"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
23 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
กรุงศรีปฏิวัติ : ๑๐๐ ปีแห่งความเงียบ ไร้ "ปฏิวัติ" ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ (1)






กรุงศรีปฏิวัติ : ๑๐๐ ปีแห่งความเงียบ
ไร้ "ปฏิวัติ" ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ (1)



โดย ปรามินทร์ เครือทอง


สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ได้ราชบัลลังก์มาด้วยวิธี “พิเศษ” ที่สุดในประวัติศาสตร์ คือเจ้าพี่ทั้ง ๒ พระองค์รบชิงราชสมบัติกันเอง และบังเอิญว่าสิ้นพระชนม์พร้อมกันในสนามรบทั้ง ๒ พระองค์

ภาพที่นักรบบนหลังช้างฟันพระแสงของ้าวเข้าใส่ ในจังหวะเดียวกันและสามารถฟัน “พระศอ” ขาดพร้อมกัน ก็น่าจะเป็นภาพ “อัศจรรย์” ที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย เป็นเหตุให้ “ส้มหล่น” มาถึงเจ้าสามพระยาโดยไม่ทรงต้องออกแรงรบกับใคร

แต่การที่เจ้าสามพระยาได้ราชบัลลังก์แบบ “ส้มหล่น” เช่นนี้ กลับไม่ได้ทำให้ราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา “บังเกิด” พระมหากษัตริย์ที่ไร้ความสามารถแต่อย่างใด

ตรงกันข้าม เจ้าสามพระยา หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างปึกแผ่นให้กับแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา และทรงวางรากฐานราชวงศ์สุพรรณภูมิให้ยั่งยืนไปอีก ๑๐๐ กว่าปี

แม้บ้านเมืองในรัชกาลเจ้าสามพระยา จะสงบเงียบเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังต้องเผชิญหน้ากับความพยายามทำรัฐประหาร ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งเช่นกัน โดยความร่วมมือกันระหว่างข้าราชการใกล้ชิดกับเจ้าประเทศราช


เจ้าสามพระยารับมือ “กบฏวังหลวง”

เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อเจ้าสามพระยาบุกยึดกรุงกัมพูชาในปี ๑๙๗๔

“ศักราช ๗๙๓ กุญศก สมเด็จพระบรมราชาเจ้า เสด็จไปเอาเมือง (นครหลวง) ได้ แลท่านจึงให้พระราชกุมารท่าน พระนครอินทร์เจ้าเสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวงนั้น ครั้งนั้นท่านจึงให้พระญาแก้ว พระญาไทย แลรูปภาพทั้งปวง มายังพระนครศรีอยุทธยา”

แต่การชนะศึกกรุงกัมพูชาครั้งนี้ ทำให้เจ้าสามพระยาทรงมี “การบ้าน” ที่ต้องจัดการ เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ กว่าปี โดยมีเจ้านายเขมรร่วมมือกับข้าราชการสำคัญ รวมทั้งข้าราชการวังหลวง ก่อ “กบฏวังหลวง” ขึ้น

ถึงขั้นวางแผนการเพื่อเปลี่ยนตัวพระมหากษัตริย์เลยทีเดียว เพียงแต่เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดาร “เล่มหลัก” แต่มีบันทึกอยู่ในพระราชพงศาวดารฉบับปลีกหรือ “ฉบับไมเคิล วิคเคอรี่”

“ศักราช ๘๔๕ ปีกุนเบญศก เจ้าพรญาแก้วพรญาไท้ เฝ้ามหาพรรคอั้นผู้เจ้าเข้ามาแตพรณครหลองนั้น กเจรรจาดอยชียปรชาโหรจทำขบดแกสมเด็จ็พระบรมราชาธิราชเจ้า แลสรรญาแกกันวาดุจปราษหณา จใหชีปรชาโหรจกินกรุงอยุทยา”

เบื้องหลังเรื่องนี้มีว่า “พระญาแก้ว พระญาไทย” ที่เจ้าสามพระยาทรงจับมาเป็นเชลยในคราวตีกรุงกัมพูชาเมื่อ ๑๒ ปีก่อน (จ.ศ. ๗๙๓) คบคิดกับ “ชียปรชาโหร” (ซึ่งน่าจะเป็นพราหมณ์จากกรุงกัมพูชาเช่นกัน) จะทำ “รัฐประหาร” เจ้าสามพระยา

โดยหากทำสำเร็จแล้วก็จะให้ชียปรชาโหร ครองกรุงศรีอยุธยาสืบไป ส่วน “พระญาแก้ว พระญาไทย” นั้น ให้กลับไปกรุงกัมพูชา พร้อมกับเครื่องราชูปโภคและรูปหล่อสำริด กลับคืนไปยังกรุงกัมพูชา


ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ ปรากฏว่ามีขุนนาง “วังหลวง” ร่วมมือด้วย คือ ยอดเพชรรัต เพชรณร้าย เพชรสงคราม พิไชยเพชร ส่วนข้าราชการชั้นผู้น้อยก็มี เช่น ญีจักร ญีคฤาตาลศรี ญีขรรขันหมาก นายคำพรทาน นายง้วศรี นายศรีหวิไชย นายศรีเทพศุก นายเจดหัว หัวพัน หัวปาก นายวังพรญาบาล

ตำแหน่งขุนนางกรุงศรีอยุธยานี้เมื่อเทียบแล้วจะพบชื่อในทำเนียบตำแหน่งนา คือ ขุนเพชณราย สังกัดกรมพระตำรวจใหญ่ขวา (ตำแหน่งนาทหารหัวเมือง) ขุนเพชสงคราม สังกัดกรมม้าต้น พิไชยเพชรหรือเพชพิไชย สังกัดกรมล้อมพระราชวัง เป็นต้น

ขุนนางเหล่านี้ไปรับสินบนเป็น ผ้า เงินทอง ที่กุฎิของชียปรชาโหร โดยมีหน้าที่คอยสอดแนมหาโอกาสอันเหมาะสมที่จะลอบสังหารเจ้าสามพระยา เป้าหมายลอบสังหารกำหนดไว้ชัดเจนว่า “จเอาผู้เป็นเจ้า” ขณะเสด็จไป “บางตนิม” หรือในโอกาส “เสด็จ็ทรงบาท” หรือ “เสด็จ็ไปไสจังหรร” หรือ “เสด็จ็ไปปรภาด อยุทธญา นสหนามจรร” ที่ใดที่หนึ่งหากสบโอกาส

แต่แล้ว “นายเจดหัว” เกิดเปลี่ยนใจนำเอาทองสินบนไปมอบให้กับ “ขุนราชอาษา” ทำให้แผนการรัฐประหารครั้งนี้ล่วงรู้ไปถึงเจ้าสามพระยา จึงมีรับสั่งให้จับกุมพวกกบฏมาขังเสียให้หมด

สุดท้าย “ผู้ก่อการ” ครั้งนี้อันได้แก่ ชีปรชาโหร พระญาแก้ว พระญาไทย และพวกถูกประหารเสียบประจาน รวมแล้ว ๓๐ กว่าคน

และนี่ก็เป็นความพยายามรัฐประหาร “นอกพงศาวดาร” เพียงหนึ่งเดียว ในรัชสมัยเจ้าสามพระยา


“การบ้าน” อีกชิ้นหนึ่ง ที่ราชวงศ์สุพรรณภูมิถือเป็นพระราชภารกิจที่กระทำกันมาอย่างต่อเนื่อง คือการศึกกับเชียงใหม่ แต่คราวนี้เป็นทางเมืองเหนือเองที่ขอความช่วยเหลือ “อย่างลับๆ” มายังกรุงศรีอยุธยา

สืบเนื่องจาก “ท้าวลก” พระเจ้าติโลกราช ราชบุตรองค์ที่ ๖ ของพญาสามฝั่งแกน ทำรัฐประหารชิงราชสมบัติพระราชบิดา ฝ่าย “ท้าวช้อย” ราชบุตรองค์ที่ ๑๐ เจ้าเมืองฝาง ไม่พอใจการกระทำของท้าวลก และแค้นท้าวลกผู้พี่ยิ่งนัก

จึงตระเตรียมกำลังแข็งเมือง ท้าวลกหรือพระเจ้าติโลกราช จึงให้ “หมื่นหาญแต่ท้อง” เจ้านครเขลางค์ ยกพลไปตีเมืองฝาง แต่ต้องพ่ายแพ้กลับมา พระเจ้าติโลกราชจึงให้ “หมื่นโลกนคร” บิดาของหมื่นหาญแต่ท้อง กลับไปตีเมืองฝางให้จงได้

แล้วในที่สุดหมื่นโลกนครก็ตีเอาเมืองฝางได้ จับพญาสามฝั่งแกนซึ่งหนีราชภัยไปอาศัยกับท้าวช้อยได้ ส่วนท้าวช้อยนั้นสิ้นพระชนม์ในที่รบ


ในเวลาเดียวกันนี้ “หมื่นเทิงสามขนาน” เจ้าเมืองเทิง ก็ลอบมีหนังสือลับไปขอกำลังจากกรุงศรีอยุธยามาช่วยเหลือ ครั้นเมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยายกขึ้นมา หมื่นโลกนครก็อาสานำทัพตั้งมั่นรับศึกอยู่ที่เมืองลำพูน พร้อมกับกองทัพหัวเมืองอีก ๕ กองทัพ รวมจำนวนไพร่พล ๑๐ หมื่น

การศึกครั้งนี้ถึงขั้นตะลุมบอน กองทัพกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ เวลาเดียวกันนั้นเจ้าสามพระยาเกิดมีอาการพระประชวรอยู่ด้วย จึงต้องถอยทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

๖ ปีต่อมา จุลศักราช ๘๑๐ (พ.ศ. ๑๙๙๑) “สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้านฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามสมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้า”


รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรฯ ปลอดศึกใน รับศึกนอก

ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดูจะราบรื่นไม่มี “ศึกใน” ที่เข้าข่ายเป็น “รัฐประหาร” ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงรับราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดาถูกต้องตามครรลอง คือทรงเป็น “สมเด็จพระราเมศวร” แห่งเมืองพิษณุโลก

ซึ่งถือเป็นเมืองสำหรับ “อุปราช” ในราชวงศ์สุพรรณภูมิ แม้จะมีพระชนมายุเพียง ๑๗ พรรษา เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ตาม แต่ทรงถูกวางตัวเป็น “รัชทายาท” ตั้งแต่พระชันษา ๗ ปี และเสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกเมื่อพระชันษา ๑๕ ปี ทรงครอง “เมืองเหนือ” อยู่เพียง ๒ ปี พระราชบิดาคือเจ้าสามพระยาก็เสด็จสวรรคต

เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทำให้ “การเมือง” ในกรุงศรีอยุธยาสงบลงชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็อาจเป็นเพราะในรัชสมัยนี้ มีการปรับปรุงรูปแบบการปกครอง “ตำแหน่งนา” ทำให้ขุนนางอำมาตย์มีอำนาจในการปกครอง “ส่วนกลาง” มากยิ่งขึ้น

และที่สำคัญคือได้รับผลประโยชน์จากระบบศักดินาที่ชัดเจน ถือเป็นการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างเจ้า และอำมาตย์ที่ลงตัวยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

กลุ่มขุนนางอำมาตย์จึงอยู่ในระยะปรับตัวให้เข้ากับ “อำนาจใหม่” ทั้งทางด้านการทหารและการปกครอง ในขณะที่เชื้อพระวงศ์ก็ถูกลดบทบาทในการปกครอง “ส่วนกลาง” ลง

และถูกส่งไปปกครองหัวเมืองที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจมากยิ่งขึ้น ระยะของการปรับตัวนี้เองที่ทำให้การเมืองภายในกรุงศรีอยุธยา “เงียบ” ลง และปลอดรัฐประหารไปอีกหลายรัชกาล

แม้รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะปลอดจาก “ศึกใน” แต่กลับต้องเผชิญกับ “ศึกนอก” ครั้งสำคัญ เมื่อหัวเมืองเหนือหันไปจับมือกับล้านนา เพื่อต่อต้านการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กรุงศรีอยุธยาเพียงแห่งเดียว

ศึกครั้งนี้อาจไม่ใช่ความพยายามจะรัฐประหารกรุงศรีอยุธยา แต่ก็เป็นการ “ยึดอำนาจ” หัวเมืองเหนือจากกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

เหตุการณ์นี้ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า “ศักราช ๘๑๓ มะแมศก ครั้งนั้นมหาราชมาเอาเมืองชากังราวได้แล้วจึงมาเอาเมืองสุโขไทย เข้าปล้นเมืองมิได้ ก็เลิกทัพกลับคืน”

มูลเหตุของเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคราวที่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังทรงครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ในฐานะ “อุปราช” แห่งกรุงศรีอยุธยา เวลานั้นทรงทำสัจจะสัญญากับ “ยุธิษฐิระ” พระสหายซึ่งเกี่ยวข้องเป็นพระญาติฝ่ายเมืองเหนือด้วย

ว่าหากพระองค์ได้ครองกรุงศรีอยุธยาเมื่อไหร่ จะยกพระยุธิษฐิระให้เป็น “อุปราช” ปกครองหัวเมืองเหนือเช่นเดียวกับพระองค์ขณะนั้น

แต่เมื่อถึงคราวที่ได้ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว สัญญาของ “เด็กชาย” วัย ๑๕ ปี ก็เปลี่ยนไป ทรงตั้งยุธิษฐิระเป็นแต่เพียง “เจ้าเมือง” พิษณุโลกเท่านั้น ซึ่งเป็นการลดอำนาจของ “เจ้าเมืองเหนือ” ลงไปเป็นเพียงขุนนางหัวเมืองเท่านั้น

ทำให้ยุธิษฐิระไม่พอใจเป็นอย่างมาก ถึงขั้นหันไปสนับสนุนล้านนาให้มายึดหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยา

รายละเอียดเรื่องนี้ปรากฏอยู่ใน “ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่” ตอนหนึ่งดังนี้

“ถึงปีล้วงเม็ดได้ปีหนึ่ง พระยายุทิสเถียงกินเมืองสองแควมาน้อมตัวเป็นข้าเจ้าเหนือหัวอุปัตติเหตุ มันมีฉันนี้

พระยาบรมไตรโลกกับพระยายุทิสเถียงสองแคว เมื่อยังนับข้าเจ้าเป็นสหายกัน ยุทิสเถียงจากับพระยาบรมไตรโลกว่ากันกูได้เป็นท้าวพระยาแล้ว จักหื้อข้าเป็นใหญ่ปูนใดจา บรมไตรโลกว่า ผิกูได้

เป็นพระยาแท้ จักหื้อสหายเป็นอุปราชกินเมืองครึ่งหนึ่งจาว่าอั้น

เมื่อบรมไตรโลกได้เสวยราชสมบัติแท้ เท่าหื้อยุทิสเถียงกินเมืองสองแควเปล่าดาย บ่หื้อเป็นอุปราชดั่งคำอันได้จากัน

ยุทิสเถียงเคียดแก่พระยาบรมไตรโลก จึงให้คนมาไหว้เจ้าเหนือหัวคือ เจ้าพระยาติโลกราชว่า ข้าจักยินดีด้วยเจ้าเหนือหัวแล ว่าอั้น เจ้าเหนือหัวว่าดีนักแลหื้อมาเทอะ ยุทิสเถียงหื้อถามว่าเมื่อข้ามาจักหื้อเป็นฤๅจา เจ้าเหนือหัวว่ากูจักเรียกว่าลูกว่าอั้น แลคนใช้ว่าขอเจ้าเหนือหัวคำเอาเทอะ ว่าอั้นแล้ว”

รายละเอียดของการศึกครั้งนี้ นอกจากจะปรากฏในเอกสารล้านนาแล้ว ยังมีบันทึกของ “ฝ่ายใต้” คือกรุงศรีอยุธยา ใน ลิลิตยวนพ่าย เช่นกัน


แถลงปางปราโมชชายเชื้อ .....เชอญสงฆ์
สํสโมสรสบ ......................เทศไหว้
แถลงปางเมื่อลาวลง ...........ชยนาท น้นนฤๅ
พระยุทธิษฐิรได้ ..................ย่างยาว ฯ


ผลของสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับเชียงใหม่ในรัชสมัยนี้ จบลงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงรักษาหัวเมืองเหนือไว้ได้ และสามารถเป็นไมตรีกันได้เมื่อช่วงปลายรัชกาล

จากเหตุสงครามใหญ่น้อยกับล้านนาและหัวเมืองเหนือ ทำให้นโยบายการรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ไม่เป็นไปตามพระราชประสงค์

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงกับต้อง “ทิ้ง” กรุงศรีอยุธยา หลังจากที่ทรงปกครองมาได้ ๑๕ ปี แล้วขึ้นไปครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองพิษณุโลก เพื่อปกป้องหัวเมืองเหนือจากล้านนา นานถึง ๒๕ ปี จนเสด็จสวรรคตที่เมืองพิษณุโลกในปี ๒๐๓๑


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
คุณปรามินทร์ เครือทอง


จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ


Education Blog



Create Date : 23 มกราคม 2555
Last Update : 23 มกราคม 2555 12:20:15 น. 0 comments
Counter : 1859 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.