"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
12 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
อุรังคธาตุ…พระธาตุพนม…สถูปสถานหุ้นส่วนแห่งศรัทธา เครือญาติ การเมือง สองฝั่งโขง

ติ๊ก แสนบุญ เล่าเรื่อง ศิลปวัฒนธรรม สิงหาคม 2555

 

 


 

คติการสร้างพระมหาสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุในดินแดนไทย เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการมาแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อันเป็นระยะเวลาที่มีหลักฐานให้เห็นว่ามีการสร้างศาสนสถานที่เป็นถาวรวัตถุชัดเจน เกิดการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ที่เป็นหลักของบ้านเมืองและท้องถิ่นเรื่อยมา จนถึงการสร้างเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลที่เคารพกันขึ้นอย่างมากมาย (ศรีศักร วัลลิโภดม. ความหมายพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ, ๒๕๓๙, น. ๑๔๑.) ดินแดนแถบถิ่นลุ่มน้ำโขงโดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมลาว ทั้งไทยอีสานและ สปป.ลาว

หากกล่าวถึงพุทธศิลป์ประเภทศาสนาคาร คงไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดถูกพูดถึงถกเถียงในวงวิชาการหรือเป็นที่รู้จักและสนใจของประชาชนได้มากเท่ากับเรื่องราวอุรังคธาตุ หรือที่เรียกกันอย่างสามัญว่าพระธาตุพนม (จารึกโบราณของวัดพระธาตุพนมที่สร้างในปี ๒๑๕๗ เรียกว่าพระสารีริกธาตุ พระมหาธาตุเจ้า หรือมหาธาตุเจ้า) ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำของ (โขง) ปัจจุบันคือเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

พระธาตุพนมมักถูกหยิบยกพูดถึงในประเด็นมิติมุมมองที่หลากหลายศาสตร์สาขา โดยเฉพาะองค์ความรู้ทางศิลปศาสตร์ อันประกอบด้วยชุดความรู้ต่างๆ เช่นในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีโดยมีตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นหลักฐานอ้างอิงบอกเล่าที่มาว่าเป็นมหาธาตุเจดีย์ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในภาคอีสาน โดยสร้างขึ้นตามพุทธทำนายตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล นอกจากนี้ยังบอกเล่าถึงพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมในดินแดนแถบนี้ แต่ละยุคสมัย โดยสาระเรื่องราวจำแนกออกเป็น

๑. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบถิ่นนี้ และ

๒.เรื่องราวการเคลื่อนย้ายติดต่อสัมพันธ์กันและภูมิสัณฐานแห่งการสร้างบ้านแปลงเมือง การบรรจุพระอุรังคธาตุและการสร้างตลอดจนบูรณะพระธาตุพนม เป็นเรื่องของการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นหรือบ้านเมืองต่างๆ

ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ มีการก่อรูปและกลายร่างซ้อนทับรสนิยมในเชิงช่างในแต่ละยุคสมัยกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบเงื่อนไขตัวแปรแห่งบริบทพัฒนาการทางสังคมการเมืองเรื่องคติความเชื่อและวิถีวัฒนธรรมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในประเด็นความเก่าแก่หรือการกำหนดอายุสมัยการสร้างโดยเฉพาะในช่วงแรก อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔

โดยมีลักษณะรูปแบบอย่างเทวาลัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนตามลัทธิความเชื่อในศาสนาฮินดู และช่วงที่ ๒ ประมาณราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามลัทธิความเชื่ออย่างพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

โดยต่อมาในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๓๓-๓๕ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบและคติความเชื่อเป็นพุทธแบบเถรวาท โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้มีการเรียบเรียงตำนานอุรังคธาตุในฐานะตำนานประวัติศาสตร์ เพื่อใช้อธิบายที่ไปที่มาขององค์พระธาตุกับสายสัมพันธ์อันแสดงความเป็นเครือญาติเดียวกัน โดยมีองค์พระธาตุพนมเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาความเชื่อ ที่เชื่อมโยงผู้คนที่แตกต่างทางลัทธิความเชื่อเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน

แม้จะผ่านการซ่อมสร้างมาอย่างต่อเนื่องแต่ส่วนที่ถูกปรุงแต่งใหม่น้อยที่สุด คือส่วนฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยความเก่าแก่ในยุคแห่งการสถาปนาตามคติฮินดู ด้วยรูปกายสังขารแบบเทวาลัย อย่างในวัฒนธรรมจาม รวมถึงวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร

ส่วนการกลายร่างเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือตัวเรือนยอด ตั้งแต่วัฒนธรรมลาวเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะการซ่อมสร้างในปี พ.ศ. ๒๒๓๓-๓๕ สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระเถระชาวลาวเวียงจันทน์

โดยมีเอกลักษณ์สำคัญที่รูปแบบในส่วนที่ภาคกลางเรียกว่าองค์ระฆัง หรือรูปลุ้งคว่ำ บ้างก็เรียกทรงโกศ (ฝั่ง สปป.ลาวนิยมเรียกว่ายอดดวงปลี) ซึ่งนักวิชาการไทยในยุคหลังนิยมเรียกว่าทรงบัวเหลี่ยม ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่พบมากที่สุดในรูปแบบของธาตุสายสกุลช่างล้านช้างรวมถึงอีสาน เช่นที่ พระธาตุพนม พระธาตุก่องข้าวน้อย และพระธาตุเชิงชุม

ซึ่ง อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และ อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ได้ตั้งข้อสังเกตร่วมกันถึงที่มาว่า เป็นพัฒนาการต่อยอดมาจากรูปสถูปที่ปรากฏอยู่บนกลางใบเสมาหินในดินแดนอีสานสมัยทวารวดี ตามเมืองโบราณในแถบลุ่มน้ำชี

มิติทางการเมืองและความหมายเชิงสัญญะ พระธาตุพนมก็เหมือนกับศิลปะงานช่างวัตถุสถานอื่นๆ ที่ล้วนมีนัยยะทางการเมืองอยู่ร่วมเสมอ เฉกเช่นในยุค พ.ศ. ๒๒๓๓-๓๕ สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมาซ่อมสร้าง ก็ใช้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่จะหลอมรวมผู้คนเป็นฐานอำนาจทางการเมือง ในยุคที่อีสานยังอยู่ในวัฒนธรรมลาวเป็นกระแสหลัก

จนมาถึงยุคการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา โดยรัฐไทยสอนให้เชื่อและศรัทธาความเป็นไทยแบบเชื้อชาติเดียว ภายใต้ข้ออ้างหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเสมอคือเรื่องลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในบริบทของอินโดจีน 
         

เพราะฉะนั้นการบูรณะซ่อมสร้างองค์พระธาตุพนมในยุคนี้จึงไม่เคารพต่อรูปแบบงานช่างท้องถิ่นอีสาน โดยในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ยุคปฏิรูปศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยฉบับแห่งชาติ) ภายใต้การอำนวยการของหลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้นำเข้ากลุ่มช่างและรูปแบบศิลปะโดยเฉพาะการตกแต่งด้วยลวดลายแบบเครื่องคอนกรีตสกุลช่างภาคกลาง

โดยการต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีกเพื่อสถาปนาความยิ่งใหญ่ให้มองเห็นได้แม้ในฝั่ง สปป.ลาว  ทำให้ส่งผลต่อความมั่นคงทางโครงสร้างจนเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการพังทลายในอีก ๓๕ ปีต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และเป็นที่น่าเสียดายที่รัฐไทยยุคต่อมายังคงแนวคิดเดิมในการบูรณะองค์พระธาตุด้วยรูปแบบดังกล่าว

พระธาตุพนมในวิถีสังคมใหม่ ถูกนำไปเป็นภาพตัวแทนของพระธาตุแห่งอีสาน (อย่างจอมเจดีย์ทั้ง ๘แห่งในเมืองไทยซึ่งเป็นสัญญะแทนความหมายของเส้นเขตแดนของอำนาจทางการเมืองของรัฐไทย) และท้ายสุดถูกลดฐานานุศักดิ์จากรูปแบบพระธาตุของพระพุทธเจ้า มาสู่ลักษณะธาตุโหลที่ใช้บรรจุอัฐิชาวบ้านทั่วไป 

ดังนั้นแม้ในวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ยังคงมีข้อถกเถียงที่ไม่มีบทสรุปว่าสถูปสถานแห่งนี้มีอายุเท่าใด ใครเป็นผู้สร้าง แต่ด้วยอำนาจของเรื่องเล่าขานผ่านตำนานต่างๆ โดยเฉพาะตำนานอุรังคธาตุ ทำให้เรามองเห็นภาพประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ซึ่งมีผู้คนพื้นถิ่นต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมปะทะสังสรรค์ด้วยรสนิยมทางศิลปะเชิงช่าง ทั้งของพื้นถิ่นหรือวัฒนธรรมภายนอกจากเวียดนาม กัมพูชา และลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ซึ่งบูรณาการซ้อนทับกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมผ่านการเป็นหุ้นส่วนทางศรัทธาความเชื่อเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงแห่งบริบททางสังคมการเมืองเรื่องวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยว่าใครมีอำนาจรัฐเหนือกว่าใคร 

ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นความเป็นเครือญาติที่มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในลักษณะถ่ายมาเทไปของผู้คนในแถบถิ่นนี้ที่มีมาช้านานและต่อเนื่อง 

 

ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณติ๊ก แสนบุญ

สิริสวัสดิ์อาทิตยวารค่ะ




Create Date : 12 สิงหาคม 2555
Last Update : 12 สิงหาคม 2555 7:07:22 น. 0 comments
Counter : 3394 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.