงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นดังเห็นได้จ ากการให้สำนักพระราชวังและกรมราชเลขานุการในพระองค์ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

แรงกดดันดังกล่าวทำให้เกิดรัฐประหาร พ.ศ.2481 ล้มรัฐบาลจอมพล ป. แต่ไม่สำเร็จคณะผู้ก่อการถูกจับในข้อหากบฏซึ่งมีเจ้านายชั้นสูงคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร

สมเด็จพระพันวัสสาฯ, สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ตำแหน่งขณะนั้น) ทรงหารือให้คณะผู้สำเร็จราชการฯ ช่วยเหลือกรมขุนชัยนาทนเรนทรที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และถอดฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ แต่คณะผู้สำเร็จราชการฯ ไม่ได้ทำตามพระราชประสงค์

แต่ยุคของความขัดแย้ง ระหว่างรัฐบาลกับผู้สำเร็จราชการฯ ก็เกิดขึ้น

เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการฯ ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2484 แทนเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ที่ถึงแก่อสัญกรรมตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2481 แต่ยังไม่ได้แต่งตั้งบุคคลเข้ามาแทน

เพราะเมื่อรัฐบาลจอมพล ป. ประกาศสงครามกับอเมริกา, บริเตนใหญ่ นายปรีดีเป็นผู้แทนราชการฯ เพียงคนเดียว ที่ไม่ลงนามในประกาศสงครามดังกล่าว และยังเคลื่อนไหวทางการเมืองในฐานะองค์กรใต้ดิน ชื่อ "เสรีไทย"

9 มิถุนายน พ.ศ.2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน

16 มิถุนายน พ.ศ.2489 รัฐสภาแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ยังทรงไม่บรรลุนิติภาวะ ประกอบด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน และพระยามานวราชเสวี

คดีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 กลายเป็นประเด็นการเมือง ที่ลงเอยด้วยการเกิดรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 หลังการรัฐประหารรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นการฟื้นฟูพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้ง

ในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นได้มีการกำหนดตำแหน่ง "อภิรัฐมนตรี" ขึ้นโดยประกอบด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร เป็นประธาน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต พลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฏ พระยามานวราชเสวี และ พล.ต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส

อภิรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการในพระองค์, ถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์, เป็นผู้แทนพระองค์, เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ฯลฯ

จากนั้นรัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณให้แก่สถาบันกษัตริย์, ถวายคืนทรัพย์สินบางส่วนที่รัฐบาลยึดไว้หลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475, ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491

ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นนิติบุคคล ที่เป็นอิสระจากรัฐบาล โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ จะมีอำนาจในการแต่งตั้งผู้อำนวยการและคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสามารถควบคุมการจัดหาผลประโยชน์ จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้อย่างเต็มที่

โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2492 ได้ถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้เลือกและแต่งตั้งวุฒิสภา, ให้สิทธิในการยับยั้งกฎหมายมากขึ้น, มีสิทธิในการขอประชามติจากประชาชนในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ

มีอำนาจแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้ออกได้ตามพระราชอัธยาศัย, มีอำนาจสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, ผู้สำเร็จราชการฯ ยังแทรกแซงการเมืองด้วยการเข้าประทับในการประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐบาลจอมพล ป. ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตย กับสถาบันกษัตริย์ที่มีผู้สำเร็จราชการฯ เป็น "คนกลาง" ตัวอย่างที่กล่าวเป็นบางส่วนของการค้นคว้าของผู้เขียน (ศรัญญู) เขียนไว้ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม

ที่ทำให้เห็นว่าช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตย ในช่วง 20 ปีแรกนั้น หรือวันที่ประชาธิปไตยของประเทศครบ 80 ปี กลไกสำคัญอย่างรัฐบาล และสถาบันกษัตริย์ที่พยายามปรับตัว และแสดงบทบาทเพื่อรักษาและสร้างความชอบธรรมของตนภายใต้รัฐธรรมนูญ

ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณวิภา จิรภาไพศาล

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ

ในวาระ 80 ปี การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ที่ทำให้เกิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่ถือประชาชนเป็นใหญ่ มีกิจกรรม, ข้อเขียนเพื่อระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ

เหตุการณ์ครั้งนั้นยังมีผลกระทบกับบุคคล, องค์กร, สถาบันต่างๆ ในสังคมไทยด้วย

บทความชิ้นหนึ่งในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนกรกฎาคม กล่าวถึงผลกระทบ ของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ในบทความของ ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ที่ชื่อว่า "คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ.2478-94 : ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ"




 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2555
0 comments
Last Update : 11 กรกฎาคม 2555 18:16:36 น.
Counter : 3211 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.