"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
10 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
บทบาททางการเมืองของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หลังสิ้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์


บางส่วนจาก ศิลปวัฒนธรรม กรกฎาคม ๒๕๕๕ เรื่อง คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๘-๙๔ : ที่มา แบบแผน และการปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ศรัญญู เทพสงเคราะห์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

..............................................


การปฏิวัติสยามของคณะราษฎร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของสยาม จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย มาสู่ระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดพระราชอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญ

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ถือเป็นความกล้าหาญและคุณูปการอันใหญ่หลวงของคณะราษฎร ที่ได้วางรากฐานการปกครองของประเทศชาติด้วยหลักวิชาที่แน่นอน โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุดในการปกครอง

ซึ่งตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ระบุอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร รวมถึงได้กำหนดสถาบันการเมืองที่ใช้อำนาจแทนราษฎรได้แก่ กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และศาล

อย่างไรก็ตามจากการจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ กลับก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ให้แก่คณะราษฎรว่า จะจัดวางบทบาทและหน้าที่ขององค์พระมหากษัตริย์ และสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยึดโยงกับราษฎร ที่เป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในระบอบใหม่อย่างไร

เนื่องจากสิ่งนี้ไม่เคยมีมาก่อนในสยาม ขณะเดียวกันบทบาทและหน้าที่ขององค์พระมหากษัตริย์ และสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดเป็นลายลักษณ์ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีบทบาทบางอย่างที่เป็นขนบประเพณี

อาทิธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับอำนาจการเมืองอื่นๆ ซึ่งหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎรต้องรับภาระหลักในการแสวงหาบทบาทอันเหมาะสม ของสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

แม้ว่าในระยะแรกคณะราษฎร จะพยายามกำหนดบทบาทของสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕) ที่เพิ่มพระราชอำนาจบางส่วนให้แก่พระมหากษัตริย์

แต่จากความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ ๗ กับคณะราษฎรที่จบลงด้วยการสละราชสมบัติของรัชกาลที่ ๗ ย่อมสะท้อนถึงความล้มเหลวของรัชกาลที่ ๗ ในการปรับตัวเข้าสู่ระบอบใหม่ ตลอดจนความไม่ราบรื่นในการแสวงหาบทบาท ของสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ

ดังนั้นคณะราษฎร จึงต้องเริ่มต้นแสวงหาบทบาทดังกล่าวใหม่อีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

แต่เนื่องจากขณะนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ยังทรงพระเยาว์ ทางคณะราษฎร จึงตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติพระราชกิจ ในพระบรมนามาภิไธยพระมหากษัตริย์

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คณะผู้สำเร็จราชการฯ เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของสถาบันพระมหากษัตริย์

และส่งผลให้คณะผู้สำเร็จราชการฯ ได้มีส่วนร่วมกับชนชั้นนำระบอบใหม่ แสวงหาบทบาทที่เหมาะสมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เกือบตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันรวมระยะเวลาเกือบ ๑๖ ปี

ทั้งนี้ในการศึกษาบทบาทของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงหลังการปฏิวัติสยาม อาจกล่าวได้ว่า มีงานวิชาการที่ศึกษาประเด็นนี้น้อยมาก

โดยงานที่ศึกษาพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในรัฐธรรมนูญของ ธงทอง จันทรางศุ เสนอว่า พระราชอำนาจในช่วงที่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีลักษณะไม่แน่นอนตายตัว รวมถึงไม่มีบรรทัดฐานที่มั่นคง

เนื่องจากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงบริหาร พระราชภาระด้วยพระองค์เอง และมีการเปลี่ยนแปลงการเมืองบ่อยครั้ง

ขณะที่งานของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ได้พิจารณาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในฐานะสถาบันการเมืองของระบอบใหม่ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๘ ว่ามีส่วนเกื้อหนุนให้ระบอบใหม่มีความมั่นคงมากขึ้น

ส่วนงาน ๒ ชิ้นของ กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร ได้ศึกษาคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในฐานะตัวแทนอย่างเป็นทางการของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยรัชกาลที่ ๘ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของคณะราษฎร

โดยใช้เอกสารการทูตร่วมสมัย บรรยายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับรัฐบาลคณะราษฎร

แต่งานที่โดดเด่นที่สุดคือ งานของ ณัฐพล ใจจริง ที่ศึกษาผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์/คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในฐานะสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ ว่ามีปฏิสัมพันธ์กับสถาบันการเมืองต่างๆ ในระบอบใหม่อย่างไร และปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบอบการเมืองอย่างไร

แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาของนักวิชาการข้างต้น กลับมีข้อจำกัดคือ การไม่สามารถเข้าถึงเอกสารชั้นต้นของไทย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจะพยายามรวบรวมเอกสารชั้นต้นที่กระจัดกระจายทั้งจากแหล่งต่างๆ อาทิ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (หจช.) ห้องสมุดสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) และห้องสมุดสภา มาช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ของนักวิชาการข้างต้น ให้มีความกระจ่างชัดมากขึ้น

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาที่มา บทบาท และการปรับตัวของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระบอบใหม่ อันจะทำให้เข้าใจประสบการณ์ทางการเมืองของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่เกิดขึ้นพร้อมกับระบอบใหม่ เพื่อทำความเข้าใจสถานะ และพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ


ในส่วนขอบเขตของช่วงเวลาในการศึกษาครั้งนี้คือ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๙๔ อันเป็นช่วงเวลาที่มีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการฯ หรือผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ

โดยปี พ.ศ. ๒๔๗๘ คือปีที่สภาผู้แทนราษฎร มีมติตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ส่วนปี พ.ศ. ๒๔๙๔ คือปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จนิวัตและประทับในประเทศไทยถาวร อันยุติบทบาทของผู้สำเร็จราชการฯ โดยสมมติฐานของการศึกษาครั้งนี้คือ

๑. บทบาทและสถานะของคณะผู้สำเร็จราชการฯ หรือผู้สำเร็จราชการฯ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามเงื่อนไขทางการเมืองในแต่ละยุคสมัย และประสบการณ์ทางการเมืองของผู้สำเร็จราชการฯ และ

๒. คณะผู้สำเร็จราชการฯ หรือผู้สำเร็จราชการมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดแบบแผนบางอย่าง เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญขึ้น

บทความชิ้นนี้ได้พยายามเผยให้เห็นที่มา บทบาท และการปรับตัวของคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กับการเมืองไทย โดยในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘-๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการฯ เป็นสถาบันการเมืองที่อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตย ที่ผูกพันกับรัฐธรรมนูญและประชาชน รวมถึงมีสถานะเหนือการเมืองอย่างชัดเจน

อันเป็นแบบแผนของสถาบันพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ที่คณะผู้สำเร็จราชการฯ และคณะราษฎรร่วมกันกำหนดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามแบบแผนดังกล่าวกลับอันตรธานไป เมื่อเครือข่ายสถาบันกษัตริย์หลังการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้ฟื้นฟูพระราชอำนาจอย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งได้ปรับปรุงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฯ ให้อยู่ใต้การควบคุมของกลุ่มกษัตริย์นิยม

โดยเชื่อมโยงตำแหน่งนี้กับอภิรัฐมนตรี หรือองคมนตรี ดังนั้นผู้สำเร็จราชการฯ ในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๐-๙๔ จึงกลายเป็นตัวแทนที่โดดเด่นที่สุดของเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ รวมถึงแสดงบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจน

ซึ่งขัดแย้งกับหลักการจำกัดอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ของคณะราษฎรหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ตลอดจนนำไปสู่ความขัดแย้งกับกลุ่มจอมพล ป. และสิ้นสุดด้วยการทำรัฐประหารของกลุ่มจอมพล ป. ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เพื่อจำกัดอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์อีกครั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕

อย่างไรก็ตามการจำกัดอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๔ กลับเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง ๓ เดือน เนื่องจากกลุ่มกษัตริย์นิยมต่อรองกับกลุ่มจอมพล ป. จนสามารถนำหลักการบางอย่างในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ มาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้สำเร็จ

ส่งผลให้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีแนวคิดของกลุ่มนั้นแอบแฝง โดยยังคงมีตำแหน่งองคมนตรี รวมถึงการตั้งผู้สำเร็จราชการฯ ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มกษัตริย์นิยม

อันสะท้อนถึงพัฒนาการของการปรับตัว ของสถาบันพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ จนถึงปัจจุบัน ที่สถานะและพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ จะไม่หวนกลับไปหาแบบแผนที่ร่วมกันกำหนดโดยคณะราษฎรและคณะผู้สำเร็จราชการฯ ในช่วงก่อนการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐

หลักฐานยืนยันที่ชัดเจนคือ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๗ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๓๔ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๐ และฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐

ล้วนกำหนดให้คณะองคมนตรี มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฯ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงตั้ง ตลอดจนให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการฯ ชั่วคราวในระหว่างที่ยังไม่สามารถตั้งผู้สำเร็จราชการฯ


ขอบคุณ มติชนออนไลน์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ



Create Date : 10 กรกฎาคม 2555
Last Update : 10 กรกฎาคม 2555 11:04:17 น. 0 comments
Counter : 3062 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.