"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
10 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
นิธิ เอียวศรีวงศ์ : "มหาราช" กับอุดมคติชาติ (1)


มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 8-14 มิถุนายน 2555






อาจารย์เบน แอนเดอร์สัน ตั้งข้อสังเกตในปาฐกถาของท่านที่มะนิลาเรื่อง "ปัญญาชนสาธารณะ" ว่า นิทรรศการถาวรซึ่งจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงเทพฯ แสดงประวัติศาสตร์ไทยนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นอันคลุมเครือเมื่อ 800 ปีก่อนจนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่น่าแปลกใจโดยแท้ในการจัดแสดงภาพกว้างๆ นี้ก็คือ บอกชื่อบุคคลไว้เพียง 4 ชื่อ ทั้งหมดล้วนเป็น "มหาราช" ทั้งสิ้น ไม่มีนักเขียน, นายพล, หมอ, กวี, นักวิทยาศาสตร์, พระ, ตุลาการ, นักปรัชญา, นักสังคมสงเคราะห์ หรือจิตรกรสักคนเดียว ไม่ต้องพูดว่าไม่มีผู้หญิงด้วย

ท่านบอกด้วยว่า นิทรรศการแบบนี้เป็นสิ่งที่คิดไปไม่ถึงเลยในประเทศอาณานิคมเก่า เช่น อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ หรือแม้แต่มาเลเซีย

อันที่จริง อาจารย์เบนก็คงทราบแล้วว่า ประวัติศาสตร์ไทยถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้จดจำอดีตจากมุมมองของกษัตริย์ ยุคสมัยในประวัติศาสตร์ถูกแบ่งออกตาม "ราช" ธานี และความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์เกาะเกี่ยวกับ "รัชกาล"

ดังนั้น หากไม่พูดถึงกษัตริย์ คนไทยก็ไม่มีอดีตให้จดจำ

ประวัติศาสตร์ไทยเขียนกันขึ้นเพื่อรับใช้พระมหากษัตริย์และสถาบันพระมหากษัตริย์ นักประวัติศาสตร์ไทยจึงเป็นกวีในราชสำนักอีกประเภทหนึ่งเท่านั้น (และลามไปถึงนักประวัติศาสตร์ฝรั่งที่เขียนประวัติศาสตร์ไทยจำนวนมากด้วย)

แต่ก็อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ประวัติศาสตร์ยังเป็นความทรงจำเพื่อรับใช้อะไรบางอย่างของปัจจุบันด้วยเสมอ ดังนั้น "มหาราช" ที่ปรากฏในนิทรรศการถาวร จึงไม่เป็นเพียงแต่บุคคลและสถาบันที่สืบต่อจากบุคคลเหล่านั้น หากยังเป็นตัวแทนของอุดมคติที่ผู้มีอำนาจอยากให้คนไทยปัจจุบันยึดถือ

และเพราะเป็นอุดมคติ จึงมีพลวัตหรือแรงขับเคลื่อนที่จะเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อสังคมเปลี่ยนไป คนที่เข้ามาขับเคลื่อนอุดมคติก็เปลี่ยน-เปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนความคิดก็ตาม-เป็นธรรมดา

ข้อที่น่าประหลาดก็คือ จะเป็นเพราะนักประวัติศาสตร์ไทยขี้เกียจหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ปรากฏการณ์อย่างนี้ในสังคมอื่น ย่อมเป็นผลให้นักประวัติศาสตร์เสนอบุคลิกภาพของบุคคลในประวัติศาสตร์แตกต่างไปจากเดิม จากนโปเลียนที่เป็นทรราช ก็อาจกลายเป็นนักประชาธิปไตย จากเหมาผู้รักประชาชน เป็นเหมาที่ประชาชนต้องรัก ฯลฯ

แต่แรงขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงทางอุดมคติในประเทศไทย ไม่มีผลต่อการเสนอบุคลิกภาพของ "มหาราช" ตัวของ "มหาราช" เคยอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น "มหาราช" เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์อีกอย่างหนึ่งที่จะเข้าไปรุ่มร่ามไม่ได้ แม้ว่าตัวอุดมคติที่ "มหาราช" เป็นตัวแทน อาจถูกตีความใหม่ไปได้เรื่อยๆ

ผมไม่เคยเข้าไปดูนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงเทพฯ แม้กระนั้น ก็อยากเดาอย่างค่อนข้างมั่นใจว่า ใน "มหาราช" สี่องค์นั้น อย่างน้อยต้องมีสามองค์นี้ คือพ่อขุนรามคำแหง, พระนเรศวร และพระจุลจอมเกล้าฯ

พ่อขุนรามคำแหงนั้นเป็นตัวแทนที่วิเศษสุดของ "ประชาธิปไตยแบบไทย" ชื่อเรียกนี้อาจเพิ่งเกิดขึ้นในสมัย สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่ที่จริงแล้วเนื้อหาของมันตรงกับทฤษฎีธรรมราชาเป๊ะเลย นั่นคือการปกครองที่ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาด แต่ถูกกำกับด้วยศีลธรรม ฉะนั้น จึงเอาใจใส่ทุกข์สุขของประชาชน

ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เสียงเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย เริ่มดังมากขึ้นในเมืองไทยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องนี้ด้วยคำอธิบายสามอย่าง

1. พระมหากษัตริย์ไทยนั้นที่จริงแล้วได้รับเลือกตั้งมาจากหมู่ชนจำนวนมาก เรียกว่า "อเนกนิกรสโมสรสมมติ" คือประชุมกันในหมู่ขาใหญ่เพื่อเลือกเจ้านายขึ้นสืบราชสมบัติ นี่ไม่ใช่ "ประชาธิปไตย" ในความหมายแบบตะวันตกแน่

แต่ปัญญาชนไทยสามารถพัฒนาทฤษฎีนี้ให้พึงใช้ได้ในระบอบประชาธิปไตยหลัง 24 มิถุนายน ไปได้อีกหลายอย่าง เช่น ทฤษฎีราชประชาสมาศัยของ คุณคึกฤทธิ์ ปราโมช, การถวายพระราชอำนาจให้ทรงเลือกสมาชิกของกลไกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยบางส่วน, การมีองคมนตรีในฐานะ "สถาบัน" (ไม่ใช่ในฐานะบุคคลที่ทรงปรึกษาหารือ) และประชาธิปไตยแบบ "การเมืองใหม่" เป็นต้น

2. พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นธรรมราช ถูกกำกับด้วยศีลธรรมอย่างเคร่งครัดคือทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร เป็นต้น จึงไม่มีวันจะล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในฐานะมนุษย์ของประชาชนอย่างเด็ดขาด แม้แต่ออกกฎหมายหรือตั้งองค์กรขึ้นมาจำกัดพระราชอำนาจก็เคยทำมาแล้ว เช่น องคมนตรีสภา เป็นต้น

การจำกัดพระราชอำนาจด้วยรัฐธรรมนูญจึงไม่จำเป็น

3. ประชาชนไทยยังไม่พร้อมจะตัดสินใจทางการเมืองเอง ทฤษฎีนี้ใช้ได้สืบมาจนถึงสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อประธานสภาถูกล้อมกรอบ และขว้างแฟ้มเข้าใส่ เพราะเสียงข้างมากคือพวกมากลากไป

ในขณะที่พวกน้อยซึ่งเป็นคนดีมีศีลธรรมควรเป็นผู้ลากมากกว่า


พ่อขุนรามฯ (อย่างน้อยก็ในจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อไรก็ไม่แน่) เป็นตัวแทนอันเหมาะเจาะกับสามคำอธิบายนั้น นักประวัติศาสตร์เรียกการปกครองของพระองค์ในภาษาอังกฤษว่า Paternalistic Democracy อันเป็นสองคำที่ไม่น่าจะรวมกันได้เลย แต่พอเรียกเป็นไทยว่าระบอบ "พ่อปกครองลูก" ก็ฟังอบอุ่นขึ้นแยะ

คำว่าพ่อนั้น เป็นความเปรียบถึงอำนาจที่ทรงพลังอย่างมากในภาษาไทย เพราะอำนาจของพ่อเป็นอำนาจตามธรรมซึ่งคนดีไม่ควรตั้งคำถาม นอกจากพ่อเป็นเจ้าของทรัพยากรทั้งหมดแล้ว ยังเป็นผู้จัดการทรัพยากรเพื่อลูกทุกคนอย่างเป็นธรรมด้วย ความเป็นธรรมนี้คนดีก็ไม่ควรตั้งคำถามเช่นกัน

พ่อขุนรามฯ ทรงเอาใจใส่ทุกข์สุขของประชาชน เพราะทรงแขวนกระดิ่งไว้ปากประตู (วัง) รัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ก็ควรเป็นแค่กระดิ่ง คือคอยลั่นเพื่อบอกทุกข์สุขของประชาชน ไม่ใช่ไปจัดการเอง

อย่างไรเสีย เราไม่สามารถปฏิเสธประชาธิปไตยได้ หากยังต้องการทั้งทุน, ตลาด และเทคโนโลยีจากประเทศที่เป็นประชาธิปไตย (จริงๆ) นอกจากนี้ ในประเทศเองก็มีกลุ่มผลประโยชน์หลากหลายกลุ่มมากขึ้น จำเป็นต้องมีกระดิ่งหลายอันให้คนเหล่านี้ได้ลั่นกันอย่างทั่วหน้า ฉะนั้น ในทางอุดมคติ ประเทศไทยจึงต้องเป็นประชาธิปไตย

แต่เป็นประชาธิปไตยแบบไทย

พ่อขุนรามคำแหงจึงเป็น "มหาราช" ในประวัติศาสตร์ไทย และ (น่าจะ) ในนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ไม่ใช่ในฐานะบุคคลในประวัติศาสตร์อย่างเดียว ที่สำคัญกว่าคือในฐานะที่เป็นตัวแทนของอุดมคติไทยปัจจุบัน

แต่พลวัตในสังคมไทย ไม่อำนวยให้ประชาธิปไตยแบบไทยของพ่อขุนรามฯ ดำรงอยู่โดยไม่ถูกตั้งคำถาม คณะปฏิวัติ ร.ศ.130 อันประกอบด้วยนายทหารหนุ่มกลุ่มหนึ่ง ตั้งคำถามขึ้นก่อน แม้ไม่อาจให้คำตอบแก่สังคมได้

แต่ตัวคำถามคงจะถูกคนอื่นถามซ้ำสืบมา จนอีก 20 ปีต่อมา เมื่อคณะราษฎรตั้งคำถามและให้คำตอบแก่สังคมได้สำเร็จ ก็ยังยอมรับว่า การปฏิวัติของตนสืบเนื่องกับคำถามใน ร.ศ.130

จากนั้นประชาธิปไตยในประเทศไทยก็สลับสับเปลี่ยนกันระหว่างประชาธิปไตยเฉยๆ กับประชาธิปไตยแบบพ่อขุนรามคำแหงสืบมาอีกนาน

อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยแบบพ่อขุนรามฯ นั้นเป็นดาบสองคมอยู่เหมือนกัน เพราะไม่จำเป็นว่าพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะใช้อานุภาพพ่อขุนรามคำแหงได้ฝ่ายเดียว คนที่คุมกำลังกองทัพไว้ได้ค่อนข้างเด็ดขาดเช่นจอมพล ป. พิบูลสงครามก็อาจใช้อานุภาพนั้นเสียคนเดียวก็ได้ โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีส่วนร่วมเลย

กว่าอุดมคติประชาธิปไตยแบบไทยของพ่อขุนรามฯ จะค่อยคืบคลานกลับมาใหม่ก็ต้องรอถึงการรัฐประหาร 2490 และ 2500 แล้ว แม้จะดูมั่นคงดี แต่ก็เสี่ยงที่เสนาอำมาตย์อาจตั้งตัวเป็นพ่อขุนเสียเอง

ความสำเร็จของนิสิตนักศึกษาประชาชนในการโค่นล้ม "พ่อขุนอุปถัมภ์" (โดยไม่ชัดเสียแล้วว่าใครเป็นพ่อขุนกันแน่) ใน พ.ศ.2516 เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคนสองกลุ่มที่ต้องการประชาธิปไตยคนละชนิดกัน กลุ่มหนึ่งต้องการนำประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย อีกกลุ่มหนึ่งต้องการฟื้นฟูสาระที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตยแบบพ่อขุนรามฯ

แม้ว่าดูเหมือนกลุ่มที่ต้องการฟื้นฟูประชาธิปไตยแบบพ่อขุนจะประสบชัยชนะใน พ.ศ.2519 แต่ก็ไม่อาจทำลายอีกฝ่ายหนึ่งลงอย่างราบคาบได้ ระบอบปกครองไทยนับจากนั้นสืบมา คือความพยายามจะกลืนกันและกันสืบมาจนทุกวันนี้ แต่ก็กลืนกันไม่ลงสักฝ่ายเดียว ทำให้เกิดความตึงเครียดบาดหมางกันมากขึ้น

พ่อขุนรามคำแหง จึงเป็นตัวแทนของอุดมคติทางการเมืองที่มีความสำคัญของฝ่าย "ทางการ" (ซึ่งแปลว่าอะไรชักจะไม่แน่นอนเสียแล้ว เพราะคนที่ถืออำนาจบ้านเมืองอาจไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน) นั่นคือประชาธิปไตยแบบไทย นี่เป็นเสาหลักอันหนึ่งของอุดมการณ์ชาติในปัจจุบัน

เมื่อจะแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์ หนึ่งใน "มหาราช" สี่องค์ที่ต้องแสดงไว้จึง (น่าจะ) เป็นพ่อขุนรามฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่ก็ดังที่กล่าวแล้วว่า การต่อสู้ด้านอุดมคติของประชาธิปไตย หาได้กระทบต่อบุคลิกภาพทางประวัติศาสตร์ของพ่อขุนรามคำแหงไม่ ประวัติศาสตร์ไทยเคยพูดถึงพ่อขุนรามคำแหงอย่างไร นับตั้งแต่ได้ "ค้นพบ" พระองค์ จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังพูดอย่างเดียวกัน


ขอบคุณ
มติชนออนไลน์
ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

อาทิตยวารสิริสวัสดิ์ค่ะ



Create Date : 10 มิถุนายน 2555
Last Update : 10 มิถุนายน 2555 13:03:13 น. 0 comments
Counter : 3595 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.